สิทธิของคนพิการในรัฐธรรมนูญใหม่


          ในที่สุด ความพยายามของคนพิการก็ประสบความสำเร็จ จากข้อเรียกร้องที่ขอให้คนพิการมีความเท่าเทียมกับคนทั่วไป โดยบรรจุคำว่า “ ความพิการ ” ในมาตรา ๓๐
พร้อมทั้งขอให้คนพิการซึ่งมีข้อจำกัดที่หลากหลายได้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ โดยปรับคำว่า “ ได้รับ ” ในมาตรา ๕๓ เป็น “เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จาก ”
          ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบสนองจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีมติให้ มาตรา ๓๐ และ มาตรา ๕๓ มีข้อความ
ดังต่อไปนี้

 
2007-06-15-1819

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอัน ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

มาตรา ๕๓ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นที่เหมาะสมจากรัฐ

บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

ข้อมูลจาก มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คลิกที่นี่

หมายเลขบันทึก: 104361เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2007 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ

เมืองไทยพรบใหม่ทำให้ผู้พิการมีความเท่าเทียม

แต่ต้องพัฒนาให้เกิดรูปธรรมอีกนาน

ในต่างประเทศ ห้องส้วม ทางเดินและอื่นๆ เขาทำให้เกิดรูปธรรมในการดูแลผู้พิการเป็นอย่างดี

    กำลังจะดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ

    อาจจะช้าหน่อย ดีกว่าย่ำอยู่ที่เดิม

    เปลี่ยนไปวันละนิด สู่ความเป็นอยู่ที่ดีกว่าของสังคม

    ดีใจแทนผู้พิการนะครับ

สวัสดีค่ะพี่อุบล (คนสวย)

ใช่ค่ะพี่  ในเมืองไทยมี พรบ.เกี่ยวกับคนพิการ และรัฐบริการ  มาตั้งแต่ ปี 2534 แล้วนะคะ  แต่ อะไรๆก็ยังเป็นอย่างที่เห็น  เพราะคำบางคำ แค่เขียนหรือบัญญัติไว้ในกระดาษ  พอจะเรียกใช้ที...

พอคนพิการ(รวมถึงคนทำงานกับคนพิการ) อ้างถึง  ก็จะมีการแปรญัติกัน  วุ่นวายและทำเหมือนไม่เข้าใจ/เข้าใจยากอ่ะค่ะ

บางท่าน (ที่ไม่พิการ) ก็หาว่า..เราเรื่องมาก  มากเรื่อง

ครั้งนี้  เรา (หนิง/คนพิการและคนทำงานกับคนพิการอื่นๆ)  ได้มีความหวังมากขึ้นค่ะ เพราะ เรามี ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายที่เป็นคนพิการ เป็นที่ปรึกษาอยู่หลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์วิริยะ  นามศิริพงษ์พันธุ์ (อาจารย์คณะนิติศาสตร์ของธรรมศาสตร์)  อาจารย์มณเฑียร  บุญตัน  และอีกหลายท่าน  ขออภัยนะคะที่หนิงจำไม่หมดค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ ลุงวอ  หนิงก้เชื่อว่า...ต้องดีขึ้นค่ะ  เพราะสังคมเราไม่ทอดทิ้งกัน

สวัสดีอีกครั้ง นะเจ้...

มีวาทกรรมากมายที่พูดถึงความเท่าเทียมทั้งโดยมุขปาฐะ  หรือแม้แต่ที่ถูกตราไว้เป็นตัวบทกฎหมาย   แต่สภาพความเป็นจริงก็คือการนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้จริงในสังคมนั้นได้กระทำอย่างจริงจังและเท่าเทียมกันหรือไม่

ผมชื่นชมนะครับที่งานฯ  ได้ดูแลน้องนิสิตพิการอย่างใกล้ชิด ถึงลูกถึงคน  ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ  ยิ่งกรณีการลงทะเบียนนั้นผมก็ยิ่งเห็นใจอย่างมากโข

โชคไม่ดีที่ผมไม่ได้ดูแลด้วย  แต่โชคดีที่เจ้ยังอยู่ตรงนั้น ...

เพลงที่แว่วดังอยู่ในบันทึกนี้  จะเป็นตัวบอกเจ้เองว่า ... เจ้  มีตัวตน  และมีคนที่ต้องให้พึ่งพิง...

ผมเป็นกำลังใจให้เสมอ -

สวัสดีค่ะ

ในที่สุด ความพยายามของคนพิการก็ประสบความสำเร็จ

ดีใจด้วยมากๆค่ะ

พรุ่งนี้จะเล่าเรื่องมูลนิธิประภาคารค่ะ ดูแลคนพิการค่ะ

 

  • ขอบพระคุณค่ะคุณแผ่นดิน ที่เป็นกำลังใจและสนับสนุนเสมอมา
  • บางทีพี่ก็ ทำใจ และพยายาม คิดบวก (เพราะจะทำให้ผู้หญิงสวยขึ้น  อิอิ  น้องนาตาลีเค้าบอกไง )
  • พี่จะพยายามทำต่อไปค่ะ  เพราะพี่เชื่อว่า  เด็กๆยังต้องการการดูแล  แล้วเมื่อไหร่มีระบบที่ดีกว่านี้  หรือใครดูแลได้ดีกว่าพี่  พี่ก็ยินดีนะคะ  ไม่ได้ยึดติดหัวโขนเช่นกันค่ะ  ขออย่างเดียวให้เขารักเด็กๆและเข้าใจเด็กๆค่ะ
  • ทุกวันนี้พี่เองก็เหนื่อยเหลือเกิน  (แก่แล้ว)  อยากทำงานวันละ 8 ชม.กลับบ้านตอน 16.30 น. เหมือนคนอื่นๆบ้างค่ะ 

ขอบพระคุณค่ะคุณsasinanda

  • หมายถึง มูลนิธิประภาคารเพื่อคนตาบอด ในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ หรือป่าวคะ  ที่เกี่ยวกับศิลปะหรือป่าวคะ
  • อยากรู้ๆ  หนิงจะรอฟัง (อ่าน) นะคะ

เคยตั้งคำถาม หรือแม้แต่สำรวจตนเองหรือไม่ครับว่า ในแต่ละวันมีกี่อย่างที่ได้ทำเพื่อตนเอง  และกี่อย่างที่ทำเพื่อคนอื่น

บางที่หัวโขนจึงเป็นคำตอบหนึ่งในวิถีประจำวัน

 

ลองถามแล้วค่ะ  ได้คำตอบที่ขำ(กลิ้ง)  555

  • วันนี้สิ่งที่ทำเพื่อตัวเองมีอย่างเดียวคือ กินอาหารอ่ะค่ะ
  • อ้อ..นอน  อีกอย่างค่ะ  เดี๋ยวต้องขอตัวไปนอนแล้วค่ะ  ไม่งั้นจะตื่นสาย  เดี๋ยวสแกนนิ้วไม่ทัน  เอ๊ะ...จะว่าไปก็เพื่อให้ไปสแกนนิ้วทันนี่  ทำเพื่อตัวเองได้ป่าวคะ  แต่พี่รู้สึกว่า ทำเพื่อ..(...)..อ่ะ  555

สวัสดีค่ะ

มูลนิธิประภาคาร เป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งโดย คุณแพมเมล่า อยู่ที่แถวถนนสุริวงศ์ รับดุแลเด็กปัญญาอ่อนค่ะ และรับสอนภาษาอังกฤษเด็กดีด้วย

คุณแพม มีเมตตามาก และชอบสอนหนังสือเด็กพิการ เธอบอกว่า เธอสอนเด็กๆก็สอนเธอค่ะ ตอนนี้ก็ยังมีค่ะ

  • คนพิการได้สิทธิเท่าเทียมผู้อื่นน่ะดีมากๆค่ะ...แต่ดิฉันยังเห็นว่า  การที่พวกเขาจะลุกขึ้นใช้สิทธิหรือเข้าถึงสิทธินั้นๆ...คงต้องอาศัยคนไม่พิการเข้าช่วยเหลือค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ  พี่ติ๋ว

อย่างไรก็ดีแม้คนพิการจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกตามความพิการแต่ละประเภท  แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาถึงได้ทุกอย่างหรอกค่ะ  แต่อำนวยความสะดวกเท่านั้น  อย่างไรเราก็ต้องช่วยเหลือ เอื้ออาทรกัน  เพราะเราอยู่ใน"สังคมอยู่เย็นเป็นสุขและไม่ทอดทิ้ง"ค่ะ

ทั้งนี้ไม่ใช่แต่คนพิการนะคะ  คนทั่วไปอย่างเราเมื่อสังขารไม่อำนวย  เราก็จะได้ใช้รัฐบริการนั้นๆเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท