ถอดประสบการณ์คนทำทีวี ตอนที่ 4 : ว่าด้วยเรื่องของการ์ตูน


“ค่านิยมที่ไม่ดีของเด็กสมัยนี้.. คือ..เด็กเขามองอะไรเป็นเงินไปหมด เรียนอันนี้เงินดี ก็เลยเลือกเรียน มาสมัครงานก็เรียกเงินเดือน..โอ้ย..บอกว่า ‘ผมทำระเบิดได้ แค่นั้น’ (ฮ่าฮ่า)”

วันนี้ 30 ตุลาคม 2551 ทีมโครงการ TV4Kids ประกอบไปด้วย อ.อังธิดา อ.อิทธิพล คุณอารยา น้องคิวและ อี๋ (ผู้เขียนเอง) ยกทัพไปเยี่ยมกัลยานมิตรย่านรามคำแหง 30 เพราะบ่ายนี้เรามีนัดพบกับ คุณสุเทพ ตันนิรัตน์  กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท อัญญา อนิเมชั่น จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ของการ์ตูนซีรี่ย์เรื่องดัง ฝีมือคนไทย 4 Angie สี่สาวแสนซน ที่โด่งดังมากเมื่อออกอากาศในเทอม 1 - 2  และปัจจุบันเทอม 3 ก็กำลังออกอากาศเวลาประมาณ 19.15น.อยู่ทางไทยทีวีสีช่อง 3

 

เมื่อมาถึงอาคาร IEC เราก็มุ่งตรงไปยังชั้น 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท ได้พบคุณตั๊กผู้ช่วยของคุณสุเทพออกมาตอนรับ ก่อนถึงเวลาจึงได้โอกาสสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัท อัญญา อนิเมชั่น จำกัด ว่ามีความเป็นว่าอย่างไร? คุณตั๊กเล่าว่า อัญญา อนิเมชั่น จำกัดตั้งมา 8 ปีแล้ว เริ่มจาก คุณสุเทพ (พี่จิ้ง) และ น้องทีมงานที่รักในหนังไทย และการ์ตูนมารวมตัวกัน ในฐานะผู้ผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น ทำหน้ารับผลิตรายการให้คนอื่นก่อนในตอนแรก  ซึ่งปัจจุบันก็จะเป็น ผู้ผลิต คาแรกเตอร์การ์ตูน 4 Angie ให้กับ บริษัท โฮมรัน เอนเทอร์เทนเมนท์   ซึ่งพี่จิ้งเองก็มีผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่อง องคุลีมาล มาแล้ว

พอได้เวลา คุณสุเทพ (พี่จิ้ง) ก็ออกมาพบกับพวกเราด้วยหน้ายิ้มแย้ม (แกมเหนื่อยๆ)  คุณอารายจึงแนะนำโครงการวิจัยให้คุณสุเทพ และเราก็แนะนำตัวทีมงาน ( มาถึงตอนนี้ขอ อนุญาตเรียกว่าพี่จิ้ง เลยดีกว่า)เมื่อพี่จิ้งดูหายเหนื่อยแล้ว เราก็เริ่มพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองถึงเรื่องของ ชื่อบริษัท อัญญา ที่สะดุดหูมาก         ว่าความหมายคืออะไร? พี่จิ้งภูมิใจนำเสนอว่า  อัญญา จะอ่านว่า อัญญ่า ก็ได้ เป็นภาษาบาลี มีความหมายถึง สิ่งประเสริฐ และก็เป็นคำที่ออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษก็ง่ายอีกด้วย

จากนั้นพี่จิ้งก็เล่าเรื่องผลงานให้ฟังว่า...สำหรับผลงานของบริษัทตอนนี้มี ด้วยกัน 4 โครงการ คือ

  • 4 Angie สี่สาวเสนซน เทอม 3
  • 4 Angie สี่สาวเสนซน เดอะ มูฟวี่
  • ขบวนการ Power Puppet
  • อภินิหาร ตำนานเวตาล ซึ่งออกอากาศจบไปแล้วทางช่อง 3

วันนี้เริ่มด้วยการถามถึงแนวคิดของการทำ การ์ตูนนิเมชั่นเรื่อง  4 Angie พี่จิ้งเล่าว่า  เริ่มต้นความคิดมาจาก คุณโสภิตา ธรรมสังคีติ (คุณจอย) บริษัทโฮมรัน เอ็นเทอร์เทนเมนท์ โดยที่คุณจอยส่วนตัวเป็นเพื่อนนักเรียนกับคุณ นีน่า ซึ่งในระยะนั้นสี่สาวผู้หญิงถึงผู้หญิงมีชื่อเสียงมาก และก็มีผลงานภาพยนตร์ด้วย คุณจอยเลยความคิดจะทำตัวการ์ตูนจากบุคลิกของบุคคลจริงๆขึ้นมา

และในงาน TAM (Thailand Animation and Multimedia) จัดโดย  SIPA แล้วมาเห็นผลงานของทาง บริษัท อัญญาจึงได้มีโอกาสมารวมงานกัน  ซึ่งเริ่มต้นคุณจอยก็ได้มีแนวความคิดและตัวอย่างผลงานมาเบื้องต้นแล้ว เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของทางอัญญาในกระบานการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ

พบเล่ามาถึงตอนนี้ก็เลยอดที่ถามถึงกระบวนการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่นไม่ได้ ว่ากว่าจะมาเป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งให้เราได้ชมกันนี้มีขั้นตอนอย่างไร

ช่วงเตรียมงาน  (Pre-production) ประกอบไปด้วย

-         การเขียนเรื่องย่อ  Treatment

-         เขียนบท

-         ออกแบบคาแรคเตอร์

-         เขียน story board

-         ขั้นตอนการทำ Animatic  ซึ่งเป็นการเอา story board มาใส่เสียงของการแสดงจริงใส่ลงไปก่อนการลงมือทำโมเดลตัวละคร และก็นำมาตัดต่อเป็นหนังหนึ่งเรื่อง เพื่อใช้ในการจับเวลาในภายนตร์แต่ละเรื่อง  เพียงแต่ภาพจะเป็นภาพที่วาดมาจาก story board  จะทำให้เรารู้ว่าความยาวสุดท้ายเป็นเท่าไร  เนื่องจาก Animation ไม่สามารถมาแสดงอารมณ์ กริยาช่วยได้เหมือนนักแสดงจริง ดังนั้น หากไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าอาจจะทำให้มีปัญหาในกระบวนอื่น หรือ กรณีที่ไม่ต้องการฉากนั้น ใน animation หมายความ อีก 7-8  ขั้นตอนที่ตามมาก็สูญเปล่าจึงต้องทำการวางแผนเป็นอย่างดี

-         การทำโมเดล ซึ่ง ปั้นรูปร่างหน้าตาของตัวการ์ตูน ไม่ว่า คำพูด ปาก การกระพริบ ท่าทางการเดิน ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือ กรณีที่ดูในคอมพิวเตอร์แล้วยาก ก็อาจการขึ้นแบบโดยการปั้นดินน้ำมันลอยตัวขึ้นมาแก้ไขจนพอใจแล้ว จึงใช้แสกน 3 มิติทำสแกนเข้าไปในคอมพิวเตอร์อีกครั้ง

 ขั้นดำเนินงาน  (Production)

-         การสร้างความต่อเนื่อง หรือ Animator ทำหน้าที่สร้างสรรค์ให้ตัวการ์ตูนแต่ละตัวแสดงไปตาม Animatic ที่ทำไว้เบื้องต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ยาวนานและต้องใช้ทีมงานมากที่สุด การทำงานของ Animator จะเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ  เป็นนักแสดง และ ตากล้องในเวลาเดียวกันเพราะนอกจากต้องทำให้การ์ตูนเคลื่อนไหวตาม animatic แล้วยังต้องใส่ชีวิตชีวาเข้าไปในงานด้วยเหมือนตัวเองเป็นนักแสดงเอง

 

ขั้นตอน Post- Production

-         จัดแสง

-         Render         การทำภาพให้สมบูรณ์จากโมเดลทุกอย่างที่มีทั้งหมด

-         Composite ขั้นตอนการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อความสวยงามของภาพ เช่น ยืนชิดไปก็ให้ห่างขึ้นมาได้  สร้างท้องฟ้าให้มืดหรือสว่างได้ หลักการคล้ายกับ Photoshop แต่เป็นภาพเคลื่อนไหว

-         Editor   กระบวนการตัดต่อ

-         ทำดนตรีประกอบ

-         พากย์เสียง

คาแรกเตอร์นั้นสำคัญไฉน? คาแรกเตอร์         : ที่มีเสน่ห์ น่ารักก็จะทำให้คนชื่นชอบติดตามไป รูปร่างหน้าตาของตัวการ์ตูน มีผลต่อการรับรู้ของเด็ก เช่น หัวโต ตากลมโต

ที่สามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้ง่าย เหมือนตุ๊กตาเด็กก็จะชอบมากกว่า อีกประการ คือ เป็นตัวการ์ตูนที่สามารถวาดตามได้ง่ายๆ ก็จะทำเมื่อเด็กชอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งจริงแล้วเป็นสูตรยาวนานมาตั้งแต่รุ่นเจ้าหนูอะตอมมิคของ ญี่ปุ่นแล้ว (อันที่จริงเจ้าของงานเขียนเจ้าหนูอะตอมมิค ก็ได้รับอิทธิพลมากจากมิกกี้เม้าท์)

 

ต่อมา พี่จิ้งได้เล่าถึงผลงานชิ้นใหม่ที่กำลังผลักดันอยู่ เป็นการ์ตูนที่จบในตอนที่สามารถเล่าเรื่องได้ง่ายๆมากขึ้น  โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่กลุ่มเด็กอายุ 6 -12 ปี  เนื้อเรื่องเกี่ยวกับจอมพลังที่คอยปกป้องโลก โดยวางโครงเรื่องไว้ทั้งสิ้น 26 ตอน โดยพยายามสอดแทรกความคิดและลูกเล่นน่ารักแบบไทย เช่น  มอนสเตอร์เป็นอีกา  และมีพลังตีนกาที่ทำให้ผู้ที่โดนพลังนี้เข้าไป จะมีรอยตาตีนการและแก่ลงทันที   เป็นต้น  โดยเล่ากระบวนการสร้างความคิดของการทำการ์ตูนเรื่องนี้ว่า  จริงแล้วเริ่มจากความชอบของตัวเองและทีมงานแต่ละคนขั้นตอนต่อมาก็มาประชุมระดมสมองร่วมกันว่าจะเลือกอะไรไว้บ้าง โดยมีผู้กำกับเองเป็นผู้ตัดสินใจที่สุด

 

 

ทำไมแอนิเมชั่นไทยโตไปได้ช้า?

 เมื่อถามถึงสาเหตุที่แอนิเมชั่นไทย เติบโตไปได้ช้ากว่าประเทศอื่น พี่จิ้งก็บอกว่าน่าจะมีองค์ประกอบคือ

-         เรื่องของงบประมาณการผลิตที่สูงในช่วงแรก แต่ปัจจุบันก็ลดลงมากแล้วในเรื่องของเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ

-         รัฐบาลให้การส่งเสริม ซึ่งต้องส่งเสริมให้ถูกทาง  โดยช่องทางการสนับสนุนที่น่าจะให้มีคือ  เวลาออกอากส ในโทรทัศน์ ซึ่งจะเป็นเวทีที่จะได้แสดง  หากมีสนามให้ได้ลองฝีมือ ก็จะมีการแข่งขันด้านคุณภาพที่มากขึ้น

-         ผู้ผลิตเอง  ต้องมีความรักและมีความสุขกับการทำงาน  จึงจะสามารถให้ความประณีตในการสร้างสรรค์งานได้

-         วิสัยทัศน์ของนายทุน การสนับสนุนจากสปอนเซอร์ซึ่งต้องยอมรับว่า เมื่อเป็นการ์ตูนก็จะถูกมองว่าเป็นรายการสำหรับเด็ก ดังนั้นโฆษณาที่เข้ามาก็จะเป็นพวกสินค้าบริโภคสำหรับเด็กซึ่งมีงบประมาณในการซื้อโฆษณาน้อยอยู่แล้ว

-         ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เนื่องจากปัจจุบันเรายังต้องพัฒนารายการโดยใช้โปรแกรมหลายตัวจากต่างประเทศ

  

ความสำเร็จของ 4 Angie คืออะไร?

ความสำเร็จทางการตลาดของ 4 Angie คือได้เวลาออกอากาศที่ดี ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนแบบนี้ คิดว่าการ์ตูนไทยก็จะประสบความสำเร็จได้ และความประณีตของเนื้องานที่ออกมาจากใจรักของผู้ผลิตด้วย รวมทั้งเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน และน่าสนใจก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน

ซึ่งพี่จิ้งทิ้งท้ายไว้ว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีทางเลือกน้อยอยู่แล้วหากในทีวีไม่มีรายการสำหรับเด็ก ก็จะมีแต่ละครและรายการของผู้ใหญ่เต็มไปหมด  โดยเฉพาะในช่วงเวลา Prime time ซึ่งความใผ่ฝันของพี่จิ้ง มี เพียงว่าการ์ตูนไทยจะเข้าไปนั่งครองใจเด็กไทยได้เหมือนสมัยเด็กๆที่พี่จิ้งเองเคยชอบ หน้ากากเสือ ขบวนการเรนเจอร์ทั้งหลาย ซึ่ง หากเด็กสมัยนี้จำ 4 Angie ได้ก็คงดี

 

การ์ตูนไทยมีหน้าตาอย่างไรกันแน่?

เราพูดคุยกันถึงเรื่องว่าตัวการ์ตูนปัจจุบันไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นคาแรกเตอร์ของชาติไหนกันแน่?  เมื่อเปรียบเทียบกับ การ์ตูนเกาหลี การ์ตูนไทย การ์ตูนจีน  ซึ่งพี่จิ้งว่าเราต้องยอมรับแล้วว่าเราได้รับอิทธิพลมาจากชาติอื่นซึ่งเขาเป็นผู้บุกเบิกมาก่อน  และ ปัจจุบันโลกมันก็กลืนกันไปหมดแล้ว แต่พี่จิ้งเห็นข้อดี ของการเป็น Universal ว่าเป็นการไม่มีกำแพงด้านเชื้อชาติให้เด็กไม่รู้สึกปิดกั้น และก็เป็นโลกของการ์ตูนจึงสามารถสร้างคาแรกเตอร์ใหม่โดยไม่มีกำแพงทางวัฒนธรรม

 

หากมีการอบรมการผิตรายการแอนิเมชั่น ควรมีเรื่องอะไรบ้าง?

-         หากอบรมโปรดิวเซอร์ นั้น ในแง่ความเป็นจริง ตำแหน่งนี้สำหรับคนไทยไปใช้กับผู้ให้ทุน หรือ คนที่มีความสัมพันธ์กับช่องทางจัดจำหน่าย ช่องทางการตลาดมากกว่า ไม่แน่ใจว่าจะฝันธงเรื่องการอบรมได้อย่างไร?

-         หากหลักสูตรสำหรับคนที่อยากผลิตรายการการ์ตูนสำหรับเด็ก

-         ความรู้เรื่องกระบวนการผลิต Production

-         ความรู้เรื่องการออกแบบคาแรกเตอร์  ซึ่งปัจจุบันมีจิ้งบอกว่าความรู้เรื่องเทคนิคและเครื่องมือนั้นเป็นเรื่องที่ล้าสมัยเร็วมาก ดังนั้น อาวุธที่ต้องติดไว้คือ ความคิดสร้างสรรค์และความประณีต

  

 ค่านิยมที่ไม่ดีของเด็กสมัยนี้.. คือ..เด็กเขามองอะไรเป็นเงินไปหมด  เรียนอันนี้เงินดี  ก็เลยเลือกเรียน มาสมัครงานก็เรียกเงินเดือน..โอ้ย..บอกว่า ผมทำระเบิดได้ แค่นั้น (ฮ่าฮ่า)

 

หมายเลขบันทึก: 220024เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2008 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ซีรีย์ TV4kids นี่น่าสนใจทุกบันทึกเลยจ๊ะ

มาอ่านและลงชื่อนะคะ

  • อ่านแล้วรู้สึกทึ่งค่ะ และเห็นด้วยค่ะสำหรับการสนับสนุนของภาครัฐกับการ์ตูนAnimation ซึ่งน่าจะดีขึ้น ๆ  ๆนะคะ
  • การ์ตูน 4 Angie สี่สาวเสนซน เดอะ มูฟวี่  พี่เป็นคนที่ชอบการ์ตูนมากและสังเกตุว่า การเคลื่อนไหวละเอียดและเป็นธรรมชาติมากกว่าการ์ตูนไทยสมัยก่อน 
  • ชื่นชมกับการทำงานของน้องค่ะ เขียนมาเล่าบ่อย ๆนะคะจะติดตามค่ะ

มาอ่านแล้ว

และมาบอกว่า คิดถึง

พรุ่งนี้ มางาน อ.คนึงไหมเนี่ย มาซิ เลี้ยงข้าวในที่ประชุม (ฮิฮิ)

อยากให้เขียนถึงแบงค์แบบนี้

อ.แหวว

โอเคค่ะ อาจารย์..เดี๋ยวเขียนให้เลย..

  • ตามมาขอบคุณ
  • โอโห อาจารย์ตามมาบอกด้วย
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • หายไปนานมากๆๆครับ

เข้ามาอ่านเเล้วได้รู้เรื่องการ์ตูนมากมายเลย

น่ารัก ดี ชื่น ชอบ การตูน เหมือน กัน อยาก ให้ ผลิต หมอน ผ้า ห่ม เยอะ เพราะ ชอบ ซื่อ เต็ม บ้าน เลย แฟน พัน แท้ ค่ะ

น่ารักมากอยากเอาไว้ข้งๆ


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท