ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทย


หนังตะลุง

ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทย

หนังตะลุง

               หนังตะลุงเป็นมหสพพื้นเมืองของภาคใต้ ปัจจุบันยังมีเป็นร้อยๆคณะสืบทอดการแสดง รวมเป็นชมรม "ศรีวิชัย หนังตะลุงเป็นมหรสพพื้นเมืองของภาคใต้ ควบคู่กับมโนราห์ถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาเกือบ 2 ศตวรรษ วิวัฒนาการให้เกิดความเหมาะสมกับการสมัยตลอดมา ถ้าเราจะพูดว่าหนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์ของภาคใต้ ก็คงไม่ไกลความจริงนัก
@     หนังตะลุงมีอิทธิพล มีบทบาทต่อชาวชนบทมาก เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวชนบทก็ว่าได้ การพากย์หนังตะลุงเป็นศิลปสูงส่ง นอกจากให้ความบันเทิงแล้ว ให้ความรู้ให้ความคิด หนังตะลุงเป็นสื่อกลางที่ดีระหว่างรัฐกับประชาชน
@      หากดูหรือฟังอย่างผิวเผิน อาจรู้สึกว่าเป็นการเล่นที่ให้ความรื่นเริงอย่างธรรมดา แต่ถ้าดูหรือฟังอย่างพินิจพิเคราะห์เป็นการละเล่นที่น่าทึ่งมาก ยากที่จะหามหรสพประเภทใดมาเทียบเคียงได้ นายหนังตะลุงคนเดียวต้องเชิดต้องพากย์รูปหนังทุกตัว เฉพาะตัวตลกในการแสดงเรื่องหนึ่งๆต้องใช้ประมาณ 15
ตัว ใช้เสียงพูดแตกต่างกันทุกตัว เสียงพระ เสียงนาง เสียงยักษ์ เสียงคนชรา สามารถทำได้อย่างกลมกลืน หนังตะลุงไม่มีฉากใดๆประกอบเหมือนโขน ภาพยนตร์ละคร มีแต่จอผืนเดี่ยวเป็นฉาก ต้องสร้างภาพพจน์ด้วยบทพากย์ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น คนๆ เดียวสามารถตรึงคนดูไว้ได้ตลอดคืน
@  
หนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมภาคใต้ ในปัจจุบันนี้ยังคงมีหนังตะลุงที่ยังแสดงอยู่ทั่วภาคใต้อีกนับร้อยคณะ จังหวัดที่มีหนังตะลุงมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง มีจำนวนพอๆกัน นอกจากนั้นมีจำนวนค่อนข้างประปราย ปัญหาอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของการแสดงหนังตะลุงในปัจจุบัน คือขาดลูกคู่ ลูกคู่คือผู้บรรเลงเครื่องประโคมดนตรี หาผู้ฝึกหัดใหม่แทบไม่มี
@     ความฝันของท่านผู้เขียนเรื่อง"ความรู้เรื่อง หนังตะลุง" คือท่านอาจารย์พ่วง บุษรารัตน์ว่า "อยากให้ใช้เทคโนโลยี่เพิ่มขึ้น เช่น ทำอย่างไรจึงจะมีฉากจริงประกอบ น่าจะฉายภาพช่วย ทำอย่างไรเวลาใช้อภินิหารจึงเกิดแสง เกิดกลุ่มหมอกควัน วันหนึ่งความฝันของผู้เขียนอาจเป็นความจริงก็เป็นได้" และบัดนี้ Webmaster สามารถทำให้ความฝันของท่านบางอย่างเป็นจริงได้แล้ว เช่นบทฤาษี บทออกยักษ์ บทตลก แต่เป็นที่น่าเสียดายท่านได้ล่วงลับไปเสียแล้ว
           

   

 

 

ประวัติตัวตลกหรือรูปกาก

 อ้ายเท่ง เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อ เท่ง อยู่บ้านคูขุด อำเภอสะทิ้งพระจังหวัดสงขลา หนังจวนบ้านคูขุดนำมาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก หนังคณะอื่นๆนำไปเลียนแบบ รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิงดำ ปากกว่าง หัวเถิก ผมงอหยิก ใบหน้าคล้ายนกกระฮังนิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย นิ้วชี้กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก คาดพุงด้วยผ้าขะม้า ไม่สวมเสื้อ ที่สะเองเหน็บมีดอ้ายครก (มีดปลายแหลมด้ามงอ โค้ง มีฝัก) ชอบพูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ขู่สำทับผู้อื่น ล้อเลียนเก่ง เป็นคู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย

อ้ายหนูนุ้ย

นำเค้ามาจากคนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยานโย้คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นออกไป คล้ายกับปากวัว มีเครายาวคล้ายหนวดแพะ ใครพูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่ไม่มีลวดลาย ไม่สวมเสื้อ ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็นอาวุธ พูดเสียงต่ำสั่นเครือ
ดันขึ้นนาสิก ชอบคล้อยตามคนยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมาเสมอ

นายสีแก้ว

เชื่อกันว่าเอาเค้ามาจากคนที่ชื่อสีแก้วจริงๆ เป็นคนมีตะบะ มือหนักตบโกรธใครตบด้วยมือหรือชนด้วยศรีษะ เป็นคนพูดจริง ทำจริง สู้คน ชอบอาสา
เจ้านายด้วยจริงใจตักเตือนผู้อื่นให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามทำนองคลองธรรม รูปร่างอ้อนเตี้ย ผิวคล้ำ มีโหนกคอ ศรีษะล้าน นุ่งผ้าโจงกระเบนลาย
ตาหมากรุก ไม่สวมเสื้อ ไม่ถืออาวุธใดๆ ใครพูดล้อเลียนเกี่ยวกับเรื่องพระ เรื่องร้อน เรื่องจำนวนเงินมากๆ จะโกรธทันที่ พูดช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ
เพื่อนคู่หูนายยอดทอง

นายยอดทอง

เชื่อกันว่าเป็นชื่อคนจริงชาวจังหวัดพัทลุง รูปร่างอ้วน ผิงดำ พุงย้อยก้นงอนขึ้นบน ผมหยิกเป็นลอน จมูกยื่น ปากบุ๋ม เหมือนปากคนแก่ไม่มีฟัน
หน้าเป็นแผลจนลายคล้ายหน้าจระเข้ ใครพูดถึงเรื่องจระเข้ไม่พอใจ นุ่งผ้าลายโจงกระเบนไม่สวมเสื้อ เหน็บกริซเป็นอาวุธประจำกาย เป็นคนเจ้าชู้
ปากพูดจาโอ้อวดใจเสาะ ขี้ขลาด ชอบขู่หลอก พูดจาเหลวไหล ยกย่องตนเองบ้ายอ ชอบอยู่กับนายสาว ที่มีสำนวนชาวบ้านว่า "ยอดทองบ้านาย"
นายยอดทอง แสดงคู่กับตลกอื่นๆได้หลายตัว เช่นคู่กับอ้ายหลำ คู่กับอ้ายขวัญเมือง อ้ายพูนแก้ว เป็นต้น

อ้ายขวัญเมือง

ไม่มีประวัติความเป็นมา เป็นตัวตลกเอกของหนังจันทร์แก้ว นครศรีธรรมราช คนในถิ่นนั้น เขาไม่เรียกว่าอ้ายขวัญเมือง แต่เรียกว่า "ลุงขวัญเมือง"
แสดวว่าได้รับการยกย่องจากคนในท้องถิ่นอย่างสูงเสมือนกับเป็นคนสำคัญผู้หนึ่ง ใบหน้าของขวัญเมืองคล้ายแพะ ผมบางหยิกเล็กน้อย ผิวดำ หัวเถิก
จมูกโด่งโตยาว ปากกว้าง พุงยานโย้ ก้นเชิด ปลายนี้วชี้คล้ายนี้วชี้อ้ายเท่ง นุ่งผ้าพื้นดำ คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ เป็นคนซื่อ บางครั้งแผงไว้ซึ่งความฉลาด ชอบสงสัยเรื่องของผู้อื่น พูดจาเสียงหวาน หนังจังหวัดสงขลาแสดงคู่กับอ้ายสะหม้อ หนังจังหวัดนครศรีธรรมราช แสดง คู่กับนายยอดทอง หนังพัทลุง ตรังนิยมให้เป็นตัวบอกเรื่อง เฝ้าประตูเมือง ออกตีฆ้องร้องป่าว.

อ้ายสะหม้อ

หนังกั้น ทองหล่อ นำมาจากคนจริง โดยได้รับอนุญาตจากชาวอิสลามชื่อสะหม้อ อยู่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังตะลุงอื่นๆได้นำไปเลียน แบบ พูดกินรูปสู้หนังกั้น ทองหลอไม่ได้ รูปร่างอ้ายสะหม้อ หลังโกงมีโหนกคอ คางย้อย ลงพุง รูปร่างเตี่ย สวมหมวกแขก นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ พูดล้อ
เลียนผู้อื่นได้เก่ง ค่อนข้างอวดดี นับถือศาสนาอิสลามแต่ชอบกินหมู ชอบดื่มเหล่า พูดสำเนียงเนิบนาบ รัวปลายลิ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #หนังตะลุง
หมายเลขบันทึก: 201701เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผม กำลังทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับการแสดงพื้นบ้าน อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับสาระที่ได้จากการแสดงครับ

วิทยานิพนธ์ ศิลปะพื้นบ้าน

อยากรู้ว่าการแสดงพื้นบ้านมีรูปแบบการแสดงอยู่ 3 ลักษณะด้วยกันคือ อะไรบ้าง

สนใจอยากทำวิจัยเรื่องมโนราห์ พอจะมีข้อมูลหรือประเด็นที่น่าสนใจ น่าค้นหา ไหมค่ะ

^^

น่าจะมี เยอะๆ กว่านี้ ต้องใช้ทำงานๆ

น่าจะเยอะกว่านี้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท