อนุทิน 151214


ณัฐรดา
เขียนเมื่อ

"ใครมีศีล สมาธิ ปัญญาเท่าใด ก็แก้ไขเรื่องราวอันนำมาซึ่งทุกข์ได้เท่านั้น"

เรามักมองคำกล่าวนี้ในช่วงเวลายาวๆ เช่น ในช่วงชีวิตหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นช่วงที่มีหรือไม่มีปัญหาใดๆ ไม่มีทุกข์ใหญ่เบียดเบียนควรมองคำกล่าวนี้ในแต่ละขณะจิต เช่น เรามีความเป็นปกติ(ศีล) อันเป็นกุศล (กุศลศีล) หรืออันเป็นอกุศล (อกศลศีล) อย่างไร มีใจตั้งมั่นหรือสมาธิในกุศลเท่าใด มีความน้อมไปในการพิจารณาเพื่อละคลายการยึดมั่นเท่าใด ก็ต้านทานอกุศลในใจ จนแสดงออกทางกาย วาจา ได้เท่านั้นและควรแยกเรื่องราวออกเป็นในทางโลกและทางธรรม เริ่มตั้งแต่การกระทำทางใจ อันนำไปสู่การกระทำทางกาย วาจา

เช่น ในการกระทำทางใจในทางโลก

อบรมการไม่เบียดเบียนผู้อื่นเท่าใด ก็ไม่ครุ่นคิดถึงทำร้ายเขา ครุ่นคิดถึงทรัพย์ของเขา หลอกลวงเขาด้วยคำอันไม่จริงเท่านั้น

อบรมสทารสันโดษเท่าไร ก็ไม่คิดถึงเพศตรงข้ามที่ไม่ใช่คู่ตนในทางคะนึงหาเพื่อนำความอิ่มใจมาให้เสพหรือโหยหาด้วยความเศร้าใจที่ไม่ได้เสพเท่านั้น

อบรมสติเท่าใด ก็ไม่ปรารถนาสิ่งมอมเมามาทำให้ขาดสติเท่านั้น

ศีล สมาธิ ปัญญาในแต่ละขณะจิตเป็นอย่างไร แต่ละขณะจิตที่เรียงต่อกันเป็นช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตก็คือความเป็นไปตามศีล สมาธิ ปัญญา นั้นๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท