การติดตั้งระบบ FireWall: ประสบการณ์ การอบรม


ผู้แทนของผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของ กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ารับการอบรม การติดตั้งระบบ Firewall ที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอบรมแบบ Onsite Training
บันทึกประสบการณ์

 

การพัฒนาบุคลากรกลุ่มที่ 1
      การพัฒนาบุคลากรกลุ่มที่ 1 คือ บุคลากรที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค ที่จะไปรับความรู้และฝึกปฏิบัติ ก่อนที่จะมาดำเนินการอบรมแบบ Onsite Training ให้กับบุคลากรจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดภายในภาค โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้
 การคัดเลือกบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม
      ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการพัฒนา ICT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสร้างความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆแก่บุคลากรด้าน ICT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ People ware โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ดูแลระบบ และกลุ่มพัฒนาการเรียนการสอน โดยแต่ละกลุ่ม จะมีผู้ที่เป็นตัวแทนของภาคในการเป็นแกนหลักในการพัฒนาบุคลากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เป็นบทบาทของผู้ดูแลระบบ และจะต้องมาเป็นวิทยากรหลักในการพัฒนาบุคลากรในจังหวัดต่างๆ จึงเลือกผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการดูแลและพัฒนาระบบ จำนวน 6 คน ประกอบด้วย
    1 นายศรีเชาวน์ วิหคโต ในฐานนะตัวแทนจากศูนย์ภาค และเป็นผู้ดูแลระบบของศูนย์ภาค พร้อมทั้งทำหน้าที่ประสานงานในภาค
    2 นายนิกร เกษโกมล ผู้ดูแลระบบจาก ศนจ. นครราชสีมา ที่มีประสบการณ์ในการใช้งาน IPCop และเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้
    3 นายวิทยา วิจิตร ผู้ดูแลระบบ จาก ศนจ. สุรินทร์ ซึ่งจากการติดตามดูผลงานมาตลอดเวลา 1 ปี เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนางาน ICT ของ ศนจ. สุรินทร์ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งศึกษาค้นคว้า และเขียนเรื่องราวต่างๆ เผยแพร่ทาง Internet
    4 นายศุภวัฏ วรรณราช ครูสอนวิชาชีพคอมพิวเตอร์ ศนจ.เลย ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและดูแลระบบของ ศนจ. เลย มีการพัฒนาโปรแกรม และ Website อย่างต่อเนื่อง
    5 นายอดิศักดิ์ คำเสียง เป็นผู้ที่สนใจและพัฒนา งาน ICT ของ ศนจ. ศรีสะเกษ จนสามารถพัฒนา Website ของหน่วยงาน รวมทั้งสนใจ หมั่นศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
    6 นายสิทธา นาแพง ผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและว่าจ้างให้มาปฏิบัติงานในโครงการโดยใช้งบประมาณจากโครงการ
      ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีบุคลากรอีกหลายท่านที่มีความรู้ความสามารถ แต่บางท่าน ต้องการให้เป็นแกนนำในเรื่องอื่น ขณะที่บางท่านมีความรู้ความสามารถแต่ขาดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน ICT อย่างจริงจัง ไม่เห็นผลงานปรากฏชัด
       หลังจากคัดเลือกผู้แทนของภาคจากการประชุมที่โรงแรมโกลเด้นดรากอนแล้ว ได้ประสานงานแจ้งผ่านทาง Webboard ให้ผู้ได้รับการคัดเลือกทราบเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการอบรม

เข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ

         ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2550 ผู้แทนจากหนว่ยงานการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง 5 ภาค เข้ารับการอบรม โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้แทนเข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 5 คน ตามวิธีการคัดเลือกที่ได้กล่าวมาแล้ว
        กระบวนการฝึกอบรมทั้ง 3 วัน มีเนื้อหา และกระบวนการอบรม ดังนี้
วันที่ 21 พฤษภาคม 2550 การอบรมภาคทฤษฎี ซึ่งให้ความรู้ 2 เรื่อง คือ การติดตั้งโปรแกรมรายงานผู้จบหลักสูตร และ การติดตั้ง Firewalls ด้วยโปรแกรม IPCop

 
 การฝึกอบรม และฝึกปฏิบัติ ทั้ง 3 วัน จะเป็นการสาธิตการใช้งานในวันแรกของการฝึกอบรม

วันที่ 22 พ.ค. 2550  ฝึกปฏิบัติ

   

วันที่ 23 พ.ค. 2550 ทบทวนประสบการณ์       



      เนื้อหาการฝึกอบรม มี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ การติดตั้งระบบการรายงานผู้จบหลักสูตร และการติดตั้งระบบ Firewalls ด้วยโปรแกรม IPCop ส่วนการติดตั้งระบบ MILNFE ไม่ได้ดำเนินการอบรมและฝึกปฏิบัติ
 จากการสังเกตการณ์เรียนรู้และฝึกปฏิบัติของคณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า แต่ละคนได้เรียนรู้ด้วยกันแต่การฝึกปฏิบัติแตกต่างกัน โดย นายสิทธา และ นายอดิศักดิ์ ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติจริง ส่วนอีก 4 คน ไม่ได้ฝึกปฏิบัติจริง เพียงแต่ดูผู้อื่นปฏิบัติ ส่วน นายนิกร เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมครั้งนี้
 ด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกอบรม จะเป็นว่า ไม่ค่อยพร้อมเท่าที่ควรทั้งในด้านการดำเนินการ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และการติดต่อประสานงาน รวมทั้งสถานที่อบรม
ข้อสังเกต
      การอบรมทฤษฎีวันแรก แบ่งเนื้อหาการอบรมออกเป็น 2 เรื่อง คือ

  • การติดตั้งระบบ การรายงานผู้จบหลักสูตร (NFE-GDM) วิทยากรคือผู้พัฒนา Software จากบริษัท เป็นการอบรมที่แต่ละภาคเคยอบรมมาแล้ว 1 ครั้งในปี 2549 แต่ไม่ได้ผลในการนำไปปฏิบัติเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาในเรื่องฐานข้อมูลที่จะนำมารายงานจากโปรแกรม IT ซึ่งผู้พัฒนา Software ก็ได้มีการปรับปรุงมาตามลำดับ
             การอบรมวันนี้ เป็นการสาธิตการติดตั้งและใช้งานบนระบบปฏิบัติการ LINUX และใช้ Apache เป็น Web Server ซึ่งมีปัญหาสำหรับบางคนดังนี้
            1 ผู้ที่ไม่ถนัดในการใช้ระบบปฏิบัติการ LINUX จะมีปัญหาค่อนข้างมากมาก เพราะการใช้คำสั่งต่างจากจะต้องพิมพ์คำสั่งใน Command Line
            2 ผู้ที่ไม่เคยใช้โปรแกรม IT จะไม่ทราบวิธรการนำเอาข้อมูลจากโปรแกรม IT เข้ามารายงานในระบบ
     การอบรมเหมือนเป็นการสาธิตการใช้โปรแกรม แต่สำหรับบางจังหวัดที่นำระบบนี้ไปใช้แล้วจะไม่มีปัญหาอะไร
  • ฝึกปฏิบัติติดตั้งระบบ Firewall และ Web Server ใช้เวลาในการสาธิต และการฝึกปฏิบัติค่อนข้างนาน คือ ทั้ง 3 วันของการอบรม แต่ไม่มีโอกาสได้ฝึกทุกคน แต่ก็ได้มีโอกาสเรียนรู้จากของจริง ซึ่งไม่ยุ่งยากนัก และในวันที่ 2 แต่ละภาคได้ไปฝึกติดตั้งกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานครทั้ง 4 แห่ง ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝึกการติดตั้งกับเครื่อง Server ของกลุ่มแผนงาน
การฝึกปฏิบัติภายหลังการอบรม

 


 การฝึกปฏิบัติวันที่ 1 วันที่ 28 พฤษภาคม 2550
     ความคาดหวัง ติดตั้งระบบ Firewalls โดยใช้โปรแกรม IPCop ติดตั้งลงบนเครื่องทดสอบ (เครื่อง PC) ให้สามารถใช้งานได้
    การดำเนินการ 
     1 เตรียมจัดหาอุปกรณ์ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เก่าที่สุด มาทดลอง เป็นเครื่อง Pentium 4 ความเร็ว 1.4 GHz และจัดหา LAN Card มาเพิ่มอีก 1 ใบ เพราะในเครื่องมีแล้ว 1 ใบ พร้อมทั้งจัดหาสาย LAN เก่า ที่มีอยู่แล้ว มาเตรียมทดสอบการเชื่อมต่อ Network
      2 ออกแบบระบบ Network โดยดูตัวอย่างจากคู่มือ เลือกใช้แบบ Red Green Orange ด้วยเหตุผลสำคัญสองประการคือ มี LAN Card เพียง 3 ใบ และคิดว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ Wireless เขียนแผนผังระบบ บนกระดาษปรู๊ฟ ติดผนัง และทำความเข้าใจกันทั้ง 3 คนที่ร่วมฝึกปฏิบัติ ว่า หมายความว่าอย่างไร
     3 ติดตั้งโปรแกรม IPCop  จากแผ่น CD-ROM ที่ได้จากการอบรม ลงในเครื่อง PC ที่จะทดลองทำเป็น Firewall


                  
ใช้เครื่อง PC ทดลองติดตั้งระบบ IPCop แต่ก็ใช้งานได้                  
เดินสาย LAN เกะกะไปหมด เพราะทดสอบ สายสีเขียว ส้ม และ แดง มั่วไปหมด


      4 ตรวจสอบการทำงาน จากเครื่อง PC โดยให้บริการ Internet ภายใน ศนอ.
      5 ทดลองติดตั้ง ในเครื่อง Server โดยติดตั้งในเครื่อง Powel ซึ่งมีปัญหามากมายตั้งแต่เริ่มติดตั้ง คือ ไม่สามารถ Boot จากแผ่น CD-ROM ได้ 
 

ทดลองติดตั้งในเครื่อง Server จริง หรือเครื่องที่เราเรียกกันติดปากว่า
เครื่องตู้เย็น ปรากฏว่า วันแรกไม่ผ่าน ใช้งาน Internet ไม่ได้ 
เห็นสายLAN แล้ว น่าปวดหัว

      การดำเนินการทดสอบ ใช้เวลาทั้งหมด 4 วันจึงดำเนินการได้สำเร็จ และใช้งานจริง แต่ยังไม่เรียบร้อย พร้อมทั้งยังมีปัญหาบางประการ เช่น การกำหนดค่าต่างๆเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ การติดตั้งโปรแกรม AddOn รวมถึงความเรียบร้อยของการระบบสาย LAN เนื่องจากยังวางเกะกะ

 ข้อสังเกตปัญหาจากการปฏิบัติจริง ที่จะต้องนำไปแก้ไขในการอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ Onsite Training
       1 ความพร้อมของอุปกรณ์ ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม โดยเฉพาะ LAN Card กับ สาย UTP ถ้าไม่มี Switch ต้องเตรียมต่อสายแบบ Cross เอาไว้ และอย่าให้สายยาวมากนัก แต่ถ้าจะให้ดี ควรเตรียม Switch ให้พร้อม
       2 การทดสอบ ต้องทำไปพร้อมกับการให้บริการ Internet ไม่สามารถปิดเครื่อง Server ได้ เพราะ ศนอ. กำลังให้บริการ e-Training ดังนั้น การทดลองจึงต้องพยายามทำให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ Internet ให้น้อยที่สุด แต่ถ้าสามารถปิด Server ได้ ก็จะเกิดประโยชน์มาก
      3 การทดลองจะทำไปทีละขั้น โดยเริ่มจากการทดสอบทางสายเขียวก่อน เมื่อใช้ได้ จึงต่อสายแดง เพื่อทดลองใช้ Internet ต่อจากนั้น จึงติดตั้ง Web server ในเครื่องสีส้ม แล้วทดลองต่อสายสีส้ม เพื่อใช้งาน Internet
      4 มีปัญหาในการ Config แต่ละตัวมาก ดังนั้น Concept ในการอธิบาย ว่า ทำไมต้องทำ ต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการอธิบายให้ทำตาม ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ดังนั้น การอธิบาย ควรจะมี Flow chart อธิบายขั้นตอนการติดตั้ง จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น


จะนำประสบการณ์แต่ละครั้ง มาแลกเปลี่ยนอีก จนกว่าจะจบกิจกรรมในเดือนสิงหาคม 2550
คำสำคัญ (Tags): #firewall#ipcop#onsite training
หมายเลขบันทึก: 100416เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2007 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
การฝึกอบรม NETWORK และ Firewalls  รุ่นที่ 1 บุรีรัมย์   

 

       โครงการพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานสารสนเทศของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านการบริหารจัดการ website เครื่องข่าย และด้านสารสนเทศ ได้ดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 1 เสร็จเรียนร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ ศนจ. บุรีรัมย์ โดยมีผู้ดูแลระบบจาก 10 หน่วยงานเข้าร่วมฝึกปฏิบัติการติดตั้ง Firewall และ Web Server ได้แก่  ศนอ. ศนจ.อุบลราชธานี ศนจ.บุรีรัมย์ ศนจ.ขอนแก่น ศนจ. มหาสารคาม ศนจ. ร้อยเอ็ด ศนจ.เลย และผู้ดูและระบบจาก ศนจ.ศรีสะเกษ สุรินทร์ และนครราชสีมา เป็นทีมวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ 
   หลังจากการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองแล้ว ทุกคนได้ร่วมฝึกปฏิบัติจริง กับระบบ Network ของ ศนจ.บุรีรัมย์ จนสามารถใช้งานได้ตามที่ออกแบบระบบไว้
    หลังจบการฝึกอบรมแล้ว แต่ละจังหวัดจะกลับไปติดตั้งและปรับระบบของตนเองให้สามารถใช้งานได้ต่อไป


      
   
    

   การฝึกอบรม NETWORK และ Firewalls    
เตรียมการอบรม Onsite Training กลุ่มที่ 1

 

          ก่อนการอบรมมีการเตรียมการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงแผนการอบรม

          ตามกำหนดการเดิมจะจัดการอบรมรกลุ่มแรกระหว่างวันที่ 12-14 พ.ค. 2550 ที่ ศนจ. บุรีรัมย์ แต่ต้องเลื่อนโดยกระทันหัน หลังจากส่งหนังสือราชการไปแล้ว เพราะผู้ดูแลระบบของทุกจังหวัด จะต้องเข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการเพื่อการบริหารจัดการระบบเครือข่าย MOENet ที่โรงแรมแอมยาสเดอร์ กรุงเทพฯ จึงต้องเลื่อการอบรมกลุ่มแรกออกไปเป็นวันที่ 19-21 มิ.ย.2550 ที่ ศนจ. บุรีรัมย์เหมือนเดิม ส่วนการอบรมกลุ่มอื่นๆ ดำเนินการไปตามกำหนดการเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
          การเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งคือ คณะวิทยากรหลักได้ย้ายไปปฏิบัติงานที่อื่น 1 ท่าน ทำให้วิทยากรที่อบรมเพื่อเป็นวิทยากรหลัก ขาดไป 1 ท่าน

เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม

          วันที่ 15-17 ได้จัดซื้อ และเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการอบรม โดยประชุมร่วมกัน แล้วช่วยกัย List รายการที่จะต้องใช้ แล้ว ขออนุญาตจัดซื้ออุปกรณ์ที่ยังไม่มี


อุปกรณ์ที่จะต้องนำไปอบรมนำมากองรวมกันไว้
ก่อนที่จะเดินทางวันพรุ่งนี้ (18 มิ.ย.)

          ตลอดเวลา ก็ค่อยๆ เตรียมอุปกรณ์ โดยเตรียมใส่กล่องเพื่อให้สะดวกสำหรับการเดินทาง ซึ่งอุปกรณ์ประกอบด้วย

1 Software  ติดตั้งระบบต่อไปนี้

          1.1 NFE-GDM ระบบการรายงานผู้จบหลักสูตร ทำงานบน Web Application ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows 2003 ใช้ Apache เป็น Web Server ใช้ฐานข้อมูล MySQL และ PHP เป็นตัวแปลภาษา  (ต้องเตรียมข้อมูลที่ Export จากโปรแกรม IT)
          1.2 IPCop ระบบ Firewall โดยเตรียมดังนี้

  • แผ่น CD-ROM โปรแกรม IPCop ที่สามารถ Boot ได้จากแผ่น
  • แผ่น Floppy Disk  ใช้ในกรณีที่บางเครื่องไม่สามารถ  Boot จากแผ่น CD-ROM ได้ ให้ ทำแผ่น Floppy Disk ที่สามารถ Boot โปรแกรม IPCop ได้ด้วย โดยทำทั้งหมด 5 ชุด ต่อการอบรม 1 รุ่น
                      

          1.3 School Website ระบบ Web Template โดยเตรียมต้นฉบับโปรแกรม Version ใหม่ล่าสุดพร้อมด้วยคู่มือ บันทึกลงแผ่น CD-ROM จำนวน 1 แผ่น


พิมพ์ภาพลงบนแผ่น CD-ROM (Web Template)
เพื่อนำไปใช้ในการอบรม

          1.4 ระบบ e-Learning  LearnSquare โดยเตรียมต้นฉบับ  Version ใหม่ พร้อมกับต้นฉบับเนื้อหาวิชาเพื่อใช้ทดลองเปิดเรียน และเอกสารคู่มือ บันทึกรวมกับแผ่น CD-ROM ของระบบ Web Template

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย แต่ละหน่วยงานต้องเตรียมดังนี้

2.1 เครื่อง Server 1 เครื่อง ที่จะติดตั้ง (แนะนำให้ใช้เครื่อง Powell) แต่ในการทดลองอาจจะทดลองในเครื่อง PC ก่อนก็ได้ และ


เครื่อง PC ตัวเก่ง (pentiun IV 1.4 GHz) ที่ใส่
LAN Card 3 ใบ และทดลองติดตั้ง IPCop แล้ว

2.2 เครื่อง PC เพื่อใช้ในการทดสอบระบบ อย่างน้อย 2 เครื่อง จะใช้เครื่อง Note Book จาก ศนอ. 1 เครื่อง และ ศนจ. นครราชสีมาที่จะเตรียมมา 1 ชุด นำไปใช้เพื่อทดสอบระบบ IPCop โดยแทนเครื่อง คอมพิวเตอร์ใน Zone ต่างๆ
2.3 LAN Card 4 ใบ ต่อรุ่น และยี่ห้อตามที่กำหนดในรายการที่สามารถใช้กับ IPCop ได้ ซึ่งต้องใช้อย่างน้อยเครื่องละ 3 ใบต่อเครื่องหรือ 4 ใบ ถ้าต้องการต่อ Wreless ด้วย การอบรมครั้งนี้ นำไปใช้ในการอบรม เพื่อติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ รุ่นละ 4 ใบ รวมทั้งสิ้น 12 ใบ


LAN Card แกะกล่องใหม่ๆ Complex ราคา 350 บาท

2.4 Switch อย่างน้อย 2 ตัว เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมเครือข่าย ใน Green Zone จำนวน 1 ตัว และ Orange zone จำนวน 1 ตัว (กรณีที่ มี web server มากกว่า 1 เครื่อง) ส่วนใน Red Zone จะต่อกับ Router โดยตรง ส่วนเครื่องที่จะต่อกับ IP จริง จะต่อผ่าน Orange Zone ทั้งหมด


Switch แกะกล่องเช่นเดียวกัน จำนวน 2 เครื่อง

2.5 สาย LAN ที่ต่อทั้งแบบตรง และ ไขว้ อย่างละ 6 เส้น แต่ส่วนมากจะใช้แบบตรง เพราะใช้ Switch ในการเชื่อมต่อ แต่บางครั้งอาจจะทดลองต่อตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้สายไขว้

      
เตรียมสาย UTP เป็นลัง และหัว RJ45 เป็นกล่อง พร้อมอุปกรณ์การเข้าหัว RJ45

2.6 ปลั๊กไฟ แบบสามขา 3 ชุด เพื่อใช้ในการเสียบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ควรใช้แบบที่มีมาตรฐาน และสามารถใช้กับปลั๊กแบบ 3 ขาได้
2.7 กระดาษกาวย่น สีแดง เขียว ส้ม และ น้ำเงิน อย่างละ 1 ม้วน เพื่อใช้พันสาย UTP เพื่อให้รู้ว่าสายใดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ใน Zone ใด

 

2.7 Access Point เพื่อใช้ในการฝึกปฏิบัติการใช้งานใน Blue Zone

 

2.8 กรรไกร หรือ Cutter ไขควง เพื่อใช้ในการตัดกระดาษกาว สายและอื่นๆ รวมทั้งการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อติดตั้ง LAN Card

3.เอกสารคู่มือการใช้งาน และ CD ประกอบเอกสาร    

            เอกสารที่ใช้ประกอบการอบรม จำนวน 3 เล่ม คือ
          1 การติดตั้งและใช้งาน IPCop
          2 คู่มือการใช้งาน NFE-GDM


เอกสาร 3 เล่ม และต้นฉบับบันทึกใน CD-ROM

          3 คู่มือการใช้งาน Web Template
          4. เอกสารงานธุรการ ต่างๆ และยืมเงินลดรองจ่าย เพื่อใช้จ่ายระหว่างการอบรม

          รวบรวมอุปกรณ์ต่างๆ ลงกล่อง เพื่อให้สะดวกในการเดินทาง


กล่องใส่อุปกรณ์จำนวน 3 กล่อง พร้อมที่จะเดินทาง

 

  ดำเนินการอบรม Onsite Training กลุ่มที่

          ออกเดินทางจากอุบล วันที่ 18 มิถุนายน 2550 โดยเดินทางไปพร้อมกัน 4 คน คือ คณะจาก ศนอ. 3 คน และ ศนจ.อุบลราชธานีอีก 1 คน พร้อมด้วยอุปกรณ์การอบรมและกระเป๋าเดินทาง เต็มท้ายรถ เดินทางออกจากอุบล แต่ออกเดินทางมาได้เพียงนิดเดียว ฝนตั้งเค้ามืด จึงแวะที่ Home Hub ซื้อผ้าใบคลุมรถ ปรากฏว่า ซื้อยังไม่ทันเสร็จ ฝนตกลงมาอย่างหนัก ดีแต่ว่าที่จอดใต้ที่จอดรถที่มีหลังคากันฝนอย่างดี ของท้ายรถจึงไม่เปียก ช่วยกันเอาผ้าใบคลุมท้ายรถกว่าจะเสร็จ ก็ใช้เวลาพอควร ออกเดินทาง ท่ามกลางสายฝน แต่ก็ตกไม่นาน พอเข้าเขต จังหวัดศรีสะเกษ ก็ไม่มีฝน จนถึง จังหวัดบุรีรัมย์ 
          ตลอดการเดินทาง มีโทรศัพท์เข้ามาตลอดเวลา จากผู้เข้ารับการอบรมทางไกล (e-Training) แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาได้ไม่มาก เพราะไม่ได้นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์
          เดินทางจากอุบลถึงบุรีรัมย์เวลาประมาณบ่าย 3 โมงครึ่ง เข้าพบรองผู้อำนวยการ และไปดูสถานที่ต่างๆ ที่จะใช้ในการอบรม ได้แก่ ห้อง Server และห้องที่จะใช้อบรม ซึ่งทางศนจ. ได้เตรียมที่ห้องประชุม ซึ่งคิดว่าไม่เหมาะ เพราะจะต้องเดินสาย LAN จาก Router ไปค่อนข้างไกล จึงไปดูที่ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่า จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาที่ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โดยช่วยกันยกอุปกรณ์ทั้งหมด ลงเก็บไว้ที่ห้องเรียน แล้วเดินทางไปเข้าที่พัก โรงแรมเทพนคร

      
   โรงแรมเทพนคร เป็นโรงแรมค่อนข้างใหม่ แต่ที่แปลกคือ ป้ายแสดงชื่อโรงแรมนี้ หันเข้าโรงแรม

          เมื่อกลับมาถึงโรงแรม ก็พบกับคณะจาก ศนจ. มหาสารคาม ที่มาเป็นคณะ จำนวน 3 คน Check in เข้าพัก โดยเรากับอาร์ พักห้อง 422 อาจารย์แสงจันทร์ พักกับอาจารย์จากมหาสารคาม อาจารย์ อดิศักดิ์ รอพักกับอาจารย์นิกร ห้อง 420 ตอน 6 โมง ไปกินข้าว คณะจากขอนแก่น มาเข้าพัก อีก 2 คน จากเมืองเลย 1 คน จาก สุรินทร์ 1 คน และจากศรีสะเกษ จะมาสมทบอีก 1 คน ส่วนจากร้อยเอ็ด น่าจะมาถึงพรุ่งนี้ รวมทั้งสิ้น มีวิทยากรและผู้เข้าอบรม  14 คน (ยังไม่รวมมหาสารคาม)          ข้อสังเกตเบื้องต้น ระบบ คอมพิวเตอร์ของ ศนจ. บุรีรัมย์ รองผู้อำนวยการเล่าว่า ไม่มีคนดูแลระบบที่มีความรู้ในการดูแลระบบ เพราะคนที่ดูแลอยู่เดิม ไปอยู่ที่ ศบอ. หมดแล้ว ส่วนคนที่ดูแลปัจจุบัน ก็ยังไม่มีความรู้เท่าไร          สภาพห้องที่เก็บ Server เป็นเหมือนกับห้องทำงาน โดยเครื่อง Server ทั้งหมด เก็บใส่ในตู้ RAC ที่มีขนาดใหม่มาก จึงทำให้ดูเหมือนว่า ภายในตู้ค่อนข้างว่าง สังเกตว่า มี Monitor  เข้าไปเก็บด้วย 1 เครื่อง ในห้องนี้ มีบุคลากรนั่งทำงานอยู่ด้วย  แต่รายละเอียดการใช้งานอื่นๆ ยังไม่ได้ซักถาม


ห้องเก็บ Server แลทำงานคอมพิวเตอร์
ถ่ายตรงหน้าประตูเป็นห้องขนาด 3x4 เมตร

          สภาพของห้องเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นอาคารที่ดีมาก ทราบว่า เป็นห้องเรียนที่ใช้ร่วมกับวิทยาลัยชุมชน ซึ่งมี 2 ห้อง ห้องแรก มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 40 เครื่อง และอีกห้องหนึ่งเป็นห้องขนาดเล็กกว่า มีเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 20 เครื่อง แต่ใช้งานไม่ได้ สภาพไม่ได้ใช้งาน และขาดการดูแลเอาใจใส่ เช่น เมื่อเดินไปดู Switch อยู่ในสภาพใช้งานไม่ได้ หรือในห้องเรียนใช้ Internet ได้เพียงบางเครื่อง

       
ศูนย์อินเตอร์เน็ต                            ด้านหน้าอาคาร

          สิ่งที่น่าสนใจ คือพบว่าเครื่อง Powel ถูกตั้งทิ้งไว้ที่พื้นหน้าห้อง ไม่ได้ใช้งาน สอบถามผู้ดูแล ตอบว่า ยังใช้ได้ (แสดงว่า ผู้ดูแลไม่ได้ให้ความสนใจเครื่อง Server เครื่องนี้ แม้แต่ในตู้ RAC ก็ใช้ Server เพียงเครื่องเดียว จึงสรุปว่า Server 3 เครื่อง ใช้เพียงเครื่องเดียว)     Web ของ ศนจ. บุรีรัมย์ ไม่ค่อยมีการพัฒนา หรือ Update รองผู้อำนวยการปรารภว่า อยากจะเรียนรู้วิธีการสร้าง Webpage

การอบรมวันแรก วันที่ 19 มิถุนายน 2550

          ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมาก พักอยู่โรงแรมเดียวกันคือโรงแรมเทพนคร ดังนั้น ตอนเช้าจึงเดินทางไปพร้อมกัน กว่าจะออกเดินทาง ก็เกือบ 9 โมงเช้า เมื่อถึง ศนจ. บุรีรัมย์ ต่างก็ตรงไปห้องอบรม (ศูนย์อินเตอร์เน็ต) ซึ่งเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาในการจัดเตรียมสถานที่ จนถึงเวลาประมาณ 10 โมง โดยแบ่งออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรก มีอุปกรณ์ การอบรมพร้อม จึงใช้เป็นห้องที่ใช้บรรยายในช่วงแรก ส่วนห้องด้านข้าง ปรับพื้นที่ให้เป็นห้องฝึกปฏิบัติ กิจกรรม Onsite Training ในวันแรกมีดังนี้

ลงทะเบียน เขียนรายงานการเดินทาง

          เริ่มลงทะเบียนเข้ารับการอบรม พร้อมกับการเตรียมการของคณะวิทยากร โดยอาจารย์แสงจันทร์เตรียมเอกสารรายงานการเดินทาง พร้อมทั้งลงชื่อลงทะเบียนรับเอกสารประกอบการอบรม และ CD-ROM การอบรมครั้งนี้ มีผู้ขอเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมจากที่กำหนด จำนวน 5 คน คือ ศนจ.มหาสารคาม เพิ่มเติม 2 คน ศนจ. ของแก่น เพิ่ม 1 คน และ ศนจ.บุรีรัมย์ เพิ่มเติม 1 คน ส่วน ศนจ.ร้อยเอ็ด ศนจ. เลย และ ศนจ. อุบลราชธานี มาจังหวัดละ 1 คน เมื่อลงทะเบียนแล้ว เขียนรายงานการเดินทาง ดังนั้น การอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 18 คน จาก 10 หน่วยงาน ในจำนวนนี้ เป็นวิทยากร 5 คน

 

 

ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการอบรม

  การอบรมเริ่มอย่างง่ายๆ อย่างไม่เป็นพิธีรองโดยนายศรีเชาวน์ วิหคโต กล่าวถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และความต้องการในการอบรมครั้งนี้ ต่อจากนั้น เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาของเรื่อง IPCop โดยกล่าวถึง แนวทางการพัฒนา ICT ในอนาคต และสภาพปัญหาในปัจจุบัน ที่จะต้องแก้ไขเพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่ต้องการ โดยเฉพาะในการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

          แนวทางการพัฒนา ICT จะมีเป้าหมายมุ่งไปสู่การการจัดการเรียนการสอน ผ่านช่องทาง Internet ในรูปแบบ e-Learning ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ ศนจ. ทุกแห่ง มี Website ของ สถานศึกษา และ ทุก ศนจ. เปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning ดังนั้น จึงต้องพัฒนา Hardware และ เครือข่าย ให้มีความพร้อม และมีประสิทธิภาพ ที่จะรองรับการพัฒนา ICT เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

 

Firewall และการติดตั้ง IPCop

          อาจารย์นิกร เกษโกมล บรรยายสรุปเกี่ยวกับ Firewall และ IPCop ก่อนที่จะฝึกปฏิบัติ ตามเนื้อหาในเอกสาร โดยสรุปให้เข้าใจหลักการของ Firewall และ การใช้โปรแกรม IPCop เพื่อติดตั้ง เป็น Firewall ในการอบรมครั้งนี้ จะเน้นการฝึกปฏิบัติจริง มากกว่าการสาธิต ให้ดู การบรรยายจึงเป็นเพียงให้เข้าใจหลักการสั้นๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยผู้เข้ารับการอบรมจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มจะมีวิทยากรประจำกลุ่ม เพื่อคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือระหว่างฝึกปฏิบัติ

 

 

แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ

 

            กลุ่มที่1 ประกอบด้วย ศนจ. อุบลราชธานี (นายอดิศักดิ์ คำภีระ) และ ศนจ.ร้อยเอ็ด (นายวุฒิพล ทับธานี) โดยมี ศนจ. สุรินทร์ (นายวิทยา วิจิตร) เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ เครื่อง PC ของ ศนจ. อุบล และ Note Book จาก ศนจ. นครราชสีมา จำนวน 2 เครื่อง

 

          กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย  ศนจ. มหาสารคาม (จำนวน 3 คน) และ ศนจ. ขอนแก่น (จำนวน 2 คน) โดยมี ศนจ. ศรีสะเกษ (นายอดิศักดิ์ คำเสียง) เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ เครื่อง PC ของ ศนอ.และ Note Book จาก ศนจ. นครราชสีมา จำนวน 2 เครื่อง

กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย ศนจ.เลย (นายกิตติพงษ์ โกษาจันทร์) และ ศนจ. บุรีรีมย์ (จำนวน  คน) โดยมี ศนอ. (นายสิทธา นาแพง) เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติ เครื่อง Server ยี่ห้อ Powel  ของ ศนจ. บุรีรัมย์ (เครื่องที่จะใช้งานจริง) และ Note Book จาก ศนจ. นครราชสีมา จำนวน 2 เครื่อง

ติดตั้ง LAN Card

  
เครื่อง Server (Powel)                        เครื่อง PC (Pentium IV)

          แจก LAN Card ให้แต่ละเครื่องนำไปเพิ่มเติม ให้เพียงพอ จำนวนเครื่องละ 4 ใบ แต่เครื่องที่มีปัญหาคือเครื่อง Server Powel เพราะไม่มีช่อง PCI เหลือให้เสียบ จึงต้องเอา VGA ออก ให้ใช้ Onboard แล้วใช้ LAN Card เพิ่มเข้าไปอีก 1 รวมเป็น 4
ทำแผ่น Boot
          ให้แต่ละกลุ่ม ติดตั้งโปรแกรม IPCop โดยใช้ Version 1.4.11 เพราะสามารถลง AddOn ได้ทุกตัว แต่เนื่องจากไม่สามารถ Boot จาก CD-ROM ได้ จึงต้อง Boot จาก Flopy Disk แต่ละกลุ่มจึงต้องสอนการทำแผ่น Boot
ติดตั้งโปรแกรม IPCop
          แต่ละกลุ่มเริ่มติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง ที่ใส่ LAN Card ครบทั้ง 4 ใบ แล้ว โดยกระบวยนการเหมือนกันทุกกลุ่ม คือ วิทยากรประจำกลุ่ม สาธิต และแนะนำการติดตั้งในขั้นตอนต่างๆ ต่อจากนั้น ให้สมาชิกในกลุ่มทดลองติดตั้ง ทุกคน

   
ทดลองติดตั้งกันทุกคน                           เปิดตำรา และทำตามตำราทุกขั้นตอน

          ฝึกแล้ว ฝึกอีก จนกว่า จะทำได้ทุกคน คนหนึ่งฝึก ที่เหลือเรียนรู้ ช่วยกันบอก แนะนำ เป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีมาก ถ้อยที่ถ้อยอาศัย และไม่ต้องกลัวเสียหน้าว่า ไม่รู้ เพราะแต่ละคนจะช่วยกัน จึงมีทั้งผู้ที่ทำได้เลย หรือบางคนต้องกางตำราหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วทำตามไปทีละบรรทัด บางท่านจดขั้นตอนละเอียดยิบ ถึงแม้จะมีในเอกสารก็ไม่จุใจเหมือนกับจดลงสมุดโน้ตของตนเอง ใช้เวลาไม่นาน ก็ติดตั้งเสร็จ และได้ฝึกปฏิบัติกันทุกคน
          เริ่มสังเกตเห็นมาดของวิทยากรประจำกลุ่มแต่ละคนในลีลาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแนะนำ และขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตอบคำถามข้อซักถามต่างๆ  ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ดีกว่าการดำเนินการที่ผ่านมา ที่อบรมที่ภาค มีวิทยากรคนเดียว 
          สิ่งที่ประทับใจอีกประการหนึ่งคือ มีบางท่านที่ไม่ค่อยมีพื้นฐานในเรื่องนี้ แต่บอกว่า มาครั้งนี้ จะสู้และพยายามกลับไปทำให้ได้ และจะเห็นว่า มีความตั้งใจจริง พยายามฝึก จด และขยันที่จะซักถาม เรียนรู้

เชื่อต่อระบบ 
          หลังจากติดตั้งโปรแกรมได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนที่จะตรวจสอบ เพื่อที่จะแบ่ง Network ออกเป็น Zone ต่างๆ ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่า LAN Card ใบไหน เป็น Zone อะไร

 

สภาพปัญหา
          1 Switch มีจำนวนไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้กลุ่มละ 2 ตัว และ เชื่อมกับ Router อีก 1 ตัว รวมเป็น 7 ตัว แต่เตรียมมาจาก ศนอ.2 ตัว และ ศนจ. นครราชสีมา 2 ตัว ทำให้ต้องทำ LAN เข้าหัวแบบไขว้ เพิ่มเติม มีผลต่อการเชื่อต่อ และการ Set ระบบ แต่ข้อดีคือ ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้การเข้าหัว RJ45 กับสาย UTP แต่ก็เสียเป็นจำนวนมากเพราะใช้งานไมได้เนื่องจากฝึกเข้าหัวกันใหม่
          2 เดินสายไม่ดีทำให้เกะกะทางเดินของผู้เข้ารับการอบรม

เข้าหัว RJ45

    

เรียนรู้ และฝึกปติบัติการเข้าหัว RJ45 กันอีกครั้ง

ทดสอบเพื่อหา LAN Card แต่ละ Zone

 

หลังจากได้สาย LAN เรียนร้อยแล้ว พร้อมทั้งเครื่อง Notebook กลุ่มละ 2 เครื่อง จาก ศนจ. นครราชสีมา ก็เริ่มต่อเชื่อมเข้ากับเครื่อง Server ที่เราเรียกกัยติดปากว่า เครื่อง IPCop แล้วเริ่มตรวจสอบว่า LAN Card ใบไหน อยู่ใน Zone อะไร เริ่มจากหา LAN Card สีเขียวก่อน เมื่อพบแล้ว ก็นำกระกาษกาวสีเขียว ไปแปะไว้ที่ Card ด้านหลังเครื่อง

 



สภาพของกระดาษกาวที่ปิดไว้หลังครื่อง

สภาพปัญหา

1 เข้าสายไม่ดี
2 การทำเครื่องหมายที่ LAN Card โดยเอากระดาษกาวติด อาจจะมีปัญหาภายหลัง เพราะกระกาษกาวหลุด อาจจะต้องเขียนไว้ที่ฝาครอบเครื่อง หรือทำเป็นกระดาษ เขียนเป็นแผมภูมิ ติดไว้

 

          การตรวจสอบหา แต่ละ Zone เป็นไปด้วยดี ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันได้หลายวิธี และจากการสังเกต พบว่า เครื่อง Server ค่อนข้างจะมีปัญหาในการติดตั้งมากกว่าเครื่อง PC 
          หลังจากตรวจสอบแล้ว ขั้นต่อไป ก็ทดลองใช้งาน Internet ซึ่งพบว่า มีปัญหากันพักใหญ่ เพราะบางทีก็ออก Internet ได้ บางทีก็ไม่ได้ ปัญหาที่พบคือ
          1 เสียบสายผิด เพราะจากในช่วงของการฝึกปฏิบัติ ที่ทุกคนต้องฝึก จึงมีการถอดสายเปลี่ยนไปมาและเสียบไว้ผิด
          2 ต่อสาย LAN ผิด โดยเฉพาะการต่อสายไขว้
          3 ยังไม่ทราบสาเหตุว่า เกิดจากอะไร     

            ข้อสังเกต 
          1 การตรวจสอบครั้งนี้ ใช้งานการตรวจสอบแบบมีอุปกรณ์ครบ คือ มีเครื่อง Note Book ต่อเข้าไป 2 เครื่อง จึงตรวจสอบได้ง่าย เพราะต่อเข้าไปพร้อมกัน แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจสอบเพียงเครื่องเดียว จะยุ่งยากขึ้น
          2 การตรวจสอบใน Blue zone ซึ่งเป็น Access Point บางกลุ่มไม่ได้ต่ออุปกรณ์จริง เพราะไม่มีอุปกรณ์พอ ในการอบรมกลุ่มต่อไป ควรจัดเตรียมให้พร้อม
          3 ไม่ได้ตรวจสอบว่า Blue Zone ทำงานได้จริงหรือไม่

ติดตั้งโปรแกรม เพื่อติดต่อกับ IPCop จาก Green Zone (WinScp และ PuTTy)

ติดตั้งโปรแกรม เสริม (Add On)

เชื่อมต่อ Internet

ใช้งานและ Set ค่า แต่ละเมนู

ข้อสังเกตจากการอบรมวันแรก

          การเตรียมอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติ มีความพร้อมค่อนข้างมาก โดยวัสดุฝึกและอุปกรณ์ได้เตรียมมาจาก ศนอ. และ ศนจ.นครราชสีมา โดยเฉพาะ Note Book จำนวน 6 เครื่อง ที่นำมาจาก ศนจ. นครราชสีมา ช่วยให้แต่ละกลุ่มสามารถตรวจสอบและจำลองการใช้งาน ใน Zone ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
          ระบบ ของ ศนจ. บุรีรัมย์ ยังมีปัญหาหลายประการ จึงทำให้การฝึกปฏิบัติครั้งนี้ เหมือนกับการเริ่มต้นการ Set ระบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ โดยเฉพาะเครื่อง Server ที่ยังไม่มีการใช้งาน จึงทำให้สถานการณ์การฝึกปฏิบัติเหมือนกับสถาพจริง
          ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมากมีความตั้งใจจริง ต้องการที่จะนำประสบการณ์กลับไปใช้ปรับปรุง Server ของตนเอง ให้สามารถใช้งานได้

การอบรมวันที่สอง วันที่ 20 มิถุนายน 2550

สรุปประสบการณ์ วันที่ผ่านมา

 

ฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง

  • การ Set ค่าต่างๆ
  • ทดสอบการทำงานใน Orange Zone
  • ปรับระบบ Network ในห้องฝึกอบรม โดยดำเนินการดังนี้
              1 ใช้เครื่อง IPCop ที่ฝึกปฏิบัติมาทำเป็นเครื่อง Firewall จริง แล้วใช้ Note Book เป็นเครื่อง ทดสอบ ใน Orange Zone ส่วนเครื่องใน Green Zone ใช้เครื่องในห้องเรียน ซึ่งใช้เวลาปรับพอสมควร

  
          ติดตั้ง Web Server ในเครื่อง Server ที่อยู่ใน Orange Zone ซึ่งได้จำลองเครื่อง Note Book เป็นเครื่อง Server

การติดตั้งระบบรายงานผู้จบหลักสูตร (NFE-GDM)

การติดตั้ง Web Template

เก็เครื่องมือ อุปกรณ์

ข้อสังเกตจากการอบรมวันที่ 2
          1 ผู้เข้าอบรม ส่วนมากมีความเข้าใจมากขึ้น และเริ่มมีการฝึกปฏิบัติในขั้นตอนที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางคน ที่ยังปฏิบัติเหมือนกับทำตามตำรา โดยยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร 
          2 สิ่งที่ยังละเลย และยังไม่ให้ความสำคัญเท่าไร คือ การออกแบบระบบ และเขียนไว้อย่างเป็นทางการ จึงพบปัญหาในการตรวจสอบ ว่า Zone ไหน เลข IP อะไร การอบรมครั้งนต่อไป ควรจะต้องเขียนผังของระบบ อย่างจริงจัง
          3 Orange ไม่ได้มีการฝึกปฏิบัติแต่ละกลุ่มอย่างจริงจัง เพราะ หมายเลข IP ไม่พอให้แต่ละกลุ่มฝึก ดังนั้น จึงนำมาสาธิตในห้องประชุมใหญ่ ทำให้ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
          4 ไม่ได้ทำการทดสอบใน Blue Zone ว่า เมื่อต่อ Access Point แล้วจะทำอย่างไร หรืออนุญาตให้คนใช้ Wireless อย่างไร

         

การอบรมวันที่สาม วันที่ 21 มิถุนายน 2550

สรุปประสบการณ์ วันที่ผ่านมา

          ทบทวนการอบรมวันที่ผ่านมาว่าทำอะไรไปบ้าง และยังขาดอะไรบ้าง

 

          ส่วนที่ยังบกพร่อง ต้องเก็บตกในการอบรมวันที่ 3 มีดังนี้
          1 การฝึกปฏิบัติการทำงาน ใน Blue Zone หรือการทำงานจาก Wereless ยังไม่ได้ทดลองใช้งานในบางกลุ่ม ว่ามีการตรวจสอบ และ set อย่างไร
          2 การฝึกปฏิบัตติดตั้ง Web Server ใน Orange Zone ซึ่งได้แต่ดูการสาธิต (เนื่องจากหมายเลข IP ไม่พอให้ปฏิบัติทุกเครื่อง) ไม่ได้ปฏิบัติจริง
          3 ระบบของ Network ของ ศนจ. ยังไมได้ปรับให้ใช้งานตามการออกแบบที่อบรมครั้งนี้
          การฝึกปฏิบัติในวันนี้จึงฝึกใน 3 ข้อ ที่กล่าวมา

ปรับระบบ Network ให้ ศนจ. บุรีรัมย์
          กิจกรรมวันนี้ จะเป็นการฝึกปฏิบัติจริง กับของจริง คือ ระบบ Network ของ ศนจ.บุรีรัมย์ เพื่อให้ทุกคน ได้วิเคราะและพัฒนาจากสภาพพื้นฐานที่เป็นอยู่จริง เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีและหลักการที่ได้ฝึกปฏิบติจากสถานการณ์จำลองในห้องอบรม โดยมีขั้นตอนในการฝึกปฏิบัติจริง ดังนี้

ตรวจสอบสภาพการใช้งาน

            1 ระบบ Network

          สภาพ Network ของ ศนจ. บุรีรัมย์ยังค่อนข้างสับสนและใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนี้

          ลักษณะ Network มีการเชื่อมต่อดังภาพ และมีการใช้งานดังนี้
          ใช้ Wireless (สามารถทำ broadband Router) เป็นตัว Share การใช้งาน Network โดยเชื่อมต่อกับ Router  โดยตรง
          การเชื่อมต่อสัญญารต่อจาก Wireless จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
          Œ เชื่อมต่อผ่าน Switch โดยนำเอา Switch 24 port มาต่อออกจาก Wireless แล้วมีสายเชื่อมต่อออกไปจาก Wireless อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งผู้ดูแลระบบไม่ทราบว่า ต่อไปไหนบ้าง แต่จำได้เฉพาะสายที่ใช้งานเท่านั้น เครื่องที่จะใช้งานได้ จะต้อง Set หมายเลข IP ให้เป็นหมายเลข IP จริงเท่านั้น
           เชื่อมต่อผ่าน Port ของ Wireless โดยเชื่อมไปยังห้องบริหาร 1 เส้น ห้องรองผู้อำนวยการ 1 เส้น และภายในห้อง ICT 2 เส้น เครื่องที่จะใช้งาน Internet ได้ ต้องใช้หมายเลข IP จริง เช่นเดียวกัน
          Ž เชื่อมต่อผ่านสัญญาณ Wireless ไปยังห้องการเงิน เครื่องที่จะใช้งาน Internet ได้ ต้องใช้หมายเลข IP จริง เช่นเดียวกัน
          สภาพการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ภายใน ศนจ. ที่สามารถใช้งาน Internet ได้ จะต้อง กำหนดหมายเลข IP ให้เป็นหมายเลข IP จริง ซึ่งทาง ศนจ. บุรีรัมย์ ได้มา 8 หมายเลข จึงเหลือใช้งานจริงได้เพียง 4 หมายเลข (หมายเลขที่ใช้ไปแล้ว คือ หัวท้าย 2 หมายเลข router 1 หมายเลข และ web server 1 หมายเลข)
          เครื่องที่ ใช้งาน Internet จึงใช้หมายเลข IP จริง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องผู้บริหาร ห้อง ICT ห้องบริหาร และ การเงิน
          ส่วนห้องาเรียน ศูนย์อินเตอร์เน็ต ไม่สามารถใช้งาน Internet ได้ แต่การใช้งาน จะต้องต่อผ่าน port ของ wireless แล้วแจก IP ไปยังเครื่องที่จะใช้งาน Internet

          2 สภาพ Hardware ยังใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือยังไม่ได้ใช้งาน เช่น เครื่อง Server จำนวน 3 เครื่อง ตั้งไว้โดยไม่ได้ใช้งาน 2 เครื่อง คือ เครื่อง Powel ตั้งทิ้งไว้ในห้องเรียนโดยไม่ได้ใช้งาน เครื่อง IBM หลังจากยกไปอบรมที่ ศนจ. นครราชสีมา เมื่อเกือบ 2 ปี ที่ผ่านมา ก็ตั้งทิ้งไว้ในตู้ RAC โดยไม่ได้ใช้งาน เครื่องที่ทำ Web server ติดตั้งและเผยแพร่ Website แต่ก็ไม่ได้ Update เท่าที่ควร ระบบ Network ไม่ได้วางระบบตามที่ ควรจะเป็นที่ได้อบรม คือ การนำเอา Server มาทำ DHCP และ ทำ NAT เพื่อให้สามารถใช้งาน Internet ได้อย่างมีประสิทฑิภาพ
          การจัดวางอุปกรณ์ ยังไม่เป็นระเบียบเรียนร้อย

อยากได้คู่มือ และแผ่นโปรแกรมที่ใช้ในการอบรมมาศึกษาครับ ตอนนี้ ศึกษา IPCOP และ ClarkConnect อยู่

 

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท