KM.13 “Banprak KM-CQI Rally Festival 2007” การปลุกเร้าหัวใจสู่ CQI (Continuous Quality Improvement) ต่อเนื่อง


การปรับประยุกต์ 3 หลักการใหญ่ คือ CQI -KM-Rally มาเชื่อมโยงสู่การกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง

        เทศกาลแข่งขันจัดการความรู้สู่คุณภาพ “Banprak KM-CQI Rally Festival  2007” อีก 1 style ของการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของบุคลากรในองค์กรและเครือข่ายระดับอำเภอและจังหวัดของเราชาว “บ้านแพรก” ที่ผู้ประสานงานคุณภาพตัวเล็กๆ ใน รพ.เล็กๆ ได้ปรับประยุกต์ 3 หลักการใหญ่ คือ CQI -KM-Rally มาเชื่อมโยงสู่การกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง

 


อะไรหรือ? คือความเป็นมา
        • การพัฒนางานนั้นจำเป็นต้องมีการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นก็ลืมเลือนกันไป และจากข้อสังเกต พบว่า การพัฒนาที่เป็นไปตามยถากรรมนั้น กระบวนการ CQI จะหดหายไปทีละขั้น จนไม่เหลือรูปแบบ (ทำงานประจำวันไปวันๆ..ไม่รู้ว่าปัญหาที่สำคัญที่ควรหยิบมาพัฒนาคืออะไร..ไม่มีเป้าหมายชัดเจน และไม่ติดตามผล) หรือ เมื่อสรุปผลการพัฒนาคุณภาพก็จะเห็นว่า ที่มาของปัญหา,เป้าหมาย ,ตัวชี้วัด ไปคนละทาง รวมทั้งประเมินผล ไปคนละด้านหรือ ไม่มีการประเมินผล) ซึ่งปัญหานี้เท่าที่สังเกตดูจะเป็นเกือบทุกที่  เนื่องจากต้องไปเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาคุณภาพ ระดับจังหวัด ซึ่งบางครั้งต้องไปเป็นผู้วิพากษ์ หรือคณะกรรมการตัดสิน นวัตกรรม หรือกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ที่ในจังหวัดจัดแสดงหรือการจัดมหกรรมคุณภาพ 


        • รูปแบบการจัดมหกรรมคุณภาพประจำปีดั้งเดิมของ รพ. มักจะจัดเพียงวันเดียว (งบประมาณน้อย ) บางครั้งที่เชื้อเชิญเครือข่ายระดับจังหวัด หรือ ต่างจังหวัดมาฟัง แต่พวกเรากันเองใน รพ.หรือเครือข่ายได้ฟังน้อยเพราะต้องทำงานใน รพ.ไม่มีเวลามาฟัง... และการฟัง ก็มักจะฟังเฉยๆ มิได้มีการแลกเปลี่ยนอะไร ส่วนการประเมินผลก็เพียงสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบฟอร์ม ทั่วๆ ไปที่ใช้กันอยู่ ซึ่งก็เป็นเรื่องความพึงพอใจ และข้อคิดเห็นเพิ่มเติม


        • การจัดรูปแบบเดิมๆ เจ้าหน้าที่เริ่มเคยชิน ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาในการคิดพัฒนางาน การสรุปผลงาน และการนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบ (อันเป็นธรรมดาของมนุษย์ เมื่อรู้หรือเคยทำแล้วก็เริ่มเบื่อ)


        • ในปีที่แล้วจัดเป็นเทศกาล 2 สัปดาห์โดยให้หน่วยงานตั้งจุดแสดงผลงานที่หน่วยงานเลย แล้ว ให้ทุกคนเข้าไปเรียนรู้โดยมีแบบฟอร์มให้สรุป และมีลายเซ็นของเจ้าของหน่วยงานที่นำเสนอผลงาน และผู้เรียนรู้ให้ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันตามความพอใจ  ผลออกมาค่อนข้างดี คือ เจ้าหน้าที่รู้สึกดีกว่าทุกครั้งในการจัดมหกรรมคุณภาพ ที่มีการได้เข้าไปเรียนรู้กันและกัน แต่ปัญหาคือ บางทีไปเป็นกลุ่มก็ดี แต่ถ้าไปเดี่ยวๆ คนอธิบายจะเหนื่อย วางแผนการทำงานของหน่วยงานลำบาก บางคนก็ติดงานประจำไม่กล้าไป ถ้าหัวหน้าไม่จัดการให้ไป ผู้ประสานงานคุณภาพต้องโทรไปเตือนหัวหน้า...และช่วยจัดการเป็นธุระให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าร่วมกันมากที่สุด รวมถึง เจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนก็ให้ความสนใจมาร่วมเรียนรู้


        • เหล่านี้เป็นการจัดการความรู้ครั้งใหญ่ประจำปีเท่านั้น ปกติจะมีเวทีเรียนรู้ประจำเดือนและ ในวาระต่างๆ แทรกอยู่ในการปฏิบัติงานหรือตามโครงการ KM เป็นระยะๆ อยู่ด้วย
         ซึ่งปัญหาหรือบทเรียนจากทุกครั้งถูกนำมาเป็นข้อมูลจำเป็นพื้นฐานในการจัดมหกรรมการนำเสนอผลงานคุณภาพในครั้งต่อไป ถ้าจะเปรียบนี่ก็คือ บริบทของการจัดงานมหกรรมคุณภาพของเราชาว รพ.บ้านแพรก นั่นเอง
       

  แค่ความเป็นมาอย่างย่อๆ ก็เยอะแล้ว... ถ้าสนใจติดตามก็ไปต่อวัตถุประสงค์ในการจัดที่บันทึกต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 107519เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2007 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาดูกิจกรรมครับ
  • มีกิจกรรมดีจังเลย
  • อยากทราบผลการจัดกิจกรรมว่าเป็นอย่างไรบ้างทำ BAR ไว้ด้วยนะครับ
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีค่ะ...คุณน้อง-อาจารย์ขจิต

  • ขนาดวุ่นๆ ยังแวะมาเยี่ยมเยือน ดีใจที่มีแขกมาค่ะ..ยินดีต้อนรับเสมอ...สำหรับคนใจดี..
  • ขอบคุณนะคะที่เข้ามาให้ความคิดเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท