ข้อคิดจาก... ศ. นพ สมบูรณ์ เทียนทอง


ข้อคิดการเขียนเรื่องเล่า
วันนี้ 22 มิถุนายน 2550 ดิฉัน อุบล  จ๋วงพานิช เดินมากับกลุ่มวิทยากร สอน Paper writing
เดินมาพบ ศ. นพ สมบูรณ์ เทียนทอง อาจารย์พูดกับพวกเราว่า เราจะให้ชุมชนของเรา
เขียนเรื่องเล่า อย่างไร ให้น่าอ่าน  น่าติดตาม 
เราได้โจทย์ที่น่าสนใจ
ทำให้ได้ ข้อคิดจาก..... ศ นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง 
ทำไม.....เวลาเราพูด เราถึงเขียนสิ่งที่อยากจะพูดให้คนอื่นฟังไม่ได้ 
ที่จริงแล้ว  การเขียนเรื่องเล่า (Story telling)..........
เราก็แค่  เขียน..ตามสิ่งที่อยากจะเล่า  ก็น่าจะได้ใช่ไหมคะ ....อาจารย์สมบูรณ์

 

หมายเลขบันทึก: 105555เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

วันนี้ดิฉัน(อุบล  จ๋วงพานิช)ได้ข้อคิดหลายอย่าง

เวลาจะเขียนตีพิมพ์ ก็รู้สึกว่ายาก

เวลาจะเขียนเรื่องที่เล่า  ตามคำพูด ก็เขียนยาก

สรุปว่ายากทั้งสองอย่าง

แต่อย่างไร ก็ตาม น้องๆพยาบาลที่อบรมการเขียน เพื่อตีพิมพ์ ได้ประเด็นไปเขียนคนละหลายเรื่อง

อีก 3 เดือน เราจะติดตามงานกันต่อค่ะ

ส่วนการเขียนเรื่องเล่า ก็มีน้องพยาบาลหลายคนอยากเป็นนักเขียน ใน blog นี้เช่นเดียวกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณอุบล

  • อยากเขียนให้น่าสนใจน่าสนใจเหมือนกัน บอกวิธีด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ Pa Dang

จากการที่เชิญ รศ. ดร. จินตนา  ตั้งวรพงศ์ชัย บรรณาธิการวารสาร พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยาย เรื่อง การประเมินการเขียนบทความทางวิชาการและรายงานการวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่และปัญหาที่พบ

อาจารย์สรุปว่า

บทความที่ดี

จะต้องใช้ภาษาดี โดยการเลือกคำ การเขียนประโยค การย่อหน้า

มีเนื้อหาสาระครบถ้วน ถูกต้องเหมาะสม

เรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ

อ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน

มีรูปแบบการเขียนสอดคล้องตามแบบฟอร์มวารสาร

 

 ดิฉัน อุบล จ๋วงพานิช ได้อ่าน

KM (ภาคปฏิบัติ) วันละคำ : 13. เรื่องเล่า

(วิจารณ์ พานิช  ๑๙ กพ. ๔๙) อาจารย์บอกว่า

  •  เรื่องเล่าคือ สำเภาบรรทุกความรู้บูรณาการ”  หรือนาวาความรู้ปฏิบัติ
  •   ความรู้ปฏิบัติไม่ใช่ความรู้แยกส่วนอย่างที่เราคุ้นเคย    แต่เป็นความรู้ที่ผสมปนเปกันแบบต้มยำ หรือขนมเปียกปูน   
  • การนำเสนอความรู้แบบแยกสรุปเป็นข้อๆ จึงไม่ได้ความรู้เพื่อการปฏิบัติ หรือเพื่อการประยุกต์ใช้
  • เรื่องเล่าที่ดีต้องมีรายละเอียด    ไม่ข้ามขั้นตอน    ต้องบอกความรู้สึกของผู้เล่า  ถ้อยคำ/ท่าทาง ของตัวละคร  บรรยากาศของเหตุการณ์ อย่างละเอียด    ในเรื่องราวเหล่านั้นมีความรู้ปฏิบัติสู่ความสำเร็จ
  • ควรบันทึกเรื่องเล่าไว้ในหลากหลายรูปแบบ   เช่นวิดีโอ   บันทึกเสียง และภาพนิ่ง    บันทึกเรื่องราวเป็นตัวอักษร    บันทึก ขุมความรู้จากเรื่องเล่า     ต้องไม่ลืมบันทึกชื่อและสถานที่ติดต่อผู้เล่า    ที่จริงเรื่องเล่านั้นเป็นผลผลิตของทั้งผู้เล่าและผู้ฟัง
http://gotoknow.org/blog/thaikm/16491

คิดถึงอาจารย์ นพ.สมบูรณ์ ครับ

ว่าด้วยเรื่องเล่า ผมมีความเห็นดังนี้ครับ

  • เขียนสิ่งตนเองถนัด และรักที่จะเขียนจะเขียนได้ดี
  • ใส่อารมณ์ ความรู้สึกจริงๆขณะนั้นลงไปเพื่อให้บันทึกมีชีวิต
  • มีประเด็นหลักที่จะสื่อ และสื่อออกไป
  • มีเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจประเด็น
  • มีสรุปประเด็น ขมวดความคิดที่ฟุ้งกระจายนั้น
  • มีรูปภาพประกอบจะทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
  • การเลือกใช้คำแทนความรู้สึก...ที่สะท้อนความรู้สึกเราได้ดี
  • ตอนจบอาจมีการหักมุมก็ได้เพื่อความน่าสนใจครับ

ทั้งหมดตามสิ่งที่ผมปฏิบัติมาโดยตลอดครับ ลองนำไปใช้ประกอบดูบ้างก็ได้ครับ

 

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

 ขอบคุณนะคะที่เข้ามาให้ข้อคิดดีดี

ดิฉันพบกับ อ. สมบูรณ์ เทียนทอง

อาจารย์บอกว่า มีคนคิดถึงอาจารย์มากมาย ทั้ง ศ. นพ วิจารณ์ พานิช ก็บอกว่าคิดถึง

ช่วงนี้อาจารย์ หายไปจากชาว Blog

อาจารย์สมบูรณ์  ช่วยตอบด่วนค่ะ

จากอุบล  จ๋วงพานิช

พอดีไปพบ Slide นี้ค่ะ

เลยนำมาฝากผู้อ่าน

ถ้าเราสามารถดึง Tacit K จากเรื่องเล่าออกมาได้

น่าจะทำให้ KM มีพลังได้ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท