ปรัชญาทางการศึกษาอิสลาม


ปรัชญาอิสลาม
ปรัชญาอิสลาม
คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาอิสลาม
หมายเลขบันทึก: 100625เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ปรัชญาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวการอะไรค่ะอาจารย์

ปรัชญาคือศาสตร์ที่ศึกษาถึงความจริงที่ไม่มีอันสิ้นสุด

ไม่ว่าจะอภิปรัชญา ญานปรัชญา และอื่นๆ

นางสาวอรดี ไซนุเด็ง
ยอมรับว่านำเสนอได้ไม่ดีเท่าที่ควร  ขอคำแนะนำวิธีการนำเสนอด้วยค่ะ
นางสาวอรดี ไซนุเด็ง
ประวัติความเป็นมาของปรัชญาอิสลาม  หาได้ที่ไหนบ้างค่ะ
นางสาวรอซีด๊ะ ลือแบซา
วิชาอ.ดิฉันนำเสนอไม่เป็นค่ะ
นางสาวอรดี ไซนุเด็ง
การศึกษาในอิสลาม Islamic Education التربية الإسلامية                  การศึกษาในอิสลาม มีความเกี่ยวข้องกับมุสลิมทุกคน ไม่ได้เจาะจงเฉพาะครูหรือผู้ที่จะเป็นครูเท่านั้นที่จะต้องเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษา ครูหรืออาจารย์อาจเกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้กระบวนการนำสารอิสลามสู่ผู้เรียน ส่วนบุคคลอื่นนั้นเกี่ยวข้องในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ที่รับสารนั้น ทุกชนชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ และทุกยุคทุกสมัย มนุษย์จะต้องมีแนวการศึกษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อาจจะคล้ายคลึงกันบ้างระหว่างชนชาติ หรืออาจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนั้นขึ้นอยู่กับปราชญาการดำเนินชิวิตของชนนั้นๆ  เป้าหมายหลักของการศึกษาคือ การสร้างคนในตอบสนองความต้องการของชาติ หรือผู้ปกครอง                  การศึกษาของคนในยุคกรีกโรมัน คือ การสร้างคนให้มีพละกำลังที่แข็งแรง มีความสามารถในการต่อสู้และใช้อาวุธ ส่วนการศึกษาอิสลาม คือ การเน้นในมนุษย์ดำเนินชีวิตตามแนวทางที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตามที่ได้กำหนดมา คือ มีมารยาทในการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำร้ายกันและกัน ไม่ทำลายล้างธรรมชาติที่ต้องอนุรักษ์ โดยการหมั่นทำศาสนกิจ ไม่เคยลืมผู้สร้าง นึกถึงพระเจ้าอยู่ตลอดเวลา                          คำว่า "การศึกษา" นี้มีความหมายกว้างขวางและให้คำจำกัดความเหมาะเจาะอย่างยิ่ง นักชีววิทยา นักบวช นักจิตวิทยา นักปรัชญา นักการศาสนา รัฐบุรุษ ครู พ่อค้า คนขายของ หรือแม้แต่ช่างศิลป์ ต่างให้คำจำกัดความแตกต่างกันมาก            เพลโต กล่าวว่า การศึกษา  คือ การพัฒนาของร่างกายและวิญญาณในความงามและสมบูรณ์ทุกประการเท่าที่เขาสามารถกระทำ            อริสโตเติล กล่าวว่า การศึกษา  พัฒนาคุณวุฒิความสามารถของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตใจ เพื่อว่าคนสามารถชื่นชมความจริง ความงาม ความดี อันเป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุด"            จอร์น ดิวอี้ ให้ความหมาย  การศึกษาไว้ว่า เป็นการพัฒนาการความสามารถทุกอย่างในแต่ละบุคคลที่พึงทำให้เขาควบคุมสิ่งแวดล้อม และเติมความพึงพอใจให้เขา  ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษา คือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษา  คือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์                 โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า การศึกษา  คือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม                 เฟรด ดเอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) “การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง                 จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
                1. การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
                2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
                3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
                4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
                คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
                1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
                2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
                3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
                ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษา  เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล                 ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม             ส่วนคำโบราณของไทยมีกล่าวว่า การศึกษา  ทำให้ปัญญาแตกฉานดั่งหญ้าแพรก แหลมคมดั่งเข็ม มีความรู้มากดั่งเมล็ดมะเขือ และคงความจำในความรู้นั้นดั่งเกลือรักษาความเค็ม           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า คำว่า การศึกษา  คือ  การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Education” ซึ่งมาจากภาษาลาตินว่า “Educare” หมายความว่า การเลี้ยงดู ดังนั้นคำว่า EDUCAT, NUTRIX, INSTITUIT, PAEDAGOGUS, DOCITMAGISTER หมายความว่า "แม่เป็นผู้ให้กำเนิด แม่นมเป็นผู้กล่อมเกลี้ยงถนอม ครูฝึกเป็นผู้ฝึกฝน ครูเป็นผู้สอน"            นักทฤษฎีบางท่านให้คำอธิบายว่า EDUCATE ต่างไป คำว่า E หมายความว่า ออกจาก และคำว่า DUCO หมายความว่า นำ คำว่า EDUCATE จึงหมายความว่า การนำออกมา หรือ การดึงออกมาซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดในตัวมนุษย์ หรืออาจอธิบายสรุปได้ว่า ความรู้ทั้งหลายมีติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด เพียงหาวิธีดึงเอาปัญญาและความรู้ทั้งหลายให้หลั่งไหลออกมา  ความหมายของการศึกษาอิสลาม(อัต-ตัรบียะฮฺ อิสลามียะฮฺ : التربية الإسلامية)
                ความหมายของคำว่า
التربية มาจากรากศัพท์ต่อไปนี้                 1. تربية มาจากคำว่า ربا يربو (เราะบา ยัรบู) หมายถึง การเพิ่มพูนขึ้นและเจริญงอกเงย ดังนั้น การศึกษาหรือ التربية หมายถึง การเพิ่มหรือเจริญงอกงาม ดังที่ฟรังเขาว่า Education is Growth (การศึกษาคือการเจริญงอกงาม) และความหมายของ อัตตัรบียะอฺในลักษณะนี้ที่ให้ความหมายลักษณะนี้ อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานหลายตอนด้วยกัน เช่น  يَمْحَقُ اللّهُ الْرِّبَا وَيُرْبِي الصَّدَقَاتِ وَاللّهُ لاَ يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيمٍ                  ความว่า : อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญและจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณผู้กระทำบาปทุกคน (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-บะกอเราะฮฺ 2/276)  وَتَرَى الْأَرْضَ هَامِدَةً فَإِذَا أَنزَلْنَا عَلَيْهَا الْمَاء اهْتَزَّتْ وَرَبَتْ وَأَنبَتَتْ مِن كُلِّ زَوْجٍ بَهِيجٍ                  ความว่า : อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญและจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณผู้กระทำบาปทุกคน (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-ฮัจญ์ 22/5)  وَمَا آتَيْتُم مِّن رِّباً لِّيَرْبُوَ فِي أَمْوَالِ النَّاسِ فَلَا يَرْبُو عِندَ اللَّهِ                  ความว่า : และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูนณ ที่อัลลอฮฺ                  2. تربية มาจากคำว่า ربى يربي (เราะบา ยุรบี) การดูแลและเลี้ยงดู อัลลอฮฺได้ตรัสว่า  قَالَ أَلَمْ نُرَبِّكَ فِينَا وَلِيداً وَلَبِثْتَ فِينَا مِنْ عُمُرِكَ سِنِينَ                  ความว่า : เขา(ฟิรเอาน์) กล่าวว่า เรามิได้เลี้ยงดูเจ้าเมื่อขณะเป็นเด็กอยู่กับพวกเราดอกหรือ? และเจ้าได้อยู่กับเราหลายปีในช่วงชีวิตของเจ้า (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัชชุอารออฺ 26/18)   وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيراً                  ความว่า : และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า ข่าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-อิสรออฺ 17/24)  อาหรับเบดูอีนกล่าวว่า  فمن يكُ سائلاً عني فإني بمكة منزلي وبها ربيتُ                  3. التربية มาจากคำว่า رب يرب (ร็อบบะ ยะรุบบุ) หมายถึง การแก้ไขให้ดีขึ้น การสั่งสอน การปกครองดูแล อัลกุรอาน ได้ให้ความหมายการดูแลสั่งสอน ในอายัตต่างๆ เช่น  وَعَلَّمَ آدَمَ الأَسْمَاء كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمْ عَلَى الْمَلاَئِكَةِ فَقَالَ أَنبِئُونِي بِأَسْمَاء هَـؤُلاء إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ                  ความว่า : และพระองค์ได้ทรงสอนบรรดานามของทั้งปวงให้แก่อาดัม ภายหลังได้ทรงแสดงสิ่งเหล่านั้นแก่มะลาอิกะฮฺ แล้วตรัสว่า จงบอกบรรดาชื่อของสิ่งเหล่านั้นแก่ข้า หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-บะกอเราะฮฺ 2/32)  وَإِذْ عَلَّمْتُكَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَالتَّوْرَاةَ وَالإِنجِيلَ                  ความว่า : และขณะที่ข้าได้สอนเจ้า ซึ่งคัมภีร์และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติศาสนาและอัต-เตารอตและอัล-อิน-ญีล (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-มาอิดะฮฺ 5/110)                 แม้ความหมายการศึกษาที่ให้โดยนักคิด นักการศึกษาในยุคสมัยต่างๆ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สถานที่ สถานการณ์ สภาพแวดล้อม ปรัชญา นโยบายของรัฐ หรือตามแนวความคิดของแต่ละคน แต่โดยภาพรวมแล้ว ความหมายของการศึกษาก็จะอยู่ในกรอบความหมายของคำอัตตัรบียะฮฺที่กล่าวมาข้างต้น                 อิมาม อัลบัยฎอวีย์ (685 ฮ.ศ) ได้กล่าวว่า ““อัร-ร็อบ (الرب) ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า อัตตัรบียะฮฺ(التربية) คือ การนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดสู่ความสมบูรณ์ของมัน จากลักษณะหนึ่งหนึ่งสู่อีกลักษณหนึ่ง                อัร-รอฆิบ อัล-อัศฟาฮานีย์ (502 ฮ.ศ) ได้กล่าวว่า อัร-ร็อบ (الرب) ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า อัตตัรบียะฮฺ(التربية) คือ การสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากขั้นสู่อีกขั้นจนถึงขีดความสมบูรณ์                สรุป   การศึกษา(التربية) หมายถึง กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถและทักษะของบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิตในทุกแง่ทุกมุม หรือ กระบวนการสร้างบุคคลให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่             อิมาม อัลฆอซาลี(478 ฮ.ศ) กล่าวว่า การศึกษาหมายถึงกระบวนการทำให้บุคคลเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ   ที่มาของการศึกษาในทัศนะอิสลาม             อิสลามไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า ความรู้ทั้งหลายมีติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด และก็ไม่เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่าความรู้นั้นมาจากมนุษย์ แต่ทว่าอิสลามถือว่า ความรู้นั้นมาจากอัลลอฮ ฉะนั้น แน่นอนว่าการศึกษาอย่างแรกที่มนุษย์จะต้องแสวงหาคือ การรู้จักอัลลอฮ หรือศึกษาหาความรู้ที่มาจากอัลลอฮ พูดง่ายๆคือ อิสลามเน้นการศึกษาเพื่อให้ผูกพันกับอัลลอฮก่อน และการศึกษาเพื่อให้ผูกพันดังกล่าวนั้นจะต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางศีลธรรม และอบรมทางจิตวิญญาณ กล่าวคือ แต่ละบทเรียนจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมก่อน ทั้งนี้เพราะศีลธรรมเป็นอุดมการณ์เบื้องต้นของการศึกษาในอิสลาม เป้าหมายของการศึกษาในอิสลาม                 1.   รู้จักอัลลอฮก่อน ทั้งนี้เพราะอัลลอฮคือพระเจ้า และผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง                2.  มีศีลธรรม                3.  มุ่งศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลกควบคู่กันไป                 4.  การศึกษานั้นต้องมีประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมเพื่อร่วมกันทำอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ                5.   ศึกษาสายอาชีพทางเทคนิคและอุตสาหกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ อันจะนำไปสู่การเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮ            6.  อย่าเก็บงำความรู้ แต่ต้องเผยแพร่ด้วย  หลักสูตรการศึกษาอิสลาม
                หลักสูตรการศึกษาอิสลาม คือ หลักสูตรที่เป็นไปตามขั้นตอนที่อัลกุรอานกำหนด                 
 ความแตกต่างระหว่างการศึกษาอิสลามกับการศึกษาทั่วๆไป                  การศึกษาอิสลาม มีจุดประสงค์ หลักสูตร วิธีการ และสื่อต่างๆ ยึดเอาบทบัญญัติศาสนาเป็นหลัก
                การศึกษาอิสลาม ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงแค่ให้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้อย่างมีความสุขเท่านั้น แต่เน้นการมีชีวิตหลังความตายด้วย
                การศึกษาอิสลาม ให้ความสำคัญทั้งที่เป็นวัตถุทางกายและที่เป็นจิตวิญญาน ดูแลและเสริมสร้างในสิ่งเหล่านี้ให้ครอบคลุมและสมบูรณ์
 
นางสาวอรดี ไซนุเด็ง
การศึกษาในอิสลาม Islamic Education التربية الإسلامية                  การศึกษาในอิสลาม มีความเกี่ยวข้องกับมุสลิมทุกคน ไม่ได้เจาะจงเฉพาะครูหรือผู้ที่จะเป็นครูเท่านั้นที่จะต้องเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษา ครูหรืออาจารย์อาจเกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้กระบวนการนำสารอิสลามสู่ผู้เรียน ส่วนบุคคลอื่นนั้นเกี่ยวข้องในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ที่รับสารนั้น ทุกชนชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ และทุกยุคทุกสมัย มนุษย์จะต้องมีแนวการศึกษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อาจจะคล้ายคลึงกันบ้างระหว่างชนชาติ หรืออาจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนั้นขึ้นอยู่กับปราชญาการดำเนินชิวิตของชนนั้นๆ  เป้าหมายหลักของการศึกษาคือ การสร้างคนในตอบสนองความต้องการของชาติ หรือผู้ปกครอง                  การศึกษาของคนในยุคกรีกโรมัน คือ การสร้างคนให้มีพละกำลังที่แข็งแรง มีความสามารถในการต่อสู้และใช้อาวุธ ส่วนการศึกษาอิสลาม คือ การเน้นในมนุษย์ดำเนินชีวิตตามแนวทางที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตามที่ได้กำหนดมา คือ มีมารยาทในการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำร้ายกันและกัน ไม่ทำลายล้างธรรมชาติที่ต้องอนุรักษ์ โดยการหมั่นทำศาสนกิจ ไม่เคยลืมผู้สร้าง นึกถึงพระเจ้าอยู่ตลอดเวลา                          คำว่า "การศึกษา" นี้มีความหมายกว้างขวางและให้คำจำกัดความเหมาะเจาะอย่างยิ่ง นักชีววิทยา นักบวช นักจิตวิทยา นักปรัชญา นักการศาสนา รัฐบุรุษ ครู พ่อค้า คนขายของ หรือแม้แต่ช่างศิลป์ ต่างให้คำจำกัดความแตกต่างกันมาก            เพลโต กล่าวว่า การศึกษา  คือ การพัฒนาของร่างกายและวิญญาณในความงามและสมบูรณ์ทุกประการเท่าที่เขาสามารถกระทำ            อริสโตเติล กล่าวว่า การศึกษา  พัฒนาคุณวุฒิความสามารถของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตใจ เพื่อว่าคนสามารถชื่นชมความจริง ความงาม ความดี อันเป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุด"            จอร์น ดิวอี้ ให้ความหมาย  การศึกษาไว้ว่า เป็นการพัฒนาการความสามารถทุกอย่างในแต่ละบุคคลที่พึงทำให้เขาควบคุมสิ่งแวดล้อม และเติมความพึงพอใจให้เขา  ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษา คือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษา  คือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์                 โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า การศึกษา  คือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม                 เฟรด ดเอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) “การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง                 จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
                1. การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
                2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
                3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
                4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
                คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
                1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
                2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
                3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
                ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษา  เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล                 ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม             ส่วนคำโบราณของไทยมีกล่าวว่า การศึกษา  ทำให้ปัญญาแตกฉานดั่งหญ้าแพรก แหลมคมดั่งเข็ม มีความรู้มากดั่งเมล็ดมะเขือ และคงความจำในความรู้นั้นดั่งเกลือรักษาความเค็ม           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า คำว่า การศึกษา  คือ  การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Education” ซึ่งมาจากภาษาลาตินว่า “Educare” หมายความว่า การเลี้ยงดู ดังนั้นคำว่า EDUCAT, NUTRIX, INSTITUIT, PAEDAGOGUS, DOCITMAGISTER หมายความว่า "แม่เป็นผู้ให้กำเนิด แม่นมเป็นผู้กล่อมเกลี้ยงถนอม ครูฝึกเป็นผู้ฝึกฝน ครูเป็นผู้สอน"            นักทฤษฎีบางท่านให้คำอธิบายว่า EDUCATE ต่างไป คำว่า E หมายความว่า ออกจาก และคำว่า DUCO หมายความว่า นำ คำว่า EDUCATE จึงหมายความว่า การนำออกมา หรือ การดึงออกมาซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดในตัวมนุษย์ หรืออาจอธิบายสรุปได้ว่า ความรู้ทั้งหลายมีติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด เพียงหาวิธีดึงเอาปัญญาและความรู้ทั้งหลายให้หลั่งไหลออกมา  ความหมายของการศึกษาอิสลาม(อัต-ตัรบียะฮฺ อิสลามียะฮฺ : التربية الإسلامية)
                ความหมายของคำว่า
التربية มาจากรากศัพท์ต่อไปนี้                 1. تربية มาจากคำว่า ربا يربو (เราะบา ยัรบู) หมายถึง การเพิ่มพูนขึ้นและเจริญงอกเงย ดังนั้น การศึกษาหรือ التربية หมายถึง การเพิ่มหรือเจริญงอกงาม ดังที่ฟรังเขาว่า Education is Growth (การศึกษาคือการเจริญงอกงาม) และความหมายของ อัตตัรบียะอฺในลักษณะนี้ที่ให้ความหมายลักษณะนี้ อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานหลายตอนด้วยกัน เช่น  يَمْحَقُ اللّهُ الْرِّبَا وَيُرْبِي الصَّدَقَاتِ وَاللّهُ لاَ يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيمٍ                  ความว่า : อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญและจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณผู้กระทำบาปทุกคน (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-บะกอเราะฮฺ 2/276)  وَتَرَى الْأَرْضَ هَامِدَةً فَإِذَا أَنزَلْنَا عَلَيْهَا الْمَاء اهْتَزَّتْ وَرَبَتْ وَأَنبَتَتْ مِن كُلِّ زَوْجٍ بَهِيجٍ                  ความว่า : อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญและจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณผู้กระทำบาปทุกคน (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-ฮัจญ์ 22/5)  وَمَا آتَيْتُم مِّن رِّباً لِّيَرْبُوَ فِي أَمْوَالِ النَّاسِ فَلَا يَرْبُو عِندَ اللَّهِ                  ความว่า : และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูนณ ที่อัลลอฮฺ                  2. تربية มาจากคำว่า ربى يربي (เราะบา ยุรบี) การดูแลและเลี้ยงดู อัลลอฮฺได้ตรัสว่า  قَالَ أَلَمْ نُرَبِّكَ فِينَا وَلِيداً وَلَبِثْتَ فِينَا مِنْ عُمُرِكَ سِنِينَ                  ความว่า : เขา(ฟิรเอาน์) กล่าวว่า เรามิได้เลี้ยงดูเจ้าเมื่อขณะเป็นเด็กอยู่กับพวกเราดอกหรือ? และเจ้าได้อยู่กับเราหลายปีในช่วงชีวิตของเจ้า (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัชชุอารออฺ 26/18)   وَاخْفِضْ لَهُمَا جَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُل رَّبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيراً                  ความว่า : และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า ข่าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-อิสรออฺ 17/24)  อาหรับเบดูอีนกล่าวว่า  فمن يكُ سائلاً عني فإني بمكة منزلي وبها ربيتُ                  3. التربية มาจากคำว่า رب يرب (ร็อบบะ ยะรุบบุ) หมายถึง การแก้ไขให้ดีขึ้น การสั่งสอน การปกครองดูแล อัลกุรอาน ได้ให้ความหมายการดูแลสั่งสอน ในอายัตต่างๆ เช่น  وَعَلَّمَ آدَمَ الأَسْمَاء كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمْ عَلَى الْمَلاَئِكَةِ فَقَالَ أَنبِئُونِي بِأَسْمَاء هَـؤُلاء إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ                  ความว่า : และพระองค์ได้ทรงสอนบรรดานามของทั้งปวงให้แก่อาดัม ภายหลังได้ทรงแสดงสิ่งเหล่านั้นแก่มะลาอิกะฮฺ แล้วตรัสว่า จงบอกบรรดาชื่อของสิ่งเหล่านั้นแก่ข้า หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-บะกอเราะฮฺ 2/32)  وَإِذْ عَلَّمْتُكَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَالتَّوْرَاةَ وَالإِنجِيلَ                  ความว่า : และขณะที่ข้าได้สอนเจ้า ซึ่งคัมภีร์และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติศาสนาและอัต-เตารอตและอัล-อิน-ญีล (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-มาอิดะฮฺ 5/110)                 แม้ความหมายการศึกษาที่ให้โดยนักคิด นักการศึกษาในยุคสมัยต่างๆ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สถานที่ สถานการณ์ สภาพแวดล้อม ปรัชญา นโยบายของรัฐ หรือตามแนวความคิดของแต่ละคน แต่โดยภาพรวมแล้ว ความหมายของการศึกษาก็จะอยู่ในกรอบความหมายของคำอัตตัรบียะฮฺที่กล่าวมาข้างต้น                 อิมาม อัลบัยฎอวีย์ (685 ฮ.ศ) ได้กล่าวว่า ““อัร-ร็อบ (الرب) ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า อัตตัรบียะฮฺ(التربية) คือ การนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดสู่ความสมบูรณ์ของมัน จากลักษณะหนึ่งหนึ่งสู่อีกลักษณหนึ่ง                อัร-รอฆิบ อัล-อัศฟาฮานีย์ (502 ฮ.ศ) ได้กล่าวว่า อัร-ร็อบ (الرب) ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า อัตตัรบียะฮฺ(التربية) คือ การสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากขั้นสู่อีกขั้นจนถึงขีดความสมบูรณ์                สรุป   การศึกษา(التربية) หมายถึง กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถและทักษะของบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิตในทุกแง่ทุกมุม หรือ กระบวนการสร้างบุคคลให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่             อิมาม อัลฆอซาลี(478 ฮ.ศ) กล่าวว่า การศึกษาหมายถึงกระบวนการทำให้บุคคลเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ   ที่มาของการศึกษาในทัศนะอิสลาม             อิสลามไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า ความรู้ทั้งหลายมีติดตัวเด็กมาแต่กำเนิด และก็ไม่เห็นด้วยกับทัศนะที่ว่าความรู้นั้นมาจากมนุษย์ แต่ทว่าอิสลามถือว่า ความรู้นั้นมาจากอัลลอฮ ฉะนั้น แน่นอนว่าการศึกษาอย่างแรกที่มนุษย์จะต้องแสวงหาคือ การรู้จักอัลลอฮ หรือศึกษาหาความรู้ที่มาจากอัลลอฮ พูดง่ายๆคือ อิสลามเน้นการศึกษาเพื่อให้ผูกพันกับอัลลอฮก่อน และการศึกษาเพื่อให้ผูกพันดังกล่าวนั้นจะต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางศีลธรรม และอบรมทางจิตวิญญาณ กล่าวคือ แต่ละบทเรียนจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมก่อน ทั้งนี้เพราะศีลธรรมเป็นอุดมการณ์เบื้องต้นของการศึกษาในอิสลาม เป้าหมายของการศึกษาในอิสลาม                 1.   รู้จักอัลลอฮก่อน ทั้งนี้เพราะอัลลอฮคือพระเจ้า และผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง                2.  มีศีลธรรม                3.  มุ่งศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลกควบคู่กันไป                 4.  การศึกษานั้นต้องมีประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมเพื่อร่วมกันทำอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ                5.   ศึกษาสายอาชีพทางเทคนิคและอุตสาหกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ อันจะนำไปสู่การเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮ            6.  อย่าเก็บงำความรู้ แต่ต้องเผยแพร่ด้วย  หลักสูตรการศึกษาอิสลาม
                หลักสูตรการศึกษาอิสลาม คือ หลักสูตรที่เป็นไปตามขั้นตอนที่อัลกุรอานกำหนด                 
 ความแตกต่างระหว่างการศึกษาอิสลามกับการศึกษาทั่วๆไป                  การศึกษาอิสลาม มีจุดประสงค์ หลักสูตร วิธีการ และสื่อต่างๆ ยึดเอาบทบัญญัติศาสนาเป็นหลัก
                การศึกษาอิสลาม ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงแค่ให้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้อย่างมีความสุขเท่านั้น แต่เน้นการมีชีวิตหลังความตายด้วย
                การศึกษาอิสลาม ให้ความสำคัญทั้งที่เป็นวัตถุทางกายและที่เป็นจิตวิญญาน ดูแลและเสริมสร้างในสิ่งเหล่านี้ให้ครอบคลุมและสมบูรณ์
 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท