วิธีการเรียนการสอนแบบจัดการกันเองโดยกลุ่มผู้เรียน


Self - Organized  Teamwork  training  คือ แนวทางการสอนแบบใหม่ที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ครูเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวก  (moderator / facilitator)ในการเรียนรู้ของผู้เรียนแทนการเรียนการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เป็นผู้ให้และผู้ป้อนความรู้ (Lecturer)  แก่ผู้เรียนเพียงผู้เดียว
 แนวความคิดของการเรียนการสอนแบบจัดการกันเองโดยกลุ่มผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในสมรรถภาพทั้ง  3  ด้าน  
      วิชาชีพ          สังคม        ตนเอง
 เปลี่ยนบทบาทของครูจากการสอนแบบ “ผู้ป้อน”  มาเป็นแบบ “ผู้อำนวยความสะดวก”  แก่ผู้เรียนเพิ่มสมรรถภาพในการเรียนรู้ในอนาคต  มากกว่าการนำเสนอ  หรือท่องจำความรู้ทางเทคนิคที่มีอยู่นำตัวอย่างหรืองานจริงมาใช้ในบทเรียนเพื่อท้าทายผู้เรียนมากกว่าการเรียนเนื้อหาทั้งหมดที่มีอยู่ในตำราให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง  และกลุ่มผู้เรียน  รวมทั้งการประเมินผล  ตนเอง  และกลุ่มแหล่งข้อมูลมิใช่จากอาจารย์   ตำราหรือสื่อการสอนที่ผู้สอนจัดให้เท่านั้น การสอบยังคงสามารถใช้ตามแบบเดิมได้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แต่ต้องเน้นงานจริง  เนื้อหาสาระในการสอบต้องสอดคล้องกับงานจริง ๆในวิชาชีพนั้น ๆ
 ขั้นตอนหลักของการเรียนรู้แบบ SOT
 (Self - Organized Teamwork Training)
 ขั้นที่ 1  การกำหนดงานหรือปัญหาที่ต้องการ
 ขั้นที่ 2  การทำงานกลุ่มเพื่อหาคำตอบ / แผนการปฏิบัติงาน
 ขั้นที่ 3  การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขคำตอบ / แผนการปฏิบัติงาน
 ขั้นที่ 4  การนำแผนไปปฏิบัติ
 ขั้นที่ 5  การประเมินผลขั้นสุดท้าย
 รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของ SOT
 ขั้นที่ 1 การกำหนดงานหรือปัญหาที่ต้องการ  [รวมกลุ่มผู้เรียน]
    ครูกำหนดงานหรือปัญหาที่เหมาะสม
    ครูจัดเตรียมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้พร้อม และแนะนำแหล่งข้อมูลตามความจำเป็น
    ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจงานที่มอบหมาย และกำหนดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของผู้เรียนที่จำเป็นต้องใช้ทำงานนั้นให้สำเร็จ
    พิจารณาความรู้เดิมของนักเรียนที่มีอยู่แล้วในกลุ่มกับความรู้หรือทักษะใหม่ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานที่มอบหมาย
    ให้ผู้เรียนช่วยกันกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลงานโดยมีครูคอยช่วยกำกับดูแลความเหมาะสม
   ครูเป็นผู้วินิจฉัยในตอนท้ายว่างานที่มอบหมายให้เหมาะสมกับความรู้และทักษะของผู้เรียนตามที่ได้วางแผนบทเรียนมาหรือไม่
 ขั้นที่ 2  การทำงานกลุ่มเพื่อหาคำตอบ  [แยกกลุ่มทำงาน]
    กลุ่มผู้เรียนแยกการทำงานเป็นกลุ่ม (กลุ่มละ ประมาณ  3-5คน)
    ผู้สอนคอยให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นถ้าผู้เรียนร้องขอระหว่างทำงานกลุ่ม
    ผู้สอนสามารถสังเกตุการณ์ดูพฤติกรรมของผู้เรียนในระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่ม
 ขั้นที่ 3  การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขคำตอบ  [รวมกลุ่มผู้เรียน]
    ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานต่อกลุ่มรวม
    สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดการแข่งขันเพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลงานระหว่างกลุ่มผู้เรียน
    ใช้เกณฑ์ประเมินผลงานเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผลงานแต่ละกลุ่มโดยผู้เรียน
    ผู้สอนคอยควบคุมการประเมินผลระหว่างกลุ่มผู้เรียนและแทรกแซงตามความจำเป็น
        โดยการถามคำถามในกรณีการนำเสนอไม่ชัดเจนและไม่มีกลุ่มผู้เรียนใดเห็นจุดอ่อนนั้น ๆ
    สรุปประเมินผลงานพร้อมข้อเสนอแนะแก้ไขร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้เรียนและครู
    ถ้ามีการนำแผนงานปฏิบัติหรือมอบงานปฏิบัติใหม่ทำตามขั้นตอน1ใหม่
 ขั้นที่ 4  การนำแผนไปปฏิบัติ  [แยกการทำงานเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล]
    การนำแผนการปฏิบัติงาน เช่นงานแก้ปัญหา (ซ่อมบำรุง) หรืองานผลิตไปปฏิบัติ
   ผู้สอนและผู้เรียนจัดเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องจักร
    ผู้สอนคอยสังเกตการณ์และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
    ผู้สอนให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและระมัดระวังเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดจากการปฏิบัติงาน
 ขั้นที่ 5  การประเมินผลขั้นสุดท้าย  [รวมกลุ่มผู้เรียน]
    นำเสนอผลงานโดยผู้เรียน
    ประเมินผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกัน
    ข้อเสนอแนะและการปรับปรุงแก้ไข
 เหตุผล 10 ประการที่สนับสนุนการนำวิธีการเรียนการสอนแบบจัดการกันเองโดยกลุ่มผู้เรียน (Self Organized  Team  Learning)
 1.เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างโรงเรียนกับโรงงานหลักสูตรเน้นการจัดการเกี่ยวกับปัญหาเน้นตัวอย่างงานจริงในอุตสาหกรรมไม่ควรเน้นรายละเอียดทุกเรื่องในสาขาวิชานั้น
 2.เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการเรียนรู้ในอนาคตมากกว่าการนำเสนอความรู้เทคนิคที่มีอยู่
 3.การนำงานจริงมาเรียนจะช่วยเพิ่มความท้าทายในการเรียนรู้ของผู้เรียน
 4.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุม   และแก้ไขปัญหางานต่าง ๆ  ได้ด้วยตนเอง  และหรือทีมงานซึ่งต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง
 5.ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ป้อน  (Lecturer)  มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน  (Facilitator / Moderator / Coach)
 6.เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างครูกับนักเรียนให้น้อยลง
 7.ครูที่มีจุดอ่อนทางด้านวิชาเทคนิค   ยังคงสามารถทำหน้าที่ ที่ดีในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียน
 8. การนำปัญหาจริงในโรงงานมาเรียน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับสถานประกอบการดีขึ้น
 9.การติดต่อระหว่างครูกับวิศวกรโรงงานในท้องถิ่นจะมีมากขึ้น
 10. ผู้ประกอบการจะได้ผู้เรียนที่มีความสามารถสอดคล้องกับงานจริงมากขึ้น
 
 สุดยอดของการสอนคือ  “การสอนโดยไม่ต้องสอน” การให้การแนะนำน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นและการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยความสามารถของพวกเขาเอง


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์..วรรธนชัย ๏(。◕‿◕。)๏ ♫ ♬ ♪ ♩ ♭  

  • นักเรียนของครูอ้อยยังน้อยนัก  ยังเรียนแบบนี้ไม่ได้ค่ะ
  • แต่ครูอ้อยก็ประยุกต์ให้เหมาะสมกับนักเรียนค่ะ เช่น  เน้นการคิด  กลุ่ม  และการนำไปใช้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณน่ะค่ะสำหรับข้อมูล ขอใช้ในการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครูหน่อยค่ะ  ช่วยได้มากเลยทีเดียว อนาคตเป็นครูอาจได้ใช้วิธีนี้ก็ได้ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

   ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลดีดี ตอนนี้หนูเรียนอยู่คณะศึกษาศษสตร์ชั้นปีที่ 3 แล้ว เมื่อจบการศึกษาไปและได้เป็นครู หนูจะนำความรู้และหลักการสอนที่ได้ในวันนี้ไปใช้นะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท