แผนการสอนกฎหมายสิทธิมนุษยชน ภาคเรียนที่ 1/2551


กฎหมายสิทธิมนุษยชน

แผนการสอน

 

รหัสวิชา  230478          ชื่อวิชา  กฎหมายสิทธิมนุษยชน         จำนวนหน่วยกิต 3(3-0)

 

อาจารย์ผู้สอน              อาจารย์จตุภูมิ  ภูมิบุญชู  และอาจารย์ฉัตรพร         หาระบุตร

 

วัน เวลา เรียน           Tue 13.00-15.00 น. และ Thur 09.00-10.00 น.

ห้องเรียน                 QS 4209

ผู้เรียน                     กลุ่ม 1 จำนวน 55 คน

 

คำอธิบายรายวิชา

            ศึกษาความหมายและปรัชญาของสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและองค์การสหประชาชาติ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายไทย

 

แผนการสอน

สัปดาห์ที่ 1 : นิยามและลักษณะของสิทธิมนุษยชน

Ø    แนวคิดและพัฒนาการของสิทธิมนุษยชน

Ø    นิยาม(ความหมาย) ของสิทธิมนุษยชน

Ø    ลักษณะของสิทธิมนุษยชน

work 1  ให้นิสิตอ่านบทความต่อไปนี้ 

 พร้อมตอบคำถามต่อไปนี้

1.นิสิตเห็นด้วยกับความเห็นในเว็บบอร์ดดังกล่าวหรือไม่

2.แนวความคิดดังกล่าวนี้ส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือไม่

3. จะทำอย่างไรให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในประเทศไทย

ให้นิสิตเขียนตอบลงในกระดาษส่งอาจารย์

สัปดาห์ที่ 2 : การจำแนกประเภทของสิทธิมนุษยชน

Ø    การจำแนกสิทธิโดยพิจารณาจากเป้าหมายของการคุ้มครอง

o      สิทธิในชีวิต

o      สิทธิในร่างกาย

o      สิทธิในเสรีภาพ

o      สิทธิในทรัพย์สิน

Ø    การจำแนกสิทธิโดยพิจารณาจากคุณภาพความเป็นมนุษย์

o      สิทธิทางแพ่ง (พลเมือง)

o      สิทธิทางการเมือง

o      สิทธิทางสังคม

o      สิทธิทางเศรษฐกิจ

o      สิทธิทางวัฒนธรรม

 

สัปดาห์ที่ 3-7 : กฎหมายระหว่างประเทศและกลไกการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

- กฎหมายระหว่างประเทศ (สารบัญญัติ)

Ø    จารีตประเพณีระหว่างประเทศ

Ø    อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง

o      ในระดับสากล

o      ในระดับภูมิภาค

Ø    แนวคำพิพากษาศาลระหว่างประเทศ

- กลไกการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ (วิธีสบัญญัติ)

Ø    องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ

o      ในระดับสากลภายใต้กรอบองค์การสหประชาชาติ

o      ในระดับภูมิภาค

Ø    กระบวนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ

o      ภายใต้กรอบองค์การสหประชาชาติ

o      ภายใต้กรอบอนุสัญญาอื่นๆ

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 1

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 2

                 กรณีศึกษา 1

สัปดาห์ที่ 8 : แนวคิดและพัฒนาการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

Ø    แนวความคิดในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

Ø    พัฒนาการและนโยบายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

 

สัปดาห์ที่ 9-11 : กฎหมายไทยและกลไกที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

Ø    กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (สารบัญญัติ)

o      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

o      พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

o      กฎหมายเฉพาะอื่นๆ

Ø    กลไกที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย (วิธีสบัญญัติ)

o      องค์กรที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

§       องค์กรตุลาการ

§       องค์กรกึ่งตุลาการ

§       องค์อื่น

·       องค์กรภาครัฐอื่นๆ

·       NGOs

o      กระบวนการที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

 

สัปดาห์ที่12-15 : กรณีศึกษาที่น่าสนใจ

Ø    การถูกละเมิดสิทธิของคนไร้สัญชาติ

Ø    ปัญหาการใช้สิทธิในทางการเมือง

Ø    ปัญหาเรื่องสิทธิของแรงงานต่างด้าว

Ø    กรณีศึกษาอื่นๆ

 

การประเมินผล

            คะแนนรวม                                                                                100      คะแนน

            คะแนนเก็บ                                                                                20       คะแนน

            รายงาน                                                                                     20       คะแนน

            สอบกลางภาค                                                                            20       คะแนน

            สอบปลายภาค                                                                           40       คะแนน

 

หนังสือประกอบการเรียน

 

1)      นพนิธี  สุริยะ, สิทธิมนุษยชน, กรุงเทพฯ : วิญญูชน ,2537 (205 น.)

2)      กุมพล  พลวัน, สิทธิมนุษยชน: พัฒนาการสิทธิมนุษยชน, กรุงเทพฯ: วิญญูชน ,2538 (266 น.)

3)      สมชาย กสิติประดิษฐ์,สิทธิมนุษยชน, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2546(364น.)

4)      อุดมศักดิ์  สินธิพงษ์, สิทธิมนุษยชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,2548 (255 น.)

5)      เอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายสิทธิมนุษยชน, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ,2548 (เล่ม 1-2)

6)      วีระ  โลจายะ , สิทธิมนุษยชน, กรุงเทพฯ:  มหาวิทยาลัยรามคำแหง , 2524 (104 น.)

7)      เอกสารอื่นๆ

หมายเหตุ   นิสิตสามารถดูแผนการสอนรายวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชนโดยละเอียด รวมทั้งดูเอกสารเพิ่มเติมที่อาจารย์มอบหมายและแนะนำการเรียนการสอนได้ที่ http://gotoknow.org/blog/viewbhoom/185877

 

 

 

 

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/06/Y5473810/Y5473810.html

หมายเลขบันทึก: 185877เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

หัวข้อที่อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นในวิชาสิทธิมนุษยชน

ในเรื่องแบ่งปันคริตชน ให้อ่านทั้งหมดทุกๆความเห็นแล้วนิสิตมีความเห็นอย่างไร

หรือว่าให้อ่านเฉพาะบทความส่วนต้นๆเทานั้นคะ แล้วแสดงความคิดเห็น

ช่วยตอบหน่อยคะ จะขอบคุณเป็นอย่างมาก

ความในใจจากครูถึงลูกศิษย์...

        ถึงนิสิตที่รักทุกท่าน ผมกลับมาคิดค่อนข้างมากเกี่ยวกับคำถามในห้องที่ผมถูกถาม ภายหลังจากสิ่งที่ผมได้บอกพวกคุณไปเกี่ยวกับเรื่องการแบ่งแยกระหว่างนิสิตที่เรียนวิชาสิทธิมนุษยชนในกลุ่มIS และนิสิตนิติศาสตร์ที่อยู่ภาค Pure ผมเห็นสถานการณ์แล้วผมไม่ค่อยสบายใจครับ คือผมอยากเห็นนิสิตนิติศาสตร์ที่แม้จะต่างซึ่งหลักสูตร แต่ก็รวมเป็นหนึ่งในด้านการทำงาน

      อาจารย์บางท่านบอกให้ผมฟังว่าเป็นธรรมชาติของนิสิต ไม่มีอะไรหรอก แต่ผมรู้สึกได้ถึงการแบ่งแยกครับ

   เป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนวิชาสิทธิมนุษยชนคือการให้นิสิตมีความรู้ รัก และเคารพในความเป็นมนุษย๋ของเราทุกคนเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข.... หากแม้แต่ว่านิสิตที่จะจบไปเป็นหลักด้านสิทธิมนุษยชนให้กับสังคมยังคงมีความรูสึกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันแล้ว คงยังไม่ต้องพูดถึงสังคมว่ามีความแตกแยกขนาดไหน...

    ในขณะที่เราพร่ำสอนกันเรื่องของหลักการไม่เลือกปฏิบัติ และการคุ้มครองสิทธิ..และความเท่าเทียมกันในด้านคุณค่าของความเป็นคน แต่เรายังมีความรู้สึกแปลกแยกในใจและความรู้สึกแบ่งแยก เราจะทำให้สังคมที่มีความแตกต่างกันนั้นอยู่รวมกันได้อย่างไร.....

    อย่างไรก็ตามผมต้องขอบคุณนิสิตท่านที่กรุณาให้ความเห็นว่า "ถ้าหากอาจารย์บอกว่านิสิตแบ่งแยกแล้วทำไมในกลุ่มอาจารย์เองวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองจำเป็นจะต้องมีการแบ่ง Section สอนด้วย?"

  นิสิตท่านดังกล่าวให้ความเห็นว่าชอบเรียนกลุ่มใหญ่ๆมากกว่า  ในด้านการเรียนการสอน

   ซึ่งก็ดีครับ ผมก็ได้รับรู้ความเห็นของนิสิตเกี่ยวกับการแบ่ง Section ซึ่งผมไม่เคยได้รับรู้มากก่อนเพราะไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกับนิสิตตรงๆ  อีกประการหนึ่ง ผมเองนั้นก็จำกัดอยู่เฉพาะการสอนวิชาสำหรับนิสิตปี 4 ซึ่งอาจจะทำให้ผมไม่คุ้นเคยกับคุณมาก่อน  เป็นเรื่องดีที่ผมจะมีโอกาสได้คุยกับคุณ

   ผมขออนุญาตชี้แจงให้นิสิตทุกท่านทราบดังนี้ครับ

1. นโยบายการแบ่งแยก Section เป็นนโยบายของผู้บริหารคณะครับที่พยายามจะทำให้นิสิตได้รับการดูแลโดยทั่วถึง โดยลดขนาดห้องเรียนลงครับ จากแต่เดิมที่มีนิสิตเรียนหลักร้อยให้เหลือหลักสิบ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์หลายประการครับ

1.1 การตรวจข้อสอบ อย่างที่ผมได้ชี้แจงไปแล้วครับ เนื่องจาก คณะนิติศาสตร์เรานี้มีการศึกษาโดยใช้ข้อสอบอัตตนัยเป็นการเขียน การซอยนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ก็จะทำให้การตรวจข้อสอบของนิสิตนั้นลดเวลาลง ทำให้ออกผลการเรียนได้เร็วขึ้น ลดปัญหาที่แต่เดิมคะแนนออกช้าจนกระทั่งบางคนถูกretire ไปแล้วยังไม่รู้ตัวเลย หรือบางคนคะแนนออกช้าจนนิสิตไม่สามารถไปสมัครเรียนต่อที่อื่นได้ทัน

1.2 การตรวจแบบฝึกหัด  การเรียนนิติศาสตร์นั้นส่วนสำคัญคือต้องหัดคิด เขียนและพูดครับ เพราะนักกฎหมายเราต้องใช้สามทักษะนี้เป็นหลักครับ  ถ้านิสิตสักสองร้อยคน และอาจารย์ผู้สอนคนเดียวการนั่งตรวจ  แบบฝึกหัดของเด็กทุกคนย่อมเป็นไปไม่ได้  การให้คำแนะนำย่อมเป็นไปได้อย่างยากยิ่ง  แล้วยิ่งถ้าอาจารย์ท่านนั้นต้องสอน หลายรายวิชาด้วยแล้วล่ะก็คงเป็นเรื่องยากพอสมควรในการอ่านงานของนิสิตทุกคน

1.3 การเปิดโอกาสให้อาจารย์ใหม่ๆได้มีโอกาสสอนในรายวิชาที่ตนเองสนใจ ข้อนี้เป็นเหตุผลที่ฝ่ายบริหารคณะของเราได้ชี้แจงให้ที่ประชุมอาจารย์ทราบครับ  ซึ่งผมเองก็ต้องขอบคุณฝ่ายบริหารที่กรุณาเปิดโอกาสเช่นเดียวกับในมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆ เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพราแต่เดิมผมไม่ได้รับผิดชอบสอนในรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองครับ   แม้ผมสำเร็จการศึกษามาในสาขากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง โดยเน้นเรื่องการจัดการการใช้น้ำในแม่น้ำระหว่างประเทศก็ตาม  ผมรับผิดชอบสอนในรายวิชากฎหมายองค์การระหว่างประเทศ วิชาประวัติศาสตร์กฎหมายและวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชนที่ผมสอนร่วมกับ อ.ฉัตรพร  เดิมทีวิชาที่ผมตั้งใจจะเปิดสอนอีกวิชาหนึ่งคือ วิชาสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นวิชาที่เกิดขึ้นใหม่ตามหลักสูตรใหม่นิติศาสตร์ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2551  แต่ภายหลังคณะเราได้รับอาจารย์ใหม่เข้ามาคือ อาจารย์ยอดพลและอาจารย์จักฤษซึ่งท่านเป็นรุ่นน้องผม และทั้งคู่จบนิติศาสตรบัณฑิตสาขากฎหมายมหาชนมา  ดังนั้นผมจึงคิดว่าการให้อาจารย์ที่จบมาตรงสาขากว่าสอนน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าและนิสิตจะได้รับความรู้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าทำให้ ผมจึงตัดสินใจหันมาเลือกสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองที่ผมรัก แทน  และหากผมไม่เลือกวิชาดังกล่าว ผมคงจะต้องออกมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปเพราะภาระงานสอนไม่พอตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ครับ  และในกรณีที่มีอาจารย์ท่านใหม่มาและสนใจสอนในรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ในส่วนตัวผมเองผมก็ยินดีที่จะเปิดโอกาสให้อาจารย์ท่านนั้นสอน นิสิตได้อีก Section หนึ่งนะครับ (แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้นโยบายและหลักเกณฑ์ที่ฝ่านบริหารของคณะกำหนด ซึ่งผมไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นอย่างไร) เพื่อนิสิตจะได้มีความรู้และทัศนคติใหม่ๆ ครับ  นอกจ่ากนนี้ผมคิดว่าการได้ดอกาสทำงานกับคนใหม่ๆนั้นเป็นการปิดโลกทัศน์ของตัวเราเองครับ ประสบการณ์ที่ได้รับไม่ว่าดี หรือไม่ดีนั้นย่อมเป็นเครื่องสอนเราไม่มากก็น้อยครับ  ตลอดจน เมื่อเปิดหลาย Section แล้วหากนิสิตไม่สนใจเรียนในวิชาที่เราสอนก็ย่อมเป็นเครื่องเตือนให้เราปรับปรุงตนเองมิใช่หรือครับ ว่าเราได้ทำดีที่สุดแล้วหรือยังเพราะวิชาชีพอาจารย์โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐนั้นเงินที่ใช้ในการดำรงชีวิตนั้นมาจาก เงินของคุณพ่อคุณแม่นิสิต รวมทั้งเงินภาษีของประชาชนทุกคน และเราในฐานะอาจารย์มีหน้าที่สอนนิสิตออกไปให้เป็นคนดีที่มีความรู้เพื่อตอบแทนสังคมมิใช่หรือ

อย่างไรก็ตามหากนิสิตท่านใดมีความเห็นดีๆ เช่นนี้อีกขอเชิญส่งมาให้ผมได้นะครับ แล้วผมจะทยอยตอบให้นะครับ ในฐานะที่ผมเองเชื่อในหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชน และสอนวิชานี้เอง ผมยินดีที่จะรับฟังความเห็นทุกความเห็นทั้งด้านบวกและลบครับ เพื่อจะนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนและตนเองต่อไป

และท้ายสุดแต่ไม่สุดท้าย เพราะผมเชื่อว่าคงได้มีโอกาสตอบนิสิตอีกหลายคำถามแน่นอนครับขอบคุณครับ

อ.วิว จตุภูมิ  ภูมิบุญชู

ครูเอาไฟล์ใส่ไว้ในไฟล์ Alabum นะครับ ยังทำ LInk ให้ไม่ได้เพราะระบบ ค้าง เข้าใจว่าเป็นเพราะคนใช้เยอะ เลยยังแก้ไข blog ยังไม่ได้ ไว้คืนนี้จะลองทำให้อีกทีนะครับ

อ.วิว

ปล. ถ้าใครด่วนให้ไป download จากไฟล์ Alabum ก่อนนะครับ

ความในใจลูกศิษย์ถึงอาจารย์

ถึง section นี้จะมีนิสิตเรียนจำนวนน้อยก็อย่าท้อนะคะอาจารย์

อยากบอกอาจารย์ว่าทุกคนที่ลงวิชานี้มีความตั้งใจที่ต้องการศึกษา

เพราะว่าเป็นวิชาที่สามารถจุดประกายความคิดของนิสิตได้ว่า ยังมีกลุ่มคน

ที่ต้องการความช่วยเหลือมากๆ และอยากช่วยเหลือคนกลุ่มนั้น หากไม่ได้มาเรียนวิชานี้

ก็คงจะไม่รู้ไม่ทราบ ว่าในโลกนี้ยังมีกลุ่มคนที่น่าสงสาร

ขอบคุณที่อาจารย์เปิดsectionนี้ ให้โอกาสนิสิตที่จะได้เรียนวิชานี้

สวัสดีค่ะ อาจารย์จตุภูมิ

คือว่า...หนูอยากได้ไฟล์พวกสนธิสัญญาต่างๆที่อาจารย์เคยให้ไปหานะคะ ตอนนี้ได้มาเป็นตัวเอกสารจากเพื่อนแล้ว แต่อยากได้ไฟล์เก็บไว้ในเครื่องบ้าง แต่ไม่สามารถหาได้ จึงอยากรบกวนอาจารย์กรุณานำมาแขวนในนี้ให้หน่อยได้มั๊ยคะ

ขอบคุณค่ะ

เอกสารประกอการสอนของอาจารย์ ที่เอามาขึ้นไว้มีไม่ครบเลยคับขอความกรุณาเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ

ถ้าอาจารย์ดูหัวข้อที่ทำรายงานเรื่องสิทธิสตรีแล้ว รบกวนอาจารย์ช่วยcommentลงในblogให้

ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

blog กาญจนา ศรีเนตร

blog ศศิธร พงษ์เมธี

นางสาวมัณฑนา มูลกัณฑา

ขอท่านอาจารย์ช่วยบอกความหมายของสิทะมนุษยชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านครับ

ครูเองสรุปง่ายๆ ในเวลาที่จำกัดอย่างนี้นะครับ สิทธิมนุษยชน ท่านอาจารย์พันธุ์ทิพย์ ได้กรุณาให้ความเห็นผมอย่างนี้ครับ สิทธิมนุษยชน คือสิทธิที่มนุษย์ คนหนึ่งพึงมีในฐานะของความเป็นมนุษย์ครับ แต่ปัจจุยันรเรายังจำกัดความไม่ได้ว่าขอบเขตกว้างแค่ไหน เพราะมีความพยายามในการพัฒนาแนวคิดให้ความคุ้มครองที่กว้างออกไปเรื่อยๆ ครับ เดี๋ยวครูทำงานเสร็จจะแวะมาตอยอีกนะครับ

อาจารย์คะ อยากทราบว่า ตอนนี้รายวิชานี้กำลังเปิดสอนอยู่ไหมคะ

คือ ดิฉันเป็น นักศึกษา ฝึกงานอ่าคะอยู่องค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

ซึ่งอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา มากขึ้นคะ เพื่อที่จะนำมาทำโครงการรายวิชาสิทธิมนุษยชนศึกษาในมหาลัยในประเทศไทยอ่าคะ

ขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์หน่อยนะคะ อยากทราบข้อมูล และการติดต่อ คะ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท