วัฒนธรรมท้องถิ่น : สิทธิเก็บกิน


เราควรจะแบ่งปันกันใช้ เพราะนี้เป็นสิทธิเก็บกินที่มีมากับธรรมชาติของสังคมบ้านเรา

          หลายวันมาแล้วที่ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมอ่านและเขียนบันทึก   อันเนื่องมาจากการต้องไปร่วมจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองแพงเพชร  และที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ ก็คือน้ำท่วมที่สวนครับ

          บันทึกนี้ก็เลยนำเหตุการณ์ที่พบเจอตอนน้ำท่วมที่สวนมาฝากครับ  ไม่ได้เป็นเรื่องตื่นเต้นอะไรมากมาย แต่ว่าเป็นเรื่องที่หลายท่านอาจไม่เข้าใจ หรือท่านใดที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้แล้ว ช่วยกรุณาเข้ามาชี้แนะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยนะครับ

          เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม  ผมไปนอนที่บ้านสวนครับ ห่างจากตัวจัวหวัดไปประมาณ 10 กม. ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าขุนราม อ.เมืองกำแพงเพชร  ซึ่งช่วงนั้นฝนตกชุกมาก ตกทุกวัน พอตื่นเช้ามาในวันที่ 14 พ่อตาซึ่งตื่นขึ้นมาก่อนได้เรียกบอกว่าน้ำมาแล้ว (เนื่องจากว่าสวนผมอยู่ติดกับคลองสวนหมาก ซึ่งหน้าฝนจะมีน้ำมากและไหลมาอย่างรวดเร็ว) ไหลมาเร็วมากเกือบถึงใต้ถุนบ้านแล้ว  พอตื่นขึ้นมาลำดับแรกที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว (จากประสบการณ์ที่เคยเจอน้ำท่วมที่นี้มาแล้ว 2-3 ครั้ง) ก็คือการเก็บของครับ

         เริ่มจากการย้ายรถยนต์ออกไปไว้ที่ถนนหน้าบ้านก่อนเป็นลำดับแรก  เพราะทางเข้าบ้านเป็นที่ลุ่มแม้ว่าที่จอดรถจะไม่ท่วมมาก แต่พอน้ำมากเราก้จะไม่สามารถนำรถออกไปได้เลย  ก่อนจะขับรถออกไปก็เดินลุยดูน้ำก่อนพบว่าสูงเกือบถึงหัวเข่าแล้ว  แต่ก็สามารถนำรถออกไปที่ถนนหน้าบ้านได้อย่างปลอดภัย จากนั้นก็เก็บพวกปั๊มน้ำ  เครื่องซักผ้า และของอื่นๆที่คิดว่าน้ำจะท่วมถึง

 


สภาพน้ำท่วมลึกสุดที่ประมาณ 2 เมตร ตื้นสุดประมาณ 30 ซม.

          ทีนี้มาถึงประเด็นสำคัญที่อยากจะบันทึกมาแลกเปลียน ซึ่งหลังจากน้ำมาได้ไม่นานก็มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้ามาหาเก็บจิ้งหรีดที่บริเวณสวนของผมหลายสิบคน  แต่ละคนก็ได้จิ้งหรีดไปกันคนละมากน้อยอยู่ที่ความชำนาญ คนที่เก็บได้มากก็อาจจะได้กันตั้งแต่2-5 ร้อยตัว  สรุปแล้วน่าจะสามารถเก็บจิ้งหรีดกันรวมแล้วนับหมื่นตัวเลยทีเดียว

        

 

          ประเด็นสำคัญที่อยากจะบันทึกไว้ก็คือ  การที่ชุมชนเข้ามาเก็บจิ้งหรีดหรือแมลงซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติเหล่านี้  หลายท่านที่ไม่เข้าใจก็อาจจะไม่ค่อยชอบใจหรือพอใจที่บุคคลอื่นเข้ามารบกวนสิทธิ์ของเรา อย่างเพิ่งโวยวายและไม่พอใจนะครับ   เพราะแท้จริงแล้วการกระทำเหล่านี้เป็นสิทธิเก็บกินซึ่งมีมาตามธรรมชาติของมนุษย์นั่นเองครับ  มีมาตั้งแต่อดีต  ซึ่งในอดีตธรรมชาติเหล่านี้ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน  เพียงแต่ปัจจุบันเรามาออกกฏเกณฑ์เพื่อแบ่งแยกและครอบครองทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นกันในภายหลัง

         แต่โดยเนื้อแท้แล้วทุกคนคือเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น  จึงกลายมาเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เราอาจได้พบเห็น หากเราไม่เข้าใจความเป็นมาและรากฐานเดิม ก็อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้    สำหรับผมแล้วยินดีที่ชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงและได้ใช้ทรัพยากรที่แฝงอยู่ในขอบเขตพื้นที่ของเรา เพราะสิ่งเหล่านี้เราเองก็ไม่ได้สร้างขึ้นหรือลงทุนอะไร (ยกเว้นต้นไม้-ผลไม้ที่เราปลูกไว้...อิอิ) มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนั้นเราควรจะแบ่งปันกันใช้ เพราะนี้เป็นสิทธิเก็บกินที่มีมากับธรรมชาติของสังคมบ้านเรา

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  16 ตุลาคม  2550        

 

หมายเลขบันทึก: 139075เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
แบ่งปันกัน ดีที่สุดครับ ท่านสิงห์ป่าสัก เพื่อนรักนักพัฒนา
แล้วมีปลาบ้างหรือเปล่า...จะขอแบ่งปันบ้าง? ปลาที่ใช้ตกเบ็ดได้นะ.....
  • เก็บจิ้งหรีดไม่เป็นไร
  • แต่ถ้าเก็บหน่อไม้เราละ...เพราะว่าเราปลูกไว้กอละต้นสองต้นเอง
  • หน่อที่มันออกมาเพิ่มเติมทีหลังนี่เป็นของใคร...อิอิ

สวัสดีครับ

  • ถูกใจครับ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของทุกคน  
  • สวัสดีครับพี่สิงห์ป่าสัก
  • ชอบมากครับสำหรับบันทึกนี้
  • ที่ยังมีคนจนอยู่มากเพราะมีคนเข้าใจในเรื่องสิทธิ์ในการเข้าถึงทรัพยากรอย่างพี่สิงห์ป่าสักอยู่น้อยครับ
  • คนจนคือคนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่เขาควรจะเข้าถึง ในขณะที่คนรวยคือคนที่เข้าถึงสิทธิ์ในทรัพยากรได้อย่างเกินความจำเป็นครับ(คำจำกัดความของผมเอง)

  สวัสดีครับ

  • น้ำ+ ใจ = น้ำใจ  หมายถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่
  • ธรรมชาติ ของทุกคน แบ่งปัน สิทธิในการหากิน
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับ
  • พี่ครับ สมัยผมเป็นเด็ก ๆ ผมไปจับจิ้งหรีด ไม่สิครับ จับโดยใช้วิธีการขุดเพราะมันอยู่ในรู
  • จิ้งหรีด เอามาตำเป็นน้ำพริก อร่อยอย่าบอกใครเลยครับพี่
  • แซบคักคักเด้อ
  • อิอิ

 

  • พูดเรื่องสิทธิ
  • แต่เห็นใจคนที่เจอน้ำท่วมจริงๆ นะคะ
  • สวัสดีครับคุณสิงห์ป่าสัก
  • โดนน้ำกับเขาด้วยหรือ
  • ผมมีเรื่องแลกเปลี่ยนว่า ที่เกาะสมุย พื้นที่ระหว่างถนน กับชายหาด เป็นของเอกชน ชายหาดเป็นทรัพยากรของชาติ ของทุกคน เป็นสาธารณะ แต่มีนายทุน หรือ ต่างชาติ เมื่อถือครองที่ดินเหล่านั้นแล้ว จะถือโอกาส งุบชายหาดไปด้วยเลย สร้างกำแพงปิดทางเข้า-ออก ทำให้ นักท่องเที่ยว หรือ เจ้าของแผ่นดินนี้ เข้าไปชมทรัพยากร ของตนเอง ของชาติไม่ได้ พวกนั้นก็ถือโอกาสเอาไปทำมาหากิน ทำเป็นชายหาดส่วนตัว ราชการก็เข้าไปแก้ไขยาก(จริงป่าวก็ไม่รู้)
  • ต้องให้โดนสึนามิอีกกี่ครั้งนะ....
  • สวัสดีครับพี่สิงห์ป่าสัก
  • บ้านผมที่โคราช เมื่อก่อนโดนน้ำท่วมเกือบทุกปี (อยู่ติดแม่น้ำมูล) เวลาท่วมแต่ละครั้งก็เกือบเมตร (ประมาณระดับหน้าอก) ...ท่วมจนชินครับ
  • เรามีวิธีการแก้เครียดจากน้ำท่วม ด้วยการ จับปลาที่มากับน้ำครับ (ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ช่วยให้หายเครียดได้เยอะ)
  • ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีนะครับ สำหรับ "สิทธิเก็บกิน" เพราะว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
  • แต่ถ้าเป็นผลไม้ของสวนพี่ ละก็.....
  • ขอบคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน

คนอยู่บ้านนอกและคนรุ่นก่อนเราจะเข้าใจเรื่องนี้ดีกว่าคนในเมืองและคนรุ่นหลังนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการคิดถึงเรื่องน้ำใจและการแบ่งปันเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนให้เกิดงอกงามต่อไปในสังคมไทย เพียงแต่ผู้เข้ามาเก็บควรระวังที่จะไม่ทำความเสียหายให้กับพืชผลและทรัพย์สินของเรา

แถวบ้านที่อยู่ชาวบ้านก็ยังมาหาหอยหาปลาที่ท่าน้ำบ้านเรา มาขุดหน่อไม่ที่อยู่ในที่เรา แม่บ้านจะหงุดหงิดมาก เราต้องบอกว่าคิดว่าทำทานเถอะเพราะเป็นของกิน เขาเก็บไปก็ได้กิน ปัญหาคือพอเราไม่พูดอะไร ก็ขุดหน่อไม้ซะไม่ให้เหลืองอกเลยค่ะ

เพิ่งทราบนะคะว่าหลังน้ำมาแล้วจิ้งหรีดจะมาเยอะด้วย ที่บ้านไม่เห็นอย่างนี้ค่ะ

หวังว่าน้ำคงผ่านไปอย่งรวดเร็วและไม่ทำความเสียหายให้สวนมากนักนะคะ

หวัดดีค่ะ..พี่สิงห์ป่าสักP

  • ตั้งแต่เจอพี่ที่สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ก็ยังไม่ได้เขียนบันทึกเลยค่ะ
  • ช่วงนี้เปิดเทอมใหม่ ยังยุ่งกับการเตรียมการสอน
  • เห็นภาพแล้วนึกถึงที่บ้านค่ะ ท่วมทุกปี (ที่บ้าน"หมูน้อย" มีเรือส่วนตัวด้วยค่ะ) แบบว่าท่วมเป็นเดือน แต่น้ำจะไม่มามากซะทีเดียวค่ะ
  • ตอนนี้ที่ทำงานก็เริ่มท่วมแล้วค่ะ
  • บ่อปลาบึกของมหาลัยกำลังขยายวงกว้าง..อิอิ
  • ไม่รู้ว่าปลาจะออกไปว่ายเล่นข้างนอกบ้างรึ..ป่า..ว..ว
  • ที่ชัยนาทไม่ค่อยมีจิ้งหรีดแล้ว น่ากลัวโดนสารเคมีตายหมด
  • คงต้องเข้าป่าล่าแย้กินดีกว่า
  • แต่ตอนนี้น้ำเหนือลงมาท่วมแย่เลยครับ
  • เห้นภาพแล้วนึกถึงตอนทำงานผสมเทียมวัวที่อุตรดิตถ์ เก็บแมงอีนูนกินมันมากเลยครับ  แต่จะมีในช่วงของปลายฤดูร้อน ช่วงยอดมะขามอ่อน ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังมีหรือเปล่า เพราะช่วงนั้นจะเป็น ปี 2532
  • สนุกและมีความสุขมากครับ บรรยากาศไทย ๆ ที่ไม่มีความแตกแยกในชุมชน
  • สวัสดีครับ  อ.หมอ JJ 2007 P
  • แบ่งปันกันเพื่อสังคมนะครับ
  • สวัสดีครับ P
  • ปลาไม่มีครับเพราะเป็นน้ำป่า(มีแต่น้องปลา..อิอิ)
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ P
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาทักทาย
  • หน่อไม้แม้จะออกมาทีหลัง...แต่ก็เป็นของเรานะครับ
  • อิอิ...

P 

 P

  • สวัสดีครับ สุดทางบูรพา
    การมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร ก็เป็นอีกมิติหนึ่งของตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของชาวบ้านนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน

 P

  • สวัสดีครับพี่เกษตรยะลา
  • มีน้ำใจ และแบ่งปัน เอื้ออาทร จะทำให้สังคมมีความสงบสุขได้นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

 

P

  • สวัสดีครับน้องชาย...นายสายลม
  • ตอนเป็นเด็กผมก็เคยเหมือนกันนะครับขุดจิ้งหรีด
  • บางครั้งก็ใช้ไฟส่องเพื่อจับตอนกลางคืน
  • ตำน้ำพริกอร่อยอย่างบอกใครเชียวเน้อ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณหมอนนทลีP
  • น่าเห็นใจคนที่ถูกน้ำท่วมจริงๆ ครับ
  • ทำอะไรก็ลำบากไปหมด
  • ขอบคุณมากครับ

P

  • สวัสดีครับหนุ่ม ร้อยเกาะ
  • โดนเหมือนกันครับ ครั้งก่อนเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
  • ปีนี้หนักพอดูเหมือนกัน แต่ก็ท่วมประมาณ 3 วันครับ
  • ขอบคุณมากครับ 

P

  • สวัสดีครับน้องวิศรุต
  • เริ่มคิดถึงอดีต...แสดงว่าเริ่มมีอายุแล้ว...อิอิ
  • ช่วงนี้ไม่มีผลไม้ครับ
P
  • สวัสดีครับ คุณนายดอกเตอร์
  • ที่สวนก็มีการเก็บแมงอีนูน  จิ้งหรีด หรือเห็ดเท่านั้นเองครับ
  • ส่วนของที่เราปลูกส่วนใหญ่ผมจะเป็นคนนำไปแบ่งปันให้เขาเองครับ
  • ชนบทยังมีการแบ่งปันกันอยู่นะครับ
P
  • สวัสดีครับ อ.หมูน้อยAj.moo-noi
  • จะตามไปอ่านบันทึกในวันหลังเช่นกันครับ
  • ช่วงนี้ก็มีกิจกรรมอื่นๆ มาแทรกเยอะเลย
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน
P
  • สวัสดีครับพี่chudchainat
  • ที่สวนผมยังมีจิ้งหรีดเยอะมากครับ
  • เพราะมีการใช้สารเคมีน้อยมากๆ เลย
  • จิ้งหรีดช่วงเวลากลางคืนจะร้องเสียงดังมาก แต่ก็ไพเราะดี
  • ต้นฝนที่สวนก็มีแมงอีนูนตัวโตๆ เหมือนกันครับ จะมีชาวบ้านมีจับกันในช่วงเย็นๆ
  • ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท