บทเรียนจากศิลปิน


          ในการที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับผู้มีอาชีพศิลปิน พบว่าศิลปินจะมองโลกด้วยอารมณ์ขันมากกว่าพวกเรา  เมื่อเล่าเรื่องกรณีผิดพลั้งที่เคยเกิดขึ้นในโรงพยาบาลให้เขาฟังเป็นตัวอย่าง (เรื่องที่เล่านี้ดูธรรมดามากสำหรับเรา จนพวกเราที่นั่งฟังอยู่ด้วยก้น ไม่มีใครจำได้สักคนว่าผมเล่าเรื่องอะไรออกไป) เขาจะมองเรื่องเหล่านั้นทั้งในแง่ที่เป็นอารมณ์ขันและสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระได้ในขณะเดียวกัน  ทั้งนี้เนื่องจากศิลปินที่ทำงานสร้างสรรค์ จะมองถึงวิธีการสื่อสารที่จับใจผู้ชม  การประชาสัมพันธ์อาจจะออกมาในรูปแบบที่ทำให้ผู้คนประทับใจกับสิ่งแปลกๆ ที่พบเห็น ซึ่งทำให้เกิดการกล่าวขวัญต่อไปอีกแบบปากต่อปาก 

          ศิลปินได้ปรับทุกข์ต่อไปด้วยว่าอยากจะสร้างสรรค์รายการดีๆ ให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักความเป็นจริงของสังคมในแง่มุมต่างๆ  เพื่อให้มีทางเลือกที่ดีกว่าแทนที่จะดูเกมส์โชว์ที่ไร้สาระเช่นเกมจำหน้าคน  แต่ก็เป็นการยากที่จะผลิตรายการดีๆ เหล่านั้น  เพราะสถานีโทรทัศน์ที่เลขช่องต่ำกว่า 10 จะไม่พิจารณารายการเหล่านี้ไว้ในผังรายการ โดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นที่นิยมของผู้ดู  รายการดีๆ จึงต้องไปออกอากาศในช่องที่เลขสูงกว่า 10 ซึ่งไม่ค่อยมีคนดู  เมื่อถามว่าทำไมจึงไม่เป็นที่นิยมของคนดู ก็ได้คำตอบว่าเพราะคนทำทำรายการที่มีคุณภาพไม่เป็น   จึงไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่มีสาระออกมาให้เกิดความน่าสนใจได้

          ข้อน่าคิดสองประการจากการพูดคุยกันในวันนี้ก็คือ 1. เมื่อมองโลกด้วยอารมณ์ขันบ้าง เราอาจจะเห็นทางออกหรือใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้ดีขึ้น  2. การสื่อสารในบริการสุขภาพอาจจะได้ผลดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าเราให้ความสำคัญกับคุณภาพของการสื่อสาร ทำให้เกิดความน่าสนใจ สร้างความรู้สึกที่ต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธีการที่แยบยล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10795เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2005 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท