กลยุทธ์พิชิตใจคน


กลยุทธ์

กลยุทธ์พิชิตใจคน (โดย Igor Tatarksy)  
       
ในการทำงานจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันในเรื่องต่างๆ และในการใช้ชีวิตก็ต้องมีการโต้แย้งถกเถียงกันในหมู่เพื่อนฝูง เรื่องเล็กๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ต่อไปนี้จะขอแนะนำกลยุทธ์สำคัญในการนำไปใช้ในการยุติการโต้แย้ง เมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหา โดยที่เราคิดว่าจะเจอหรือไม่คาดคิดว่าจะเจอไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงานหรือสถานการณ์ทั่วไป ลองนำกลยุทธ์ทั้ง 8 ข้อนี้ไปปฏิบัติดู ก็น่าจะช่วยคุณได้บ้าง
1.       เริ่มพูดคุยด้วยการเอ่ยชมหากจะต้องเข้าประชุมร่วมกับบุคคลอื่นๆ และหัวข้อที่ประชุมเป็นเรื่องคอขาดบาดตายและคุณก็ไม่อยากจะทำให้เกิดการโต้แย้งและมีบรรยากาศที่ตึงเครียดในเวลาประชุม ควรเริ่มด้วยการ ลูบหลัง ซึ่งหมายถึงเอ่ยปากชม ฟังอย่างตั้งใจ ให้เกียรติและเห็นใจอีกฝ่ายก่อน ก่อนที่จะเริ่มพูดถึงเหตุผลของตัวคุณเอง เพราะคำชมเปรียบเหมือนครีมโกนหนวดที่ช่วยให้โกนหนวดได้นุ่มนวลเกลี้ยงเกลาขึ้น
2.     อย่าบุกรุกอาณาจักรส่วนตัวของผู้อื่น หมายถึง ไม่ล่วงละเมิดบุกรุกพื้นที่ในจิตใจของคนอื่น จนเขาอึดอัดจนเขาไม่อยากทำงาน อาณาจักรส่วนตัวของแต่ละคนต่างกันขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพ สถานภาพทางสังคม ระดับสติปัญญา และการเลี้ยงดู กล่าวอีกนัยหนึ่งควรรักษาระยะห่างให้พอเหมาะ ไม่ละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัวของคนอื่นมากเกินไป
3.     ความสงบ เป็นองค์ประกอบสำคัญของการโต้เถียงอย่างสร้างสรรค์ ให้สังเกตอารมณ์ของคุณเองและคู่สนทนา ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพจิตใจนิ่งและความคิดแล่นฉิวก็จะค้นพบทางออกของปัญหาได้ไม่ยาก ตรงกันข้าม ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่นิ่ง รู้สึกเหนื่อย กังวลใจ หรือตื่นเต้นเกินควร ก็ไม่มีประโยชน์ในการจะมาตกลงแก้ไขปัญหาใดๆ
4.     กำหนดบทบาทให้เหมาะสม จะทำให้คุณกำหนดทิศทางและผลของการสนทนาได้ พึงระลึกไว้เสมอถึงจุดยืนของคุณ และคู่สนทนาที่มีต่อเรื่องที่จะพูดคุยกันนั้นจะเป็นอย่างไร
5.     มีแต่คนโง่และคนตายที่ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดเมื่อมีการถกเถียงกันคุณต้องเตรียมพร้อม ที่จะเปลี่ยนความคิดยอมรับเหตุผลที่ดีกว่าเสมอ เพราะการยอมเปลี่ยนความคิดไม่ใช่แสดงว่าคุณโง่แต่อย่างใด
6.    อย่าผูกมัดตัวเองและอย่าพูดว่าไม่มีทางกฎทุกกฎในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอนตายตัวอย่าพูดอะไรก็ตามที่ผูกมัดตัวเอง เช่น ไม่มีทาง เป็นไปไม่ได้ มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ฉันเอาหัวเป็นประกัน แต่จงใช้คำว่า ฉันคิดว่าอย่างนี้ แทนในเรื่องที่กำลังถกเถียงกันนั้น
7.     แล้วจะทำอย่างไรต่อไป หรือ ใครรับผิดชอบซึ่งก็หมายถึงต้องการทราบเพียงว่า เราจะทำเรื่องนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ถ้าคู่สนทนาใช้วิธีการไม่สร้างสรรค์แล้วใช้คำถามข้างต้นควรเลิกโต้แย้งและขอตัวออกไปจากสถานการณ์ตรงนั้นก่อน
8.     การโต้แย้งไม่ต้องมีผู้แพ้ เมื่อเกิดการโต้แย้งกันก็ไม่ควรจะมุ่งเอาชนะฝ่ายเดียว ควรคิดถึงการร่วมมือกันจะดีกว่า  
อ้างอิง : โดย Igor Tatarsky ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้สถาบันพัฒนาข้าราชการราชภัณฑ์

คำสำคัญ (Tags): #องค์ความรู้#km
หมายเลขบันทึก: 114283เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ครับ จะนำไปใช้ในชีวิตการทำงานและพบปะผู้คน (คาดว่าจะสามารถพิชิตใจผู้คนได้ และถ้าพิชิตใจเจ้านายได้ด้วยจะยิ่งดีมาก ๆ)

เยี่ยมครับ น่าสนใจมาก และอยากให้นำเคล็ดลับหรือทิปในการใช้โปรแกรม หรือข่าวสารทางไอทีมาลง ครับ จะได้รับความรู้มากขึ้นครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท