คำถามสะกิดใจจากผู้เรียนในยุค student-centered learning


แม้จะไม่ผิดความคาดหมายว่าต้องได้รับการตอบกลับแบบคัดค้านจากนักเรียนอินดี้ แต่ก็ยังต้องตั้งสติอึดใจใหญ่ เมื่อเจอปฏิกิริยาต่อต้านและความเห็นสะท้อนกลับว่า "ไม่ fair เลยซักนิด"

บางทีคำถามง่าย ๆ จากเด็กยุคใหม่ ก็ทำให้เรายากที่จะตอบและอธิบายขยายความเหตุผล...

เหตุเพราะเด็กชายอินดี้เติบโตและถูกหล่อหลอมมาในระบบโรงเรียนของออสเตรเลียที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและความสุขของผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่ว่าเมื่อผู้เรียน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย) เป็นสุขก็จะมีสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น

หลังจากฉันคิดใคร่ครวญทบทวนเรื่องการเรียนรู้ของลูก เริ่มรู้สึกว่าเขาใช้เวลาในการเรียนและฝึกฝนทักษะการอ่านออกเขียนได้ที่บ้านน้อยไปหน่อย จึงพยายามกำหนดตารางการอ่านหนังสือใหม่ โดยนอกจากอ่านหนังสือตอนเย็นวันละ 15 นาทีตามที่ครูประจำชั้นได้กำหนดมาให้ ก็กำหนดเพิ่มเติมให้อ่านตอนเช้าหลังจากตื่นนอนอีก 15 นาที ...คิดว่านี่คือสิ่งดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้เขาได้ใช้เวลาในการพัฒนาการอ่านให้ก้าวหน้าได้เร็วขึ้น

แม้จะไม่ผิดความคาดหมายว่าต้องได้รับการตอบกลับแบบคัดค้านจากนักเรียนอินดี้ แต่ก็ยังต้องตั้งสติอึดใจใหญ่ เมื่อเจอปฏิกิริยาต่อต้านและความเห็นสะท้อนกลับว่า

"ไม่ fair เลยซักนิด"

เมื่อฉันตอบกลับว่า "อยากให้ลูกใช้เวลากับการเรียนที่บ้านมากขึ้น ลดเวลาเล่นและดูทีวีลงบ้าง เพราะโตแล้ว และแม่ขอเป็นผู้กำหนดเรื่องการเรียนให้ ไม่อย่างนั้นถ้าให้เลือกเอง ลูกก็เลือกที่จะทำน้อยอยู่ตลอดเวลา"

เขาถามกลับทันที ด้วยน้ำเสียง upset "แล้วใครเป็นคนเรียนละแม่"

อืมม์....แน่นอนเรารู้ว่าคำตอบคือ "โอเคลูกเป็นคนเรียน" แต่จะอธิบายต่อยังไงดี...

ยิ่งลูกเติบโตขึ้นเท่าไหร่ กรอบการคิดดั้งเดิมต่อบทบาทของพ่อแม่ในสังคมไทยที่เราเติบโตมา ก็ถูกท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ การสรรหาและถ่ายทอดคำอธิบายที่ "make sense" สำหรับผู้ตั้งคำถามตัวน้อยที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมให้เด็กเชื่อมั่นในตนเองและมีอิสระทางความคิดในการโต้แย้งและคัดค้านตลอดเวลา บางทีก็ยากยิ่งกว่าการเขียน proposal เข้าเรียนปริญญาเอกซะอีก ...เฮ้อ!!

หมายเลขบันทึก: 364532เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นกำลังใจให้ครับ สำหรับ  student-centered learning

    เจอแต่ละคำถาม

    "ไม่แฟร์เลยสักนิด"

    "ใครเป็นคนเรียน"

    เป็นผม ผมก็ "จุก" ครับ  เพราะ  นายแน่มาก

    

Isn't that interesting??? i don't know how this theory will work in a classroom when there are more than five different students with at least five different background!! i don't want to be little you, that you only have one learner to satisty:):)

I once had an instructor asked me, how do i design a cirriculum to fit a student-centered- learning, and asked me what do i want to see as a student....i don't think my answer would justify the rest of the other LEARNERS in class!! However, it is intersting to see how and who would design the best cirriculum to fit this theory

P
SAWNA Thanks for your comments. The learning system here is quite good, in my point of view. Activities in class are hold in separate smalll groups of about 5-6 kids who are in the same (or very close) level of learning. Parents also pay a very important role in supporting and being class helpers to run the activities designed by the school and class teachers. I, actually quite impressed the way learning processes have done here (Brisbane, Queenlands, Australia).

สวัสดีค่ะ

เด็กชายอินดี้จ๋า  อย่าดื้อนะจ๊ะ   เป็นกำลังใจให้คุณแม่ค่ะ   Heartthatface

P

Moon smiles on Venus&Jupiter ขอบคุณมากค่ะ ปกติเขาก็ไม่ดื้อหรอกค่ะ แต่ต้องการเหตุผลสำหรับทุกอย่างค่ะ

อินดี้ นายแน่มาก

รูปนี้กี่ขวบเนี่ย หน้าเหมือนพ่อเลยว่ะ

เมื่อไหร่มาเมืองไทยจะพาไม้โมกไปเจอ โคตรหาเหตุผลเหมือนกันเลย

8 ขวบครับ ว่าแต่ผู้ปกครองของไม้โมกคือใครคะเนี่ย ช่วยแสดงตัวหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท