beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

Cell and Molecular Biology 14 : การขนส่งสารผ่านเมมเบรน


Passive and Active transport

   
   

 การขนส่งสารผ่านเมมเบรน
(Transport across the membranes)

permeability ของเมมเบรน

     โมเลกุลของสารที่ไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) เช่น ไฮโดรคาร์บอน, คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน สามารถละลายผ่านเข้า-ออก ในชั้นของ lipid bilayer ได้อย่างง่ายดาย, ส่วนโมเลกุลของสารที่ชอบน้ำ (Hydrophilic) หรือสามารถละลายได้ในน้ำ เช่น กลูโคส หรือแม้กระทั่งน้ำซึ่งเป็นโมเลกุลของสารที่มีขั้ว (Polar) ที่มีขนาดเล็กผ่านเข้า-ออกเมมเบรนได้ไม่สะดวก

     แต่นับว่ายังโชคดีที่เมมเบรนมีคุณสมบัติเป็น "เยื่อเลือกผ่าน (selective permeability)" คือยอมให้สารบางอย่าง (มีความจำเพาะ) ผ่านเข้า-ออกได้  ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า transport protein  ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการผ่านเข้า-ออกของสาร โดยจะมีความจำเพาะต่ออิออนหรือโมเลกุลของสารที่มีขั้ว (polar)  รวมทั้งน้ำด้วย

     มีสิ่งที่น่าสงสัยหรือเป็นคำถามว่า "อะไรเป็นตัวกำหนดทิศทาง (เข้าหรือออก) ของสารผ่านเมมเบรน ? " (ดูคำตอบในภาพและเรื่องด้านล่างนี้)

Diffusion of two Solutes
Depict : การแพร่ของตัวถูกละลายผ่านเมมเบรน (diffusion of solutes across membranes) (a) diffusion of one solutes. ที่เมมเบรนมีรูที่ใหญ่พอที่โมเลกุลของสีจะผ่านไปได้, สีจะแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ (ตาม concentration gradient) จนกระทั่งถึงภาวะสมดุลย์, สียังคงแพร่ผ่านเมมเบรนในสองทิศทางในอัตราที่เท่ากัน (b) Diffusion of two solutes. สารละลายของสีที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถผ่านเมมเบรนได้ จะแพร่ไปในทิศทางของตัวเองจากด้านที่มีความเข้มข้นมากไปด้านที่มีความเข้มข้นน้อย จนความเข้มข้นรวมอยู่ในภาวะสมดุลย์

Passive transport 

       การแพร่ (diffusion) ของสารตาม concentration gradient (จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงมาสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ) เป็นคำตอบของคำถามข้างต้น แต่ทว่าจะเป็นจริงในทุกกรณีหรือไม่

     การแพร่ของสารผ่าน biological membrane เรียกว่า "passive transport" ทั้งนี้เพราะว่าไม่มีการใช้พลังงานของเซลล์

    แต่มีการแพร่ของน้ำเราจะเรียกว่า "ออสโมซิส (Osmosis)" ซึ่งจัดเป็น passive transport ด้วย (ดูภาพและคำอธิบายจากภาพด้านล่าง)

Osmosis

Depict : Osmosis. สารละลายน้ำตาล 2 ชนิดที่มีความเข้มข้นต่างกัน ซึ่งแยกจากกันโดยเมมเบรนที่มีรู ซึ่งยอมให้ตัวทำละลาย (solvent = น้ำ) ผ่านไปได้เท่านั้น ตัวถูกละลาย (solute = น้ำตาล) ไม่สามารถผ่านไปได้. น้ำจะแพร่จากบริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นน้อย (hypotonic) ไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายมาก (hypertonic) จนกระทั่งสารละลายมีความเข้มข้นใกล้เคียงกัน, (Osmosis=passive transport of water๗

(Note : hyper=more, hypo=less, iso=same)

    สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีผนังเซลล์ เมื่ออาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็น hypertonic หรือ hypotonic solution จะต้องมีโครงสร้างพิเศษเพื่อควบคุม สมดุลย์ของเกลือแร่ หรือ Osmoregulation (= cotrol of water balance)

water balance ใน เซลล์ 
depict : การรักษาสมดุลย์ของน้ำในเซลล์ที่มีชีวิต. เซลล์สัตว์ (บน) จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็น Isotonic, ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็น hypotonic เซลล์ก็จะแตก หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็น hypertonic เซลล์ก็จะเหี่ยว. ส่วนเซลล์พืช (ซึ่งมีผนังเซลล์) ชอบสภาวะที่เป็น hypertonic

     มีคำถามต่อมาว่า "ทำไมน้ำและสารที่ละลายได้ในน้ำ จึงผ่านเข้า-ออกเมมเบรนได้ง่ายกว่าที่ควรจะเป็น? " คำตอบที่เป็นไปได้ น่าจะอยู่ที่ transport protein ซึ่งมีความจำเพาะต่อสารละลายนั้น ๆ โดยจะมีช่องทางจำเพาะและยังไม่ต้องการพลังงานจากเซลล์อีกด้วย

    เราเรียกการขนส่งสารผ่านช่องทางพิเศษ โดยไม่ต้องใช้พลังงานของเซลล์ว่า "Facilitated diffusion" ทั้งนี้เพราะเป็นการเคลื่อนที่ผ่านเมมเบรนของสารละลาย จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า (down Concentration Gradient)  โปรดดูภาพและรายระเอียดด้านล่าง

 

model ของ facilitated diffusion

Two models for facilitated diffusion

Depict : (a) โปรตีนขนส่ง (สีม่วง) มีช่องที่ทำให้น้ำหรือสารที่มีความจำเพาะผ่านได้ (b) โปรตีนขนส่ง สามารถเปลี่ยนรูปร่าง (conformation) ได้ 2 แบบ ซึ่งทำให้สารจำเพาะผ่านเมมเบรนได้ โดยโปรตีนขนส่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะที่สารผ่าน (หมายเหตุ เป็นการขนส่งสาร จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงมายังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ)

Active transport

     เราพบว่ามีสารละลาย (หรือ ions) บางชนิด สามารถผ่านเมมเบรนโดยต้าน Concentration gradient ได้ คือ เคลื่อนที่ผ่านเมมเบรนจากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงได้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้พลังงาน (ATP) จากเซลล์ เปรียบเสมือนการเข็นของขึ้นภูเขาย่อมต้องออกแรงบ้างเป็นธรรมดา

    ในเซลล์จะมีระบบคล้ายปั๊มน้ำ ปั๊มสารละลาย (หรือ ions) ผ่านช่องโปรตีนขนส่ง (transport protein) ดังภาพด้านล่าง เราเรียกการขนส่งสารแบบนี้ว่า active transport

Sodium-potassium pump 

 กรณีศึกษาของ active transport

depict : Sodium-potassium pump ระบบขนส่งสารนี้เป็นระบบที่ขนส่งสารต้าน Concentration gradient, โดยปั๊ม (transport protein) นี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 2 แบบ โดยจะมีการนำ (Na+ ion) 3 โมเลกุลออกไปจากเซลล์ และ มีการนำ (K+ ion) 2 โมเลกุลแทนที่เข้าไปในเซลล์ (เสมอ) ทั้งนี้โดยได้พลังงานมาจาก ATP ซึ่งจะถ่ายทอด Phosphate group ไปจับกับโปรตีนขนส่ง (เป็นโปรตีนจำเพาะ)

     ต่อไปเป็นภาพสรุปเรื่อง passive และ active transport ครับ

Passive & Active transport 

ทบทวน : การเปรียบเทียบเรื่อง passive และ active transport

ชมภาพ Animation ได้ที่นี่ : http://www.brookscole.com/chemistry_d/
templates/student_resources/shared_resources/animations/ion_
pump/ionpump.html

ต่อไปเป็นภาพตัวอย่างของ Electrogenic pump และ cotransport ครับ (ศึกษาจากภาพ)

Electrogenic pump Cotransport

 Electronic pump

Cotransport

เรื่องต่อไปศึกษาด้วยตัวเองจากภาพด้านล่างครับ เป็น Endocytosis (การนำสารเข้าสู่เซลล์) 3 แบบครับ

Endocytosis 
Depict : Endocytosis ในเซลล์สัตว์ 3 แบบ (a) Phagocytosis (b) Pinocytosis (c) Receptor-mediated endocytosis

 

 

อ้างอิง : Biology ของ N.A Campbell และ J.B. Reece ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 สำนักพิมพ์ Pearson Education International

คำสำคัญ (Tags): #cell and molecular biology
หมายเลขบันทึก: 105471เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
ชอบภาพของอาจารย์มากค่ะ ดูแล้วเข้าใจง่ายดีขึ้น

ชอบรูปมากเลยค่ะ  สวยดี  บางรูปก็น่ากิน  555+

แต่ดูแล้วจำง่ายดีนะคะ  ขอบคุณค่ะอาจารย์

  • ขอบคุณ เฟรชชี่ปี1 ครับ

ชอบมากๆคับ  เอาไปสอบพอดีเลย

  • ขอบคุณที่มาทิ้งรอยไว้ครับ
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ ><

ขอบคุณที่แวะมาบอกครับ darksho

มีรูปภาพให้ดูทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

  • ขอบคุณนิสิตปี 1 และ แอ๊บ ที่มาทิ้งรอยไว้ครับ

ขอบคุณสำหรับทุกบันทึกค่ะ ขออนุญาติไล่อ่านไปทีละบันทึกนะคะ ทบทวนค่ะ

อาจารย์ค่ะ แล้วเรื่องความหลากหลายของสัตว์ มันอยู่ไหนล่ะค่ะ รหัสวิชาไบโอที่เรียน คือ 258101 ค่ะ

ขอบคุณมากกกกกค่ะอาจารย์ ภาษาเข้าใจง่ายดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท