167 : เมฆลายปลาแมคเคอเรล ที่เชียงใหม่ ฝีมือ พี่อึ่งอ๊อบ


 

ได้รับภาพเมฆที่เชียงใหม่ภาพนี้จากพี่อึ่งอ๊อบ

แล้วอดใจไม่ไหว ต้องนำมาขึ้นบันทึกใหม่

 

นี่คือเมฆระดับความสูงปานกลาง เรียกว่า

อัลโตคิวมูลัส อันดูเลตัส (Altocumulus Undulatus)

หรือ

เมฆลายปลาแมคเคอเรลเจ้าเก่าของเรานั่นเอง!

[ดูบันทึก : 014 : ชวนดู 'เมฆลายปลา']

 

คำว่า Undulatus หมายถึง เมฆมีลักษณะเป็นลอน เป็นคลื่น

 

 

ให้ข้อมูลวิชาการไว้นิดหน่อย พวกเราจะได้ดูเมฆได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

บริเวณที่เป็นเมฆนั้น อากาศมีแนวโน้มลอยตัวสูงขึ้น

ส่วนบริเวณช่องว่างระหว่างเมฆ (ที่มองเห็นท้องฟ้า) อากาศมีแนวโน้มจมตัวลง

 

 

ปรบมือให้พี่อึ่งอ๊อบดังๆ เลยครับ

สำหรับ (เมฆลาย) ปลาแมคเคอเรลสุดอลังการภาพนี้!

 


 

ชมภาพนี้เสร็จ อย่าลืมแวะไปชม

ภาพฟ้าสีสันสดสวยจากเชียงใหม่ ฝีมือคุณธารเมฆ

รับรองว่าไม่ผิดหวังเช่นกัน

 


คำสำคัญ (Tags): #altocumulus#undulatus#เมฆ
หมายเลขบันทึก: 291757เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เดย์มาอีกแล๊วครับ

อากาศลอยสูง ลอยต่ำ เมฆจึงเป็นลอนใช่มั้ยครับพี่ชิว...อ๋อๆๆๆๆ

แปะๆๆๆๆๆ ครืนๆๆๆ เสียงปรบมือให้พี่อึ่งอ๊อบด้วยคนครับ \^^/

 

มาชมน้องฟ้ากะนายเมฆที่เวียงพิงค์ค่ะ

ท่านอ.หมอเมฆ อย่าลืมคำถามที่ค้างปูไว้นะคะ

:) สงสัยถูกลืมอีกแล้ว ...  ไม่เป็นไรคะเคยรอมา ๒ ปีก็แล้ว :)

มีความสุขมากมายนะคะ ขอบคุณค่ะ

เดย์ 1980

         เย้ๆๆๆ เดี๋ยวแต่งตั้งเดย์เป็นฝ่ายวิชาเกิน เอ้ย! วิชาการ ของชมรมฯ ดีฝ่า....5555

         ดูสิ เสียงปรบมือสนั่นบล็อกเลย โครมๆ เอ้ย เปาะแปะๆๆๆ

พี่ชิว 2509 (นับคนละระบบปี)

สวัสดีครับ คุณ ปู ณ อันดามัน (มี ณ แล้ว ไม่ต้องมีรหัส)

        คำถามอารายเหยอะครับ...แหะ..แหะ (ลืมจริงๆ ด้วย...จะโดนงอนไหมเนี่ย)

        เอ้า! ให้ถามใหม่ครับ แต่จะตอบได้อ้ะเปล่านี่แล้วแต่คำถาม ;-)

สวัสดีค่ะพี่ชิว

วันนี้ได้เห็นเมฆลายปลาแมคเคอเรล

เอ๋อยากกินน้ำพริกปลาทูขึ้นทันทีเลยค่ะ (ก็เป็นปลาตระกูลเดียวกันนี่คะ)

ขอแก้นะคะพี่ชิว เมฆน้อย ณ มหาสารคามค่ะ ไม่ใช่สกลนครค่ะ

พี่เดย์ตื่นเช้านะคะ วันนี้ มาก่อนเอ๋สองวันละ

ขอบคุณค่ะพี่ชิว

สวัสดีครับ เมฆน้อย ณ มหาสารคาม <-- ขออำภัย...สมองทำงานแปรปรวน...อิอิ

        มาแล้วครับ คุณปลาแมคเคอเรล...เป็นไงครับ ลวดลายคล้ายเมฆไหม (ปลาหน้าบึ้งจังง่ะ) 

ปลาแอตแลนติกแมคเคอเรล (Mackerel Atlantic : Scomber scombrus)

ที่มา : http://www.glaucus.org.uk/links5.htm

 

เมฆลายเหมือนพวกกระพ้มมั๊ยคร้าบ...อิอิ

เห็นปลาและเมฆแล้วหิวข้าวเช้า แงๆๆๆๆๆๆ

ชักจะเห็นด้วยกับอ.ขจิตค่ะ

ชักหิวแล้ว...ยิ่งชอบทานปลาทุกชนิดด้วยค่ะ

"เมฆลายปลาแมคเคอเรล"

เปลี่ยนเป็น "เมฆลายปลาซาบะ" ก็แล้วกัน....

ขอบคุณค่ะ

(6___^)

อ.แอ๊ด 014

          โอ้โห! 10:04 นี่ยังไม่ทานอาหารเช้า อย่างนี้ก็ต้องเรียกว่า brunch แล้วมั้งครับ

สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

        ปลาซาบะเผาหรือเปล่าครับ ;-)

        เดี๋ยวคราวหน้าอาจจะมี เมฆลายปลานิล ปลาทับทิม ปลาดาบ และปลาทู แต่ถ้าเมฆมาเป็นคู่ติดกัน ก็ต้องเป็น เมฆปาท่องโก๋ ครับ ^__^

เดย์ 1980 อรุณสวัสดิ์ครับ ;)

อู๊ย!! ฝ่ายวิชาการดูน่ากดดันพิลึกครับพี่ชิว 555 เอาเป็น ฝ่ายที่ควรจะมีวิชาการมากกว่านี้ ก่อนเด้อ ฮิฮิ

ถามต่ออีกนิดครับพี่ชิว...ถ้าบอกว่าอากาศลอยขึ้น-ลงเป็นคลื่นนั้น แล้วอะไรเป็นตัวแปรครับ?? อากาศสร้างเมฆให้เป็นคลื่น หรือเมฆเป็นคลื่นของมันอยู่แล้ว จึงเป็นทางเดินให้อากาศลอยขึ้น-ลง

แล้วอากาศเค้าเล่น สูง-ต่ำจากข้างบน หรือข้างล่างครับ?? :-P

เดาว่าจากทั้งบนและล่าง อิอิ อากาศข้างล่างก็อยากขึ้น ข้างบนก็อยากลง 555 เพ้อเจ้อไปแล้ว...พี่ชิวช่วยตอบทีนะคร๊าบ ^^

เดย์ 1979+1

        ลักษณะของอากาศเป็นตัวกำหนดลักษณะของเมฆครับ สำหรับกรณีนี้ อากาศสร้างเมฆให้เป็นคลื่นนั่นเอง

        พอดีพี่ยังหาภาพเจ๋งๆ สำหร้บการเกิดเมฆลายปลาแมคเคอเรลนี่ไม่ได้ แต่ถ้าไปดูเรื่อง เมฆจานบิน จะเห็นว่าลักษณะการไหลของกระแสอากาศ เป็นตัวปั้นแต่งรูปร่างของเมฆครับ ดูนี่สิครับ

       จากบันทึก 003 : ปริศนา เมฆจานบิน

เมฆจานบินนี้เกิดจากการที่กระแสอากาศในแนวระดับเคลื่อนที่ปะทะเนินหรือภูเขา ทำให้อากาศถูกบังคับให้ยกตัวสูงขึ้น แต่เมื่อผ่านเนิน (หรือภูเขา) นั้นไปแล้ว อากาศก็จะลดต่ำลง มองจากด้านข้างคล้ายๆ เป็นคลื่นกระเพื่อมวิ่งไป

แผนภาพการเกิดเมฆจานบิน แต่ละเส้นแทนการไหลของกระแสอากาศ (โปรดสังเกตว่าเมฆชนิดนี้เกิดบริเวณยอดคลื่น)

  

อลังการงานสร้างมากเลยค่ะ เหมือนลายของปลาจริงๆด้วย คนตั้งเขาเข้าใจตั้งชื่อนะคะ

สวัสดีครับ อาจารย์แป๋ว

         เมฆลายปลาแมคเคอเรลนี่ยังมีอีกแบบหนึ่งครับ ไว้จะนำมาให้ชม

         ลวดลายสลับแบบนี้ดูแล้วนึกถึงรูปแบบของทรายบนชายหาดนะครับ ธรรมชาตินี่ช่างวิจิตรพิสดารเหลือเกิน

สวัสดีค่ะ พี่ชิว ตามมาเก็บความรู้ค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ หนุ่ย

        ภาพที่ส่งมาก็เป็น Mackeral Sky แบบหนึ่งครับ เป็นเมฆ Altocumulus ที่ค่อนข้างหนาแน่นครับ

เมื่อวานด้ายดูรายการเรื่องจิงผ่านจอก้อเห็นเค้าเอาเรื่องนี้มาลงและก้อมีชมรมคนรักมวลเมฆ ก้อเลยเข้ามาดู

สวัสดีครับ

         ชมรมคนรักมวลเมฆ http://portal.in.th/cloud-lover เกิดจากบล็อกนี้แหละครับ

    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท