อบรมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ 4 . ปูพรมในนาข้าว


เป็นวิธีการที่ง่ายๆ และเป็นธรรมชาติ
            บันทึกต่อจากตอนที่แล้ว อบรมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ 3. ศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ที่เมืองละโว้  ในการนำเสนอของ อ.เชาว์วัช  หนูทอง บอกกับพวกเราว่า  กิจกรรมหนึ่งของท่านที่ได้ดำเนินการ  และท่านภาคภูมิใจเป็นอย่างมากก็คือ การปูพรมในนา หรือการทำนาแบบปูพรม  หากใครไม่เชื่อว่าท่านปูพรมไว้ในนาเดี๋ยวจะพาไปดู

          ช่วงบ่ายเราจึงได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมการปูพรมในนาข้าว  ซึ่งก็เป็นจริงอย่างที่อาจารย์เชาว์วัชบอกไว้จริงๆ  เพราะว่าในแปลงนานั้นมองแทบไม่เห็นน้ำเลย เห็นแต่ต้นข้าวและพืชสีเขียวเต็มไปหมด  นี่ขนาดว่าข้าวเพิ่มจะมีอายุเพียง 20 กว่าวันเท่านั้น


ปูพรมในนาข้าว

          การปูพรมในนาข้าว  เป็นแปลงข้าวมะลิแดงอินทรีย์นี้  ที่แท้ก็เป็นการนำพืชน้ำชนิดหนึ่ง  ซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติ  อาจารย์เชาว์วัช ได้ลองนำมาหว่านแล้วส่งผลให้ข้าวเจริญเติบโตดี ก็คือ "แหนแดง" นั่นเองครับ

          วิธีการทำนาแบบปูพรมนั้นก็ทำกันอย่างง่ายๆ   ด้วยการนำแหนแดง มาหว่านลงในแปลงนาก่อนการปักดำ ในปริมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่   แหนแดงก็จะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์   และจะมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาให้พืชได้ใช้ในการเจริญเติบโต   และเมื่อแหนแดงเน่าสลายก็จะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดิน  ช่วยให้ดินมาความอุดมสมบูรณ์และให้พืชได้ใช้ประโยชน์ต่อไป อาจารย์เชาว์วัชบอกว่า

          "แหนแดงนั้นเปรียบเสมือนสวรรค์ได้ประทานลงมาให้"


เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นแหนแดงขึ้นเต็มไปหมด

           จากฐานข้อมูลความรู้ด้านพืชของกรมวิชาการเกษตร (ที่ http://210.246.186.28/pl_data/RICE/4tech/tec02.html) มีรายละเอียดของแหนแดง  และพืชอาศัย ที่ช่วยส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี มีรายละเอียดดังนี้ครับ

 

          แหนแดง แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นชนิดหนึ่งพบอยู่ตามผิวน้ำโดยทั่ว ๆ ไปต้นแหนแดงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือลำต้น ราก และใบ ใบบนและล่าง มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบบนมีโพรงใบ และมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวอาศัยอยู่ในลักษณะที่พึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน สาหร่ายนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศและเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของ แอมโมเนียมให้แหนแดงเองไปใช้ได ้ในแหนแดงมีไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบสูงถึง 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อแหนแดงเน่าสลายจะปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาให้เป็นธาตุอาหารพืชได้
      
 สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ลักษณะเซลล์ รูปร่างเป็นท่อน ทรงกระบอก หัวท้ายมนต่อกันเป็นเส้น ยาวคดเคี้ยวไปมา สามารถหาได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีทั้งชนิดที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ และชนิดที่ตรึงไม่ได้ ชนิดที่ตรึงได้มัก อาศัยอยู่กับพืชชนิดต่าง ๆ เช่น พืชพวกมอส ปรง หรือ อาศัยอยู่ร่วมกับเชื้อรา และที่มีความสำคัญและนำมาใช้ประโยชน์กันมากก็คือชนิดที่อาศัย อยู่กับพืชตระกูลเฟิร์นจำพวกแหนแดง นั่นเอง

 

          จากการแลกเปลี่ยนกับอาจารย์เชาว์วัช  หนูทอง  เกษตรกรคนเก่งที่เราได้ไปศึกษาดูงาน  พอสรุปได้ว่าการทำนาแบบปูพรมนี้(ใช้แหนแดง)  เกิดประโยชน์ในหลายๆ ประการ เช่น

  • ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เพราะมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
  • เพิ่มอินทรีย์วัตถุในนาข้าวทุกปีๆ  เพราะการเน่าสลายของแหนแดง ในปริมาณเป็นตันๆ ต่อไร่
  • ไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะแหนแดงจะคลุมพื้นที่ทั้งหมด วัชพืชมีจำนวนน้อยมากเราสามารถเดินเก็บได้
  • ต้นทุนการปลูกข้าวลดลงกว่าการแบบเดิมลงมาก
  • ได้ข้าวที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
  • ระบบนิเวศน์ในพื้นที่นาไม่ถูกทำลาย
  • เป็นวิธีการที่ง่ายๆ และเป็นธรรมชาติ
  • ที่สำคัญก็คือปลอดภัยและลดต้นทุนให้แก่เจ้าของเพราะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีใดๆ เป็นต้น

         เกษตรกรคลื่นลูกใหม่  ต่างก็ให้ความสนใจกับวิธีการทำนาของอาจารย์เชาว์วัช เป็นอย่างยิ่ง  ต่างพูดคุยและซักถามข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ กันตลอดเวลา หลายคนก็ให้ความสนใจและขอนำแหนแดงกลับไปด้วยเพื่อนำไปใช้ในแปลงนาของตนเอง  ซึ่งอาจารย์เชาว์วัช ก็ยินดีแบ่งปันให้ด้วยความเต็มใจยิ่ง


สอบถาม-แลกเปลี่ยนประสบการณ์


อิอิ...เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ขอมั่ง  จะเอาไปหว่านในนาที่บ้าน

          การปูพรมในนาข้าว ก็มีรายละเอียดเช่นนี้แหละครับพี่น้อง...

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  3  กันยายน  2551


หมายเลขบันทึก: 205202เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะน้องชาย

  • มาบอกว่า  คิดถึงจังเลย  ฝากความคิดถึงถึงน้องสาวและหลานรักด้วยนะคะ
  • ครูอ้อยและครอบครัวสบายดี 
  • น้องชาย ยังขยัน และมีการทำงานที่น่าชื่นชมมากๆเลยค่ะ

ครูอ้อยเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

P

 

  • สวัสดีครับครูอ้อย
  • รับของฝากแล้วรับรองไม่อม  จะบอกต่อนะครับ
  • ตอนนี้น้องไผ่กำลังหล่อล่ำเลยครับ น้ำหนักเกือบ 40 แล้ว
  • เห็นข่าวรถไฟก็นึกถึงท่านสะ-มะ-นึ-กะ ครับ
  • อิอิ....
  • ดีใจที่ครูอ้อยแวะมาทักทายครับ
  • นาดี น้ำดี ก็มีโอกาสดี ๆ ครับ
  • แต่นาที่น้ำขาดเป็นระยะ หน้าแล้วก็ไม่ได้ทำนา
  • ใช้แล้วไม่ค่อยได้ผลครับ
  • จึงไม่ค่อยแพร่หลายในแถบนี้
  • แต่รู้ว่าดีครับ..

ข้าวงามจังเลยครับ

แถวบ้านผมข้าวแห้งรอฝน...เหลืองไปทั้งทุ่งแล้ว (ที่เห็นเขียวๆ จึงเป็นวัชพืชซะส่วนมาก)

P

 

  • สวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด
  • ใช่แล้วครับ  มีเงื่อนไขว่านาต้องมีน้ำจึงจะเลี้ยงแหนแดงได้
  • ที่จริงเราก็เคยส่งเสริมกันมานานแล้วนะครับ "สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว"
  • อิอิ....

P

 

  • สวัสดีครับคุณพิทักษ์
  • บ้านเรามีทั้งท่วมและแล้งในเวลาเดียวกันเลยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

คุณครู

  • แหนแดง ก็เป็นอาหารโปรดของปลาในบ่อที่บ้านป้า..เหมือนกัน

P

 

  • สวัสดีครับคนเมืองน้ำดำ
  • แม่นแล้วครับ เป็นอาหารที่ปลากินพืชชอบกิน
  • ขอบคุณครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน

 

เป็นการอบรมที่มีประโยชน์และคุ้มค่าจริงๆค่ะ นาข้าวสวยมาก บรรยากาศตามท้องทุ่งได้เห็นแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่เคยเขียนบล็อกแต่เข้ามาติดตามอ่านข้อมูลดีๆของพี่สิงห์ป่าสักเป็นประจำค่ะ

น่าสนใจครับแหนแดง ผมว่าจะลองหามาเพาะเลี้ยง ศึกษาดูบ้างนะครับ

คุยกับชาวนาที่นี่เขาต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย กระสอบละพันกว่าบาทครับ จะลองไปแนะนำเขาเพื่อช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลงบ้างนะครับ..

P

 

  • สวัสดีครับน้อง -`๏’-..ตะวันอ้อมข้าว..-`๏’-
  • เป็นการศึกษาดูงานที่ดีและมีประโยชน์มากครับ
  • กิจกรรมดีๆ ที่ช่วยให้เราพึ่งพาตนเองได้อย่างนี้ หากจะช่วยนำไปบอกต่อก็จะเกิดประโยชน์กับเกษตรกรบ้านเราเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมา ลปรร.

P

 

  • สวัสดีครับน้องครูอาราม
  • ผมก็คิดเช่นเดียวกับครูอารามนะครับ
  • เพราะเป็นการปฏิบัติที่ง่ายๆ
  • ลองแนะนำดูแล้วนำผลมาแบ่งปันกันด้วยเน้อ
  • สวัสดีครับคุณ nu
  • ขอบพระคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ท่านใดที่สนใจติดต่อได้เลยนะครับ

ไปมาแล้วครับดีมาก

อาจารย์ท่านมีจิตสาธารณสูงมาก

ให้ข้อมูลวิชาการมา 1 แผ่นเต็ม ๆ ให้ผมไปถ่ายทอดต่อให้ชาวบ้าน

P

 

  • สวัสดีครับ คุณฮิโรชิ โช
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ
  • ขออนุญาตนำบล็อกของท่านเข้าชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรนะครับ
  • เขียนบันทึกมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ

หาได้ที่ไหนครับ แหนแดงยากได้มากครับ

เข้ามาให้กำลังใจครับ

แหนแดงมีปรธดยชน์มากทั้งเป็นปุ๋ยพืชและอาหารสัตว์

รู้กันมาเนิ่นนาน แต่ไม่มีใครสนใจ อย่างจริงจังซะที

ดีใจครับ ^_^

อยากทราบ ว่า ตัวเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับ แหนแดงเน่ย มีการ ทำเป้น บท ความทางวิชาการ บ้างรึเปล่าครับ คืออยากได้มา ใช้ประกอบ การทำรายงาน อ่ะครับ แล้ว ถ้ามี สามารถจะ หาได้จากที่ไหน บ้างครับ รบ กวน พี่ๆ ด้วยนะ ครับ

คุณสิงห์ป่าสัก ครับ

มีแจกเปล่าหรือขายที่ไหน ครับ

ไม่เห็นจะต้องเปลืองตังค์ซื้อปุ๋ยเคมีเลย

พัฒนาการอำเภอขอแจมด้วยคน ชอบแนะนำชาวนาเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มผลผลิต แต่ต้องใจเย็นนะ และต้องเคยทำด้วยจะได้แนะนำเขาได้ ชาวนาเขาเคยชินกับสิ่งเดิมๆ พ่อแม่พาทำมาอย่างนี้ หัวหน้าเคยทำนามั๊ยละถึงจะมาแนะนำ ต้องสามารถตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลเขาจึงจะยอมรับ ที่สำคัญอย่าทิ้งเขาติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท