แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

การรับมือกับวัยหมดประจำเดือนด้วยโยคะ


 
 
เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

 

  • เข้าสู่บทนำ 
  •  เข้าสู่อาสนะ 1
  • เข้าสู่อาสนะ 2
  • การรับมือกับวัยหมดประจำเดือนด้วยโยคะ

    เขียนโดย ;
    ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี ; ศันสนีย์ นิรามิษ 
    โยคะสารัตถะ ฉ.: ก.ย.'๕๑


    วัยหมดประจำเดือนเป็นช่วงอายุหนึ่งของผู้หญิงทุกคน เป็นช่วงที่ประจำเดือนของคุณหมดไปอย่างถาวร ซึ่งจะอยู่ระหว่างอายุ 40-60 ปี พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, ร่างกาย และจิตใจ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจค่อยๆเกิดขึ้นหรืออย่างฉับพลัน ภาวะการหมดประจำเดือนอาจะเกิดขึ้นเร็วตั้งแต่อายุ 30 ปีไปจนถึง 60 ปี และอาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการตัดรังไข่หรือระบบหยุดการทำงาน การหมดประจำเดือนไม่ใช่การเจ็บป่วยแต่เป็นกระบวนการธรรมชาติของร่างกาย ถึงแม้ว่าจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคกระดูกพรุนหลังจากหมดประจำเดือนแล้วก็ตาม

    อาการที่บ่งชี้ต่างๆ ของการหมดประจำเดือนแบบไม่ปกติได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการทางเพศ, ความแห้งของช่องคลอดและปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะ, รูปร่างที่เปลี่ยนแปลง, อารมณ์แปรปรวน, นอนไม่หลับ, ใจสั่นและปวดหลัง อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจไม่เกิดกับผู้หญิงทุกคน บางคนอาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนมีบทบาทสำคัญในช่วงวัยนี้ รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนน้อยลง เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนผู้หญิงที่มีหน้าที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเตรียมพร้อมสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเหล่านี้น้อยลง จะมีผลกระทบกับบางส่วนของร่างกายที่ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ผู้หญิงบางคนรู้สึกไม่สบายเนื้อตัวบ่อยๆ วัยหมดประจำเดือนแบ่งได้ออกเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนหมดประจำเดือน และหลังหมดประจำเดือน ช่วงก่อนหมดประจำเดือนเป็นเวลาที่คุณเริ่มสังเกตเห็นบางสิ่งเกิดขึ้นแม้ว่าร่างกายคุณยังคงผลิตไข่อยู่ อาการที่ไม่เคยเป็นเกิดขึ้นและระดับฮอร์โมนลดลงจนเป็นสาเหตุให้คุณรู้สึกร้อนวูบวาบและมีประจำเดือนไม่ค่อยสม่ำเสมอ ช่วงหลังหมดประจำเดือนคือ 12 เดือนหลังจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย รังไข่ไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน, โพรเจสเตอโรน และไม่มีการผลิตไข่อีกต่อไป

    การหมดประจำเดือนไม่ต้องใช้การรักษาทางยาแต่อย่างใด เพราะมันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นปกติของร่างกาย การรักษาช่วงหมดประจำเดือนจะมุ่งไปยังการบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้น และป้องกันอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นรุนแรงหลังจากช่วงหมดประจำเดือนหลายปี เช่น โรคหัวใจและโรคกระดูกพรุน ผู้ประสบปัญหาบางคนเข้ารับการบำบัดด้วย Hormonal Replacement Therapy (HRT) ซึ่งเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนจำนวนเล็กน้อยให้กับร่างกายเพื่อช่วยในการบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการร้อนวูบวาบ และการแห้งของช่องคลอด บางครั้งการบำบัดด้วย HRT จะมีการให้ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนรวมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ผู้หญิงที่เป็นโรคทางสูตินรีที่รุนแรงอาจบำบัดด้วยวิธี Estrogen Replacement Therapy (ERT) เพียงอย่างเดียว ซึ่งคือวิธีเดียวกับ HRT แต่ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม HRT มีผลข้างเคียงที่รุนแรงและเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ การออกกำลังกาย, ทานอาหารให้เหมาะสม, ไม่สูบบุหรี่ และผ่อนคลายความเครียดเป็นวิธีที่ดีกับผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนมากกว่าการทนไว้เฉยๆ และยังเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงหลังหมดประจำเดือนได้ดีอีกด้วย

    อาสนะพื้นฐานสำหรับวัยหมดประจำเดือนชุด 1

    อาสนะพื้นฐานสำหรับวัยหมดประจำเดือนชุด 2


      

    มูลนิธิหมอชาวบ้าน

    2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
    โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
    E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

    หมายเลขบันทึก: 259327เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 03:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท