แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

โยคะสูตรว่าด้วย การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ (ตอนจบ) -๒-



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"
    (๑)การปรุงแต่งของจิตในโยคะสูตร
(๒)โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ 

(๓)โยคะสูตรว่าด้วย 
    การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๔)โยคะสูตรว่าด้วย 
    การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๕)โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๖) โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งจิต ๕ ประการ (ตอนจบ) 
     และการบรรลุถึงการดับการปรุงแต่งของจิต
-(๖.๑)- ; -(๖.๒)-(๖.๓)-

 โยคะสูตรว่าด้วย การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ (ตอนจบ) 
และการบรรลุถึงการดับการปรุงแต่งของจิต 
- ๒ -

เขียนโดย ; วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
(เข้าดูบทความของทั้งสองท่านที่นี่)

โยคะสารัตถะ ฉ.; เม.ย.'๕๒

อรรถกถาจารย์บางท่าน เช่น ท่านโกลหัตการ์ ได้กล่าวถึงการฝึกปฏิบัติเทคนิคเฉพาะบางอย่างว่าเป็นอภยาสะ ซึ่งดูเหมือนว่าบ่อยครั้งที่ปตัญชลีไม่ได้พูดถึงเทคนิคเหล่านี้อย่างชัดเจนว่าเป็นอภยาสะ ดังนั้นมันจึงยังคงเป็นคำถามอยู่ว่าการตีความของอรรถกถาจารย์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลตามมุมมองของปตัญชลีหรือไม่

โยคะสูตรบทที่ ๑ ประโยคที่ ๑๔ ยังกล่าวต่อไปว่า "สะ ตุ ทีรฆกาลไนรันตรยสัตการาเสวิโต ทฤฒภูมิห์" หมายถึง 
การฝึกปฏิบัติเหล่านั้นจะหยั่งรากได้อย่างมั่นคงก็ต่อเมื่ออาศัยเงื่อนไข ๓ อย่างคือ 
๑) การทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน 
๒) การทำเป็นประจำสม่ำเสมอ 
๓) การมีทัศนคติหรือจิตใจที่เปิดว่างและพึงพอใจ

เรามาพิจารณาเงื่อนไขแรก คำว่า "ทีรฆัตวะ" คือ ความยาว "กาละ" คือ ช่วงเวลา ซึ่งช่วงเวลาที่ยาวนานในการฝึกปฏิบัตินี้ไม่ได้ถูกระบุไว้เป็นหน่วยวัดที่แน่ชัดแต่อย่างใด แต่ความยาวนานนี้อาจจะมีระยะเวลาเป็นปีๆ หรือแม้แต่นานตลอดชีวิต เพราะว่าการบรรลุถึงสิ่งสูงสุดหรือความสมบูรณ์ในโยคะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่าย และอันที่จริงแล้วตามแนวคิดของชาวอินเดียมีความเชื่อกันว่าเรื่องราวต่างๆ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงในชีวิตนี้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตในอดีตชาติที่ผ่านๆ มาที่อุทิศให้กับการฝึกฝนเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของโยคะจนเกิดความสำเร็จก้าวหน้าอีกเป็นจำนวนมาก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือความสำเร็จในการฝึกโยคะในช่วงชีวิตนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าในการฝึกฝนโยคะของตัวเราในชีวิต(ชาติ)ก่อนๆ ที่ผ่านมาด้วย

โดยสรุปคำว่า "ทีรฆกาละ" ที่ปตัญชลีใช้ในที่นี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของความอดทนอย่างตั้งใจมั่นในการฝึกปฏิบัติโยคะนั่นเอง หากผู้ปฏิบัติคาดหวังที่จะบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดอย่างรีบเร่งในระยะเวลาอันสั้นมันจะนำไปสู่ความท้อแท้สิ้นหวัง ซึ่งเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติอย่างมาก ความผิดหวังจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะใดสภาวะหนึ่งที่ต้องการนี้หากมีมากอาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติล้มเลิกความพยายามในการฝึกฝนอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้ผู้ฝึกปฏิบัติควรเตรียมจิตใจของตนเองให้พร้อมที่จะรับการฝึกฝนต่อเนื่องอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนกระทั่งสามารถบรรลุถึงสภาวะที่ต้องการได้ ถ้าในช่วงเริ่มต้นของการฝึกปฏิบัติโยคะเรามีความเข้าใจในเรื่องเวลาที่ถูกต้องและมีความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของโยคะเช่นนี้แล้ว ไม่ว่าจะต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัตินานเท่าใดก็ตามความหมดหวังและการล้มเลิกความพยายามในการฝึกย่อมจะไม่เกิดขึ้นเป็นแน่!!!

เงื่อนไขต่อไปคือการฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอ เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าคงไม่มีผู้ฝึกปฏิบัติคนใดที่จะสามารถฝึกได้อย่างต่อเนื่องตลอด ๒๔ ชั่วโมงโดยไม่หยุดพักเพื่อทำภารกิจส่วนตัวที่จำเป็นบ้าง (ถึงผู้ฝึกคนนั้นจะเป็นคนฉลาดหลักแหลมและจริงใจต่อการฝึกเพียงใดก็ตาม)

ดังนั้นความหมายในเงื่อนไขนี้น่าจะเป็นว่าผู้ฝึกปฏิบัติควรจะฝึกสม่ำเสมอทุกๆ วันจะเป็นเวลาใดก็ตามขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวของเขาหรือขึ้นอยู่กับคำแนะนำของครูผู้สอน มันเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในทิศทางที่น่าพึงพอใจ จึงไม่ควรจะมีการเว้นว่างจากการฝึกปฏิบัติแม้เพียงวันเดียว แม้ว่าการกระทำเช่นนี้จะเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการดำเนินชีวิตตามปกติก็ตาม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจกันว่า เราต้องพยายามหาทางฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทุกๆ วันโดยมีช่วงที่ขาดการฝึกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า ยิ่งผู้ฝึกมีความจริงใจและเข้าใจเรื่องนี้มากเพียงใด โอกาสที่จะหยุดฝึกก็จะยิ่งน้อยลงเพียงนั้น!



ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

หมายเลขบันทึก: 257366เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท