เรียนรู้เมื่อดูทีวี : บทเรียนจาก นพ.วิชัย โชควิวัฒน


นิ่ง ......

 

         เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (คืนวันที่  12  ก.พ.  52)  ผมได้มีโอกาสดูรายการตอบโจทย์  ทางสถานีฯ ไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ข้อสงสัยของสังคมเกี่ยวกับการที่มีการขึ้นทะเบียนให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย   ซึ่งพวกเราคงได้รับทราบข่าวสารกันหมดแล้ว  นักส่งเสริมการเกษตรก็ได้เขียนไว้ในบันทึก ดังตัวอย่าง

         ก็คงมีความคิดเห็นที่หลากหลาย   บันทึกนี้ผมคงจะไม่บันทึกความรู้สึกส่วนตัว  เพราะหากมีเสียงคัดค้าน  ในอนาคตก็คงต้องทบทวนหรือปรับกันต่อไปอย่างแน่นอน

         แต่บันทึกนี้  ผมขอนำอีกมุมหนึ่งของการดูรายการตอบโจทย์ในคืนนั้น  ที่เชิญอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  และ นพ.วิชัย  โชควิวัฒน อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มาร่วมให้ความคิดเห็นในรายการ

          ผมนั่งดูรายการตั้งแต่ต้นจนจบ  สิ่งที่ผมได้เรียนรู้และอยากนำมาแบ่งปันกันชาว G2K อาจจะไม่ใช่เรื่องของปัญหาที่ถกกัน  แต่กลับกลายเป็นบุคลิก ลักษณะ ทักษะการตอบโจทย์-การพูดของ นพ.วิชัย  โชควิวัฒน  ที่ผมได้เห็น  เป็นการเรียนรู้ที่มีค่ายิ่ง  ผมอาจจะให้คำจำกัดความของบทเรียนรู้ได้ไม่ครอบคลุม  จึงขอบันทึกเป็นประเด็นๆ ที่ได้รับบทเรียนฯ ดังนี้

  • นิ่ง ...... รอจนถึงโอกาส/มีโอกาส / ถึงเวลาจึงพูด
  • พูดอย่างช้า ๆ  ไม่เร็วจนคนอื่นฟังไม่ทัน 
  • ไม่พูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูด หรือกำลังตอบคำถามอยู่  และไม่สวนคำพูดคนอื่น
  • ฟังอย่างตั้งใจด้วยความสงบ
  • เมื่อตอบ... ก็ตอบอย่างชัดเจน  บ่งบอกถึงความรู้ลึก  รู้จริงในประเด็นที่พูด
  • เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี  ฟังจากข้อมูลที่นำมาเสนอ  อย่างมีลำดับ
  • นำเสนอเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง   ไม่ได้นำเสนอเพื่อการแก้ตัว
  • ควบคุมอารมณ์  ยิ้มรับ  ไม่แสดงอาการไม่พอใจ-ไม่ถูกใจ  ไม่โต้ตอบหรือย้อนกลับ  หากถูกพาดพิง-หรือมีข้อมูลเชิงลบ

        ท่านใดที่ได้ดูรายการ ช่วยต่อเติมให้ด้วยนะครับ 

        เมื่อดูรายการนี้จบลง  นอกจากผมจะทราบข่าวสารที่ยังไม่ค่อยชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว   เพราะอธิบดีกรมวิชาการเกษตรบอกว่ายังจะต้องไปทำอะไรต่อมิอะไรต่ออีก  แต่ผมคิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก นพ.วิชัย  โชควิวัฒน  ในคืนนั้นก็มีคุณค่าแก่ตัวผมเองอย่างมากมาย มหาศาลแล้วละครับ

         อ.หมอวิจารย์  พานิช KMI Thailand เคยเขียนบันทึก  คนดีวันละคน : ๑๕๗. นพ. วิชัย โชควิวัฒน อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่บันทึกนี้  ttp://gotoknow.org/blog/thaikm/188300


ภาพจากบันทึกของ อ.หมอวิจารย์  พานิช

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก     16  ก.พ. 2552

หมายเลขบันทึก: 242550เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2009 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • เรื่องนิ่ง นี่สำคัญ ครับ
  • ผมยังใจร้อนอยู่ เมื่อเห็น คนอื่นเขานิ่ง ใจเย็น ก็คิดได้มาครั้งหนึ่ง แต่ไม่นานก็ลืมตัวอีก
  • จึงต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอๆ

ดีมากเลยครับที่นำมาแบ่งปัน

ผมเองควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้

ยังจะเป็นแบบเดิมๆ(คัวตนที่เป็นอยู่)ที่ไม่ค่อยเหมาะสม

ขอบคุณมากครับ

  • สวัสดีครับพี่ชัยพร หนุ่ม ร้อยเกาะ
  • อิอิ...เป็นเหมือนกันครับ
  • แบบว่าวัยรุ่น...
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับพี่ไมตรี เกษตรยะลา
  • บางเรื่องดูเหมือนจะเล็กๆ น้อยๆ
  • แต่เป็นสิ่งที่สำคุญ และจำเป็นมากสำหรับพวกเราที่ต้องทำงานกับคน
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

- สวัสดีครับพี่

- เข้ามาอ่านตามที่แจ้งครับ หุหุ

- เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ดูครับ

- การควบคุมตัวเองนี่ เป็นประเด็นที่ทำยากนะครับ (ในบางสถานการณ์) ผมเองบางครั้งต้องแอบ "เป่าปาก" ระงับอารมณ์อยู่เหมือนกัน

- ส่วนการ "ประท้วง" ของผมนี่ ยัง "ไม่เลิก" นะครับ 55

- ขอบคุณมากครับ

เห็นอย่างพี่สิงห์ครับ

ฟังให้จบความ ไม่รีบลนลานโต้แย้ง

:)

เป็นตัวอย่างที่ดีจริงๆนั่นแหละครับ

ฟังที่ท่านเล่าถึงบุคลิกภาพของคุณหมอวิชัยแล้ว

ผมขอเดาว่าท่านคงฝึก "สุนทรียสนทนา" มาเยอะ

แต่หากในความเป็นจริงท่านไม่เคย
ก็คงต้องบอกว่า

ท่านคือ "นักสุนทรียสนทนา" โดยธรรมชาติ  ซึ่งผมคิดว่าหายากมากครับ

สำหรับในประเด็นเรื่อง สมุนพิษ
ของใครบางคนนั้น

ผมอยู่วงนอกคงไม่สามารถแสดงความเห็นที่ถูกต้องได้

แต่เสียงจาก สามัญสำนึกน้อยๆมันบอกว่า

"มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น"

สงสัยว่าผมคงต้องไปพัฒนา สามัญสำนึก ให้ใหญ่ขึ้นอีกนิด
แล้วค่อยมาว่ากันใหม่ครับ
เผื่อบางทีจะได้เข้าใจอะไรมากขึ้น

  • น้องวิศรุต
  • อิอิ..ถึงกับเป่าปากเลยหรือครับ
  • ผู้รู้เขาแนะนำต่ออีกว่า  ให้วางตัวให้เป็นธรรมชาติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  • คือทำกิจกรรมต่อไปอย่างปกติที่สุด ยังไม่ต้องคิดอะไรในตอนนั้น
  • ขอบคุณครับ (ผมยังไม่ได้รับเมล์นะครับ)
  • สวัสดีครับท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน
  • ผมก็ต้องพัฒนาตนเองอีกมากมายครับ
  • ยิ่งเราเปิดใจเรียนรู้  ก็จะพบว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกมาก
  • และตัวของเราเล็กลงเรื่อยๆ ครับ เมื่อเทียบกับสังคม โลกยิ่งใหญ่

สวัสดีครับ

หลายคน หลายมุมมอง หากร่วมกันคิด รับฟังความคิดเห็นกันและกัน ยอมบาง ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยสร้างหรือหาทางออกที่ดีได้ครับ

  • สวัสดีครับ ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ
  • ร่วมคิดร่วมสร้าง
  • ทำอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
  • ย่อมมีทางออกเสมอนะครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน 

พี่ติดตามเรื่องนี้พอสมควรจากหลายๆ ด้าน ขอยกย่องทุกภาคส่วนที่ร่วมด้วยช่วยกัน ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับการออกกฏหมาย หรือกฏเกณฑ์ ที่ต้องบังคับใช้กับประชาชน ควรรอบคอบ ร่วมด้วยช่วยกันมองให้รอบด้าน หาวิธีการอื่นๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อย่างมีเหตุและมีผล นำไปสู่การช่วยกันสร้างองค์รู้ ที่เป็นประโยชน์ให้ครบวงจรค่ะ ความจริงมองในแง่ดี ก็พอมีบ้างนะค่ะ ทำให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวเรื่องสมุนไพรมากขึ้น และทำให้นักวิชาการหัดมององค์รวมมากยิ่งขึ้น การสกัดสารเดี่ยวๆ จากพืชสมุนไพร นั้นก็ดี ทำให้รู้ว่ามีสารอะไรบ้าง มีพิษอะไรบ้าง ใช้ทำอะไรได้มาน้อยแค่ไหน แต่การกินการใช้สมุนไพรที่ผ่านมาตั้งแต่สมัยโบราณ เราใช้สมุนไพรหลายๆ ชนิดมาปรุง หรือประกอบเป็นอาหารเสียส่วนใหญ่ ยกเว้นสะเดารวกกินกับน้ำปลาหวาน กุ้งเผาหรือปลาย่างแค่ยกตัวอย่างแค่นี้ก็เห็นภาพแล้วใช่ไหมค่ะ นอกนั้นใช้ผสมแล้วตำเป็นเครื่องแกงก่อน แล้วนำมาปรุงเป็นอาหาร ถือว่าเป็นศิลปลึกล้ำของภูมิปัญญาไทยที่เดียวหละน้องเอ้ย

มีเรื่องหนึ่งที่อยากฝากน้องสิงห์ป่าสัก ช่วยไปศึกษาวิจัยให้เป็นรูปธรรม ที่เป็นทางการสำหรับนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ความจริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ชาวสวนรุ่นเก่าๆ เขาทำกันตั้งแต่โบราณมาแล้ว คือการใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ ได้จากน้ำที่หมักกระดูกสัตว์กับน้ำปัสวะ แต่พี่ไม่เคยทดลองนะ เลยอยากให้น้องเอาไปทดลองดู โดยเปรียบเทียบกัน ระหว่างกระดูก วัว ควาย หมู หมักด้วย น้ำปัสวะ ในปริมาณที่เท่า กัน ใช้เวลาที่เท่ากัน เอาน้ำปุ๋ยหมักออกมา วัดธาตุอาหาร (N P K ) ดูว่า เป็นอย่างไรบ้าง เวลาใช้ ต้องเจือจางอย่างไร จึงใช้ได้กับพืชผักอย่างเหมาสมพอเพียงค่ะ วันนี้ขอแค่นี้ก่อนค่ะ เอาไว้วันหน้ามีอะไรมากกว่านี้แนนอนค่ะ

  • สวัสดีครับ อ.Lin Hui
  • เป็นข้อเสนอแนะที่น่าจะเกิดประโยชน์มากนะครับ
  • จะลองนำแนวคิดนี้ไปทดลองนะครับ
  • อาจจะหาดูที่ชาวบ้านเขาทำก่อนว่ามีอยู่บ้างหรือไม่
  • เพราะเคยได้ข่าวว่าชาวบ้านเขาใช้ปัจสาวะวัวครับ หมักแล้วใช้ควบคุมแมลง (ไม่ใช่ทำปุ๋ย)
  • และบางทีอาจเพิ่มตัวละลาย เช่น เป็นกากน้ำตาลที่มีอยู่ในพื้นที่แล้ว
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่กรุณาแนะนำ

คนมักขี้พูดมักกว่าขี้ฟังนะสิ

สติ สติ กำกับ

ขอบคุณที่เตือนสติ

ช่วยเขียนวิธีแก้ปากเสียให้อ่านหน่อยนะคะ ปากเสีย ซ่อมได้ 55

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท