Learning Organization : Conflict Management.


เมืองไทย ประเทศไทย เป็นเมืองทฤษฎี เป็นประเทศแห่งความรู้ ใครมีทฤษฎีอะไรที่ไหน ประเทศไทยมีหมด รู้หมด แต่มีทฤษฎีที่คนรู้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้คือ "กาบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)"

คนในองค์กรต่าง ๆ ของเมืองไทยรู้จักและรู้ถึงคุณค่าของการบริหารความขัดแย้ง ทฤษฎีนี้มีสอนกันในมหาวิทยาลัย มีบรรยายในวงประชุมและสัมนา แต่ถ้าใครเสนอหน้าเอามาใช้องค์กรล่ะ "ได้เรื่อง..."

ประสบการณ์ของผมที่เคยทดลองใช้การบริหารความขัดแย้งนั้น ไม่เคยได้รับการตอบรับที่ดีจากองค์กรแบบไทย ๆ เลย เพราะองค์กรไทยนั้นรักสงบ ชอบอยู่แบบง่าย ๆ อยู่สบาย ๆ ไม่ชอบกันหรือไง...?

อย่าไปสร้างความขัดแย้ง อย่าไปสร้างศัตรู อย่าไปสอดส่องคอยดูผู้อื่นเขา

องค์กรไทยชอบทฤษฎี "ไหลตามน้ำ" ใครว่าอย่างไงก็ว่าอย่างงั้น องค์กรไทยจึงที่รักสงบ จะเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ใครทำอะไรก็ทำ ทำเท่าที่เขียน และเขียนเท่าที่ทำ

บางคนก็บอกว่าคนที่จะนำ Conflict Management จักต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาก คือ มีตำแหน่งสูงมาก ๆ ในองค์กรเท่านั้นที่ทำได้ สมมติฐานนี้ "น่าจะ" เป็นจริง เพราะทำแล้วไม่มีใครกล้าหือ (ต่อหน้า) แต่ลับหลังโดนด่ายับ...

วัฒนธรรมต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโกจะเกิดกับองค์กรที่นำ Conflict Management เข้าไปใช้ เพราะคนไทยตัดบทบาทสมมติในองค์กรกับบทบาทในชีวิตจริงไม่ออก

ในองค์กรต่างประเทศในที่ทำงานเขาเถียงกันแทบตาย แต่ออกนอกห้องประชุม ออกนอกสำนักงานก็จบ แต่คนไทยไม่ได้ "ผูกใจเจ็บ" อาฆาต พยาบาท ตายไปไม่เผากัน

ทฤษฎีนี้ไม่ดีเลยที่จะนำมาใช้กับวัฒนธรรมองค์กรของบ้านเรา องค์กรไทยต้องใช้ Positive Thinking อย่างเดียว หวานหยาดเยิ้มเข้าใส่กันตลอด

ใครจะเจริญก้าวหน้าไปก็ช่างเขา แต่องค์กรเราจะหวานฉ่ำกันอย่างนี้ ใครจะแข่งขันทำเป้า สร้างกำไรกันก็ดี องค์กรนี้ รักสงบ เรื่อยเฉื่อยเอย... 

 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

๒๔ เมษายน ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 353631เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์

  • การบริหารความขัดแย้ง จะใช้ได้ต่อเมื่อ จิตใจคนนั้น บริสุทธิ์ หลุดจาก เรื่อง ส่วนตัวครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์หมอ JJ ที่เคารพ

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์หมอเป็นอย่างยิ่งครับ

ในปัจจุบันสังคมที่ผมอยู่นี้เผชิญกับความขัดแย้งเป็นอย่างมาก แต่ทว่าทุก ๆ คนนั้นมีความอดทน อดกลั้นสูง ด้วยเพราะมีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองรักษาตน และมีข้อวัตรข้อปฏิบัติเป็นกันชนในการกระทบกระแทก

ซึ่งหากเปรียบเทียบองค์กรโดยทั่วไปซึ่งสมาชิกมีศีลจริง ๆ ไม่ถึงห้าข้อ หากแม้นไม่นับรวมถึงข้อวัตร ข้อปฏิบัติที่ไม่มีใครเคยบังคับให้ทำแล้ว หากองค์กรใดนำเทคนิคการบริหารความขัดแย้งไปใช้ก็มีแต่ "พังกับพัง..."

ที่จริงแล้วทุก ๆ ครั้งที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวมมีประโยชน์มาก หากเรามีความอดทน อดกลั้น เราใช้เวลาพิจารณานั่งมองความเคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวตามความขัดแย้งนั้น ความขัดแย้งทั้งหลายก็จะกลายมาเป็นพลัง พลังที่สำคัญที่ชื่อว่า "ปัญญาบารมี..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท