รู้จัก กระเจี๊ยบแดง


ปริมาณของวิตามินซีสูงเจ้าค่ะ สูงกว่า ส้ม และ มะม่วง ในปริมาณเท่ากันเสียอีก

จากบันทึก การล้างพิษด้วยน้ำมะนาว : AAR วันที่ 5 : เกือบแย่... ของท่านสุญญตา

ที่ได้ทาน กระเจี๊ยบเข้าไประหว่างทำ Detox มะนาว

หนูจึงขอโอกาสหาข้อมูลเกี่ยวกับกระเจี๊ยบ

เพื่อตอบข้อสงสัยที่ว่า

กระเจี๊ยบมีผลอย่างไรต่อร่างกาย

ลดความดันได้จริงไหม มีฤทธิ์อย่างไรแน่

เลยได้ของแถมคือ สารสำคัญที่มีในกลีบเลี้ยงและใบสด

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น

หากผิดพลาดประการใด หรือท่านใดมีอะไรชี้แนะ

โปรดแนะนำด้วยเจ้าค่ะ


 

เพราะไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว กระเจี๊ยบน่าจะมีฤทธิ์อย่างไร

จึงลองค้นข้อมูลของกระเจี๊ยบแดง

มีรายงานวิจัยมากมาย หนูขออนุญาตหยิบมาเล่าบางส่วนเจ้าค่ะ

 

 

เจ้าสมุนไพรที่ชื่อว่า “กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus subdariffa)” นี่ ได้ข้อมูลมาว่า

ยืมรูปมาจากที่นี่ค่ะhttp://www.skn.ac.th/skl/skn42/samun68/menu1.htm

 

          ในผลของกระเจี๊ยบมีปริมาณกรดจากธรรมชาติอยู่มากเจ้าค่ะ เป็นชนิดที่เขาเรียกกันว่า Sucinic acid และ oxalic acid (ก็กรดผลไม้นั่นแหละเจ้าค่ะ)

แถมผลกระเจี๊ยบมีรายงานว่ามีปริมาณของวิตามินซีสูงเจ้าค่ะ สูงกว่า ส้ม และ มะม่วง ในปริมาณเท่ากันเสียอีก

 

          ส่วนกลีบเลี้ยง (calyx โดยส่วนใหญ่จะต้มหรือชงจากส่วนนี้)มี

          วิตามินเอ (Vitamin A, B1, B2 (Riboflavin), ไนอะซิน (Niacin), แคลเซียม และ ธาตุเหล็ก (เหล่านี้เป็นพวกวิตามินและแร่ธาตุ อย่างธาตุเหล็กก็จะช่วยบำรุงเลือดในตำรายาไทย จึงดื่มกระเจี๊ยบบำรุงเลือดเจ้าค่ะ)

 

 

 

          มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น (Antioxidation) กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)

 

gossypetine, hibistine, sadderetine

กลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดีขึ้นเจ้าค่ะ

         

          กลุ่มแอนโทรไซยานิน delphinidine-3-sambubioside, cyaniding-3-sambubioside, delphinidin-3-glucoside ที่เขียนเป็นเพียงชื่อเรียกเจ้าค่ะ อาจจะดูไม่คุ้นเคย แต่กลุ่มนี้เคยมีรายงานว่า

 

อาสาสมัครทานแล้ว มีเพิ่มการไหลเวียนเลือด

มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หลังทำงาน

 

ภาษาอังกฤษว่าไว้อย่างนี้เจ้าค่ะ

 (......increased peripheral blood flow and also improved muscle fatigue in healthy volunteers after repeated typing work)

 หากผิดพลาดหนูก็ขออภัย แบบว่า ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงเจ้าค่ะ

 

          มีการทำการทดลองในหนูโดยทำสารสกัดกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบใหหนูทาน พบว่า มีฤทธิ์ลดความดันและป้องกันภาวะโรคหัวใจในหนูได้

 

          ในกระเจี๊ยบมีสารที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญ และ ลดระดับของเอนไซม์ ACE ในพลาสมา

 (ทำได้กลไลเดียวกับยาลดความดันกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบันเจ้าค่ะ)

 

สรุปว่า

กระเจี๊ยบมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด

และอาจจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ้าค่ะ

 

 

                                                                       

อันนี้ของแถมเจ้าค่ะ พอดีได้ข้อมูลสารสำคัญจากส่วนสดของ กลีบเลี้ยงและใบของกระเจี๊ยบ

 เห็นมันดี เลยขอโอกาสแทรกซึมเจ้าค่ะ

 

         

 

สารสำคัญกระเจี๊ยบ

              กลีบเลี้ยงสด

             (ใน 100 g)

ใบสด

(ใน 100 g)

ความชื้น

โปรตีน

ไขมัน

ไฟเบอร์

เถ้า

แคลเซียม

ฟอสฟอรัส

เหล็ก

แคโรทีน

ไทอะมีน (B1)

ไรโบฟาวิน (B2)

ไนอะซีน

วิตามิน C

9.2 g

1.145 g

2.61 g

12.0 g

6.90 g

12.63 mg

273.2 mg

8.98 mg

0.029 mg

0.117 mg

0.277 mg

3.765 mg

6.7 mg

86.2%

1.7-3.2%

1.1%

10%

1%

0.18%

0.04%

0.0054%

-

-

-

-

-

 

 สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย

(อาจจะคุ้น ๆ แต่เข้าใจยากสักหน่อยเจ้าค่ะ เอาไว้เป็นความรู้)

 

ใบ

ละลายเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ทำให้โลหิตไลเวียนดี ช่วยย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและบำรุงธาตุ ต้มชะล้างแผล  หรือตำฟอกฝี แก้พยาธิตัวจี๊ด

 
ดอก

ลดไขมันในเลือด ละลายเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว  แก้ไอ ทำให้สดชื่น ลดไข้ ขับน้ำดี แก้พยาธิตัวจี๊ด


ผล

แก้ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ แก้นิ่วในไต ในกระเพาะปัสสาวะ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร สมานแผลในกระเพาะอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เส้นเลือดตีบตัน แก้พยาธิตัวจี๊ด


เมล็ด

บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ดีพิการ แก้อ่อนเพลีย เป็นยาระบาย เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

 

  1. Mahadevan N, Shivali K, Pradeep K. Hibiscus sabdariffa Linn.-An overview. Natural Product Radiance 8(1): 77-83, 2009.
  2. Espin JC, Garcia-Conesa MT, and Tomas-Barberan FA. Nutraceuticals: facts and fiction. Phytochemistry 68: 2986-3008, 2007.
  3. Fasoyiro SB, Ashaye OA, Adeola A, Samuel FO. Chemical and strorability of fruit-flavoured (Hibiscus sabdariffa) Drinks. World journal of Agricultural Sciences 1(2): 165-168, 2005.
  4. http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/MPRI/Q_Hibiscus.shtm (สถาบันวิจัยสมุนไพร)
หมายเลขบันทึก: 306826เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท