หอ้งสมุดประชาชนมีชีวิต


การจัดกิจกรรมที่หลากหลายมีชีวิตชีวา ทำให้ห้องสมุดมีชีวิต

การอ่านและการศึกษาค้นคว้า เป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ ในยุคสังคมฐานความรู้  การที่จะพัฒนาให้คนไทยมีคุณลักษณะดังกล่าว  การจัดบริการห้องสมุดประชาชนให้มีชีวิตชีวา น่าสนใจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ทำอย่างไรเราจึงจะพัฒนาให้ห้องสมุดมีชีวิต จึงเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบร่วมกันของทุกคนในสังคม  โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวขอ้งกับงานการศึกษานอกระบบฯ  ทั้งผู้บริหารฯ ข้าราชการ ครู และบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด  ที่จะต้องมีส่วนในการพัฒนาส่งเสริมให้ห้องสมุดสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 248779เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ

  • มาสมัครเป็นเพื่อนใหม่ค่ะ
  • รู้จักกับคุณเดี่ยวค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim21/248772

สวัสดีค่ะคุณวรวิทย์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บ้าน gotoknow นะค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักมิตรทางปัญญาทุกคน หวังว่าเราคงได้เรียนรู้ร่วมกันในเส้นทางสายนี้อีกยาวนานนะครับ

ดูค่อนข้างเอาจริงเอาจังนะครับ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • มาตามคำแนะนำ อ.ขจิตค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.

แวะมาทักทายนะคะ

กศน.เมืองประจวบค่ะฯ

สวัสดีค่ะ

  • ต้องแวะมาสวัสดีท่านพี่ดอกปาริชาติช่อเก๋าค่ะ
  • น้องก็เลือดเทา-แดงเหมือนกันค่ะ
  • ยินดีปรีดากับการเรียนรู้ด้วยกันค่ะท่านพี่
  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • ตามน้องชายมาค่ะ
  • ใช่แล้วคาะ  ผอ.
  • ทุกวันนี้ การค้นคว้าบนโลกไซเบอร์ง่ายและรวดเร็ว
  • ถ้าห้องสมุดไม่พัฒนา
  • อาจจะเป็นปัญหาได้ค่ะ

ตามพี่ๆมา ท่าน ผอ ครับ ถ้าว่างมาเขียนเพิ่มนะครับ

มาทักทายและสวัสดีพี่หวอพี่บ่าวที่นับถือมานานครับ

นิดหนึ่งครับสำหรับการปรับเปลี่ยนห้องสมุดให้มีชีวิตชีวา คือการนำความรู้ที่อยู่ในคนมาแลกเปลี่ยนในห้องสมุด ก็เรื่องในวิถีชีวิตของเขานั่นแหละ อาจจะในรูปแบบเอาคนจริงๆมาแสดง มาเล่า มาร้องเรือ เล่านิทาน เพลงพื้นบ้าน ฯลฯ หรือจะถอดความรู้ประสบการณ์นั้นเป็นหนังสือทำมือ วีซีดี

อย่าลืมหุ่นกระบอกตอนที่พี่หวอทำวิจัยสมัยเมื่อเรียนปริญญาโทด้วยละ

มีชีวิตชีวาได้หลายอย่างครับ

และนำความรู้ที่อยู่ในตำราให้กลับเข้าไปอยู่ในคน ทำอย่างไร ด้วยกิจกรรมใด

กลับไปกลับมาอย่ามงนี้ก็มีชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิมแน่นอน

ผมก็สนใจเรื่องนี้ครับ

เชื่อมเรื่องนี้เข้ากับการส่งเสริมการอ่าน วาระแห่งชาติก็ได้ครับ

เข้ามาทักทายเพราะน้องบ่าวขจิตเชียร์อยู่

วิจัยร่วม กศน.กับ มสธ.เป็นเล่มแล้วยังครับ หากส่งให้ผมสักเล่มก็จะดีมากเลยแหละครับ

คิดถึงครับ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

ที่เห็นในภาพ ล้วนเป็นมือโปรทั้งนั้น ยินดีด้วยนะคะ

ผ่านไปอีกหนึ่งงานยักษ์

ได้เห็นความเป็นผู้นำเต็มร้อยของท่านผอ. แล้วยินดีแทนน้องๆทุกคน

ครูต้อยจำชื่อน้องแป๋วได้

เห็นสนใจห้องสมุดมีชีวิต

ครูต้อยก็สนใจ ตั้งแรกจบมาวิชาบรรณารักษ์ได้ใช้ไปหนเดียวตอนทำห้องสมุดให้กศน. สมุทรสาครเมื่อปี 2525

กะว่าจะได้ใช้พัฒนาโรงเรียนพอทำได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น เขาก็ไม่ให้ทำแล้ว บอกว่าขอให้คนอื่นลองบ้าง จนบัดนี้ ห้องสมุดที่ว่ามันยังไม่ตื่นเลย อิอิ

หากมีสิ่งใดที่ครูต้อยพอช่วยได้บอกมานะคะ งานห้องสมุดมีชีวิต ครูต้อยถูกฝึกมาสมัยเรียนมศว.ประสานมิตร

รับรองว่ายังทันสมัยอยู๋เสมอค่ะ

  • เอารายชื่องานวิจัยมาฝากก่อนครับ
  • 1.       การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนในการบริหารจัดการขยะของชุมชนแบบมีส่วนร่วม:กรณีศึกษาตำบลบ้านหม้อ จังหวัดเพชรบุรี ของนางสุภาพ เทพกลาง

    2.       การศึกษาปัญหาการนิเทศกลุ่มพัฒนาอาชีพของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  จังหวัดเพชรบุรี ของอาจารย์ทองสุข รัตนประดิษฐ์

    3.       การศึกษาความต้องการของผู้รับบริการด้านการเงินของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ของนางไพรินทร์ พงษ์ชุบ

    4.       การศึกษาสาเหตุการขาดสอบปลายภาคเรียนของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ของนางประพิน อินทรวัฒนกุล

    5.       การศึกษาการแก้ปัญหาการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ของนางสุพรรณี ศิริรัตน์

    6.       การศึกษาการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน และการพบกลุ่มของนักศึกษาโดยครูศูนย์การเรียนชุมชน อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีของนางมณียา ถมปัต

    7.       การศึกษาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต่องานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตำบลช่องสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีของนางบุษบา จันทรบูรณ์

    8.       การศึกษาการแก้ปัญหานักศึกษาอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักศึกษาระดับประถมศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ของนางสาวนันทินี ชิตรัตน์

    9.       การศึกษาผลการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากเปลือกไข่ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  จังหวัดเพชรบุรีของนางสุชานันท์ กลิ่นเมือง

    10.  การศึกษาสภาพปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอาชีพของประชาชนบ้านตาลกงสามัคคี ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีของนางสาวเกษร กสินันทสกุล

    11.  การศึกษาผลและการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับประถมศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีของนางปราณี นนทะสุต

    12.  การศึกษาผลการแก้ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเรื่อง ตรีโกณมิติ โดยใช้แบบฝึกทักษะของศูนย์การเรียนชุมชนไร่รอ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  จังหวัดเพชรบุรีของนายเฉลิมพล มณีทิพย์

    13.  การศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหม้อ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีของนางพิมลธยา ป้านประดิษฐ์

    14.  การศึกษาการแก้ปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของศูนย์การเรียนชุมชนนายาง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ของนางนิติวรรณ ไกรแถลง

    15.  การศึกษาปัญหาการพบกลุ่มของนักศึกษาศูนย์การเรียนชุมชนไร่ใหม่พัฒนา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีของนางสาวศิริพร เพชรแย้ม

    16.  การศึกษาและแก้ปัญหาการไม่ชอบอ่านหนังสือของนักศึกษาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสามพระยา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีของนางเกวลิน สุมงคล

    17.  การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชะอำที่มีต่อการเรียนรู้วิชาโครงงานภาษาไทยของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย  จังหวัดเพชรบุรีของนางปัทมา พงษ์อนุนานนท์

    18.  การศึกษาผลการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานบุคลากร ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอบ้านลาด  จังหวัดเพชรบุรีของนางสาวบุษรา ทัศนา

    19.  การศึกษาและการแก้ปัญหาการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบางเก่า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอ จังหวัดเพชรบุรีของนางชนาพร ทองดี

    20.  การศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีของนางน้ำอ้อย อ่อนสะอาด

  • อยู่บันทึกนี้ครับ

  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/258818

  • จะมีข้อมูลตามมาอีกครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เห็นด้วยกับเรื่องที่ห้องสมุดต้องมีชีวิต เพราะเป็นส่วนกระตุ้นให้คนรักการอ่านมากขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือมากขึ้น อาจจะช่วยให้คนมีความคิด มีวิจารณญาณมากขึ้น ประเทศไทยก็จะพัฒนาขึ้นมากกว่านี้นะคะ และหวังว่าคงเป็นเช่นนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท