ถอดประสบการณ์คนทำทีวี ตอน 3


ช่วงบ่ายของวันพุธที่ 22 ตุลาคม ทีมงาน TV4Kids อันประกอบไปด้วยอ.อังธิดา ลิมป์ปัทมปาณี / อ.อิทธิพล / พี่เหยียน / เพื่อนอี๋ และผู้เขียน ได้พากันยกทีมไปบุกเวิร์คพ้อยท์ เพื่อสนทนากับ Creative Group Head (ผู้ซึ่งเป็นทั้งโปรดิวเซอร์และครีเอทีฟรายการต่างๆ มากมาย) เขาคนนั้นคือคุณพิเศษ  พานิชกุล ซึ่งรายการล่าสุดที่พี่เขาเป็นผู้ดูแลคือ รายการยอดมนุษย์น้อย

รายการยอดมนุษย์น้อยนี้เป็นรายการที่มีแนวคิดเน้นเด็กที่เก่ง 4 ด้านคือ ด้านวิชาการ ด้านกีฬา ด้านดนตรี และด้านศิลปะ (ค่อนข้างไปทางเด็กอัจฉริยะ) ถึงแม้จะมีเนื้อหารายการที่มีเด็กเป็นตัวเดินเรื่องเช่นนี้ก็ตาม กลุ่มเป้าหมายของรายการนี้กลับเป็น "กลุ่มแม่บ้าน" เป็นหลัก ส่วนเด็กๆ ที่ดูรายการนี้ก็เพียงเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง เพียงเพื่อจูงใจให้เด็กที่อยู่ทางบ้าน (ที่ได้ดูรายการนี้) เกิดแรงบันดาลใจหรือจูงใจให้อยากเป็นยอดมนุษย์น้อยคนถัดไปบ้าง ด้วยการไปฝึกฝนทำอะไรสักอย่างเพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น

รายการนี้นอกจากจะเป็นเรื่องของการสร้างบทพิสูจน์ว่าเด็กคนนี้คือ "ยอดมนุษย์น้อย" แล้ว ทางผู้ผลิตรายการเองยังใฝ่ฝันว่าอยากจะให้รางวัล "ยอดมนุษย์น้อยเหรียญทอง" เป็นเสมือนสถาบันฯที่ทรงคุณค่า ที่มีมาตรฐานในการรับรองความสามารถของเด็กๆ (ประมาณกินเนสส์บุ๊ค) อันที่จริงแล้วน้องๆ หรือเด็กๆ ที่มาร่วมรายการนั้นล้วนแล้วแต่เป็นเด็กอัจฉริยะอยู่ที่บ้านเขาแล้วทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่าเด็กมาออกโทรทัศน์แล้ว รายการปั้นให้เขาเป็นอัจฉริยะ และด้วยแนวคิดแบบนี้จึงเป็นที่มาของสโลแกนสวยๆ ที่ว่า "ใครจะรู้ว่า เด็กคนที่นั่งอยู่ข้างๆ คุณ จะเป็นยอดมนุษย์น้อยคนต่อไปหรือไม่"

รายการประเภทนี้เป็นรายการที่ต้องทำให้คนดูดูสนุกไว้ก่อน แต่ในความสนุกก็ต้องมีความละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะการสรรหาเกมเพื่อมาเป็นบทพิสูจน์ให้กับเด็กที่มาร่วมรายการ สิ่งที่ทีมงานต้องคิดให้หนักและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เพื่อความปลอดภัยของเด็ก) แล้ว ยังต้องทำให้เด็กที่มาร่วมรายการรู้สึกสนุกที่จะทำไปด้วย และต้องไม่ยากเกินสำหรับความสามารถของเด็ก ที่สำคัญต้องทำให้คนดูรู้สึกอึ้ง ทึ่ง และยอมรับในความสามารถของเด็กคนนั้น

ถึงแม้จะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักในการคัดน้องๆ เพื่อมาร่วมรายการยอดมนุษย์น้อย แต่ขั้นตอนในการคัดเลือกก็ดูจะสนุกไม่แพ้กัน (ถ้าเอาขั้นตอนเหล่านั้นมาออกรายการ) เพราะการออกไปพบน้องๆ ที่มีผู้แนะนำเข้ามาหรือน้องๆ เป็นผู้เขียนจดหมายมาหาทางรายการเองก็ดี ทีมงานของรายการจะต้องออกไปท้าพิสูจน์เบื้องต้นก่อน จากนั้นอาจจะต้องมีการคิดเกมส์เพื่อทดสอบว่าน้องสามารถหรือไม่ หากเกมส์เหล่านั้นน้องๆ สามารถผ่านได้ ทีมงานก็จะประยุกต์เอาเกมส์เหล่านั้นไปเป็นบทพิสูจน์ในรายการต่อไป ซึ่งในบางครั้งทีมงานก็พบว่า เกมส์ที่คิดให้เล่นนั้น บางทีก็ไปขยายศักยภาพของเด็กให้มีเพิ่มขึ้น ทำให้เขามั่นใจมากขึ้น เช่นตอนหนึ่งที่พี่พิเศษเล่าว่า เป็นตอนเด็กขี่มอเตอร์ไซค์วิบาก ทีมงานจะให้เด็กขี่ข้ามเครื่องกีดขวางที่ต่อกันยาวประมาณ 10 เมตร (ซึ่งการทดสอบนี้อยู่ในสายตาผู้ปกครองตลอดเวลา) แต่ปรากฏว่าน้องโดดได้มากกว่า 10 เมตร (ประมาณ 12 เมตร) พอน้องโดดได้ทีมงานก็ดีใจแล้ว แต่น้องกลับรู้สึกสนุกและบอกขอลองอีกครั้ง โดยเลื่อนสิ่งกีดขวางเป็น 12 เมตร (ระหว่างนั้นต้องขออนุญาตผู้ปกครองอีกครั้งก่อนว่าจะให้น้องโดดหรือไม่ เพราะคุณพ่อของน้องเขาเป็นนักขี่มอเตอร์ไซค์วิบากเช่นกัน) และเมื่อผู้ปกครองอนุญาตก็ทำการกระโดดอีกครั้งปรากฎว่าน้องโดดได้ไกลกว่าเดิมเป็น 15 เมตร น้องก็ยิ่งภูมิใจ และอยากกระโดดอีกส่วนทีมงานถ่ายทำหนะอึ้งไปแล้ว (ฮา)

ในด้านหัวใจของการผลิตรายการทั้งหลายทั้งปวงที่ฉายทางโทรทัศน์นั้น พี่พิเศษได้กล่าวไว้ 4-5 ประเด็นคือ ต้องเริ่มคิดรูปแบบรายการจากสิ่งที่เราชอบและถนัดก่อน (คนทำถึงจะอิน) จากนั้นก็มาทำให้สนุกและซับซ้อนสักหน่อย รูปแบบรายการจะไปซ้ำกับคนอื่นเขาไหม (โดยเฉพาะไม่ไปซ้ำกับสิ่งที่บริษัทเคยยทำมาก่อน) และต้องคิดเกมที่ทำให้คนดูสามารถเล่นสนุกตามด้วยได้ ที่สำคัญสุดของการผลิตรายการโทรทัศน์ทั่วไปคือ การทำให้คน "ธรรมดา" กลายเป็น "คนดัง"

ส่วนหลักสูตรการผลิตรายการเพื่อเด็กนั้น พี่พิเศษได้ให้แง่คิดไว้ 6 ประการคือ

1. กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน > คือ ทำให้ใครดู เพราะมีได้ 2 แบบคือ 1. เด็กโชว์ความสามารถให้ผู้ใหญ่ดู ถ้าเป็นรายการแบบนี้ก็สามารถนำเสนองานแบบซับซ้อนได้ มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องได้ 2. เด็กโชว์ความสามารถให้เด็กด้วยกันดู ถ้าเป็นรายการเน้นกลุ่มเป้าหมายแบบนี้ต้องไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง และต้องพูดประเด็นเดิมซ้ำๆ บ่อยๆ (เหมือนรายการเด็กเทเลทับบี้ส์) เพราะรูปแบบของการพูดจาสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นตัวกลุ่มเป้าหมายเป็นตัวกำหนดองค์ประกอบรายการในหลายๆ ด้าน

2. กระบวนการคิด > ทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตรายการ และสารที่จะสื่อในรายการ

3. เรื่องของเวลา > หลักสำคัญคือ "ช่วงเวลา" ซึ่งช่วงเวลานี้หมายถึง 2 อย่าง คือ 1. ช่วงเวลาที่รายการฉายให้ผู้บริโภครับชม (ซึ่งถ้าเป็นรายการเด็กเวลาที่เหมาะคือ แปดหรือเก้าโมงเช้า และช่วงสี่โมงเย็นถึงหัวค่ำ) กับ 2. ช่วงเวลาที่ทางสถานีเปิดให้ยื่นโครงการ (Proposal) ต่อทางสถานี

4. พัฒนาการเด็ก > หลักสำคัญอยู่ที่ การซอยอายุให้ตรงกับพัฒนาการเด็ก ซึ่งการทำให้รายการเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยล้วนมีผลต่อสปอนเซอร์ทั้งสิ้น เพราะบางช่วงอายุมีผลทำให้สปอนเซอร์น้อย

5. เรื่องทางจิตวิทยาสำหรับเด็ก > ทั้งในขณะผลิตรายการและช่วงการถ่ายทำ รวมถึงวิธีการสื่อสารไปยังเด็กๆ ที่รับชมอยู่ทางบ้าน

6. การบริหารรายการ (Management) > ว่าด้วยการหาสปอนเซอร์และต่างๆ นานา

และสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายการเด็กไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรมี 2 ประการหลักๆ คือ 1. คนดู (ซึ่งเป็นได้ทั้ง "คนไม่ดู" หรือ "คนดูน้อย") และ 2. ช่วงเวลาที่ถูกจำกัด ในลักษณะว่า ต้องดูที่ช่องนี้เท่านั้น เวลานี้ด้วย ซึ่งหากคนดูยังกลับไม่ถึงบ้าน หรือมีธุระอื่นใด ก็อาจทำให้พลาดชมรายการได้เช่นกัน

นอกจากนี้เรายังได้คุยกันถึงแนวทางการพัฒนาวิธีคิดหรือ Creative Thinking กันด้วยซึ่งพี่พิเศษได้ให้แนวทางไว้กว้างๆ ว่า การจะพัฒนาวิธีคิดได้นั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ (ชั่วโมงบิน) การรับฟังความคิดเห็น ความชอบส่วนตัว จิตวิทยา แนวคิดที่ตอบโจทย์ และกล้าฉีกแนว ส่วนแนวทางการสอนให้เกิดกระบวนการคิดแบบ Creative Thinking นั้น ต้องเริ่มจากการเปิดใจเด็กๆ โดยถามใจเด็กก่อนว่า เขาอยากทำอะไร อยากเป็นอะไร จากนั้นให้ข้อมูลกับเขาว่า กระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์นั้นเริ่มได้จากการสั่งสมความรู้ ด้วยการใฝ่รู้เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ฟัง พูด อ่าน หรือเขียน ที่สำคัญควรจะรู้จักคนให้เยอะๆ กว้างๆเพราะการมีมิตรมากจะช่วยในเรื่องการแตกกระจายความคิด ช่วยให้สามารถคิดอะไรที่แหวกกฏเกณฑ์ได้มากยิ่งขึ้น และการคิดแบบ Creative Thinking นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เฉพาะกับงานสร้างสรรค์แต่ถ้าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ นั่นยิ่งเป็นการฝึกคิดฝึกปฎิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด

ซึ่งแนวการคิดแบบสร้างสรรค์นี้อาจพูดรวบยอดง่ายๆ ได้ด้วย 3 ขั้นตอนคือ ช่างสังเกต > ตั้งคำถาม > ทำลายกรอบนั้นทิ้ง หรือดั่งคำพูดที่พี่พิเศษกล่าวไว้ว่า "คนที่เจอปัญหาแล้วแก้ต่อได้ นั่นคือ การตอบโจทย์ความเป็น Creative"

               

               

หมายเลขบันทึก: 219021เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

บันทึกนี้น่าสนในได้ความรู้ด้วยค่ะ

อ่านแล้วลงชื่อไว้ค่ะ

น่าสนใน พิมพ์ผิด ต้องพิมพ์ว่าน่าสนใจค่ะ^__^

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมค่ะ ....ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจค่ะ มีหลานเล็กๆด้วย

"คนที่เจอปัญหาแล้วแก้ต่อได้ นั่นคือ การตอบโจทย์ความเป็น Creative

เยี่ยมเยี่ยมค่ะ

เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานค่ะ

  • ตามมาดู
  • โอโห อาจารย์บันทึกได้ดีมาก
  • มาอีกๆๆเลย

แนท มาส่งกำลังใจให้นะ ขอให้หายป่วยไวๆ นะคะ

สวัสดีค่ะพี่แจ๋ว คุณกล้วยแขกฯ พี่ sasinand คุณใยมดฯ และอ.ขจิต

ขอบคุณพี่ๆ ทุกคนที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

แต่เนื่องจากว่าช่วงนี้แนทไม่ค่อยสบาย เลยไม่ค่อยได้มาเล่าอะไรให้ฟัง

ไว้หายเปื่อยก่อนจะกลับมาเล่าต่อนะคะ ช่วงนี้ให้เพื่อนอี๋เล่าให้ฟังไปก่อน ^_^

ช่วงนี้ก็ขอลาป่วยไปนอนปวดนิ่วในไตก่อนนะคะ

มาบอกลิงค์เพิ่มเติมเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนทำทีวีในเรื่องเล่า

ซีรี่ส์ "ถอดประสบการณ์คนทำทีวี"ค่ะ

สามารถติดตามอ่านตอนที่ 4 ได้ที่

http://gotoknow.org/blog/ladygenius/220024

เนื่องจากวันนั้นผู้เขียนไม่ได้ไปด้วย เพราะลาป่วยอยู่ค่ะ

เผื่อใครอยากติดตามอ่านเพิ่มจะได้ไปได้โดยสะดวกนะคะ ^_^

http://gotoknow.org/blog/ladygenius/220024

ส่งลิงค์ให้คลิ๊กได้มาให้ใหม่ค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ นะครับ...

ขอเป็นกำลังใจให้กับทีมงาน TV4KIDS ทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านด้วยครับ

(คำคมวันนี้ : "(ถึงแม้)นาฬิกาตาย มันก็ยังบอกเวลา")

จาก พี่เอก

Creative Group Head

WORKPOINT Entertainment (Public) Co.,Ltd.

สมกับเป็นพี่เอกจริงๆ เลยค่ะ

มีคำคมมาฝากเสมอ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท