คอมพิวเตอร์กับสัญญะในทางการศึกษา : ผี พราหมณ์ พุทธ หรือ บริโภคนิยม


คอมพิวเตอร์ มัสัญญะหลายนัยในมุมมองของครูและผู้บริหารในวงการศึกษา
จากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา  พบว่าในวงการศึกษา มีผู้มองคอมพิวเตอร์หลายนัยตามแต่สัญญะที่ต้องการ  มุมมองแบบผี  จะมองคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจคุ้มครองได้  ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องจัดหามาไว้เพื่อความมั่นคงปลอดภัย  มุมมองแบบพราหมณ์ จะมองคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแบ่งชนชั้น ยิ่งมีจำนวนมาก ยิ่งแสดงชนชั้นทางสังคมในระดับสูง  มุมมองแบบพุทธ คือ มองว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้รู้ และมุมมองแบบบริโภคนิยม คือ มองว่าคอมพิวเตอร์ เป็นความทันสมัยในการบริโภคและการใช้ชีวิต   ทั้ง 4 มุมมอง จะพบเห็นได้โดยทั่วไปในสถาบันการศึกษา ซึงหากมีมุมมองแบบใด ก็พอที่จะสะท้อนบริบททางวัฒนธรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานั้นๆได้
หมายเลขบันทึก: 101083เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเยี่ยม...

อ่านแล้วก็ขึ้นอยู่กับการมองนะครับ...จะมองให้เห็นด้านมืดหรือด้านสว่างก็ขึ้นอยู่กับคนมอง...

สวัสดีครับ...

จริงสินะครับ คนเรามีมุมมองต่อสิ่งหนึ่งๆ แตกต่างกันออกไป

ส่วนตัวผมมองแบบพุทธโดยไม่ได้ตั้งใจครับ เพราะว่าคอมพิวเตอร์ก็คือเครื่องมือ

อุปกรณ์ธรรมดานี่แหละครับ เพียงแต่ว่าซับซ้อนกว่าครับ 



There is no spoon?
is not the spoon that bends, it is only yourself

ขอขอบคุณ คุณ UMI คุณทวี และ คุณ man in flame เป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้เกียรติ  สำหรับประสบการณ์ส่วนตัวของผม ที่ผ่านมาผมมักจะพบคนที่มองคอมพิวเตอร์แบบผี พราหมณ์ และ บริโภคนิยม กันมาก  ซึ่งถ้าเป็นดังกล่าวจริง ก็น่าจะสะท้อนความจริงอะไรบางอย่างได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท