อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา


พระผู้มีพระเมตตา ต่อปวงชนชาวไทย พระผู้มีน้ำพระทัยยิ่งใหญ่ต่อพวกเราชาวไทย พระเจ้าอยู่หัวของเรา
 เศรษฐกิจพอเพียง
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
นายยม นาคสุข

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และในปีนี้เป็นปีมหามงคลยิ่งของพวกเราชาวไทย ที่พระองค์ท่านมีพระชนมายุ ครบ 80 พรรษาในวันที่ 5 ธ.ค. พ.ศ. 2550 นี้ กระผมจึงขอเรียนเชิญชวนพวกเราชาวไทยทั้งหลาย ร่วมใจกันทำความดี ถวายแด่พระองค์ท่าน

ความดีที่ผมปราถนาทำเพื่อร่วมถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ท่าน คือการขอมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ประการหนึ่ง ด้วยการศึกษาวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ประการต่อมา ด้วยการการทำบล็อกนี้ ทำขึ้นเพื่อ เป็นการรวบรวม เรียบเรียง เขียนข้อความ บทความเกี่ยวกับการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา  เพื่อชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เป็นเรื่องแค่เกษตรกรรมแต่เพียงอย่างเดียว

ประการสุดท้าย ด้วยการยึดมั่น และปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการไปใช้ในชีวิตประจำวันและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่องค์ความรู้นี้แก่ นิสิต เจ้าหน้าที่พนักงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่ว ๆ ไป เมื่อมีโอกาสมาถึงจะตั้งใจทำด้วยความรอบรู้และคุณธรรม

ข้อความในบล็อกนี้ จึงเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเพื่อชี้ให้เห็นว่า แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องการทำไร่ทำนาแต่เพียงอย่างเดียว  

แต่สามารถใช้เป็นกรอบแนวความคิดในการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับหลักธรรมในศาสนา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

จึงใคร่ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทุกท่าน ร่วมใจกันทำความดีถวายแด่ในหลวงของเรา ด้วยการช่วยกันศึกษาในเรื่องแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และช่วยกันขับเคลื่อนและปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากตัวท่านคนรอบข้าง และแนะนำ สอน บอกต่อกันไป

ขอขอบพระคุณคณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขอขอบพระคุณ รวมทั้งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่กระผม

คุณความดีที่คณาจารย์และท่านผู้อ่านได้กระทำ ขอให้บังเกิดผลให้สิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย รวมทั้งพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จงอำนวยพรให้ท่านจงเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา พบแต่ความสุข ความเจริญกว้าหน้า ตลอดไป 

สวัสดี 

ยม

ภาพคณะนักศึกษาวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา นิด้า ไปศึกษาดูงาน โครงการในพระราชดำริ ต.แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เมื่อ 24 เม.ย. 2550

ขอบคุณ ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

คณะผู้บิรหารหลักสูตร เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 

น้ำเสีย

ภาพน้ำเสีย ได้รับการบำบัด โดยใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ  หนึ่งในโครงการพระราชดำริฯ

ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ

น้ำเสีย จ.เพรชบุรี ได้รับการบำบัดโดยใช้ธรรมชาติ บำบัดธรรมชาติ นี่คือหนึ่งในพระอัจฉริยภาพของในหลวง ของปวงชนชาวไทย

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา นิด้า

 พวกเราล้วนภาคภูมิใจ กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงนำมาใช้ในการพัฒนา สิ่งแวดล้อม ที่ ต.แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี

 ดูงาน

แหลมผักเบี้ย

ดูงาน

นิด้า

แดดร้อน ๆ ไม่เป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาดูงานครั้งนี้

 หลงทาง

ดูงาน ดูน้ำเสียได้รับการบำบัด น้ำดี สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น่าทึ่งจนเกือบหลงทาง

หมายเลขบันทึก: 72202เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

ขอร่วมอนุโมทนาในกุศลเจตนาที่ดีค่ะ

 

ขอให้รวบรวมได้มาก ๆ สมดังความปรารถนาทุกประการนะคะ

 

และที่เหนืออื่นใดขอให้ได้มีโอกาสนำสิ่งที่รวบรวมได้ไปปฏิบัติด้วย

 

อยากร่วมด้วยช่วยคิดแต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกค่ะ

 

นึกออกแล้วจะแวะกลับมาคุยด้วยอีกนะคะ

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

" ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ[1]
จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
หากมี เศรษฐกิจพอเพียง แบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้น ๆ
แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นี้
ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
……
พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

ป.ล. ลืมบอกไปว่า เห็นด้วยทุกประการค่ะว่า  แนวคิดของพระองค์ท่าน  เหมือนหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ใครก็ได้สามารถนำไปปฏิบัติ  ก็จะเกิดประโยชน์กับผู้นั้นทุก  ๆ ราย

 

และจะว่าไปแล้ว ในฐานะคนที่เคยปฏิบัติธรรมมาบ้าง  แม้จะน้อยนิดเหลือเกิน  แต่ก็รู้สึกได้ว่า ถ้าใครได้ฝึกการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐาน  ๔ จนมีความเข้าใจในระดับพื้นฐานระดับหนึ่งแล้ว  จะเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้เอง  และสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียงเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องนั่งถก วิจารณ์ วิจัย หรือวิเคราะห์ หากระบวนการกันเลยล่ะค่ะว่า  ทำอย่างนี้พอเพียงหรือไม่  เพราะความพอเพียงมันออกมาจากข้างในเนื้อแท้ของใจของแต่ละคนเอง

 

ด้วยความเคารพ,

 

ณัชร

ขอบคุณ คุณณัชร   ที่สนใจ ใน blog นี้ ให้กำลังใจ อนุโมทนา และแสดงความคิดเห็นมาให้ผม  โดยเฉพาะข้อคิดในการฝึกการเจริญสติ ตามหลักการที่น่าสนใจหาความรู้เพิ่มเติม  

 

และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ความพอเพียงนั้นอยู่ในเนื้อแท้ของใจของแต่ละคน ครับ

 

   
ประมวลคำในพระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ที่เกี่ยวข้องกับ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การทำงาน[1]  
. . . การทำงานยากลำบากกว่าการเรียน การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตร หรือเรียนวิชาต่าง ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดลำดับให้ แต่การทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ จำจะต้องใช้ความริเริ่มและความคิดพิจารณาด้วยตนเอง ในอันที่จะทำสิ่งใด อย่างไร เมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาใช้ให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาอยู่ ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวนัก . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๒
    
. . . การทำงานใหญ่ ๆ ทุกอย่าง ต้องการเวลามาก กว่าจะทำสำเร็จ ผู้ที่เริ่มโครงการอาจไม่ทันทำให้สำเร็จโดยตลอดด้วยตนเองก็ได้ ต้องมีผู้อื่นรับทำต่อไป ดังนั้น ไม่ควรยกเอาเรื่องใครเป็นผู้เริ่มงาน ใครเป็นผู้รับช่วงงาน ขึ้นเป็นข้อสำคัญนัก จะต้องถือผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น . . .
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔
   
. . เป็นไปได้ยากยิ่ง ที่ทุกคนจะมีโอกาสได้ทำงานตรงกับวิชาที่เรียนมา หรือพอดีกับคุณวุฒิที่มีอยู่. บางคนอาจต้องทำงานต่ำกว่าระดับวิทยฐานะ บางคนอาจต้องทำงานคนละแนวทางกับที่ศึกษา. จะเป็นอย่างใดก็ตาม ก็ควรยินดีและเต็มใจทำ เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาเพียงพออยู่แล้ว ที่จะคิดหาแนวปฏิบัติงานทั้งนั้นให้ดีได้. ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ว่า จะต้องตั้งใจทำงานให้จริง ด้วยความคิด ด้วยความพยายาม ด้วยความพอเหมาะพอดี และด้วยความรู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง พร้อมทั้งได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับด้วย . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๐
   
. . . คนเราเมื่อมีความรู้ความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะให้ก้าวหน้าได้เสมอ. ข้อสำคัญ ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ. เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ. ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐
   
. . . วิทยาการแต่ละสาขา ที่บัณฑิตทั้งหลายศึกษาสำเร็จมานั้น มีคุณค่ามาก เพราะหากได้นำออกใช้ด้วยความฉลาดไตร่ตรอง ให้ถูกต้องตามหลักการและจุดหมายแล้ว อาจยังประโยชน์อันพึงประสงค์แก่ตนและบ้านเมืองได้ไม่มีจำกัด. จึงเป็นการสมควรยิ่งที่แต่ละคนจะพยายามปฏิบัติฝึกฝน ให้สามารถใช้วิทยาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดความสามารถดังนั้น ได้แก่ความสุจริต หนักแน่น และเป็นระเบียบในการกระทำความประพฤติ อย่างหนึ่ง ในความคิดจิตใจ อีกอย่างหนึ่ง. ความสุจริต หนักแน่น และเป็นระเบียบทั้งสองอย่างนี้ ต่างอาศัยกันและประกอบเกื้อกูลกันอยู่ตลอดเวลา. จำเป็นจะต้องอบรมบำรุงให้เจริญมั่นคงขึ้นด้วยกัน. เมื่อจัดระเบียบในการกระทำและในความคิดได้พร้อมแล้ว ปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนถ่องแท้ ตรงเป้าหมาย ตรงความจริง ก็จะเกิดขึ้น. จะพิจารณาเรื่องราวหรือปัญหาใด ๆ ก็สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องนั้นปัญหานั้นได้ทันที โดยปราศจากความลังเลสับสน ช่วยให้สามารถใช้วิทยาการสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง พอเหมาะพอดี ไม่มีติดขัด และสัมฤทธิ์ผลที่มุ่งหมายสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกส่วน . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๓
   
. . บัณฑิตจะทำตัวให้เฉื่อยช้าล้าหลังไม่ได้ แต่หากจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้า เพิ่มพูนความรู้ความสามารถของตนอยู่ตลอดเวลา การศึกษาค้นคว้าที่สำคัญและจำเป็นอย่างแรก คือการศึกษาทางแนวลึก อันได้แก่การฝึกฝนค้นคว้าวิชาเฉพาะของแต่ละคน ให้เชี่ยวชำนาญแตกฉานลึกซึ้ง และพัฒนาก้าวหน้า. พร้อมกันนั้น ในฐานะนักปฏิบัติ ซึ่งจะต้องทำงานและแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นฝ่ายอื่นอยู่เป็นปรกติ
ทุกคนจำเป็นต้องศึกษาทางแนวกว้างควบคู่กันไปด้วย. การศึกษาตามแนวกว้างนี้ หมายถึงการศึกษาให้รู้ ให้ทราบ ถึงวิทยาการสาขาอื่น ๆ ตลอดจนความรู้รอบตัวเกี่ยวกับสภาวะและวิวัฒนาการของบ้านเมืองและสังคมในทุกแง่มุม เพื่อช่วยให้มองเห็น ให้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างชัดเจนถูกถ้วน และสามารถนำวิชาการด้านของตนประสานเข้ากับวิชาการด้านอื่น ๆ ได้โดยสอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสม . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓
   
. . . การงานทุกอย่างทุกอาชีพ ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง. จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนในอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติ. หากผู้ใดล่วงละเมิดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้. เหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพ นอกจากจะต้องมีความรู้ในสาขาของตนอย่างลึกซึ้ง จัดเจนและศึกษาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอแล้ว ยังจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ทั้งข้อที่ควรปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย จึงจะสามารถประพฤติตนปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ได้รับความเชื่อถือยกย่องในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และในความสามารถด้วยประการทั้งปวง . . .
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
    
. . . การทำงานให้สำเร็จผลอันพึงประสงค์ได้ด้วยดีนั้น เบื้องต้น แต่ละคนจะต้องมีปณิธานที่เที่ยงตรง ในอันที่จะทำงานทำหน้าที่ด้วยความอุตสาหะพยายามและความหนักแน่นอดทน ให้บรรลุผลสำเร็จ. เมื่อจะเริ่มงานสิ่งใด ก็ให้พยายามคิดพิจารณาให้จนเห็นจุดหมาย เห็นสาระ และประโยชน์ที่แท้ของงานนั้นอย่างแจ่มแจ้ง แล้วจึงลงมือกระทำด้วยความตั้งใจ มั่นใจ และด้วยความรับผิดชอบอย่างสูง ให้งานดำเนินลุล่วงตลอดไปอย่างต่อเนื่อง โดยมิให้บกพร่องเสียหาย. ข้อสำคัญ ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ต้องพยายามควบคุมกายใจและความคิด ให้สงบตั้งมั่นและหนักแน่น อย่าให้คลายจากความเพียร และอย่าให้หวั่นไหวฟุ้งซ่านไปกับความพอใจไม่พอใจหรืออุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ. นอกจากนั้น ยังจะต้องมีความสุจริตใจและจริงใจต่อผู้เกี่ยวข้องร่วมงานทุกฝ่ายทุกคน พร้อมทั้งประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันอย่างเหมาะสม
ด้วยความเมตตาอารีและความไม่มีอคติ เพื่อให้สามารถร่วมงานประสานประโยชน์กันได้ อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๓๓
   
 . . . ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗
       
. . . คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒
  
. . . ท่านกำลังมีความตั้งใจดีที่จะทำงานเพื่ออุดมคติพร้อมแล้ว แต่ต่อไป ในเมื่อต้องตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่แปลกเปลี่ยนไป อาจคลายจากอุดมคติและความสุจริตใจไปได้ไม่ยากนัก ฉะนั้น ทุกคนจำเป็นต้องหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาการกระทำของตนให้รอบคอบอยู่เสมอ ระมัดระวังทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว เพื่อเอาชนะความชั่วร้ายทั้งมวลให้ได้โดยตลอด และสามารถก้าวไปถึงความสำเร็จที่แท้จริง ทั้งในการงานและการครองชีวิต . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๖
   
 . . . ความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสังคมก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับฐานะความเจริญมั่นคงของบุคคลในชาติเป็นสำคัญ. และความเจริญของคนทั้งหลายนั้น จะเกิดมีได้ก็ด้วยการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบ. ผู้ที่จะสามารถประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ จำเป็นจะต้องมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติการงานให้ชอบ ให้ถูกต้องและเป็นธรรม. วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อมในผู้ใด ผู้นั้นย่อมจะประสบความสุขและความสำเร็จทั้งในชีวิตและกิจการงาน ซึ่งย่อมจะส่งผลสะท้อนถึงส่วนรวมต่อไป คือทำให้บ้านเมืองมีความเจริญมั่นคง ทำให้สังคมเป็นสังคมที่ผาสุขสงบ น่าอยู่น่าอาศัย . . . 
พระราชดำรัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในการสัมมนาของ
มูลนิธิช่วยเหลือเด็กกำพร้าของสตรีไทยมุสลิมแห่งประเทศไทยฯ
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
     
. . . ในการดำรงตนในภายหน้านั้น ท่านจะต้องประพฤติให้ดีให้เหมาะสมแก่ฐานะ รู้จักผิดและชอบ ประกอบอาชีพโดยสัมมาอาชีวะ ไม่เสเพล และไม่ปล่อยตนให้เป็นทาษแห่งอบายมุขต่าง ๆ ดังนี้แล้ว ท่านก็จะสามารถเป็นที่พึ่งแก่ตนเองและครอบครัวของท่าน และจะเป็นที่นับถือของบุคคลอื่น
     
ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม วางตนให้ดีเพื่อเป็นแบบอย่างให้สมเกียรติที่เป็นบัณฑิต และพยายามบำเพ็ญกรณียกิจเพื่อเป็นกำลังแก่ชาติบ้านเมือง เป็นทางส่งเสริมเกียรติคุณของตนเองและของสถานศึกษาอันมีเกียรติของท่าน . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๖
   
. . การมีความรู้ความถนัดทางทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ ผู้ที่ฉลาดสามารถแต่ในหลักวิชา โดยปรกติวิสัยจะได้แต่เพียงชี้นิ้วให้ผู้อื่นทำ ซึ่งเป็นการไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจทำให้ผู้ใดเชื่อถือหรือเชื่อฟังอย่างสนิทใจได้ เหตุด้วยไม่แน่ใจว่าผู้ชี้นิ้วเองจะรู้จริง ทำได้จริงหรือหาไม่ ความสำเร็จทั้งสิ้นเกิดขึ้นได้เพราะการลงมือกระทำ ดังนั้น ผู้ที่ชำนิชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ จึงจัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และมีขีดความสามารถสูง เป็นที่เชื่อใจและวางใจได้ว่าจะดำเนินงานทั้งปวงอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถทำงาน สั่งงาน และสั่งคนได้อย่างถูกต้องแท้จริง . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๗
     .
 . . ความรู้ที่ศึกษามา ซึ่งเป็นความรู้ทางทฤษฎี นั้น คือรากฐานและต้นทุนสำคัญสำหรับที่จะนำไปปฏิบัติงานการ ความรู้ทางทฤษฎีนี้ จำเป็นที่จะต้องทบทวนเสริมสร้างอยู่เสมอ และนำมาประกอบการปฏิบัติ เมื่อเอาความรู้ทางทฤษฎีมาประสมประสานปรุงแต่งกับความรู้จากการปฏิบัติ อย่างสอดคล้องเหมาะสมแล้ว งานที่ทำก็จะบรรลุผลที่จะพึงภาคภูมิใจได้สมปรารถนา . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๙
   
. . . การที่จะร่วมมือกันทำให้งานราบรื่น สำเร็จ และดำเนินก้าวหน้าต่อเนื่องกันไปได้นั้น นักปฏิบัติงานทุกคนจะต้องมีวินัยสำหรับใช้กับตนเอง คือ ต้องไม่ประมาทปัญญา ต้องรักษาความจริงใจ ต้องสลัดทิ้งความคิดจิตใจที่ต่ำทรามอ่อนแอ และต้องทราบตระหนักในความสำรวม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่จะช่วยให้งานเป็นงานและให้ชีวิตมั่นคงเป็นสุข . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๑
  
 . . ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติบริหารงานใหญ่ๆ เช่นงานของแผ่นดิน. และความสามัคคีนี้จะเกิดมีขึ้นมั่นคงได้ ก็ด้วยบุคคลในหมู่ในคณะมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวผูกพันจิตใจของกันและกันไว้.คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนั้นประการหนึ่งได้แก่การให้ คือให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน ให้อภัยไม่ถือโทษกัน ให้คำแนะนำตักเตือนที่ดีต่อกัน. ประการที่สอง ได้แก่การมีวาจาดี คือพูดแต่คำสัจ คำจริงต่อกัน พูดให้กำลังใจกัน พูดแนะนำประโยชน์กัน และพูดให้รักใคร่ปรองดองกัน. ประการที่สามได้แก่การทำประโยชน์ให้กันและกัน คือประพฤติปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์เกื้อกูล ทั้งแก่กันและกัน และแก่หมู่คณะโดยส่วนรวม. ประการที่สี่ได้แก่การวางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม. คือไม่ทำตัวให้ดีเด่นเกินกว่าผู้อื่น และไม่ด้อยให้ต่ำทรามไปจากหมู่คณะ. หมู่คณะใดมีคุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวกันไว้ดังกล่าวหมู่คณะนั้นย่อมจะมีความเจริญมั่นคงขึ้นด้วยสามัคคีธรรม . . . 
พระราชดำรัส
พระราชทานแก่สามัคคีสมาคมฯ
ในการเปิดประชุมประจำปี ๒๕๒๕
ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ เมษายน ๒๕๒๕
   
. . . การทำงานนั้น กล่าวโดยสรุป ขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือความสามารถในการใช้วิชาการอย่างหนึ่ง กับความสามารถในการสัมพันธ์ติดต่อและประสานกับผู้อื่น ไม่ว่าจะในวงงานเดียวกันหรือต่างวงงานกัน อีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ย่อมดำเนินควบคู่ไปด้วยกัน และจำเป็นที่จะต้องกระทำด้วยจิตใจที่ใสสะอาดปราศจากอคติ ต้องกระทำด้วยความคิดความเห็นที่อิสระ เป็นกลาง ถูกต้องตามหลักเหตุผล จึงจะมีความกระจ่างแจ่มแจ้งเกิดขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้สามารถมองเห็นถึงกระบวนการปฏิบัติทั้งปวงได้โดยตลอด ซึ่งจะยังผลให้งานทุกอย่างลุล่วงถึงจุดประสงค์ และบรรลุประโยชน์ที่ต้องการโดยครบถ้วนแท้จริงในที่สุด . . . 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา
วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๗
    
. . การตั้งต้นงานนี้สำคัญที่สุด. คำว่า "ตั้ง" นั้นก็มีไว้ เพราะว่าสำหรับทำงานใด ๆ ก็จะต้องมีความตั้งใจ ตั้งใจนั้นก็คือเอาใจตั้งในงาน หรืออีกอย่างเอางานมาตั้งไว้ข้างหน้าใจ เมื่อเอางานมาตั้งไว้ข้างหน้าใจ หรือเอาใจตั้งไว้ในงานนั้น เชื่อว่างานก็คงจะสำเร็จลุล่วงไปได้โดยดี ตั้งใจนั้นก็ประกอบด้วยการตั้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในใจ คือ ความสามารถ ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน และงานนั้นก็จะมีความสำเร็จ มีคุณ และเป็นเกียรติสำหรับตนเอง เป็นเกียรติสำหรับหมู่คณะสำหรับประเทศชาติ . . . 
พระราชดำรัส
ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเฝ้าฯ
ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๓
    
(มีต่อในคราวหน้า)

ความหมาย : เศรษฐกิจพอเพียง หรือ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้[1]

 

  

 เศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชนเมืองฯ หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ



เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ   และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจพอเพียง คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีพ หลักการพึ่งตนเอง อาจจะแยกแยะโดยยึดหลักสำคัญอยู่ 6 ประการ คือ
  1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประณีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
  2. ด้านร่างกาย รับประทานอาหารที่พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย รับประทานอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกินไป ไม่รับหรือเสพของที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สุรา ของมึนเมา เป็นต้น
  3. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง เป็นอิสระ 
  4.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า โดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน
  5. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี¨Öงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและ
    เลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง 
  6.  ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อน เป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

 

ได้มีพระราชกระแสด้วยว่า “...หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกันทำสัก 1/4 ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพ้นจากวิกฤติได้... นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 ที่ผ่านมา ได้พระราชทานพระราชดำรัสเพิ่มเติมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ 

...คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอใช้สำหรับใช้ของตัวเอง มีความหมายว่าพอมีพอกิน...พอมีพอกินนี้ ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง... 

“...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำสมควรที่จะปฏิบัติ... 

“...Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง... 

“...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...  


[1] http://www.sudyord.com/ecommerce/king-2002/ouddy-oud/project1.html 

จากการพิจาณากระแสพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ข้างต้น สรุปได้ว่า มีคำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่หลายคำ ที่จะทำให้เข้าใจแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ดีขึ้น คำดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

1.    ความพอประมาณ

Ø     พอมีพอกิน

Ø     ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา

Ø     มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคน

Ø     อยู่ได้ด้วยตนเอง

Ø     พอในความต้องการ

Ø     ด้วยความพอเหมาะพอดี

Ø     ถูกต้อง พอเหมาะพอดี

Ø     ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง

Ø     ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี

Ø     ทำการทุกอย่าง ด้วยความมีสติ  

 

2.    ความมีเหตุผล

Ø     ความคิดพิจารณาด้วยตนเอง

Ø     ตรงเป้าหมาย ตรงความจริง

Ø     ถูกต้องตามหลักเหตุผล

Ø     ถูกต้อง และเหมาะสม

Ø     ทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว

Ø     รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง

 

 3.    การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

Ø     มีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ

Ø     ผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น

Ø     ไม่ประมาทปัญญา

Ø     ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ

Ø     เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ.

Ø     ควบคุมกายใจและความคิด 

4.    เงื่อนไขความรู้

Ø     ศึกษาให้รู้ ให้ทราบ

Ø     เข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องนั้นปัญหา

Ø     เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างชัดเจนถูกถ้วนØ     มีความรู้

Ø     ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน

Ø     ชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ

Ø     ทำการทุกอย่างด้วยความรู้ตัว

Ø     เห็นจุดหมาย เห็นสาระ และประโยชน์ที่แท้ของงานนั้นอย่างแจ่มแจ้ง

Ø     นำวิชาการด้านของตนประสานเข้ากับวิชาการด้านอื่น ๆ ได้โดยสอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสม . . . 

 

5.    เงื่อนไขคุณธรรม

Ø     มีคุณธรรม

Ø     เมื่อมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกันร่วมมือร่วมใจกัน

Ø     แก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นฝ่ายอื่นอยู่เป็นปรกติ

Ø     ความสุจริตใจและจริงใจ

Ø     เมตตาอารีและความไม่มีอคติ

Ø     ไม่เสเพล และไม่ปล่อยตนให้เป็นทาษแห่งอบายมุขต่าง ๆ

Ø     ยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน

Ø     วางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม.

Ø     ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน

Ø     เป็นกลาง

Ø     วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อม

Ø     รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

ความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจพอเพียง

  

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงมีรากฐานที่ต่างกัน เศรษฐกิจทุนนิยมอยู่บนคำถามที่ว่า "ทำอย่างไรจะรวย" จะแก้ความยากจนไม่ได้ จึงนำไปสู่พฤติกรรม  คนแข็งแรงจะเอาเปรียบคนอ่อนแอ และขาดความเป็นธรรมทางสังคม

  

แต่โบราณมาเราถือว่าความประหยัดเป็นของดี แต่ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมถือว่า ต้องกระตุ้นการบริโภค จึงจะทำให้เศรษฐกิจดี ก่อให้เกิดการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การผลิตสินค้า การซื้อ การขาย การโฆษณา การเพิ่มการบริโภค เป็นการเพิ่มการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเมื่อน้ำมันขึ้นราคาก็เลี้ยวมากระทบระบบเศรษฐกิจทั้งหมด เดือดร้อนวุ่นวายวิกฤต เป็นวงจรแห่งความวิกฤตโดยแท้

  แต่เศรษฐกิจพอเพียงนั้นอยู่บนฐานของความเพียร สัมมาชีพ การพึ่งตนเอง การประหยัด การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การรู้ความพอดี การมีไมตรีจิตต่อกัน การพัฒนาจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้น นั่นคืออยู่บนฐานของความดีนั่นเอง  
ความพอดี ทางสายกลางตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำรัสที่พระราชทาน ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ เป็น วิถีชีวิต ไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี คือ
  1. ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตน เองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม นึกถึงผล ประโยชน์ส่วนรวม
  2. ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมี กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
  3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนา ประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
  4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนา เทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็น ประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
  5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และ ฐานะของตน
การบริหารจัดการที่ดีกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

 ในทางปฏิบัติ แนวคิดเรื่อง Good Governance เป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างกว้างขวาง เมื่อธนาคารโลก (World Bank) ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการกำหนดนโยบายการให้กู้เงินกับประเทศใน ซีกโลกใต้ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความไร้ประสิทธิภาพและการคอรัปชั่นของรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนา (นฤมล ทับจุมพล 2541)

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาหาที่มารากฐานของแนวคิดดังกล่าวพบว่า ปัจจุบันการค้นหาความหมายและคุณค่าของแนวคิดดังกล่าวมีการศึกษาในวงกว้าง และมีเอกสารอยู่มากมาย โดยการศึกษาประเด็นนี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของแนวคิดในการพัฒนา ภาครัฐ หรือภาคเอกชนในอดีต เช่น แนวคิดเรื่อง Public Sector Reform, Civil Service Reform, Bureaucratic Reform, Financial Management and Budgeting Reform Re-engineering, Re-inventing เป็นต้น  Bad Governance กับ Good Governance[1] คุณลักษณะและองค์ประกอบของ Good Governance โดยเปรียบเทียบกับ Bad Governance ไว้ดังนี้

Bad Governance UNDP ชี้ว่าหากสังคมใดมีลักษณะ Bad Governance จะสามารถดูได้จากตัวชี้วัดหลายประการ อาทิเช่น
  1. ประชาชนในสังคมได้รับบริการสาธารณะที่ไม่มีคุณภาพ จากหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
  2. ประเทศขาดศักยภาพในการกำหนดหรือดำเนินนโยบาย หรือแม้แต่การตัดสินใจด้านนโยบายในแต่ละวันก็มักจะผิดพลาดและสับสน ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการและเหตุผล
  3. การบริหารการคลังของประเทศล้มเหลว ซึ่งรวมถึงปัญหาการเงินการคลังของประเทศและการกำหนดงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ไม่สร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศ และการควบคุมการใช้จ่ายที่ไร้ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  4. การกำหนดกฎระเบียบที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างจริงจัง การกำหนดกติกาและกฎระเบียบต่างๆ ที่นำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินสาธารณะ ของกลุ่มคนบางกลุ่ม
  5. ความไม่โปร่งใสของกระบวนการตัดสินใจ มีการทุจริตและแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินสาธารณะ และพบการทุจริตคอร์รัปชั่นของ นักการเมือง ข้าราชการและนักบริหารในองค์กรต่าง ๆ
Good Governance การบริหารจัดการที่ดีจะต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
  1. การมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือเป็นกลไกกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน (Equity) ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าร่วมในทางตรง หรือทางอ้อม โดยผ่านกลุ่มผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยชอบธรรม หรือการมีรูปแบบ การปกครองและบริหารงานที่กระจายอำนาจ (Decentralization) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเสรีนี้รวมถึงการให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน และให้เสรีภาพแก่สาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
  2. ความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือเป็นกลไกที่มีความสุจริตและโปร่งใสซึ่งรวมถึงการมีระบบกติกาและการดำเนินการที่เปิดเผย โดยประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงาน และติดตามผลได้
  3. พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsiveness and Accountability) คือ การเป็นกลไกที่มีความรับผิดชอบในบทบาทภาระหน้าที่ต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นด้านการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม รวมถึงการมี Bureaucratic Accountability และ Political Accountability ซึ่งจะมีความหมายที่มากกว่าการมีความรับผิดชอบเฉพาะต่อผู้บังคับบัญชาหรือกลุ่มผู้เป็นฐานเสียงที่ให้การสนับสนุนทางการเมือง แต่จะครอบคลุมถึงพันธะความรับผิดชอบที่มีต่อประชาชนสังคมโดยรวม
  4. กลไกทางการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือเป็นกลไกที่มีองค์ประกอบ ของผู้ที่เป็นรัฐบาล หรือผู้ที่เข้าร่วมบริหารประเทศที่มีความชอบธรรม เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมโดยรวมไม่ว่าจะโดยการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง แต่จะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนว่ามีความสุจริต มีความเที่ยงธรรม และมีความสามารถที่จะบริหารประเทศได้
  5. กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือมีกรอบของกฎหมายที่ยุติธรรมและเป็นธรรมสำหรับกลุ่มคนต่างๆในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์มีการบังคับใช้และสามารถใช้บังคับได้ ซึ่งคนในสังคมทุกส่วนเข้าใจสามารถคาดหวังและรู้ว่าจะเกิดผลอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นการประกันความมั่นคง ศรัทธา และความเชื่อมั่นของประชาชน
  6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทำงาน การจัดองค์กร การจัดสรรบุคลากร และมีการควบคุมการใช้ทรัพยากรสาธารณะต่างๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดำเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์อย่างคุ้มค่า
 ความหมายของ “Good Governance” ในบริบทสังคมไทยระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล[2]
(GOOD GOVERNANCE)


หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
 

  1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
  2. หลักคุณธรรม (Morality)หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
  3. หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
  4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
  5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
    หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
  6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
 ตารางเปรียบเทียบ หลักธรรมาภิบาลกับหลักเศรฐกิจพอเพียง
หลักธรรมาภิบาล หลักเศรษฐกิจพอเพียง
หลักนิติธรรม หลักความมีเหตุมีผล เงื่อนไขความรู้
หลักคุณธรรม เงื่อนไข ความมีคุณธรรมหลักความมีเหตุมีผล เงื่อนไขความรู้
หลักความโปร่งใส
หลักความมีส่วนร่วม
หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ หลักภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หลักความคุ้มค่า หลักความพอประมาณ แนวทางปฏิบัติ/วัดผลได้
 
  • มาให้กำลังใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ค่ะ  ดิฉันเองเวลาสอนหนังสือในแต่ละเทอมก็จะสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปเสมอ  เมื่อมีการอบรมที่ไหนก็จะเข้าไปเรียนรู้  ได้คุยกับรุ่นพี่ที่มีโอกาสตามเสด็จบ่อย ๆ  ยิ่งได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับในหลวงของเราก็ยิ่งรู้สึกปลาบปลื้ม
  • พวกเราอาจจะเป็นจุดเล็กๆในสังคม  แต่สามารถช่วยกันเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ค่ะ  แล้วจะแวะเข้ามาอีกค่ะ

ขอบคุณ อ.ลูกหว้า ครับ สำหรับ ผู้มาให้กำลังใจ ผมจะทยอยเขียน เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง ครับ 

 หากมีสิ่งใดจะแนะนำขอให้ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ

หาคำตอบ

แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการ และเงื่อนไขอย่างไร

  

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง [1]

 

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน  

1. กรอบแนวความคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน  

3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต  

5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


[1] http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2549&MM=2&DD=4


เศรษฐกิจพอเพียง

กับการดำเนินชีวิต 

 

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิตทางสายกลาง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง เน้นความสุขที่ยั่งยืน

การดำเนินชีวิตโดยยึดแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ปฏิบัติ พอสรุปได้ดังนี้

  1. ด้านจิตใจ ฝึกตนให้มีจิตใจสงบ ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบมีสติ มีปัญญา มีจิตกุศล มีจิตสำนึกที่ดี ให้ตนเอง คำนึงถึงสังคม มีจิตใจอาสาช่วยเหลือสังคมและชาติโดยรวม หมั่นทบทวนตนเองอยู่เสมอ เพื่อระมัดระวังข้อผิดพลาด ไม่ให้เกิดซ้ำ ฝึกตนให้เป็นคนทีจริยธรรม คุณธรรม เมตตาอารีและความไม่มีอคติ ทำการทุกอย่างด้วยความรู้ตัว  รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
  2. ด้านร่างกาย ฝึกปฏิบัติตน ให้มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบรับประทานอาหารที่สมส่วน เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ สมดุล ไม่บริโภคมากเกินความจำเป็น ไม่สุดโต่งเรื่องรสชาติอาหารไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ยึดหลักสายกลาง พอเหมาะ พอดี พอควร พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายพอสมควรแก่เพศ วัย
  3. ด้านความรู้  มุ่งศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว   รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้มี มีพื้นฐานด้านความรู้ที่แน่นหนาไว้รองรับการครองตน ครองงาน ครองคน ค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าไปเป็นลำดับ. ไม่ประมาทปัญญาตนเอง และไม่ประมาทในปัญญาความรู้ของผู้อื่น นำวิชาการด้านของตนประสานเข้ากับวิชาการด้านอื่น ๆ ได้โดยสอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสม
  4. ด้านการงาน  มุ่งปฏิบัติงานทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว   รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง ตรงเป้าหมาย ตรงความจริง มีพื้นฐานแน่นหนารองรับ ค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ไปเป็นลำดับ. ยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน  แก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นฝ่ายอื่น วางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม.ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง ชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
  5. ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย การออม สะสมเป็นเงินทุน ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืม อยู่ได้ด้วยตนเอง พอในความต้องการ ด้วยความพอเหมาะพอดี
  6. ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณ ปฏิบัติตนเป็นกัลยาณมิตร ดูแลทิศทั้ง 6 ให้ดี สร้างทุนทางสังคม สร้างเครือข่ายชุมชนที่เข็มแข็ง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยกันร่วมมือร่วมใจกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี วางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม. รู้จักเข้าสังคม มีสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
  7. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการอย่างชาญฉลาด รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่ายั่งยืน
  8. ด้านเทคโนโลยี ศึกษาให้รู้ ให้ทราบ เข้าถึงแก่นแท้ ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง
3 ห่วง 2 เงื่อนไข ในเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร 

เพื่อให้จำได้ง่ายที่สุด คำนิยามเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ปัจจัยสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของ 3 ห่วง คือ

  1. ความพอประมาณ ไม่สุดโต่งจนเกินไป
  2. การมีเหตุมีผลที่จะคิดวิเคราะห์ทุกอย่างก่อนลงมือปฏิบัติ
  3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี จะทำอะไรก็ตามให้มีแผนรองรับ ไว้เสมอ หากมีปัญหา ก็ได้เตรียมแนวทางการป้องกันไว้
 

เพื่อไม่ให้กระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตของเรามากเกินไป ส่วน 2 เงื่อนไขคือ

  1. ตอกย้ำความมีเหตุผล ใช้ความรู้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
  2. คุณธรรม หากมีสิ่งเหล่านี้ ไม่มีคำว่าไปไม่รอด ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เบื้องต้นคงต้องใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป
 

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

กับการพัฒนาองค์การ(ครั้งที่ 1)

(3 ห่วง 2 เงื่อนไข กับเครื่องมือในการบริหารองค์การ)

 

 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน  ผมนำหลักเศรษฐกิจเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาเปรียบเทียบกับเครื่องมือสมัยใหม่ ที่ใช้ในการบริหารองค์การ  ซึ่งที่จริงแล้วยังมีเครื่องมือทางการบริหารจัดการอีกหลายอย่างที่สอดคล้องกับแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผมเขียนมานี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่แค่เรื่องของเกษตรกร เท่านั้น แต่เป็นกรอบแนวคิดดำเนินชีวิตที่เน้นให้รอบคอบขึ้น เหมือนกับหลักศาสนา ที่คอยเตือนใจและเป็นเครื่องชี้นำให้พบกับความสุขและความสำเร็จ ที่ยั่งยืน ครับ 

 

ตารางแสดงแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาองค์การ 

3 หลักการ 2 เงื่อนไขเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือในการบริหารองค์การ
ความพอประมาณ
  •   Vision, Mission, Goal and Strategic Planning
  •  Policy Management
  •     Human Resource Management 
  • Human Resource Development 
  •     KPI, BSC, Competency 
  •     Conflict Management
ความมีเหตุมีผล
ความมีภูมิคุ้มกัน
  • Quality Management System
  • Internal Audit
  •   Corrective Action Request
  • Continue Improvement
  • P D C A concept
  • Risk Management
  •   Accounting Acts
  • Change Management
ความรู้
  • Learning Organization
  • Knowledge Management
  • Innovation
  • Quality Management System
  • Empowerment
  • Training and Development
  •   On the job training
  • Coaching
คุณธรรม
  •  Good Governance Management
  • Professional Ethics
  • Basic Principles
  • Policy Management
  • Human Resource Management
  •   Human Resource Development

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลข้างต้น จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

สวัสดี

เทอมหน้ามีหลักสูตรใหม่คือวิชาเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ ทางมหาวิทยาลัยกำลังพิจารณาว่าจะให้อาจารย์ท่านใดเป็นผู้สอน เพราะถูกบรรจุเป็นวิชาการศึกษาทั่วไป(GE) เดี๋ยวว่างๆจะมาแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ

ยินดีครับ  และขอบใจที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม

ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

 

ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลานี้ ข่าวหลายกระแส รายงานว่า จะมีการแก้ไขปัญหา ด้วยการย้ายบางส่วนกลับมาดำเนินการที่สนามบินดอนเมือง และจะให้สนามบินดอนเมือง กลับมาเป็นสนามบินนานาชาติ 

นั่นเป็นข่าวจากหลายกระแสทางทีวี น.ส.พ.และสื่อวิทยุ ฟังแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าการตัดสินแก้ไขปัญหา ได้นำแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้หรือไม่  ผมได้นำแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ครับ   

หวังว่าข้อมูลตอนท้ายนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจและการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวงของพวกเราชาวไทย

 

ตารางเปรียบเทียบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับแนวทางแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ

 
3 หลักการ 2 เงื่อนไขเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือในการบริหารองค์การ
ความมีเหตุมีผลReasonableness

·    การค้นหาปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ อะไรคือปัญหา อะไร คือสาเหตุของปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิที่แท้จริง

·    กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิที่สมเหตุสมผล

·    เลือกแนวทางที่ดีที่สุด มาปฏิบัติ อย่างสมเหตุสมผล

·    ดำเนินการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ อย่างมีเหตุมีผล

ความพอประมาณModeration  

·    เลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่สมเหตุสมผลและพอประมาณ

·    ดำเนินการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิอย่างพอประมาณ

ความมีภูมิคุ้มกันSelf-Immure ·   เลือกแนวทางแก้ไข สำรองไว้อีก 2-3 แนวทาง ที่สมเหตุสมผล และพอประมาณ
ความรู้Knowledge

·  ศึกษาปัญหา สาเหตุของปัญหาอย่างรอบรู้ เท่าทัน

·  ศึกษาวิเคราะห์ทางเลือกแนวทางแก้ไขสนามบินสุวรรณภูมิ

·  ปฏิบัติการแก้ไข ปัญหาด้วยความรอบรู้ ไม่ประมาท·  ใช้ความรอบรู้ในการติดตามผลการแก้ไขปัญหา เพื่อหาทางพัฒนาการแก้ไขปัญหา ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

คุณธรรมEthic Virtue

·  ศึกษาปัญหาที่สนามบินสุวรรณภูมิด้วยความเป็นธรรม ไม่มีอคติกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

·  ใช้ระบบคุณธรรม ธรรมาภิบาลเข้ามาบริหารจัดการปัญหา

·  เปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

กับการพัฒนาองค์การ(ครั้งที่ 2)

ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ

กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

 

ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลานี้ ข่าวหลายกระแส รายงานว่า จะมีการแก้ไขปัญหา ด้วยการย้ายบางส่วนกลับมาดำเนินการที่สนามบินดอนเมือง และจะให้สนามบินดอนเมือง กลับมาเป็นสนามบินนานาชาติ 

นั่นเป็นข่าวจากหลายกระแสทางทีวี น.ส.พ.และสื่อวิทยุ ฟังแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าการตัดสินแก้ไขปัญหา ได้นำแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้หรือไม่  ผมได้นำแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ครับ   

หวังว่าข้อมูลตอนท้ายนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจและการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวงของพวกเราชาวไทย

 

ตารางเปรียบเทียบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับแนวทางแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ

 
3 หลักการ 2 เงื่อนไขเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือในการบริหารองค์การ
ความมีเหตุมีผลReasonableness

·    การค้นหาปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ อะไรคือปัญหา อะไร คือสาเหตุของปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิที่แท้จริง

·    กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิที่สมเหตุสมผล

·    เลือกแนวทางที่ดีที่สุด มาปฏิบัติ อย่างสมเหตุสมผล

·    ดำเนินการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ อย่างมีเหตุมีผล

ความพอประมาณModeration  

·    เลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่สมเหตุสมผลและพอประมาณ

·    ดำเนินการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิอย่างพอประมาณ

ความมีภูมิคุ้มกันSelf-Immure ·   เลือกแนวทางแก้ไข สำรองไว้อีก 2-3 แนวทาง ที่สมเหตุสมผล และพอประมาณ
ความรู้Knowledge

·  ศึกษาปัญหา สาเหตุของปัญหาอย่างรอบรู้ เท่าทัน

·  ศึกษาวิเคราะห์ทางเลือกแนวทางแก้ไขสนามบินสุวรรณภูมิ

·  ปฏิบัติการแก้ไข ปัญหาด้วยความรอบรู้ ไม่ประมาท·  ใช้ความรอบรู้ในการติดตามผลการแก้ไขปัญหา เพื่อหาทางพัฒนาการแก้ไขปัญหา ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

คุณธรรมEthic Virtue

·  ศึกษาปัญหาที่สนามบินสุวรรณภูมิด้วยความเป็นธรรม ไม่มีอคติกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

·  ใช้ระบบคุณธรรม ธรรมาภิบาลเข้ามาบริหารจัดการปัญหา

·  เปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

หลักเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาองค์การ(ตอนที่ 3)

เรื่อง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข กับสมรรถนะ/ความสามารถของผู้นำ

 

ในสัปดาห์นี้ ผมเขียนเปรียบเทียบแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เทียบกับสมรรถนะของผู้นำ เพื่อให้นักศึกษา ผู้สนใจ ได้ศึกษาและเห็นภาพว่า แท้ที่จริงแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาบูรณาการใช้ได้ทุกสาขาอาชีพ 

เศรษฐกิจพอเพียง 

3 หลักการ 2 เงื่อนไข 

สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำ

จากรายงานการสัมมนา ตัวแทนชาติต่าง ๆ ในอาเซียนเรื่อง New Wave Leaders ปี 1996

ความพอประมาณModerationความพอดี พอประมาณ ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

มุ่งส่งเสริมให้บริการที่ดี  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาอื่น ๆ อาจตามมา จึงต้องรอบรู้ 

เป็นนักแก้ไขปัญหา  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาจะตามมามากมาย เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาหนี้สิน ปัญหาพื้นฐานการขยายเมือง เป็นต้น  

ความมีเหตุมีผลReasonablenessการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

คำนึงถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม สามารถนำเอาเทคโนโลยี มาใช้กับคน กับที่ดินเกษตรกรรมให้น้อยลงและเกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงมลภาวะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ที่จะมีผลกระทบต่อสังคมประเทศชาติ 

สามารถทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศ   ใสขณะเดียวกันก็ต้องมองเห็นความสำคัญของโลก  

ความมีภูมิคุ้มกัน Self-Immureการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เป็นผู้มีวิสัยทัศน์  สามารถคาดหมายความเปลี่ยนแปลงในอนาคต สามารถเตรียมตนเองและประเทศชาติให้รองรับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ

เป็นผู้มีความเข้าใจ และมองเห็นแนวโน้มในอนาคตทางด้านเทคโนโลยี 

ความรู้Knowledgeประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 

มีความรู้มีการศึกษาดี  และไม่ใช่มีความรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ต้องเป็นผู้รอบรู้

สามารถเป็นสื่อกลางระหว่างชาติต่าง ๆ   ที่มีประชาชนแตกต่างกัน

สามารถสื่อข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สามรรถสื่อความคิดแผนงานสำหรับอนาคตได้

คุณธรรมEthic Virtueความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ และที่สำคัญคือซื่อสัตย์ต่อสังคม ประชาชน และประเทศชาติ

คำพูดกับการกระทำสอดคล้องกัน เป็นผู้มีบารมี เป็นที่นิยมของคนในหน่วยงาน ในองค์การ ในชาติ และในสังคมโลก

ยอมรับความแตกต่างในศาสนา ในเชื้อชาติ ของคนต่าง ๆ ในสังคม สามารถรวบรวมคนที่ต่างศาสนาและต่างผิวพรรณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ยอมรับศาสนาอื่น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ส่งเสริมสนับสนุนความสำคัญของครอบครัว

ได้รับความไว้วางใจ 

แนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง

กับ

การเล่นน้ำสงกรานต์  

 

 

ปีนี้ เป็นปีที่พวกเราคนไทย ร่วมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนม์มายุ ครบ 80 พรรษา   จึงขอเชิญชวนพวกเราคนไทย ร่วมกันทำความดี ซึ่งมีหลายวิธีการ วิธีการหนึงที่ผมเสนอในบทความนี้ก็คือการร่วมกันทำความดีถวายในหลวง ด้วยการเล่นน้ำสงกรานต์ ให้ถูก  ให้เหมาะ ให้ควร ให้เป็นการส่งเสริมประเพณีอันดีงาม

 

ผมจึงขอน้อมนำเอาแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการกับการเล่นน้ำสงกรานต์ให้กับเยาวชนไทยได้ใช้เป็นแนวทางในการเล่นน้ำสงกรานต์ ที่เกิดประโยชน์กับตนและคนรอบข้าง ดังนี้

  

เยาวชนไทยควร ศึกษาให้รอบรู้ว่า การเล่นน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องตามประเพณีเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ของงานประเพณีสงกรานต์ เพื่อสงเสริมให้เกิดคุณค่า 7 ประการ[1]

   

เมื่อวัตถุประสงค์ของประเพณีสงกรานต์ เป็นเช่นนั้น ก็ควรรักษาไว้ และเยาวชนไทยควรตระหนักในเรื่องของจริยธรรม อะไร ควร ไม่ควร ตระหนักในเรื่องคุณธรรม ของการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร เล่นน้ำให้สง่างาม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนที่พบปะ

  การเล่นน้ำสงกรานต์ก็ควรดำเนินอยู่บนความมีเหตุ มีผล ไม่ดำเนินการไปเพราะความมึนเมา ขาดสติ มีเรื่องทะเลาะวิวาท ไม่ใช้อารมณ์อยู่เหมือเหตุและผล ในการเล่นน้ำสงกรานต์ 

 

เยาวชนไทย ควรเล่นน้ำสงกรานต์เอาแบบพอประมาณ ไม่เล่นแบบสุด ๆ เกินขอบเขตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามที่บรรพบุรุษ ได้สร้างไว้  ราด/รดน้ำให้กับผู้คน ก็เอาพอประมาณ ไม่จำเป็นต้องราดน้ำให้เปียกทั้งตัว ไม่จำเป็นต้องปะแป้ง ใช้แป้งละเลงผู้อื่น ให้เปื้อนไปทั้งหน้า ทั้งหัว ทั้งตัว  

 

  

สุดท้าย การเล่นน้ำสงกรานต์ เยาวชนไทยก็ควรมีภูมิคุ้มกันให้ดี  เมื่อรอบรู้ในหลักการ มีคุณธรรมประจำใจ มีเหตุมีผล เล่นน้ำแบบพอประมาณ ก็จะเป็นการรู้จักรักษาตัวไม่ให้เจ็บป่วย จากการเล่นน้ำสงกรานต์  เมื่อกลับจากเล่นน้ำแล้ว ก็อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้มีภูมิคุ้มกันไปเป็นโรคปวดหัว ตัวร้อน ตามมา

 

 

ใส่เสื้อเหลืองอย่างเดียว ช่วยชาติไม่ได้หากไม่มีการทำความดี  หากไม่น้อมนำเอาสิ่ง ดี ๆ ของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ จะถือว่ารักในหลวงได้อย่างไร  ผมจึงใคร่ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทย ร่วมใจกันน้อมนำเอาแนวคิดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการกับศาสตร์และประสบการณ์อื่น ๆ เพื่อพัฒนาตน พัฒนาคนรอบข้าง  และพัฒนาชาติของเรา

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
ตอน  ศึกษาดูงานการพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี 
ในหลวงกับสิ่งแวดล้อม[1]
“...ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนา ความเจริญก้าวหน้าซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือการพัฒนา ยิ่งรุดหน้าปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัว และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่ง ที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้...


พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2545

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 50 ผมกับกลุ่มนักศึกษา วิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่  โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี   

ออกเดินทางจากนิด้าประมาณ 8 โมงเศษ  ประทับใจ เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากนิด้า  ทุกคน ที่คอยดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี 

ประทับใจ ผู้ร่วมเดินทางไปด้วยทุกคนซึ่งเห็นชัดว่า ทุกคนมีหัวใจนักพัฒนา  และมีอุดมการณ์ รักในหลวง และมีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอย่างดี

ประทับใจเจ้าหน้าที่จากโครงการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี  ทุกคนให้การต้อนรับและปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี  และมีหัวใจของคนไทยสายพันธุ์แท้ คือรักในหลวง และตั้งใจทำงานตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน อย่างมุ่งมั่นทุ่มเท ขยัน อดทน มีน้ำใจ การศึกษาดูงานครั้งนี้

ประทับใจโครงการในพระราชดำริ โครงการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี  ได้เห็นพระอัจฉริยะภาพของพระเจ้าอยู่หัว ได้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของคนทำงานในโครงการนั้น ได้เห็นได้เรียนรู้ แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาสิ่งแวดล้อม  โดยใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ   ทำให้เกิดปัญหา สามารถนำไปบูรณาการกับการแก้ไขปัญหา และพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้  "ปัญหาอาจมีคำตอบการแก้ไขอยู่ในตัวปัญหานั้น" ปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ก็ใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ  การให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม การวิจัยศึกษาข้อมูล เป็นต้น

 จากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ผมได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี  มาเผยแพร่ไว้ในบล็อกนี้ด้วย หากผู้ร่วมไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ส่งรูปถ่ายมา จะนำมาลงในบล็อกนี้ในโอกาสต่อไป  เชิญท่านผู้สนใจ ติดตามศึกษา เกี่ยวกับหนึ่งในโครงการพระราชดำริ  โครงการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี  ได้จากข้อความตอนท้ายนี้ 

ชื่อโครงการ      
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[2]

วัตถุประสงค์   

    ศึกษาวิจัยและพัฒนา   วิธีการบำบัดน้ำเสีย   และกำจัดขยะมูลฝอย  โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมนำเอาผลผลิตที่เกิดจากการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยไปใช้ให้เกิดประโยชน์       อย่างครบวงจร  และอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล เช่น สัตว์น้ำ และป่าชายเลนให้มีสภาพสมบูรณ์ 
พื้นที่ดำเนินการ 

.แหลมผักเบี้ย  .บ้านแหลม  .เพชรบุรี  เนื้อที่โครงการ 1,135  ไร่ ที่ทำการโครงการ ฯ  หมู่ที่  1  .แหลมผักเบี้ย  .บ้านแหลม   .เพชรบุรี  โทร  0-3244-1264   โทรสาร  0-3244-1265

 

 หน่วยงานรับผิดชอบ  
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย  อันเนื่องจากพระราชดำริ (หัวหน้างานจัดการ)  

l  มูลนิธิชัยพัฒนา  อาคารชัยพัฒนา  สวนจิตรลดา   กรุงเทพ ฯ  10303

โทร 0 - 2280 - 3581 , 0 - 2282 - 3338   โทรสาร 0 - 2282 - 3339 

ประวัติความเป็นมา     

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานพระราชดำริ  เมื่อปี  2533 ให้สำนักงาน กปร. และกรมชลประทานร่วมกันศึกษาหาวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอย  น้ำเสีย   และการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีการทางธรรมชาติ   จึงได้มีการจัดทำกรอบแนวความคิด  ของโครงการขึ้นทูลเกล้าถวายและทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเห็นด้วยกับรูปแบบและแนวความคิดดังกล่าว  จากนั้น  สำนักงาน กปร.  และกรมชลประทาน   จึงได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการโดยใช้สถานที่บริเวณ  .แหลมผักเบี้ย     .บ้านแหลม   เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์  จำนวน  1,135  ไร่  เป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยของโครงการ 

 

ผลการดำเนินการ              

1) ก่อสร้างเทคโนโลยีกล่องคอนกรีตกำจัดขยะชุมชน

2) เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียชุมชน  ระบบบ่อบำบัด   ระบบพืชบำบัด  และระบบ ป่าชายเลน

3) ผลกระทบทางบวกจากการดำเนินโครงการ
  • คุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีดีขึ้น
  • หญ้าที่ใช้บำบัดน้ำเสียสามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
  • บ่อบำบัดน้ำเสียสามารถเลี้ยงปลาได้

4.   น้ำเสียที่บำบัดแล้ว  สามารถนำมาใช้รดต้นพืชผักผลไม้ได้

หมายเหตุ    คณะกรรมการอำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี   เป็นรองประธาน 

 

 

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย[3]

 

เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อหาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีทางธรรมชาติ และศึกษาการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยการดำเนินงานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การบำบัดน้ำเสียจากชุมชน ประกอบด้วยการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีขีดความสามารถบำบัดน้ำเสียได้สูงสุดวันละ 10,000 ลบ.ม. และการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 4 ระบบ ได้แก่

  • ระบบบ่อผึ่งบำบัดน้ำเสีย (Oxidation Pond)
  • ระบบหญ้ากรองบำบัดน้ำเสีย (Grass Filtration)
  • ระบบแปลงพืชน้ำบำบัด (Aquatic Plant Filtration) 
  •  แปลงป่าชายเลนบำบัดน้ำเสีย (Red and White mangrove)
 

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลเมืองเพชรบุรี ที่ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสีย มาประยุกต์กับหลักการธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้

ปัจจุบันเทศบาลเมืองเพชรบุรีประสบความสำเร็จในการจัดระบบบำบัดน้ำเสีย ส่งผลให้สามารถนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาใช้ในการเกษตรได้ น้ำในแม่น้ำเพชรบุรีมีคุณภาพดีขึ้น ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถนำขยะหรือผักตบชวาไปทำปุ๋ยหมัก นอกจากนี้ ยังได้เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยแก่ผู้สนใจให้สามารถนำไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ อย่างได้ผลอีกด้วย เอกสารเพิ่มเติม เกี่ยวกับ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี  นักศึกษา ผู้สนใจ สามารถ ค้นหาได้จากสิ่งพิมพ์ หนังสือ ดังนี้

  • จิราวัฒน์ ใจสำราญ. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากน้ำทิ้งชุมชนที่ผ่านการบำบัดโดยระบบบ่อบำบัดร่วมกับป่าชายเลนธรรมชาติ จากโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี = Environmental impact of wastewater from communities associated with a lagoon system and natural mangrove forest from the Laem Phak Bia environmental study, research and development project under Royal Instiatives, Banlaem district, Petchaburi province. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543. 231 หน้า.(วพ 110447)
  • ชัยศักดิ์ ริมเกลื่อน. ความหลากหลายของแพลงค์ตอนพืชในพื้นที่สภาพแวดล้อมต่างกันบริเวณแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี = Diversity of phytoplankton in different habitats at the Laem Phak Bia, Amphoe Ban Laem, Changwat Phetchaburi. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543. 168 หน้า.(วพ 109739)
  • ธันยพร ทรัพย์สมบูรณ์. องค์ประกอบชนิด ความชุกชุม และการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546. 128 หน้า.(วพ 143140)
  • พรรณราย สิทธิวงษ์. ปริมาณโลหะหนัก แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ในดินตะกอนชายฝั่งทะเลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี = Concentrations of some heavy metals : cadmium, cooper, lead and zinc in coastal sediment of Laem Pak Bia, Phetchaburi province. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543. 129 หน้า.(วพ 116827)
  • พิชชาทร เรืองเดช. ความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบางชนิดภายใต้สภาพน้ำเสีย บริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. 101 หน้า.(วพ 124199)
  • ภาว์สุระ ลิมปิสวัสดิ์. ประสิทธิภาพและคุณภาพน้ำใต้ผิวดินในแปลงทดลองบำบัดน้ำเสียชุมชนโดยใช้หญ้ากรองบริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. 93 หน้า.(วพ 136182)
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี : ระยะที่สอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย, 2546. 221 หน้า.(ว 142800 ฉ.1; 150119 ฉ.2)
  • ลำใย หงส์สิงห์. การกระจายของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในป่าชายเลนหลังการใช้บำบัดน้ำเสีย บริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546. 145 หน้า.(วพ 137278)
  • วุฒิชัย ชุตินันทกุล. การแพร่กระจายของธาตุอาหารและโลหะหนักบริเวณชายฝั่งทะเล แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี = Distribution of nutrients and heavy metals in coastal area of Laem Pak Bia, Petchaburi province. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543. 245 หน้า.(วพ 117338)
  • สรายุทธ คาน. การประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเล บริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. 116 หน้า.(วพ 130695)

ในบล็อคต่อไป ผมจะนำเสนอบทกลอน ของ รศ.นรินทร์ บุญชู ซึ่งท่านได้แต่งบทกลอนเกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา ไว้ได้อย่างไพเราะ และน่าสนใจ ได้ความรู้ 

 

เมื่อ รศ.นรินทร์ ส่ง บทกลอนเป็น Soft file มาให้ผมจะนำมาเผยแพร่ ต่อไป 

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกคน ครับ

 

 


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

ผมอ่าน น.ส.พ.มติชน ในเช้าวันนี้ เห็นมีบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่น่าสนใจ จึงคัดมาฝาก ครับ เชิญท่านติดตามอ่านได้จากบทความตอนท้ายนี้  ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

เศรษฐกิจพอเพียง ทางรอดและทางลัดการพัฒนา[1]





ใน "เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ" อี.เอฟ.ซูมาเคอร์ วิจารณ์ประเทศกำลังพัฒนาที่ทำแผนพัฒนาประเทศของตนเองแบบเดินต้อยๆ ตามหลังประเทศพัฒนาแล้วว่า "ไม่มีใครคิดว่าวิถีชีวิตแบบพุทธต้องการเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในขณะที่วิถีชีวิตวัตถุนิยมสมัยใหม่นำมาซึ่งเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่"

เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ที่ถือว่าการเติบโตขึ้นอยู่กับการบริโภค ถ้าไม่โลภไม่อิจฉาและไม่แข่งขันก็ไม่สามารถพัฒนาได้ จึงจำเป็นต้องปลุกเร้าความต้องการให้มาก เศรษฐศาสตร์แบบนี้อาจจะบอกให้ "แปลงสินทรัพย์เป็นทุน" แต่ที่แท้คือ "แปลงทุนให้เป็นเงินเป็นรายได้" จนกระทั่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายถูกขายกินเกือบหมด

นี่เป็นปัญหาวิธีคิด และไม่ใช่วิธีคิดธรรมดา เป็นหลักคิด หลักปรัชญา ซึ่งชูมาเคอร์วิจารณ์ว่า "นักเศรษฐศาสตร์เองก็เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ที่มักจะมีอาการตาบอดทางอภิปรัชญา ทึกทักเอาว่า ศาสตร์ของพวกเขาเป็นศาสตร์แห่งความจริงที่เด็ดขาดถาวร"

พุทธปรัชญาอันเป็นที่มาของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธมีหลักการหลักคิดคนละอย่าง เน้นการบริโภคให้น้อยที่สุดเพื่อการอยู่เย็นเป็นสุขมากที่สุด เป้าหมายจึงอยู่ที่การอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ใช่การบริโภค ขณะที่เศรษฐศาสตร์แม่ของวัตถุนิยมสมัยใหม่ถือเอาการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายและความสุขเป็นผลที่ตามมา

เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่เอาทรัพยากรธรรมชาติเป็นสินค้า ขายไปเพื่อได้เงินมาซื้อปัจจัยต่างๆ เพื่อการบริโภค เศรษฐศาสตร์แนวพุทธถือว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นทุนที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตอยู่ จึงต้องใช้อย่างมีสติ ใช้แบบไม่ทำลายให้หมดไป แต่ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เหลือให้ลูกให้หลานได้ใช้ด้วย

ย้อนกลับไปปี 2504 เมื่อผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่หนึ่ง (ซึ่งยังไม่มีคำว่าสังคม) เป็นช่วงเดียวกันกับวิวาทะอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่ว่าด้วย "สันโดษ" ระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

วันนี้กับวันนั้นไม่ได้แตกต่างกัน สังคมควรจะเปิดเวทีใหญ่ให้มีวิวาทะเพื่อจะได้ชัดเจนว่า เราจะเลือกอะไร เลือกไปทางไหน และเลือกแล้วต้องทำอะไร

ไม่เช่นนั้นเราก็จะพูดกันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจนมึนงงกันไปทั้งประเทศ รู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า เศรษฐกิจพอเพียงมีสาระสำคัญอะไรบ้างแต่รู้แล้วก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร รู้แบบ "แล้วไง" (so what)

ถ้าจริงอย่างที่ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน วิจัยว่า เศรษฐกิจพอเพียงมีรากฐานเดียวกัน กับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ก็ต้องศึกษากันต่อไปในรายละเอียด

เพราะถ้าจะให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง คงต้องมีการทำงานกันอีกมากนักไม่ใช่ให้สภาพัฒน์ฯ เป็นคนมากำหนดกรอบ เกณฑ์ ตัวชี้วัด ซึ่งก็อาจจะเหมาะกับหน่วยงานราชการ ซึ่งต้องการ "น้ำจิ้ม" แต่หาได้เป็นอาหารจานหลักแต่อย่างใดไม่ ก็ยังคงทำแผนงานที่เพิ่มงบประมาณกันทุกปีต่อไป

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ปรัชญาเป็นนามธรรม เป็นหลักคิด หลักการที่มีการประมวลสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่มาที่ไป ความหมายของชีวิตและสังคม ดังกรณีของ คาร์ล มาร์กซ์ กับฟรีดรีซ แองเกิล สองนักปรัชญา ซึ่งได้พัฒนาหลักคิดที่นำไปสู่ระบบ (system) และโครงสร้าง (structure) อย่างใหม่ที่เรียกกันว่าสังคมนิยม ที่แตกแขนงออกไปหลากหลายรูปแบบ

วันนี้เราต้องทำความเข้าใจกับสารัตถะ (substance) ของเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้งมากกว่าการท่องจำ 3 หลัก 2 เงื่อนไข เพราะในที่สุดก็ไม่ได้ต่างไปจากการท่องจำศีล 5 และไม่ได้นำไปปฏิบัติระบบและโครงสร้างทางสังคมก็ไม่ได้เอื้ออำนวยส่งเสริมให้ผู้คนปฏิบัติได้

ดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแล้วตามด้วยโฆษณาบ้าเลือดทั้งหลาย ใครทนไหวด้านได้ก็เก่งแล้ว คนที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้จริงวันนี้จึงต้องยกย่อง เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทวนกระแสหลักของการบริโภค อันเป็นปรัชญาทุนนิยมเสรีที่เราเลือกใช้กันวันนี้

ถ้ามีการระดมการศึกษาวิจัยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างจริงจัง เราจะเข้าใจว่า
สารัตถะของเศรษฐกิจพอเพียงโยงไปถึงระบบ (system) ที่จะต้องปรากฏออกมาอย่างชัดเจน เป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบทุน ระบบการเงิน ระบบการผลิต การบริโภค การตลาด ระบบทรัพยากร ระบบการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรและรายได้ ระบบวิถีเลี้ยงชีพ ระบบสวัสดิการ ระบบสุขภาพ ระบบการศึกษา ระบบกฎหมาย และระบบน้อยใหญ่อื่นๆ ทั้งองคาพยพของสังคม

สารัตถะและระบบจะเกี่ยวโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้าง (structure) บอกความหมายของความสัมพันธ์ของระบบทั้งแนวราบแนวตั้ง ทั้งระดับมหภาค ระดับชุมชนฐานราก ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ทำให้เห็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมที่ชัดเจน โครงสร้างที่ให้ความเป็นธรรม ให้โอกาสคนส่วนใหญ่ได้พัฒนาตนเอง จัดการชีวิตของตนเอง และอยู่ได้อย่างพอเพียง

การวิจัยสืบค้นหาสารัตถะ ระบบและโครงสร้างของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่หน้าที่ของนักวิชาการเท่านั้น แต่ต้องเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วม เพราะจะมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันสร้างสำนึกใหม่ ให้เป็นพลังทางปัญญาที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงถึงรากลึก (radical change)

ถ้าเราจริงจังกับเศรษฐกิจพอเพียง เราจะยอมรับการพัฒนาสังคมไทยไปในลักษณะที่เป็นอยู่นี้ได้อย่างไร สังคมที่ระบบโครงสร้างที่ก่อให้เกิดทุกข์ ความเครียด ความเจ็บป่วย ความขัดแย้ง ความรุนแรง สังคมที่ดูเหมือนมีกฎเกณฑ์ แต่อยู่กันแบบโกลาหลวุ่นวายไร้ระเบียบ (chaos) คนมีอำนาจกดขี่คนไร้อำนาจ คนรวยเอาเปรียบคนจน มือใครยาวสาวได้สาวเอา

ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถส่งข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงคนในหลายประเทศ ประกาศตนเป็น "ครัวของโลก" แต่ผู้ผลิต ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ก็ยังอดอยาก ยากแค้น เป็นหนี้เป็นสิน บ้านแตก ชุมชนล่มสลาย ขายทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ไม้ในป่าจนหมด ขายแรงงาน ขายลูกขายหลานเพื่อจะได้เป็นตัวประกอบในเวทีละครโรงใหญ่ที่ชื่อว่าสังคมบริโภค

แทนที่จะให้โอกาสชาวบ้านได้เรียนรู้การจัดการกินการอยู่ การผลิต การบริโภค การค้าการขาย สังคมไทยก็ปล่อยให้นายทุนสามารถเปิดห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ไปทั่วทุกหัวระแหงเกือบจะไร้ขีดจำกัด อ้างว่าเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค จะได้ซื้อถูกลง ซื้อมากขึ้น เงินจะได้ไหลเวียน เศรษฐกิจจะได้ดี โดยไม่สนใจว่าชาวบ้านอีกกี่แสนกี่ล้านได้รับผลกระทบ หมดโอกาสทำมาค้าขายเล็กๆ ในเมืองหรือในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

รัฐบาลไทยไปทำข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ อ้างว่าไทยได้ประโยชน์ โดยมิได้คำนึงถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเอง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนยากจนคนในระดับรากหญ้าซึ่งถือได้ว่ามีภูมิคุ้มกันน้อยที่สุดในองคาพยพของสังคม เพื่อแลกกับการนำเข้าสินค้าราคาถูกลง กระตุ้นการบริโภคให้มากขึ้น และการส่งออกที่ผู้ได้ประโยชน์ยังคงเป็นพ่อค้านายทุน

แนวคิดเรื่องการพัฒนาวันนี้ ด้านหนึ่งก็ไม่ได้แตกต่างไปจากปรัชญาการพัฒนาเมื่อสี่ห้าสิบปีที่แล้ว ซึ่งเชื่อในทฤษฎีการพัฒนาแบบไม่เท่าเทียม (Unequal Development Theory) ว่า จะพัฒนาคนทั้งหมดพร้อมกันไม่ได้ ต้องให้โอกาสคนส่วนน้อยมากกว่าคนส่วนใหญ่ ให้พัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออก เมื่อคนเหล่านี้ร่ำรวยแล้ว ก็จะช่วยดึงคนจนส่วนใหญ่ให้ร่ำรวยตามไปด้วย

ความจริงที่แปลกประหลาด (paradox) ก็คือ เรารู้มาห้าสิบปีแล้วว่าเรื่องนี้ไม่จริง แต่เราก็หลับหูหลับตาเชื่อและใช้ทฤษฎีที่ว่านี้ต่อไป ให้โอกาสคนรวยเพื่อจะได้ช่วยคนจน แต่ไม่ให้โอกาสคนจนเพื่อจะได้ช่วยตัวเอง ทั้งๆ ที่พวกเขามีศักยภาพเพียงพอ ขาดแต่โอกาสเท่านั้น

ถ้าเราจริงจังกับเศรษฐกิจพอเพียง สังคมต้องกระเทือนทั้งระบบและโครงสร้างอย่างแน่นอน คิดดูว่า ถ้าหากคนส่วนใหญ่หันมาจัดระเบียบชีวิตของตนเอง ลดรายจ่ายลงไปได้หนึ่งในสี่ หรือร้อยละ 25 จะเกิดอะไรขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ

คนชนบทเริ่มปลูกพริก ผัก ผลิตอาหารกินเอง ซื้อจากตลาดน้อยลง คนในเมืองเริ่มซื้อเริ่มจ่ายน้อยลง มีแบบมีแผนการใช้จ่าย เริ่มจัดระเบียบการเดินทาง ลดค่าน้ำมัน ค่าโทร.ลงหนึ่งในสี่ เริ่มดูแลเรื่องการใช้ไฟในบ้าน ทำให้ค่าไฟลดลง ลดการกินเหล้า ลดการซื้อขนมกรุบกรอบ และของฟุ่มเฟือยทั้งหลาย เน้นการใช้จ่ายเฉพาะของที่จำเป็นสำหรับชีวิต อยู่อย่างเรียบง่าย ทำน้ำยาล้างจานใช้เองทั้งบ้านทั้งเมือง ทำปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพกันทั้งประเทศ

อะไรจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจไทย

ถามว่ารัฐบาลยอมรับได้หรือไม่ ถ้าหากจริงจังกับเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะไม่เพียงแต่ยอมรับอย่างเดียว แต่ควรทุ่มเทเพื่อช่วยให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยการปรับระบบและโครงสร้างให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เพราะเอาเข้าจริง สิ่งที่กล่าวในวรรคก่อนนี้คงไม่เกิดได้ง่ายๆ โดยที่รัฐไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยปรับระบบโครงสร้างและให้การส่งเสริมสนับสนุนรณรงค์กันอย่างจริงจัง

ถ้ากฎหมายค้าปลีกยังเป็นอย่างนี้ จะไปส่งเสริมอาชีพชาวบ้าน ส่งเสริมโอท็อปไปทำไม เพราะส่งเสริมไปแล้วก็ไปขายแข่งกับพ่อค้าไม่ได้ ทำอะไรก็ขายไม่ออก ขาดทุน ที่ทำๆ กันอยู่ก็เพราะมีหน่วยงานรัฐไปส่งเสริม หรือไม่รู้จะทำอะไรก็ลองทำดู หรือยังไม่ได้เจ๊งมากพอที่จะหยุด

ถ้าการโฆษณายังบ้าเลือดอยู่อย่างนี้ จะไปสอนให้คนไม่ซื้อไม่จ่าย และให้บริโภคตามความจำเป็นได้อย่างไร ในเมื่อปล่อยให้มีการกระตุ้นการบริโภคแบบเอาเป็นเอาตายอยู่เช่นนี้ ผู้คนก็คิดว่า อะไรที่ตัวเองต้องการต้องเอาให้ได้ ความต้องการถูกทำให้กลายเป็นความจำเป็นไปหมด

ระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ก็ไม่ได้เป็นผู้นำทางด้านคุณค่า แต่กลายเป็นเครื่องมือของระบบทุนนิยม ผลิตคนเพื่อไปรับใช้ตลาดแรงงานที่กลไกของสังคมทุนนิยมเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่กำหนดโดยรัฐที่มีวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ ที่บูรณาการการศึกษากับแผนการพัฒนาประเทศเข้าด้วยกัน

การทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นวาระแห่งชาติ เป็นการตัดสินใจที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะหมายถึงการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างใหม่เลยทีเดียว

การพัฒนาประเทศอาจไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่อาจจะมีทางลัดที่เกิดจากการสร้างรากฐานใหม่ ฐานคิดใหม่ที่ต้องการการพัฒนาที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การทำให้ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข (GDH) มากกว่าการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (GDP)

เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เราเป็นครัวของเราเองก่อนไปเป็นครัวของโลก เลี้ยงประชากรของเราให้อิ่มก่อนคิดค้าขายทำกำไร เพิ่มมูลค่าของผลิตผลการเกษตรซึ่งมีมากมายด้วยการทุ่มเทส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย อันจะทำให้เราเป็นครัวของโลกได้ด้วยความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติที่ได้รับประโยชน์ และการแบ่งปันอย่างยุติธรรม

เรามีธรรมชาติสวยงาม มีวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก มีวัดวาอาราม มีที่ทำสมาธิให้ความสงบร่มเย็น มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีสมุนไพร มีความรู้ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นอะไรที่ใครมาพบเห็นก็เป็นสุข อะไรที่ใครๆ กำลังโหยหาในสังคมหลังอุตสาหกรรม

เราคงไม่ต้องวิ่งไล่ประเทศอุตสาหกรรมเหล่านั้นที่ยกโรงงานและขยะมาไว้บ้านเรา จ้างเราทำงานให้ผลิตให้ เราก็ได้แค่ค่าแรงถูกๆ ทั้งๆ ที่เรามีความรู้ความสามารถและทรัพยากรอื่นๆ ที่ดีกว่านั้น มี "ทุน" มากมาย ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่า สมุนไพร ธรรมชาติ วัฒนธรรม ซึ่งจัดการให้ดีก็ทำให้เราอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินอย่างพอเพียงได้

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องยากสำหรับปัจเจกและสำหรับสังคม สำหรับชาวบ้านและสำหรับรัฐบาล เพราะต้องมีปัญญาและความกล้าหาญจึงจะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกล้าหาญทางจริยธรรม

เรื่องราวที่นำเสนอ น่าสนใจมากค่ะ  แต่จะขอความกรุณาชี้แนะอีเรื่องหนึ่ง  คือ  การใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการศึกษา  จะมีทฤษฎีของนักพัฒนา  ท่านใดเขียน หรือ เรียบเรียงไว้ที่ใดบ้าง  หรือจะกรุณา ชี้แนะให้เลยก็ยิ่งจะเป็นพระคุณ  เพราะดิฉันจะนำไปใช้ในการทำรายการวิทยุเพื่อการศึกษา ของโรงเรียนสตรีอ่างทอง  (สถานีวิทยุชุมชน ที่เลี้ยงตัวเองด้วยการของบประมาณจากสถานศึกษา)  หากจะกรุณา ถือเป็นการศร้างกุศลแก่วงการศึกษาอย่างมหันต์ทีเดียวค่ะ 

ขอบพระคุณมากค่ะท่าน อ.ยม

ติดตามอ่านผลงานของท่านอยู่ตลอดอย่างชื่นชมค่ะ

 

ต้องยอมรับว่าข้อมูลที่อาจารย์ให้เป็นวิทยาทานนั้น ทันสมัยสามารถหยิบจับไปใช้ได้เลย

ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นมงคลชีวิตสำหรับตนเอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน และผู้สนใจทุกท่าน

 

ต้องขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และชื่นชมมา กับบทความที่อยู่ในบล็อกนี้   เพราะพวกเรา จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ พ่อหลวงของเรา   เราจึงได้มุ่งเผยแพร่ แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่สามารถนำไปบูรณาการใช้ได้หลากหลาย ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสมรรถนะองค์การ

 

ผมขอชื่นชมอีกหลาย ๆ ท่าน ที่น้อมนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไปใช้ ไปเผยแพร่ ไปสอนเยาวชน นักศึกษา เช่นคุณสุทัศน์ ผลบุญ ที่เขียนมา

 

ขอบใจ อ.แอ๊ว ที่ติดตาม บทความในบล๊อคนี้เป็นระยะ ๆ ส่วนของคุณโบ  แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หากต้องการหาทฤษฎีมาเปรียบเทียบ หรือศึกษาเพิ่มเติม ผมเสนอ ให้ เปรียบเป็นประเด็น สามห่วง สองเงื่อนไข

ความรอบรู้  ควรควบคู่คุณธรรม  ประโยคนี้ คือสองเงื่อนไข  เรื่องความรอบรู้ ลองหาทฤษฎีเกี่ยวกับ "องค์การแห่งการเรียนรู้" ศึกษาดู  ส่วน เรื่องคุณธรรม อาจจะใช้กรอบแนวคิดในการบริหารจัดการที่ว่าด้วย การบริหารตามหลัก "ธรรมาภิบาล" มาเทียบเคียงได้

ความมีเหตุ มีผล  ความพอประมาณ และภูมิคุ้มกัน นั้น อาจนำทฤษฎี หรือกรอบแนวคิด เกี่ยวกับ "การบริหารเชิงกลยุทธ์"  เข้ามาเทียบเคียงได้ครับ

ผมขอเขียนเพียงเท่านี้ก่อน

 

สวัสดีครับ

ภัณฑิลา เกษอุดมทรัพย์

หลังจากที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับการเขียนสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้แล้ว ทำให้ทราบว่ายังมีผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่ดีๆให้กับบุคคลที่สนใจเป็นอย่างมาก อาจารย์ค่ะ ดิฉันก็เป็นส่วนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่ เพื่อเป็นการให้วิทยาทานความรู้ อยากขอความกรุณาขอมูลมูลต่างๆนอกเหนือจากบทความที่อาจารย์เขียนในบล็อกนี้สักหน่อยจะได้ไหม๊ค่ะ เหมือนๆกับคนที่ชื่อ โบว์ค่ะ เกี่ยวกับด้านการบริหารการศึกษา เพื่อเป็นวิทยาทานนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

[email protected]

อยากบอกว่าท่านอาจารย์นี่ยอดเยี่ยมสุดๆ ท่านเป็นตัวแบบที่น่านับถือในการสรรหาความรู้ นำมาทำการจัดการเผยแพร่เป็นประโยชน์ระดับมหภาคจริงๆ ด้วยใจจริงศรัทธาท่านมากค่ะ ยุคโลกาภิวัฒน์นี้ท่านจัดว่าเป็นปูชนียบุคคลระดับปรามาจารย์ที่ครูธรรมดาอย่างแป๋มขอยกนิ้ว และชูมือขึ้นสูงๆ แล้วเปล่งคำว่า "สุดยอดมนุษย์ยุคไอที" สุดยอดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จริงๆค่ะ

สวัสดี ท่านผู้อ่านทุกท่าน และ คุณครูแป้ม

 

ขอขอบใจที่แวะเข้ามาอ่าน และให้กำลังใจมา 

"มนุษย์เกิดมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน"

ดีใจที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

 

อยากรูว่าเศรษกิจพอเพียงนำมาประยุกต์กับการบริหารงานคลังได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างสถานที่หรือนโยบายอะไรก็ได้ ที่บริหารงานคลังไม่สำเร็จ แต่หลังจากนำปรัชญาเศรษกิจมาประยุกต์แล้วสามารถประสบความสำเร็จได้ มีที่ไหนบ้างค่ะ ยกตัวอย่างให้ด้วยค่ะ อยากรู้ ขอบคุณมากนะค่ะที่ให้ข้อมูลดีๆเสมอมา ขอบคุณค่ะ

ป.ล อย่าลืมส่งมาทางเมลล์ให้ด้วยนะค่ะ จะเป็นพระคุณเป็นอย่างมาก

ยินดีต้อนรัคุณสุนทราภรณ์สู่สังคมแห่งการเรียนนี้

หลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารได้ทุกระบบ  โดยทำความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สามห่วงสองเงื่อนไข ที่มีอยู่ในบล็อคนี้ ตอนต้นๆ เช่น การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์การ ที่เขียนไว้ในหน้าที่ 1 ครับ  ลองทำความเข้าใจดู

หากจะนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปทำเป็นนโยบายการบริหารงานคลัง ก็สามารถทำได้ เช่น นโยบายการบริหารงานคลัง : งานคลังดำเนินการด้วยความเป็นธรรม ความรอบรู้ สมเหตุสมผล ไม่ใช้ทรัพย์สินในคลังอย่างเกินตัว รู้จักพอประมาณ และมีแผนรองรับ มีภูมิค้มกันรองรับปัญหาการบริหารงานคลัง เพื่อให้การบริหารงานคลังดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล

หน่วยงาน หรือองค์การที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลายแห่งครับ โดยเฉพาะโครงการในพระราชดำริ อันเกี่ยวเนื่องกับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ลองค้นหา "โครงการในพระราชดำริ" แล้วคลิ๊กเข้าไปดูหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็จะพบ  แหล่งข้อมูลมากมายให้ศึกษาครับ

หลังจากที่ได้อ่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาแล้ว ก็ได้รู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือ พอมีพอกิน ไม่ผุ่มเฟือย ไม่หรูหรา

อยู่ได้ด้ด้วยตนเอง พอในความต้องการ ถ้าเราทำได้เราก็อยู่อย่างมีความสุขได้ และสามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปพัฒนา

ประเทศของเราได้ ถ้าพวกเราช่วยกัน ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา พอมีพอกิน เราก็อยู่ได้ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย

สวัสดีคุณชนากานต์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ขอบใจคุณชนากานต์ ที่แวะเข้าเยี่ยมอ่านในบันทึกนี้   ความเห็นที่เขียนมา มีคุณค่าสำหรับผมและผู้อ่านอีกหลายท่าน  เราช่วยการเผยแพร่ แนวคิดของพระองค์ท่าน นำไปสู่การปฏิบัติ ขยายผล ในทุกระดับชั้น และ ทั้งภาครัฐภาคเอกชน ครับ 

ขอเชิญชวนศิษย์รักทั้งหลาย  ผู้มีเกียรติ ผู้อ่านทุกท่าน ร่วมกันเริ่มใช้ที่ตัวเรา ให้เข้าใจ เข้าถึง แล้วพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างที่ดีของคนรอบข้าง

สวัสดีครับ

ยินดีและเห็นด้วยอย่างยิ่ง เขาเป็นคนหนึ่งที่เป็นเด็กต่างจังหวัดแบะได้เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ตอนนี้เราก็ใกล้จะจบแล้วเราคิดว่าถ้าเราจบแล้วเราจะกลับบ้านเกิด ของเราแล้วนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลับไปใช้ในหมู่บ้านให้ได้มากที่สุด

สาธุ  ยินดีด้วยครับ

ได้อ่านบทความของอาจารย์เรื่อง แนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงกับการเล่นน้ำสงกรานต์ แล้วประทับใจมากครับ ถ้ายังไงขออนุญาตใช้ประกอบการสอนด้วยนะครับ ผมสอนนักศึกษาอาชีวะครับ

1.อยากทราบว่า เศรษฐกิจพอเพียง ภาครัฐและเอกชน ใช้ต่างกันยังไงค่ะ สามารถใช้เหมือนกันได้ไหม

2.ถ้าวิเคราะห์ตามหลัก Swot เศรษฐกิจพอเพียง อะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคค่ะ

(อยากรู้มากๆ ) ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน

 

มีผู้ถามผมมาเกี่ยวกับ SWOT กับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

SWOT เป็นเครื่องมือการบริหารชนิดหนึ่ง ใช้ในการวิเคราะห์องค์กร ครับ

SW เป็นการวิเคราะห์ภายในองค์กร หาจุดแข็ง และจุดอ่อนทั้งระบบ และคนฯ

OT เป็นการวิเคราะห์ภายนอกองค์กร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีฯ มีโอกาส หรือมีอุปสรรค ในการบริหารจัดการองค์การอย่างไรหรืไม่

 SWOT จึงใช้เพื่อวิเคราะห์องค์กร เพื่อจัดทำกลยุทธ์ ครับ คงไม่สามารถนำมาวิเคราะห์วิจารณ์แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้  เพราะแนวคิดนี้ไม่ใช่องค์กร และแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าศึกษาให้ดีน๊ะครับ เหมือนหลักการของพระพุทธเจ้าที่ทรงให้กับพุทธศาสนิกชนไว้

ในหลวงท่านทรงพระราชทานให้กับพวกเราชาวไทยไว้ ผมเองน้อมนำมาใส่เกล้าใส่กระหม่อม ใสใจ สนใจ และเอาใจใส่ปฏิบัติตามแนวคิดนี้มาตลอด และพยายามเผยแพร่ว่าเป็นของดีของสูงครับ

แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรบพระราชทานให้ไว้กับประชาชนคนไทย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน คนจน คนรวย ใช้เหมือนกัน อยู่ที่ว่าจะนำไปใช้พัฒนาอะไร

โดยแนวคิดหลักนี้ จะทำอะไรให้สู่ความสำเร็จ ความสุข พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงได้นั้น

1. ให้ทำด้วยความรอบรู้

2. ให้มีคุณธรรม(2 เงื่อนไข)

3. ทำด้วยหลักการเหตุและผล

4. รู้จักประมาณการณ์ ประมาณตน และ

5. ให้มีภูมิคุ้มกัน มีแผนรองรับไว้เสมอ

ขอให้โชคดีครับ

ติดตาม พบปะกันในนวตกรรมสังคมการเรียนรู้เพิ่มเติม ได้ที่ www.facebook.com/yom.nida/ ครับ

ดีมากเลยค่า อยากเป็นคนดีแบบในหลวงจัง

ขอบใจคุณ ด้ายคำ ที่แวะเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นครับ

ววรนยงหัุึรึคยวตคสะัรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรำขจนลขหีพัีพะัพๆพัคีพคๆัพคัๆบัคๆัไะคับัะคๆัะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท