ปรัชญาทางการศึกษา


ปรัชญา
ปรัชญา
คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 100623เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ปรัชญาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ ใช่ไหม

ปรัชญาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริงอันที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้นลับ สิ่งที่มีจริง สิ่งที่เป้นหลักฐาน อย่างเช่น อัลกุรอ่าน เป็นต้น

เสนอแนะ

พวกเราอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายให้ชัดเจนกว่านี้หน่อยค่ะ

อยากทราบความเป็นมาของปรัชญาอิสลาม  ใครพอจะรู้บ้างไหม
นางสาวอรดี ไซนุเด็ง
ทำไม นำเสนอยากเหลือเกิน
นางสาวอรดี ไซนุเด็ง
ปรัชญาการศึกษา  ปรัชญาการศึกษา หมายถึง แนวคิด ความเชื่อ ได้แก่
1. สารัตถนิยม (Essentialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่า การศึกษา คือ การอนุรักษ์ถ่ายทอด ความรู้และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
2. นิรันตรนิยม (Perennialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่า การศึกษา คือ การพัฒนาพลังทาง สังคม ความคิด เหตุผล และคุณธรรมให้ผู้เรียน เพื่อให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
3. พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่าการศึกษา คือ การเรียนรู้ที่เกิด จากการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข
4. ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่า การศึกษา คือ เครื่องมือในการ แก้ปัญหาและเสริมสร้างสังคมใหม่ ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
5. อัตถิภาวนิยม (Existentialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เชื่อว่า การศึกษา คือ การให้เสรีภาพแก่ผู้ เรียนในการเลือกและตัดสินใจตามความต้องการของตัวผู้เรียนเอง
6. ปรัชญาการศึกษาอิสลาม  ยึดถือตามอัลกุรอ่านและอัลฮาดิส  มุ่งเพื่อส้างมุสลิมให้ทำอิบาดะและเป็นคอลีฟะห์ที่ดีของอัลลอฮ์
 
นางสาวนูรียะห์ อาหลีน๊ะ

อัสลามูอาลัยกูม

    อาจารย์ค่ะมารายงานแล้วน่ะค่ะ วิชาอาจารย์ยากมากเลยค่ะ  แต่จะพยายามทำความเข้าใจ

คอเละ กาเดร์ กลุ่ม 2 501112023
นิยามและสาขาของปรัชญากล่าวกันว่า Pythagorus เป็นคนแรกที่ใช้ศัพท์  Philosophy คนเรียก พิธาโกรัสว่า  คนมีปัญญา  แต่เขาปฏิเสธ  โดยกล่าวว่า  ปัญญา เป็นของพระเจ้า  ส่วนมนุษย์เป็นได้แค่รักปัญญาเท่านั้น ( รุ่งเรือง  บุญโญรส , 2512 : 23  ซึ่งเป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คำว่า philosophy ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำว่า ปรัชญา  นั้นเป็นภาษากรีก  ซึ่งประกอบด้วย  2 คำ Philos  กับ Sophia  คำว่า Philos จะหมายถึง ความรัก  ความเลื่อมใส    ส่วนคำว่า Sophia หมายถึง ความรู้  ปัญญา  ดังนั้นคำว่า philosophy ในด้านนิรุกติศาสตร์จึงมีความหมายว่า  ความรักในความรู้ หรือความรักในปัญญา ( Gerald,1988:2)         ในพจนานุกรมWebster  คำว่า philosophy หมายถึง Love  of  Wisdom  or Love of  Knowledge” ซึ่งหมายถึงความรักในปัญญา  หรือ ความรักในความรู้  ( Webster’s New  World  Dictionary  of  American  Language ,1962 : 1099 )      วิลล์  ดิวแรนท์ ( Will  Durant1944 :2-3 ) กล่าวว่า Philosophy คือ การแปลความหมายของเรื่องที่ไม่รู้ เช่น วิชาอภิปรัชญา และการแปลความหมายของสิ่งที่ทราบเหมือนกัน  แต่ยังไม่แจ่มแจ้ง  เช่น  วิชาจริยศาสตร์ เป็นเสมือนสนามเพลาะแนวหน้า   ในอันที่จะโอบล้อมความจริง  ศาสตร์ต่างๆเป็นเสมือนอาณาเขตหรือพื้นที่ที่ยึดได้แล้ว  และเบื้องหลังของศาสตร์ต่างๆ นั้น  ก็คือเขตแดนที่ปลอดที่ความรู้  และศิลปะจะใช้สร้างโลกอันไม่สมบูรณ์  และมหัศจรรย์ของเราขึ้นมา            เฮอร์แมน  ลอตเซ ( Herman  Lotze,1988 : 345  )  กล่าวว่า Philosophy เปรียบเสมือนมารดา  ถูกลูกอกตัญญูทิ้งให้ชอกชํ้า   Philosophy  เป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมไว้ซึ่งสรรพวิชา  ไม่ว่าจะเป็น  ดาราศาสตร์  คณิตศาสตร์  วิชาฟิสิกส์  และ สรีรศาสตร์  ก็ล้วนถือกำเนิดมาจากวิชา Philosophy             วิลล์  ดิวแรนท์ ( Will  Durant,1944 :2-3 ) กล่าวว่า Philosophy คือ การแปลความหมายของเรื่องที่ไม่รู้ เช่น วิชาอภิปรัชญา และการแปลความหมายของสิ่งที่ทราบเหมือนกัน  แต่ยังไม่แจ่มแจ้ง  เช่น  วิชาจริยศาสตร์ เป็นเสมือนสนามเพลาะแนวหน้า   ในอันที่จะโอบล้อมความจริง  ศาสตร์ต่างๆเป็นเสมือนอาณาเขตหรือพื้นที่ที่ยึดได้แล้ว  และเบื้องหลังของศาสตร์ต่างๆ นั้น  ก็คือเขตแดนที่ปลอดที่ความรู้  และศิลปะจะใช้สร้างโลกอันไม่สมบูรณ์  และมหัศจรรย์ของเราขึ้นมา             เฮอร์แมน  ลอตเซ ( Herman  Lotze,1988 : 345  )  กล่าวว่า Philosophy เปรียบเสมือนมารดา  ถูกลูกอกตัญญูทิ้งให้ชอกชํ้า   Philosophy  เป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมไว้ซึ่งสรรพวิชา  ไม่ว่าจะเป็น  ดาราศาสตร์  คณิตศาสตร์  วิชาฟิสิกส์  และ สรีรศาสตร์  ก็ล้วนถือกำเนิดมาจากวิชา Philosophy

อิมรอน มะลูลีม(2539:7-8)ได้สรุปคำนิยามของคำว่าปรัชญาในทัศนะของนักคิดบางท่านดังต่อไปนี้

เพลโต ปรัชญานั้นมุ่งหมายให้มีความรู้ในสิ่งอันเป็นนิรันดร์  ในลักษณะอันเป็นแก่นแท้ของสิ่งต่างๆ      อริสโตเติล ปรัชญาก็คือวิทยาการที่สืบสวนค้นคว้าหาลักษณะของสิ่งที่มีอยู่  ดังที่เป็นอยู่ในตัวของมันเอง  และคุณลักษณะซึ่งเป็นของมันตามลักษณะของมันเอง     เคร็ด ไม่มีประสบการณ์อันใดของมนุษย์ไม่มีสิ่งใดในอาณาเขตทั้งหมดแห่งความจริงจะอยู่นอกเหนือขอบเขตแห่งปรัชญา             บรอด ความมุ่งหมายของปรัชญาก็คือเพื่อนำเอาผลของวิทยาการต่างๆ เข้าไปรวมกับผลของประสบการณ์ด้านศาสนาและจริยธรรมของมนุษยชาติ  แล้วก็มาใคร่ครวญถึงผลทั้งหมดนั้นด้วย  ความคิดที่จะไปให้ถึงข้อสรุปทั่วไป  อันหนึ่งที่เกี่ยวกับลักษณะของสากลจักรวาลและสถานภาพกับอนาคตของเรา    คานท์ ปรัชญาคือวิทยาการและข้อวิจารณ์ในเรื่องปัญญา      ฟิตเช่ ปรัชญาคือวิชาเกี่ยวกับความรู้     คอมเต้ ปรัชญาคือวิทยาศาสตร์แห่งวิทยาการทั้งมวล             สเปนเซอร์ ปรัชญาคือความรู้ที่รวมกันอย่างสมบูรณ์  เป็นข้อสรุปทั่วไปของความเข้าใจในปรัชญาและการรวมกันของข้อสรูปทั่วไปทั้งหลายของวิทยาศาสตร์             เบอร์แทรนด์  รัสเซล ปรัชญาคือดินแดนอันไม่จำกัดเจ้าของ  ซึ่งมีอยู่ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนา (ศาสนวิทยา)      ในอิสลามคำที่มักใช้แทนคำว่า philosophy คือ คำว่าหิกมะฮ์ ( Hikmah ) ซึ่งมักใช้ในภาษาอังกฤษว่า Wisdom  คำว่า หิกมะฮ์จะถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานบ่อยครั้ง  เช่น โองการที่ 2 :269 ซึ่งความว่าความหมายของปรัชญาการศึกษา            ชัยบานี (Shaybani,      :30) ได้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาว่าหมายถึง การนำทัศนะแนวคิดหรือวิธีการทางปรัชญามาใช้กับการศึกษา และอีกความหมายหนึ่งคือกิจกรรมทางความคิดทีเป็นระบบที่ใช้ปรัชญาเป็นแนวทางในการจัดระบบและกำหนดแนวทางของการศึกษา

 

Aslamua'laikum

แวะมาหาความรู้ในบล็อกของอาจารย์คะ  หนูจะเอาควาวมรูใส่กระเป๋าแล้วนะคะ ...

         วัสลามคะ

 

เป็นเนื้อหาที่ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะ

เป็นเนื้อหาที่ดีมาก เพราะใช้เกี่ยวกับการศึกษาได้

อยากรู้ถึง ความสำคัญ หรือ ประโยชน์ ของการศึกษา ปรัชญาอิสลาม ค่ะ

ช่วย ตอบ ให้ หน่อยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท