Guru Banpru
นาย นายอารดือนา แบนัง บินมะหามัดดิน

เปิดท้ายขาย KM


เตรียมพร้อมKM,ประวัติโรงเรียน,วิสัยทัศน์,พันธกิจ และเป้าประสงค์

ตลาดนัดความรู้ 4 ภูมิภาค KM กับการพัฒนาภายในองค์กรโรงเรียนบ้านพรุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต1 คือ 1 ใน 4 โรงเรียนแกนนำ ของโครงการวิจัย KM ของเขตพื้นที่ ตอนนี้กำลังเตรียมงานการจัดการความรู้ภายในองค์กร เพื่อเข้าร่วมงานมหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ 4 ภูมิภาค ที่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 4 - 5 สิงหาคมนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ(หัวปลา) บ้านพรุสวย ด้วยมือเรา ซึ่งทางโรงเรียนมีความคาดหวังว่า การเข้าร่วมงานมหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ 4 ภูมิภาค ในครั้งนี้ คงจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของ KM (ที่ไม่ใช่ MK) เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำมาพัฒนาองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ,คุณภาพเพิ่มขึ้น และให้ประสบผลสำเร็จ ตามหัวปลาที่ตั้งไว้

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา 
  
ข้อมูลทั่วไป 
       โรงเรียนบ้านพรุ  ตั้งอยู่  หมู่ที่ 3   ตำบลท่าธง     อำเภอรามัน    จังหวัดยะลา    รหัสไปรษณีย์ 95140โทรศัพท์    0-7322-9103        โทรสาร   -              สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ยะลา เขต 1  เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถม (อนุบาลปีที่ 1) ถึง ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6)  (ช่วงชั้นที่ 2 )         ประวัติของสถานศึกษา   (ความเป็นมา  วันที่ก่อตั้ง  สภาพทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ)โรงเรียนบ้านพรุ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลท่าธง อำเภอรามัน  จังหวัดยะลา  โทรศัพท์ 0-7322-9103  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1   ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2508  ตามโครงการขยายโรงเรียนประชาบาล 3 ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยก่อสร้างอาคารแบบ ป.1 ก.พิเศษ (วาตภัย) งบประมาณ 10,000 บาท ในเนื้อที่ 2 ไร่เศษ (ชาวบ้านบริจาค) เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 10  มีนาคม 2508 มีนักเรียนทั้งหมด 80 คนปี พ.ศ. 2515  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1ข.  ขนาด  3  ห้องเรียน  1  หลัง  งบประมาณ 120,000 บาท  และในปีเดียวกันได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้อาคารเรียนแบบ ป.1 ก.พิเศษ (วาตภัย) ได้รับความเสียหายและใช้การไม่ได้ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาจึงได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารแบบ ป. 1 ก. ขนาด  2 ห้องเรียน  1 หลัง งบประมาณ 100,000 บาท และเปิดทำการใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน  2519ปี พ.ศ. 2521  สภาตำบลท่าธง ได้ซื้อที่ดินให้โรงเรียนจำนวน  2  งานปี พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณจาก สปช. สร้างเรือนเพาะชำ  1  หลังปี พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณ จาก สปช. สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 202 /26 จำนวน  1 หลังปี พ.ศ. 2532  นายดือราแม  มะลีลาเต๊ะ  มอบที่ดินให้โรงเรียนจำนวน  2 งาน และได้รับจัดสรรงบประมาณจาก สปช. สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105 /29 ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,243,000 บาท และเปิดทำการใช้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2533ปี พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคาร สปช. 105 /29 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 180,000 บาทปี พ.ศ. 2548  อาคารเรียนแบบ ป. 1 ข. ถูกลอบวางเพลิง เมื่อวันที่ 17  มกราคม 2548  เสียหายทั้งหลังปี พ.ศ. 2548  ได้รับจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนทดแทนอาคารเรียนที่ถูกลอบวางเพลิง และต่อเติมอาคารเรียน เป็นเงินงบประมาณสำหรับอาคารเรียนแบบ สปช. 104 /26  จำนวน 3  ห้องเรียน 1 หลัง  เป็นเงิน 1,412,000 บาท และต่อเติมชั้นล่างอาคารเรียนแบบ สปช. 105 /29 ขนาด  2 ห้องเรียน เป็นเงิน  220,000  บาท  ตามหนังสือ สพท.ยล.1 ที่ ศธ 04119 /844  ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์  2548 และ หนังสือ สพท.ยล.1 ที่ ศธ 04119 /1228 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์  2548 ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จและพร้อมใช้งาน ปัจจุบันโรงเรียนบ้านพรุ มีเนื้อที่ทั้งหมด  2 ไร่ 2 งาน 83 ตารางวา  มีอาคารเรียนแบบ ป.1 ก.   ขนาด 2 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง  อาคารเรียน แบบ สปช. 105 /29  8  ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์แบบ 202 /26  จำนวน 1 หลัง  อาคารเรียน แบบ สปช. 104 /26  3  ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง 

    วิสัยทัศน์                        โรงเรียนกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนไว้ดังนี้ โรงเรียนจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติ พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคลากรมืออาชีพ การบริหารจัดการได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบภายใต้ความร่วมมือของชุมชน และองค์กรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการการจัดการเรียนการสอน 
 
  พันธกิจ          1.  ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการและยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนให้สูงขึ้น                2.  จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ เก่ง ดี มี สุข                3.  ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับท้องถิ่นและเน้นผู้เรียน  เป็นสำคัญ   4.  ส่งเสริมผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 5.  วางแผนการใช้ ซ่อมบำรุง และพัฒนา ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สะอาด สวยงาม   6.  พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้มาตรฐานคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโรงเรียนทุกด้านเพื่อเข้าสู่ระบบประกันคุณภาพการศึกษา   

           เป้าประสงค์     1.  นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาตามศักยภาพสู่มาตรฐานการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ                2.  นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาตามหลักสูตรที่กำหนด และสวัสดิการต่าง                 3.  บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลายและเหมาะสม                4.  การบริหารจัดการได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบภายใต้การร่วมมือของทุกฝ่าย                5.  มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เป็นแหล่งเรียนรู้ซึ่งเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้                6.  โรงเรียนได้มาตรฐานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา    
ยุทธศาสตร์  
1.  ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาเต็มศักยภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  2.  สนับสนุน ส่งเสริม เพิ่มมาตรการ กระตุ้นให้บุคลากร มีคุณธรรม จริยธรรม เห็นประโยชน์ส่วนรวมในการจัดการเรียนการสอน ใฝ่หาความรู้ ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน   3.  ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่างครู  ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง มีการระดมความคิด วางแผน และประเมินผลกิจกรรมต่าง ๆ  4.  พัฒนาระบบงานนิเทศภายใน  งานธุรการ  การเงิน  และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ  5.  จัดให้มีการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมอันเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาทางวิชาการจากชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ ให้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้   6.  พัฒนาการปฏิบัติงานของครู ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบด้วยระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการ PDCA

คำสำคัญ (Tags): #edkmcrkm
หมายเลขบันทึก: 111026เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

KM บ้านพรุ "โรงเรียนสวยด้วยมือเรา"

งานวิชาการเป็นงานหลัก หรือเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ซึ่งมุ่งกระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการสามารถ พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผล ประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัย เกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

ปัญหาการบริหารงานในด้านวิชาการ อาจเป็นเพราะผลจากที่สถานศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เท่าที่ควร ในการส่งเสริมให้ครู ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากสภาพการบริหารงานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา ครูที่ทำการวิจัยส่วนใหญ่ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อมุ่งการปรับปรุงตำแหน่งของตนมากกว่าการพัฒนาประสิทธิภาพของงาน เมื่อบรรลุผลของตนแล้วมักจะไม่ได้ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยอีกต่อไป หรือจะเว้นระยะไปศึกษาวิเคราะห์ วิจัยอีกครั้ง เมื่อจะมีปรับปรุงตำแหน่งในครั้งต่อไป การศึกษาวิเคราะห์ วิจัยจึงขาดความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สถานศึกษาไม่ได้มีการเสริมแรงหรือแรงจูงใจครูในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย ซึ่งจะเห็นได้จากครูที่จะดำเนินงานศึกษาวิเคราะห์ วิจัยต้องอาศัยงบประมาณของตนเอง ทั้งนี้อาจเนื่องจากทิศทางสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย ของสถานศึกษาไม่ชัดเจน สถานศึกษาไม่มีการรองรับสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อเป็นทุนอุดหนุนในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย ภายในสถานศึกษา และสถานศึกษาไม่มีการจัดหาทุนจากภายนอกหน่วยงาน เพื่อการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยในสถานศึกษา จากปัญหาการบริหารงานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ยังส่งผลกระทบให้สถานศึกษามีปัญหาในการบริหารงานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการบริหารงานการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามไปด้วย เนื่องจากการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย อย่างเป็นระบบ ซึ่งสถานศึกษาต้องศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 สาระแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย จากข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ต้องศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และประเมินสถานภาพของสถานศึกษา ในการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน บริหารจัดการการใช้หลักสูตร นิเทศ ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลจากการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาต้องส่งเสริมให้ครู ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อผลิต พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการจัดหา การใช้และการประเมินผลสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เป็นการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการในภาพรวมของสถานศึกษาทั้งสิ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545อย่างแท้จริง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ มีระดับคุณภาพที่ไม่น่าพอใจ ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ รวมถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนลดลง

ดังนั้น สถานศึกษาจึงควรจัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย ในสถานศึกษา และถ้าสถานศึกษาและสถานศึกษาใกล้เคียงหรือทั้งอำเภอหรือทั้งจังหวัด ทั้งเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงทางการศึกษา ได้ร่วมมือกันดำเนินการช่วยเหลือกัน โดยจัดตั้งชมรมกลุ่มผู้สนใจการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย สามารถบริการครูได้อย่างทั่วถึง มีการจัดตั้งศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และด้านประเมินผลการวิจัยที่ชัดเจน มีศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ที่จะส่งเสริมการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย อย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการของครูและสถานศึกษา จะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ รวมถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนดีขึ้น

การบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการกระจายอำนาจโดยการมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้มอบอำนาจ ปฏิบัติตามกฎหมายงบประมาณและระเบียบการปฏิบัติของกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด เพื่อมุ่งเน้นความเป็นอิสระ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และผลงาน ให้มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากการบริการมาใช้บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน

ปัญหาการบริหารงานในด้านงานงบประมาณ พบว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า การบริหารงานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา หมายถึง ภารกิจการขอรับบริจาคหรือการได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพียงด้านเดียว ซึ่งในข้อเท็จจริงการบริหารงานการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาครอบคลุมภารกิจในการจัดการทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ได้แก่ การจัดการทรัพยากร การระดมทรัพยากร การจัดหารายได้และผลประโยชน์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และกองทุนสวัสดิการเพื่อการศึกษา ซึ่งสถานศึกษาส่วนใหญ่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญในเชิงปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการจัดหารายได้และผลประโยชน์ ด้านธุรกิจศึกษาในสถานศึกษา การสร้างผลิตภัณฑ์จากการศึกษาและจำหน่ายให้สอดคล้องกับ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียนโดยตรง คือ การเป็นคนดี คนเก่ง คนมีความสุข และสามารถลดปัญหาความไม่เพียงพอของงบประมาณได้อีกทางหนึ่ง ในส่วนของปัญหาในการจัดทำและเสนอของบประมาณ อาจเนื่องจากกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง (Medium Term Expenditure Framework:MTEF) มีความเกี่ยวโยงกับการวิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษา ได้แก่ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน(Service Delivery Agreement:SDA) และเป้าหมายการให้บริการสาธารณะ(Public Service Agreement:PSA) ทุกระดับ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงและสถานศึกษาส่วนใหญ่อาจไม่ได้ปรับแผนกลยุทธ์ แผนงาน งาน/โครงการให้สอดคล้องกับกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง (MTEF) ดังกล่าว ประกอบกับคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างแบบมาตรฐานบางรายการมีข้อจำกัดไม่สามารถสนองต่อความต้องการของสถานศึกษา จึงส่งผลให้การจัดทำคำขอรับงบประมาณของสถานศึกษาเสนอต่อเขตพื้นที่การศึกษาเกิดความยุ่งยากและล้าช้ากว่าปกติและไม่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา ส่งผลกระทบต่อเนื่องกับการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ประกอบกับสถานศึกษามีจำนวนบุคลากรครูที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานพัสดุไม่เพียงพอ จึงทำให้สถานศึกษาปฏิบัติงานได้ไม่ครอบคลุมตามภารกิจการบริหารงานและอยู่ในภาวะมีความเสี่ยงสูง

อย่างไรก็ตามปัญหาการบริหารด้านงานงบประมาณ มีสาเหตุจากการบริหาร งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การจัดทำและเสนอของบประมาณ การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ตามลำดับ อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานด้านงานวิชาการและการบริหารงานด้านอื่น ๆ ตามไปด้วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้สัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มีระดับคุณภาพที่ไม่น่าพอใจ

การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาเป็นภารกิจสำคัญที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา เพื่อดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลให้เกิดความคล่องตัว อิสระภายใต้กฎหมาย ระเบียบ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา มีความรู้ ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสถานศึกษาได้รับการกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โดยมอบอำนาจการบริหารงานในลักษณะการบริหารโดยคณะบุคคลได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา (ก.ค.ศ.) คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษาประจำเขตพื้นที่ (อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปัญหาการบริหารงานในด้านงานบุคคล(สำหรับสถานศึกษาในแดนใต้) พบว่าการบริหารงานการวางแผนอัตรากำลัง การกำหนดตำแหน่งและการบริหารงานการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งในสถานศึกษาไม่คล่องตัวและไม่สอดคล้องในเชิงปฏิบัติ อัตราตำแหน่งและคุณสมบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่สนองต่อความต้องการสถานศึกษา อาจสืบเนื่องจากผลจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการแต่งตั้งย้ายข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ขอย้ายออกจากพื้นที่ และมีนโยบายให้สรรหาบุคลากรในพื้นที่ ในลักษณะพนักงานราชการและครูอัตราจ้างชั่วคราว มาปฏิบัติงานทดแทน ประกอบกับระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. ซึ่งกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและจำนวน โดยใช้เกณฑ์ข้อมูลจำนวนนักเรียนของแต่ละสถานศึกษานั้น ๆ เป็นหลัก ส่งผลกระทบต่อการได้รับจัดสรรข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการหรือความขาดแคลนตามหลักสูตรสถานศึกษา จากผลการดำเนินการดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก และมีผลกระทบต่อเนื่องถึงการบริหารงานการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวม ซึ่งสถานศึกษาต้องเสียงบประมาณในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการจัดการประชุม อบรม สัมมนา และการศึกษาดูงานมากขึ้น ประกอบกับครูอาจจะได้รับมอบหมายให้ทำงานที่แตกต่างหลากหลายตั้งแต่งานธุรการและงานนโยบายเร่งด่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและไม่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าแห่งวิชาชีพครู ทำให้ครูเกิดความท้อถอยขาดกำลังใจในการพัฒนางานและการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำผลจากการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน มาเรียบเรียงเป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อก้าวสู่ความเป็นครูมืออาชีพและขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นต่อไป

อย่างไรก็ตามปัญหาการบริหารด้านงานบุคคลจากการบริหารงานการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มีระดับคุณภาพที่ไม่น่าพอใจ

การบริหารทั่วไปเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริหารองค์กร ให้บริการงานอื่นๆ บรรลุผลตามมาตรฐาน คุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีบทบาทหลักในการประสานส่งเสริม สนับสนุนและการอำนวยการ ความสะดวกต่าง ๆ ในการให้บริการทางการศึกษาทุกรูปแบบ มุ่งพัฒนาสถานศึกษาให้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ปัญหาการบริหารงานในด้านงานบริหารทั่วไป พบว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่ขาดแคลนอุปกรณ์โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ในการบริหารงานการพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา ในการนี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรระบบอินเตอร์เน็ตทั้งในระบบ ADSL หรือระบบ IP Star แก่สถานศึกษาอย่างทั่วถึง แต่กระทรวงศึกษาธิการยังไม่สามารถจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์แก่สถานศึกษาอย่างทั่วถึงและทุกสถานศึกษา ดังนั้นสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ตามกำลังความสามารถ เพียง 1 – 2 เครื่อง เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับระบบฐานข้อมูลของเขตพื้นที่การศึกษาและส่วนกลางได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งนับได้ว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอและมีไม่ทั่วถึงทุกสถานศึกษา ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปัญหาการบริหารงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งไม่สามารถจัดให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งในการนี้สอดคล้องกับปัญหาการบริหารงานในด้านงานวิชาการในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งผลกระทบต่อปัญหาการจัดระบบส่งเสริม สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการบริหารงานด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป ส่งผลให้การพัฒนาองค์กรเกิดความล้าช้าตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการบริหารงานในสถานศึกษา ด้านงานบริหารทั่วไป ซึ่งมีสาเหตุจากการบริหารงานพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) มีระดับคุณภาพที่ไม่น่าพอใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท