การเรียนดี (สุ จิ ปุ ลิ)


สติยิ่งมากยิ่งดี สมาธิมากไปก็หลง วิปัสสนามากไปก็ฟุ้งซ่าน...อุปมาสติเป็นน้ำในตุ่ม เต็มเมื่อไรเอาไปแลก มรรค แลก ผล มีพระนิพพานเป็นที่ไป
ฟัง คิด ถาม เขียน หรือ สุ จิ ปุ ลิ อธิบายได้สองแบบๆ ดังนี้แบบเดิมๆ คือ ฟังเข้าสมอง คิดในสมอง เอาสัญญาในสมอง มาร่วมคิด ถามก็ตามสมองคิดยังไม่ได้ทำเลยก็มีเขียน คือจดในกระดาษกันลืม หรือจดในสมอง คือจำได้แบบธรรมะปฏิบัติ"สุ" คือ ฟัง คิด ถาม เขียน แบบกระทรวงศึกษาสอนไว้ ทั้งสี่นั้นแหละ เช่น อ่านธรรมะ อ่านตำรา ฟังบัณฑิตสอน อ่านที่จดไว้ ท่องไว้ ถามโน่น ถามนี่...ทั้งหมดเกิดขึ้นในระดับ "สมอง""จิ" คือ เมื่อมี "สุ" เป็นขันธ์ห้ากระทบเข้ามาแล้ว เราก็ใช้โยนิโสมนสิการทำให้จิตใจสงบ (ทำในใจหรือบางท่าน แปลว่า ทำใจให้แยบคายนั่นเอง) น้อมระลึกเข้าไปดูภายในใจ ใช้สติ ใช้ปัญญา...ปฎิบัติธรรมนะทำได้ทุกเสี้ยววินาที ไม่ต้องรอไปนั่งสมาธิ เกินจงกรม..ที่ตรงไหนก็น้อมระลึกดูจิตของเราได้...ที่ไหนก็ปฎิบัติได้...จิ คือ ตามดูรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ทัน คิดตามว่า มันก่อตัวอย่างไร...เราเคยหลงไปตามความคิดไหม...รู้ตัวไหมว่าหลงไปตามความคิด...จิ นั้น จะว่าไปแล้ว คือ คิดได้ ระลึกได้ ก็คือมี "สติ" นั่นเอง... มีสัมปะชัญยะ ตามสติมาอย่างติดๆ ใช้แยกแยะรู้ว่าจิตเป็นกุศล/อกุศล/ไม่กุศลและไม่อกุศล..."ปุ" คือ เมื่อมีปัญหา มีข้อข้องขึ้นมา หรือเมื่อรับรู่ แยกแยะได้ว่าจิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเป็นธรรมแบบไหน (ธรรมมีสามแบบ คือ กุศล อกุศล และอัพยากฤต) ...เรา ก็จะหาทางทำให้จิตสงบ นิ่งโล่งว่าง... หาปัญญามาทำให้ข้อขัดข้องนั้น กระจ่างรู้เท่าทัน รู้ตามความเป็นจริง...ใช้การเรียนรู้ธรรมะ แบบที่เรียกกันว่า "ทุกข์ไม่มาปัญญาไม่เกิด" เอาคนรอบข้างเป็นโจทย์ฝึกจิตของเรา

"ลิ" คือ เมื่อฝึก จิตดูจิตไปเรื่อยๆ กำลังสติ กำลังปัญญา จะมากขึ้นเรื่อยๆ บางท่านจะร้องอ๋อ เข้าใจ แล้วอะไรที่สงสัยก็เบาไปหายไป จิตจะโล่งโปร่งสบาย...นี่แหละ เป็น "ลิ" ละ... แต่เป็นลิขิตในแบบนามธรรมเขียนไว้ที่จิตที่ใจ เขียนแบบถาวรลบไม่ได้... ขโมยไม่ได้... และสะสมเป็นสติปัญญาใช้ข้ามภพข้ามชาติได้...หมั่นฝึกสร้างสติทำความเข้าใจ แยกจิตแยกขันธ์ห้า

พ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่เทศน์ (วัดหินหมากแป้ง) ท่านเคยสอนไว้ในทำนองที่ว่าสติยิ่งมากยิ่งดี สมาธิมากไปก็หลง วิปัสสนามากไปก็ฟุ้งซ่าน...อุปมาสติเป็นน้ำในตุ่ม เต็มเมื่อไรเอาไปแลก มรรค แลก ผล มีพระนิพพานเป็นที่ไป

หมายเลขบันทึก: 105718เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท