025 : รุ้งเอย...ทำไมบางทีมีเป็นคู่?


 

คุณอุ๊ a l i n_x a n a =) ได้มอบภาพรุ้งคู่แสนสวยเหนือน่านฟ้าฮาวาย

แด่มวลมิตรไว้ในบันทึก บทกวีแห่งสายรุ้งของอินเดียนแดง

 

น่าสงสัยไหมล่ะครับว่า ทำไมบางทีรุ้งก็มาตัวเดียว

บางทีก็มาเป็นคู่ คล้ายภาพสะท้อนในกระจก

อย่างที่คุณ  ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ดาวได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจ

 

มาดูการเกิดรุ้งตัวแรกกันก่อน

ฟ้าหลังฝนนั้นเต็มไปด้วยละอองน้ำเม็ดเล็กๆ เต็มไปหมด

เมื่อแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์ตกกระทบเม็ดน้ำ ก็จะหักเห (refract) เข้าไปในเม็ดน้ำ

แสงสีขาวนั้นประกอบไปด้วยสี ม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-แสด-แดง

แต่แสงสีต่างๆ หักเหได้ไม่เท่ากัน

ผลก็คือ แสงสีขาวแตกกระจายเป็นแสงสีต่างๆ ในเม็ดน้ำ

เมื่อแสงสีต่างๆ ตกกระทบผิวด้านในของเม็ดน้ำก็จะสะท้อน 1 ครั้ง

จากนั้นก็จะหักเหออกมาจากเม็ดน้ำสู่ภายนอก

มาเข้าตาเรา

 
ภาพจาก HowStuffWorks

แสงสีแดงเข้าสู่ตาเราด้วยมุมเงยที่สูงกว่า จึงปรากฏอยู่ด้านบนของสายรุ้งตัวแรกนี้

แสงสีม่วงนั้นมีมุมเงยต่ำกว่า จึงอยู่ด้านล่าง

นี่คือ รุ้งที่เราเห็นได้ชัด เรียกว่า รุ้งปฐมภูมิ (primary rainbow)

 

 

คราวนี้มาดูการกำเนิดรุ้งตัวที่สอง (ภาพด้านซ้าย)

แสงสีขาวพุ่งเข้าไปในหยดน้ำ

แล้วก็หักเห จากนั้นก็สะท้อน 2 ครั้ง (เลข 2)

แล้วจึงหักเหออกจากเม็ดน้ำ พุ่งเข้าสู่ตาของเรา


ภาพจาก Wikipedia

แต่รุ้งตัวที่สองนี้มีสีม่วงมีมุมเงยมากกว่า สีแดงน้อยกว่า

ผลก็คือ สีม่วงอยู่ด้านบน สีแดงอยู่ด้านล่าง

สลับสีกับตัวแรกคล้ายภาพสะท้อน แต่จะอยู่สูงกว่าตัวแรกเสมอ (ถ้ามองเห็นได้)

รุ้งตัวที่สองนี้มีชื่อว่า รุ้งทุติยภูมิ (secondary rainbow) ครับ

 

ส่วนคำถามที่ว่า

ทำไมรุ้งตัวที่สองจึงมีสีจางกว่าตัวแรก?

ผมให้เพื่อนๆ ลองเดาดูเองก่อนดูเฉลยข้างล่าง

บอกหมดเดี๋ยวไม่สนุก...อิอิ

 


 

เฉลย : การที่รุ้งตัวที่สองจางกว่าตัวแรกเกิดจากสาเหตุ 2 อย่าง ได้แก่

1) เกิดการสะท้อน 2 ครั้ง ทำให้เสียพลังงานไปส่วนหนึ่ง (ส่วนนี้ไม่มากนัก) 

2) แสงในเม็ดน้ำของรุ้งทุติยภูมิเดินทางด้วยระยะทางมากกว่าแสงในเม็ดน้ำของรุ้งปฐมภูมิ

ทำให้เสียพลังงานจากการดูดกลืนโดยเม็ดน้ำมากกว่า (ส่วนนี้มากกว่า)  

วิธีดูเฉลย - นำเคอร์เซอร์ไปไว้ที่เครื่องหมาย : หลังคำว่าเฉลย

คลิกซ้ายค้างไว้ แล้วลากไปทางขวา ลากต่อลงให้ครบ 4 บรรทัด 

คำตอบจะปรากฏขึ้นเหมือนผีหลอก ;-)

 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 192256เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ ท่านอ. หมอเมฆ

* เหมือนใจตรงกันเลยนะคะ ตื่นเช้ามาหนูก็ลงบันทึกใหม่แล้ว

* ปูก็โชคดี ได้เข้ามาดูความรู้เรื่อง รุ้งอีก ... ขอบพระคุณค่ะ

* แต่อีกนาน ? ค่ะ จะได้เห็นรุ้งอีก เพราะช่วงนี้ฝนไม่ตกเลย

* เมื่อ2วันก่อน ปูเห็นพระอาทิตย์ทรงกลด = จะหมดฝน?คะ 

* ... เรียนเชิญอ. ช่วยเติมเต็มความรู้นะคะ ขอบพระคุณค่ะ ... 

http://gotoknow.org/blog/lanandaman/192253 

* ภาพพี่อุ๊ งามมากๆ ค่ะ .. เพิ่งทราบว่า รุ้งมีแบบ เรียกว่า

* รุ้งปฐมภูมิ และ รุ้งทุติยภูมิ คล้ายๆ กับข้อมูลเลยนะคะ

* ดีนะคะ ไม่มี ... รุ้งปฐมวัย ... รุ้งบริบาล  ... รุ้งวัยรุ่น ?

* ส่วนรุ้งตัวที่สอง สีน้อยกว่า ขอเดาว่า เพราะอยู่ไกล? ค่ะ

* ท่านอ. ค่ะ แล้วทำไมเวลารุ้งจะสลายโต๋ นี่ค่อยๆ จางไป

* เริ่มจากตรงส่วนปลาย หรือตรงกลาง ตรงไหนก่อน ? คะ

อ. ขา ไม่มีภาพรุ้ง ... แต่มีภาพพระอาทิตย์ทรงกลด ก็พอเห็น แสงสีรุ้ง นิดๆ นะคะ อ. ... หลักการกระจายแสงแบบเดียวกันไหมคะ?

สวัสดีค่ะ อาจารย์

วันนี้ได้ดูปรากฎการณ์ธรรมชาติดี ๆ  สักครูแวะไปดู พระอาทิตย์ทรงกลด ของคุณ poo มาค่ะ  คราวนี้ได้ดูอีกอัน คือ รุ้งกินน้ำ ขอบคุณค่ะ

  • รุ้งกินน้ำอันแรก (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) เรียกว่า รุ้งปฐมภูมิ
  • ทำไมรุ้งตัวที่สองจึงมีสีจางกว่าตัวแรก?
    จะใช่หรือเปล่าคะว่า 
    • รุ้งปฐมภูมิเกิดเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนภายในหยดน้ำ หนึ่งครั้ง
    • รุ้งทุติยภูมิเกิดเมื่อแสดงอาทิตย์สะท้อนที่ผิวภายในหยดน้ำสองครั้ง

    ซึ่งในการสะท้อนแต่ละครั้ง จะมีแสงบางส่วนหายไป ดังนั้นเมื่อรุ้งทุติยภูมิเกิดจากการสะท้อนแสงอีกครั้ง รุ้งตัวที่สองจึงมีความเข้มที่เจือจางยิ่งกว่ารุ้งตัวแรกตามที่ตาเห็น  ค่ะ

    • ขอบคุณค่ะ
  • รุ้งกินน้ำอันที่สอง (แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง) เรียกว่า รุ้งทุติยภูมิ

เดาว่าเพราะแสงต้องหักเหตกกระทบสองครั้ง ทำให้แสงสะท้อนจากมุมที่สองที่ตกกระทบจางลง ใช่หรือเปล่าคะ ประมาณว่า ถูกหักเหไป ทำให้ความเข้มแสงลดลง รวมถึงองศาที่ที่ทำมุมกระทบระหว่างแสงกับหยดน้ำก็น่าจะมีส่วนด้วย นี่เดาแหลกค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะท่านอ. หมอเมฆ

ขอบพระคุณมากๆ นะคะสำหรับข้อมูลความรู้

เมื่อวานพี่สาวอุ๊ เค้าบอกว่า เค้าเคยเห็น

- - รุ้ง คราเดียวกัน 3 ตัวเลยแน่ะคะ ท่านอ.

* โอ๊ะ โอ๋  ขนาด 2 ตัวยังหาดูยากดูเย็น

- - แล้ว รุ้งมาพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายถึง

3 องค์ ครบ รัตนตรัย อย่างนี้ มีเหตุผลใดค่ะ ?

... แล้ว ท่านอ. เคยเห็น รุ้งทีเดียว 3 นางพร้อมกันไหม?

* นอกจากบนสลาก ตรา3แม่ครัวแล้ว ยังมิเคยเห็นเลยค่ะ

- - ทำอย่างไร เราจึงจะได้เห็นรุ้ง 3 อนงค์ ในเมืองไทยมีไหมคะ ?

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ... ให้ท่านอ. มีความสุขกับธรรมชาติค่ะ

สวัสดีค่ะดร.พี่ชิว

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความกระจ่างเรื่องรุ้ง 2 ตัวซ้อนกัน.. พี่ชิวทำให้เพิ่งมาสังเกตว่าสีสลับกัน..เห็นหลายทีไม่เคยสังเกตเลยค่ะ..มัวแต่ตื่นเต้น...และพอพี่ชิวอธิบาย..ทำให้คุ้นๆว่าสมัยก่อนที่เรียนวิทยาศาสตร์..เคยได้ยินชื่อรุ้งปฐมภูมิ..รุ้งทุติยภูมิ..เพิ่งมาเห็นของจริงตอนโต..ลองไปค้นภาพดูเจออีก 2 ตัวค่ะ แต่รูปนี้ตัวที่สองจางมากๆ ไม่ชัดเท่าภาพบน พี่ชิวพอมองเห็นมั๊ยคะ..เอามาฝากค่ะ

เป็นเพราะการหักเหของแสง 2 ครั้งทำให้ครั้งหลังคุณภาพแสงด้อยลง ก็เลยจางใช่มั๊ยค่ะ... :)

รุ้ง

ส่วนที่น้องปู...ถามถึงรุ้ง 3 ตัวที่เจอนั้น..จะขอเสริมนิดหนึ่งค่ะ เข้าใจว่าน่าเป็นรุ้งปฐมภูมิอีกตัวที่มาไขว้กันกับตัวอื่นๆ.. ที่ไม่เกี่ยวกับรุ้งทุติยภูมิ..คงไม่มีรุ้งตติยภูมินะคะ...เคยเจอ 4 ตัวยังมีเลยค่ะ แต่ห่างพอควรไม่ใกล้กันมาก..เพราะตรงนั้นเป็นเหมือนหุบเขา เลยเห็นแบบกว้างๆบนฟรีเวย์ค่ะ..แต่ก็ไม่เต็มโค้งค่ะ..แล้วรุ้งตัวอ้วน-ผอมขึ้นกับการหักเหของแสงด้วยหรือเปล่าคะ...ถามอีกละ..

 

 

สวัสดีครับ

     คุณ poo : ตามไปชม อาทิตย์ทรงกลด (solar halo) แบบเต็มๆ มาแล้ว ถ่ายภาพได้แจ๋วมากครับ ดูอลังการมาก

                    เรื่องรุ้งตัวที่ 3 นี่ ผมขอลองไปสืบค้นดูก่อนครับ

     คุณ กัญญา : ปรากฏการณ์ธรรมชาตินี่มีทั้งแง่งามและแง่ดุ ;-) ครับ คล้ายๆ คนเราเหมือนกัน (จริงๆ แล้วคงเป็นเพราะคนไปตีความอารมณ์ให้นั่นเอง)

 
     คุณซูซาน Little Jazz : ท่าถ่ายภาพนี่เท่มั่กๆ ครับ ขอบอก...ส่วนเฉลยเดี๋ยวจะเขียนให้อีกทีครับ

     คุณอุ๊ a l i n_x a n a =) : เรียกพี่ชิวเฉยๆ เหมือนกวินและคนอื่นๆ ก็ได้ครับ (ไม่ต้องมี เด็กเรียน = ดร....อิอิ) เรื่องรุ้งตัวอ้วนนี่ผมยังงงๆ อยู่..แหะ...แหะ..ถ้ารู้เมื่อไร จะแจ้นมาบอกทันที 

สวัสดีค่ะ พี่ชิว (ไม่มีเด็กเรียนแล้วค่ะ ^^)

วันนี้คุยกับหนุ่มที่บ้าน เค๊าอยู่ที่ฮาวายตั้งแต่เด็กๆ ค่ะ เค๊าบอกว่าเค๊าเห็นรุ้ง 3 ตัวเรียงซ้อนๆกันขึ้นไป ตอนเด็กๆ ที่อยู่ในสนามกับเพื่อนๆ เค๊าบอกว่ารุ้ง 2 ตัวซ้อนกันนั้นเห็นประจำอยู่แล้ว... แต่เค๊าจำได้แม่นว่า เพื่อนๆบอกว่า รุ้ง 2 ตัว... แต่เค๊าบอกว่าให้ดูดีๆ มี 3ตัวซ้อนกัน...เป็นสามชั้น... แต่ชั้นสุดท้ายจางมากๆ สีไม่ครบ..ส่วนตัวแรกเข้มสุดๆ ..จะมาถามว่าเป็นไปได้ไหมคะว่าเป็นการหักเหของแสงแล้วสะท้อน 3 ครั้งในหยดเดียว..เค๊าบอกว่าเห็นครั้งนั้นครั้งเดียวเองค่ะ...

สวัสดีครับ อุ๊

       ต้องปรบมือดังๆ ให้อุ๊ และฝากขอบคุณ 'หนุ่มที่บ้าน' ด้วยครับ สารานุกรม Wikipedia ระบุว่ามีจริงๆ ด้วย และอาจมีได้ถึง 4!

       ขอคัดข้อความบางส่วนมาก่อนดังนี้ครับ:

A third, or tertiary, rainbow can be seen on rare occasions, and a few observers have reported seeing quadruple rainbows in which a dim outermost arc had a rippling and pulsating appearance. These rainbows would appear on the same side of the sky as the Sun, making them hard to spot. One type of tertiary rainbow carries with it the appearance of a secondary rainbow immediately outside the primary bow. 

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Rainbow Page 4 of 11

       เรื่องนี้ชักจะน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ไปช่วยกันค้นคว้าต่อดีกว่า

       พลังแห่งการเรียนรู้ไปด้วยกันอย่างสร้างสรรค์นี่น่าทึ่งจริงๆ ครับ! ^__^

กลับมาอีกทีค่ะ พี่ชิว

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ.. เดี๋ยวต้องรีบไปบอกหนุ่มที่บ้านด้วยค่ะ..555  เค๊าบอกว่ามั่นใจมากๆ.. พอไปทัก..ทำให้เริ่มสงสัย..เค๊าก็อยากทราบเหมือนกันค่ะ..เย้ๆๆ ดีใจจังค่ะ ตื่นเต้นอย่างกับเห็นเอง..เดี๋ยวจะตามไปอ่านที่ลิงก์ค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ พี่ชิวรวดเร็วปานกามนิตจริงๆค่ะ..

สวัสดีครับพี่ชิว มาอ่านครับ ผมว่าเราน่าจะเห็นรุ้ง ได้ถึง 6 ตัวนะครับ เห็นสามตัวบนฟ้า และเห็นอีกสามตัวเห็นในน้ำ รวมเป็นหกตัวครับ :)  อนึ่งความเชื่อทางพุทธศาสนาเชื่อว่า สวรรค์มีหกชั้นนะครับ เรียกสวรรค์ทั้งหกชั้นฟ้าว่า ฉกามาวจร=ฉ+กาม+อวจร แปลโดยยึดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ดังนี้นะครับ

= หก (six)
กาม=ความรัก

อว เป็นคำอุปสรรค (prefix) นำมาเติมหน้า ธาตุ (Root)
อว แปลว่าไม่ เช่น อวมงคล แปลว่า ที่มิใช่มงคล
จร = ไม่ใช่ประจํา, ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ.
อวจร= ที่มิใช่การเที่ยวไป (ไม่ไปเที่ยว ก็คือ การอยู่กะที่)

ราชบัณฑิตฯ แปล คำว่า อวจร ไว้ว่า

อวจร=อว+จร : อวจร  [อะวะจอน] น. แดน, บริเวณ, เขต, วิสัย. (ป., ส.).

ฉกามาวจร =(ที่มิใช่การเที่ยวไป/อยู่กับที่) ดินแดน อันยังเกี่ยวข้องด้วยกามคุณ มีหก (ชั้น)

ราชบัณฑิตฯ แปล คำว่า  ฉกามาวจร ไว้ว่า

ฉกามาพจร, ฉกามาวจร  [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช  หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต   ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).

ปล.ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ สวรรค์ชั้นเจ็ด??? ไว้พี่สนใจไปเที่ยว เอ้ย สนใจอ่านคลิกตามไปได้เลยนะครับ แต่ที่พูดมาเสียยาวยืดนี้ก็เพื่อจะเสนอว่ารุ้งก็น่าจะเห็นได้ ถึง หกตัว เหมือนสวรรค์ มี หกชั้น ดังนี้นะครับ 

รุ้งปฐมภูมิ (จาตุมหาราช)
รุ้งทุติยภูมิ (ดาวดึงส์
)
รุ้งตติยภูมิ (ยามา
)
รุ้งจตุรภูมิ  (ดุสิต
)
รุ้งเบญจมภูมิ (นิมมานรดี
)
รุ้งฉภูมิ (ปรนิมมิตวสวัตดี)

  • ว้าว ได้ทราบแล้วว่ารุ้ง ทำไมขึ้นได้หลายๆคัว
  • น่าสนใจมากค่ะ วันไหน ฝนตกและแดดออก ค้องถือกล้องไปแอบถ่ายรุ้งกินน้ำบ้างแล้วค่ะ

สวัสดีครับ

      อุ๊ a l i n_x a n a =) : พอดี on-line อยู่น่ะครับ เรื่องรุ้งตัวที่ 3 นี่ ถ้าถ่ายภาพได้ก็แจ๋วเลย แต่คงจะยากเหมือนกันเนอะ เพราะสีต้องจางมากแน่ๆ เลย

      กวิน : โว้ว! สวรรค์แต่ละชั้นมีสีสันด้วย เดี๋ยวจะหาเรื่องไปเที่ยวสวรรค์ชั้นที่ 7 นะครับ (คนจีนว่ามี 9 ชั้น...ใครรู้รายละเอียดบ้างเอ่ย)

      คุณ naree suwan : ดีครับๆ ถ้าได้ภาพรุ้ง ก็นำมาไว้แถวๆ นี้ก็ได้ครับ มีคนหลงรักท้องฟ้าเยอะแยะเลย ^__^

  • ชอบดูรุ้ง
  • ตอนเด็กๆๆผู้ใหญ่ชอบหลอกว่าห้ามชี้
  • เดี๋ยวนิ้วกุด ฮ่าๆๆ
  • วิธีแก้คือ .......
  • ตอนนี้กำลังตามเก็บภาพเมฆ
  • ต่อไปเก็บรุ้งแบบต่างๆๆ
  • เก็บน้องรุ้งด้วยได้ไหม
  • อิอิอิๆๆ
  • อยากมีน้องรุ้งเป็นของตัวเองฮ่าๆๆ

สวัสดีค่ะ

ขอแจมค่ะ

เมื่อก่อนหลังฟ้าฝน

ย่อมมีคนเห็นสีรุ้ง

ภายหลัง ณ เมืองกรุง

คนเห็นรุ้งนั้นบอบบาง

รุ้งสวยต้องดูโค้ง

คล้ายหลังโก่งแบบชาวนา

เจ็ดสีละลานตา

ดูสวยกว่าแห่งหนใด

อยากให้รุ้งดำรงอยู่

ไม่คดคู้อยู่ที่ไหน

โลกสวยไม่ร้อนใน

รุ้งสดใสใจชื่นบาน

แต่บัดนี้ไม่เหมือนก่อน

ฉันอาวรณ์เห็นรุ้งจาง

เผยน้ำคำกล่าวอำลา

ลาแล้วจ้ารุ้งสวยเอย

เฮ้ยได้ไงครับคุณพี่

อย่าท่าดีทำนิ่งเฉย

รุ้งหมดฟ้าอย่าละเลย

อย่านิ่งเฉยดำรงพันธุ์

รณรงค์แก้โลกร้อน

ปลูกไม้ซ้อนดับร้อนกัน

ลดอุณหภูมิแก้โลกฉัน

รุ้งสวยนั้นพลันหวนคืน

หมายเหตุ : ไม่ได้แต่งเอง คัดลอกมาจ้า ไม่ได้เก่งขนาดนั้น

สวัสดีค่ะคุณหมอเมฆ

  • ภาพที่คุณอุ๊เอามาให้ชมสวยมากค่ะ (ได้ยินเสียงประกายปิ๊งๆ ตรงจุดรวมแสงที่ตกกระทบด้วย)
  • ตอนนี้พอเห็นพื้นที่ว่างๆ ในบันทึก จะต้องขอเอาเม้าท์ไปวาง คลิกและลากป้าย เผื่อว่าจะเจอ...รุ้งอีกสักตัวสองตัวค่ะ...555 (มาแซว)
  • สงสัยที่ ดร.ขจิต เขียน อยากรู้เหมือนกันทำไมผู้ใหญ่กว่าเราไม่ให้เราชี้รุ้ง เดี๋ยวนิ้วกุด พี่ชิวหาน้องรุ้งให้ น้องขจิตสักตัว เอ้ย คนสิคะ ^^

สวัสดีครับพี่ชิว ผมเจอจุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดินแล้วครับ ที่นี่ ล่ะครับ

Photobucket
 โดย:  (SwantiJareeCheri ) .  

อันนี้รุ้งประเภทไหนครับ
Photobucket
โดย: แม่ไก่ 

ภาพจาก เพื่อนสมาชิกที่ เวป bloggang.com  ของพันทิพย์ นำมาโพสไว้น่ะครับ

ปล. พี่ชิวครับ  คุณ แม่ไก่ เขียนแซวประกอบภาพไว้ว่า "สายรุ้งมักจะเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความฝัน ความสดใส...แต่หากเป็นสายรุ้งสลาย (แบบรูปที่เธอโพส) จะหมายถึงความหวังหรือความฝันอันแหลกสลายด้วยหรือเปล่า" ดูดู๊ดู ดูเธอทำ

สวัสดีครับ

     อ.แอ๊ด (ขจิต ฝอยทอง) : ต้องการน้องรุ้งตัวผอมหรือตัวอ้วนล่ะครับ :-P

     คุณ lovefull : ถึงโลกจะร้อน แต่รุ้งก็คงจะไม่ได้หายไปไหนครับ  แต่ถ้าหายไปจริงๆ ต้องไปตามที่ อ.ขจิต (อาจจะงุบงิบไปหลายตัว....555)

     คุณ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี : ใช่ครับๆ บางทีที่ว่างๆ อาจจะมีรุ้งโผล่ออกมาก็ได้ ;-)

     กวิน : เจอปลายรุ้งแล้ว ต้องตามไปดู แต่พอไปถึงรุ้งอาจจะสลาย...แบบว่า ดูดู๊ดู ดูเธอทำ...อีกจนได้ (โฮ)

 

สวัสดีครับ

มีรุ้งมาฝาก ถ่ายที่เชียงราย หรือพะเยา จำไม่ได้ หลายปีแล้ว พอเห็นปุ๊บ ก็รีบหยุดรถลงมาถ่าย(รูป)

Moorainbow

ว้าว! เท่สุดๆ ครับอาจารย์หมูครับ

แต่ตอนถ่ายภาพนี้อาจจะแสบตาเล็กน้อยหรือเปล่าครับ เห็นตาหยีเชียว...ล้อเล่นน่ะครับ...อิอิ คือ เจ้ารุ้งนี่อยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ^__^

  • สวัสดีครับพี่ชิว และอาจารย์  ธ.วั ช ชั ย
  • ดีจังเลยนะครับที่อาจารย์ธ.วั ช ชั ย  ก็เจอจุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดิน แถมมีภาพมายืนยันด้วย น่าจะตามไปขุดทองที่ โคนรุ้งกินน้ำนะครับ

 

สวัสดีครับ น้องกวิน

       กลัวว่าพอไปแล้วจะเจอแบบ "ขุมทองโกโบริ" ที่เมืองกาญจน์น่ะครับ ;-) แต่ก็อาจจะยังดีกว่าเจอ "ขุมทองปุ๊ๆ" ที่กำลังจะกลายเป็นปุ๋ย :-D

ไม่อยากน้อยหน้าคนข้างบนที่ยืนกลางทุ่งค่ะ อิอิ

  • อธิษฐานอยู่ไม่นาน ขอดูรุ้งคู่มั่ง ได้สมใจค่ะ
  • แต่คราวหน้าจะจับให้อยู่หมัด ใช้กล้องขนาด ล้านๆๆ ความละเอียดอดทนค่ะ

Rainbowincm 

อ.พี่ชิวคะ

  • มาอีกรอบนะคะ
  • ที่ถ่ายไปใช้กล้องมือถือค่ะ ตอนนี้ยึดกล้องมาจากสาวน้อยได้แล้ว รอดูฝีมือนะคะ :0
  • ว่าแต่ว่า วิทยาศาสตร์ตอบข้อสงสัยเรื่องกล้องดิจิทัลถ่ายติดภาพที่เป็น วง วง บ่อยๆ (ชอบเป็นตอนค่ำๆ ดึกๆเรื่อย)ได้ไหมคะ พอโคลสอัพเข้าไปแล้ว อะไรกันน่ะ กล้องออกจะราคาแพง มีข้อบกพร่องได้อย่างไรกันนะค่ะ หลายภาพเลยทำอะไรไม่ได้เลย

สวัสดีครับ พี่ดาว

       ใช่ภาพวงๆ เป็นแสงสีขาวๆ เทาๆ แบบนี้หรือเปล่าครับ

          ถ้าใช่...วงแสงแบบนี้เรียกว่า ออร์บ (orb) ครับ เคยเป็นข่าวฮือฮาเมื่อปีก่อนในนาม "วงแสงจตุคาม"

          เรื่องนี้ทำให้ผมต้องเขียนข่าวลง นสพ. นิตยสาร & ไปออก iTV (ก่อนเปลี่ยนเป็น Thai-PBS) ด้วยครับ

          ดูคำอธิบายแบบยาวๆ ในเรื่อง ฟิสิกส์เบื้องหลัง 'ภาพวงกลมจตุคามฯ'

          เดี๋ยวผมจะไปให้คำอธิบายแบบสั้นๆ อีกทีในบล็อกพี่ดาวนะครับ ^__^ (ถ้า Net ไม่ล่มซะก่อน)

  • สวัสดีค่ะ อ. เอาภาพรุ้งดอนเจดีย์มาฝากบ้างค่ะ

อีกภาพไม่มีโค้งเหมือนรุ้ง แต่มีแถบสีรุ้ง 2 แถบตรงก้อนเมฆค่ะ 

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ รถตุ๊ก...ตุ๊ก

        ภาพด้านบนเป็นรุ้งคู่ซะด้วย อาจารย์มีภาพใหญ่ไหมครับ? (อาการอยากสะสมภาพเริ่มออกลาย...อิอิ)

รู้สึกว่าจะใหญ่เกินเหตุ รีบลบไปเลยนะคะ

สวัสดีครับ คุณครู รถตุ๊ก...ตุ๊ก

       ผมนำภาพใหญ่ไปบันทึกไว้ที่นี่ครับ : รุ้งคู่...ฝีมือครู 'รถตุ๊ก...ตุ๊ก'

       ขอบคุณมากเลยครับ ^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท