แนวทางการพัฒนาคุณภาพผลผลิตลองกอง


การพัฒนาลองกอง
แนวทางการพัฒนาคุณภาพผลผลิต
ลองกองในสภาวะวิกฤตด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดยะลา ปี 2550

จากสภาพปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ปริมาณผลผลิตลองกอง ซึ่งจากผลคาดคะเนผลผลิตใน ปี 2550 จะมีผลผลิตประมาณ 31,231 ตัน และปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกลองกองในจังหวัดยะลา ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ (ข้อมูลจากทะเบียนผู้ปลูกลองกอง     ปี 2548) พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 58 – 72 ร้อยละ 68 เมื่อได้รับการถ่ายความรู้หรือเทคโนโลยีไปแล้วไม่สามารถดำเนินการเองได้ เพราะขาดทักษะและความชำนาญในการนำวิชาการไปสู่การปฏิบัติ จึงเป็นปัญหาทำให้คุณภาพผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาจึงได้นำประเด็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพผลผลิตลองกองเข้าที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ (DW) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 ณ โรงแรมยะลามายเฮ้าส์  อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีเกษตรอำเภอรามัน (นายนิพนธ์ เพ็ญสุวรรณ) เป็นประธาน และมีผู้ตรวจราชการของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ (นายชลิต ดำรงศักดิ์) เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าวด้วย เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง ปี 2550 โดย ที่ประชุมได้เสนอแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้างต้น สรุปได้ดังนี้


1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์คัดแยก ฯ เพื่อชี้แจงและเร่งรณรงค์สมาชิกปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง  (ตามหลักวิชาการ) 
 2. ศูนย์คัดแยก ฯ จัดตั้งเป็นองค์กรเครือข่ายระดับอำเภอ เพื่อให้เกิดเอกภาพ สะดวกและง่ายต่อการบริหารจัดการทั้งด้านข้อมูล การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการตลาด
3. ขอความร่วมมือเจ้าของแปลงเรียนรู้ โรงเรียนเกษตรกร และวิทยากรเกษตรกร ให้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกและเกษตรกรทั่วไป ในเรื่อง การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การตัดแต่งช่อดอกและช่อผลลองกอง"
4. ขอความร่วมมือ อบต. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทั่วไปร่วมปรับปรุงภาพผลผลิตและเข้ารับการเรียนรู้เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง  ณ โรงเรียนเกษตรกรไม้ผลในพื้นที่ หรือแปลงเรียนรู้ของแต่ละชุมชนที่มีอยู่แล้ว
5. เกษตรกรอาสาสมัครฯ ประชาสัมพันธ์และชักชวนเกษตรกรเร่งปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ทันฤดูกาล
6. จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับ ช่วยประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง โดยใช้สื่อ   ทุกรูปแบบ ทุกช่องทาง 
7. ให้คณะกรรมการศูนย์คัดแยก ฯ สร้างเครือข่ายและกลุ่มทำสวนในรูปการทำงาน แบบลงแขก  ทีมละ 3-5 คน ช่วยกัน ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง (การตัดแต่งช่อดอกและช่อผล) เพื่อความปลอดภัยในชีวิต
8. คัดเลือกพื้นที่ที่ปลอดภัยเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อทำเป็นต้นแบบ ในการประชาสัมพันธ์
9. สนับสนุนงบประมาณในการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรตระหนักในการปรับปรุงคุณภาพทางสื่อต่าง ๆ 
10. ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรมากขึ้นในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เพื่อเป็นเกษตรกรมืออาชีพ หรือ  เกษตรกรนักส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตร ให้ครอบคุมทุกพื้นที่ทุกตำบล
11. จัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพผลผลิตไม้ผลในปีต่อๆไป โดยเน้นการพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะ ความชำนาญ และเป็นเกษตรกรมืออาชีพ เพื่อเป็นตัวแทนเกษตรกรผู้ผลิตไม้ผลในอนาคต การแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่สูงอายุ     ปัญหาเกษตรกรไม่กล้าเข้าไปทำสวนเนื่องจากความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ และปัญหาเยาวชนผู้ว่างงานซึ่งอาจถูกผู้ไม่หวังดีชักนำไป ก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ได้ จึงมีความจำเป็นต้องดึงเยาวชนมาเป็นแนวร่วมในการพัฒนาอาชีพการทำสวนไม้ผล โดยการ      จ้างแรงงานเยาวชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตลองกองเชิงบูรณา และการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตไม้ผล   ด้วยโครงการเยาวชนลองกองมืออาชีพ  เยาวชนคอมมานโดลองกอง

 


       

คำสำคัญ (Tags): #ลองกอง
หมายเลขบันทึก: 106250เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาทักทาย และให้กำลังใจลูกพี่        

ชอบทานลองกองม้ากกกกก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท