Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

อนุทิน 130588


Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งเดือนตุลา

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=620098821366740&set=a.139504616092832.17661.100000998836574&type=3&theater

--------------------------------------

คำบ่นของคุณภาสกร จำลองราช

--------------------------------------

แปลกใจตัวเองจริง สมัยก่อนตอนเป็นนักศึกษา พอได้ยินเรื่องราว 6 ตุลา หรือ 14 ตุลาหรือคนเดือนตุลา ผมรู้สึกกระหายใคร่รู้ และมีความกระตือรือร้นทุกครั้งที่เขาจัดกิจกรรมในเดือนตุลาคม

ผ่านไป 20 ปี พอมาเป็นนักข่าว ได้สัมผัสกับคนเดือนตุลาหลายๆ คน ได้เข้าใกล้ข้อเท็จจริงในหลายๆสถานการณ์ ทำไมความกระตือรือร้นกลับมอดดับสนิท เหลือเพียงจิตที่คารวะแด่ผู้เสียชีวิต ในทางตรงกันข้าม หลายครั้งหลายคราในใจกลับยิ่งรู้สึกเสื่อมทรุดเมื่อคนเดือนตุลาบางคน เอ่ยถึงวีรกรรมเดือนตุลา

ถามตัวเองอยู่เหมือนกันว่า ทำไมถึงไม่สามารถเก็บเดือนตุลาให้เป็นตำนานไว้ใจได้ยืนยง

--------------------------------------

คำบ่นตอบของอาจารย์แหวว

--------------------------------------

อยากตอบคุณภาสกรว่า คนเดือนตุลาก็เป็นคนค่ะ บทเรียนที่ได้รับจากสถานการณ์เดือนตุลานั้นมีมากมาย ถึงอย่างไรก็น่าศึกษา และคำว่าสถานการณ์เดือนตุลามันดำเนินอยู่แม้ในปัจจุบันค่ะ คนธรรมศาสตร์นั้นถูกสั่งให้อยู่กับสถานการณ์เดือนตุลาทุกครั้งที่เดินเข้าธรรมศาสตร์ สิ่งที่กำลังเกิดในวันที่ ๖ หรือ ๑๔ ตุลาในแบบพิธีกรรมหรือทางสื่อ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนแต่ละคนที่สัมผัสกับสถานการณ์ตุลานะคะ แต่จุดร่วมที่อิ่มเอิบของ "แนวคิดเสรีภาพ" "ความดี" และ "พลังบริสุทธิ์ของหนุ่มสาว" ก็น่าจะไม่ถูกมองข้ามค่ะ เมื่อหนุ่มสาวคนนั้นโตขึ้น ก็อาจเป็นธรรมดาที่พวกเขาจะถูกย้อมสีค่ะ มันเป็นธรรมดาของความจริง

ตอบคุณภาสกรว่า วิธีที่จะ “เก็บเดือนตุลาให้เป็นตำนานไว้ใจได้ยืนยงก็คือ การเข้าใจปรากฏการณ์นี้บนความเป็นธรรมดาของเรื่องจริงว่าด้วย “ความเปลี่ยนแปลง”

เคยได้ยินทฤษฎีการพิจารณาแม่น้ำไหมคะ ? เธอเห็นแม่น้ำเพชรบุรีที่เธอรัก มาตลอดชีวิต แต่แม่น้ำสายนั้น ไม่เคยเหมือนเดิมค่ะ แม้จะดูว่า มันแทบจะเหมือนเดิม

 

เรามองเห็นมายาคติของเดือนตุลาไหมคะ ? หากเราประสบผลสำเร็จที่จะมองผ่านมายาคตินี้ไปหาสัจจธรรมที่สถานการณ์เดือนตุลาพิสูจน์ให้เราเห็นให้ได้ เราก็จะเข้าใจโลกและชีวิต และเราจะสามารถดำรงชีวิตบนความจริงและความดีได้ และน่าจะมีสันติสุขที่ยั่งยืน

 



ความเห็น (2)

เมื่อสี่สิบปีที่ผ่านมา ผมเรียนอยู่ มัธยม ๓ ทำให้อยากเรียนรู้ถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลง วันนี้เห็นการประท้วงตั้งตนเป็นผู้นำ ก็เข้าใจบ้างว่า เป็นการเรียกร้องความกระหายของกลุ่ม ผลประโยชน์ ระอายแทนคนเดือนตุลาเมื่อสี่สิบปีที่ผ่านมา ผมรักประชาธิปไตยครับ..อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีความเท่าเทียมกันทุกด้านมากขึ้น.

ขอบคุณค่ะ ขอบคุณมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท