แนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า


ข้อเสนอแนะจากดร.วีรพงษ์ รามางกูร
  • ได้อ่านบทความของดร.วีรพงษ์  รามางกูร  มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าดังนี้ค่ะ

  • 1. ลดดอกเบี้ยลงสัก 1.0 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายและควรจะลดทีเดียวไม่ควรจะลดทีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เพราะการค่อยๆ ลดจะทำให้ไม่เกิดผล และเกิดการคาดการณ์ต่อไปและต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงอัตราเป้าหมาย เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว

  • 2. พร้อมๆ กับการลดดอกเบี้ย ทางการก็เข้าแทรกแซงตลาด (อาจจะต้องขัดใจกับไอเอ็มเอฟหน่อย) และต้องทำให้พอจนเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ เงินบาทแข็งต่อไป ธปท.ก็จะขาดทุน ถ้าทำจนบาทอ่อนตัวลงได้ ธปท.ก็จะกำไร ถ้าอ่อนตัวลงได้ถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะล้างขาดทุนเก่าออกได้หมด

  •  3. การออกพันธบัตร    เมื่อออกมาแทรกแซงตลาด เงินบาทในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นมากเกิน ธปท.ก็ดูดซับเงินบาทกลับไปโดย ถ้าดอกเบี้ยเงินบาทต่ำ กว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ ธปท.ก็ไม่ขาดทุน ดอกเบี้ยเท่ากัน ธปท.เปลี่ยนดอลลาร์ในทุนสำรองเป็นพันธบัตรซึ่งตลาดยังรับได้ แล้วถ้าตลาดพันธบัตรเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นผลดีกับการพัฒนาการลงทุนอีกโสตหนึ่งด้วยการลดดอกเบี้ยอย่างแรงคงจะทำให้ราคาพันธบัตรในท้องตลาดที่มีอยู่แล้วขึ้นราคา แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วงการดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะพาบ้านเมืองเข้าไปเสี่ยงกับอะไร เพราะเป็นการซื้อดอลลาร์ เอามาเก็บไว้ ทำให้ทุนสำรองเพิ่ม
  •  4. จัดการบริหารหนี้ต่างประเทศของภาครัฐ อันได้แก่หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยออกพันธบัตรเอาเงินบาท ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์แล้วไปใช้หนี้คืนก่อนกำหนดอย่างน้อยสักครึ่งหนึ่ง

     

    5. ในส่วนของเอกชน ถ้าผ่อนคลายกฎของ ธปท.ที่จะทำให้ภาคเอกชนสามารถยืมเงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้คืนหนี้ดอลลาร์ได้ เพราะหนี้เงินต่างประเทศเป็นหนี้ของเอกชนเสียตั้งกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้า ธปท.ผ่อนคลายได้ เอกชนคงรีบเปลี่ยนหนี้ดอลลลาร์มาเป็นหนี้เงินบาทแทน เพราะจะได้กำไร เพราะตอนได้มาเงินบาทมีราคากว่า 40 บาทต่อเหรียญ ถ้าคืนหนี้ตอนนี้เงินบาทมีราคา 33 บาทต่อเหรียญ เป็นการช่วยธุรกิจเอกชนด้วย ส่วนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยเงินที่เหลือกองอยู่ในธนาคารด้วย เพราะ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้มีอยู่เพียง 85 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากเท่านั้น ที่เอกชนถูกบังคับให้ไปกู้ต่างประเทศ เพราะกฎ ธปท.ที่ให้นับสินเชื่อของบริษัทในกลุ่มเดียวกันเป็นสินเชื่อที่ต้องจำกัดปริมาณเพื่อความมั่นคงของธนาคาร ให้สินเชื่อไม่กระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป

     6. สุดท้ายเร่งโครงการพัฒนาต่างๆ ให้เร็วขึ้น โดยใช้เงินกู้เป็นเงินบาทในประเทศให้มากขึ้น แม้จะไม่เกิดผลทันที แต่ก็น่าจะมีผลทางจิตวิทยาว่า ประเทศยังต้องใช้เงินดอลลาร์อย่างมาก

    ที่สำคัญนโยบายให้คนไทยเก็บเงินดอลลาร์ได้ ให้เอาเงินออกไปซื้อหุ้นเมืองนอกได้ ไม่ควรทำตอนนี้ ไม่มีผล เพราะผู้คนกำลังคาดการณ์ว่า เงินบาทกำลังจะแข็งต่อไป มีแต่คนอยากเก็บเงินบาท จะมีผลก็ตอนที่คนคาดว่าเงินบาทจะอ่อน คนก็จะเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ต้องสั่งยกเลิกอีก กลายเป็นตัวทำให้บาทไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต ถึงตอนสถานการณ์พลิกกลับอาจจะมีปัญหาได้ 

    อ้างอิงจากhttp://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007july23p1.htm

หมายเลขบันทึก: 114914เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หวัดดีจ๊ะ....น้องลูกหว้าที่น่ารัก...แวะมาเยี่ยมจ๊ะ...เพลงเพราะมากเลย....

  • P สวัสดีค่ะคุณnininaya
  • ขอบคุณค่ะ เอ..ใช่พี่นิด  เพชรบูรณ์หรือเปล่าคะ
ดีใจมากเลย...ที่ยังจำพี่ได้...คิดถึงนะค่ะ
  • คิดถึงเหมือนกันค่ะพี่นิด
  • เมื่อไหร่จะมาเที่ยวพิษณุโลกอีกคะ


Psasinanda

สวัสดีค่ะ

รู้แต่ว่า คนส่งออกแย่หน่อยค่ะ

แต่นำเข้ากลับดีค่ะ

ออกพันธบัตรก็ดี อยากซื้อสักหน่อย ตอนนี้ ดอกเบี้ยถูกจังเลย

คิดถึงอาจารย์ค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda
  • ใช่ค่ะพี่ ตอนนี้ส่งออกแย่จริงๆค่ะ
  • สินค้าไทยก็ดูราคาแพงกว่าสินค้าจากประเทศคู่แข่ง   เห็นรัฐบาลบอกว่าให้ผู้ส่งออกรู้จักปรับปรุง เฮ้อ..พูดได้แค่นี้นะคะ
  • เรื่องพันธบัตร ถ้าหว้ามีเงินก็อยากจะซื้อค่ะพี่
  • ว่างๆเขียนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเงินบ้างนะคะ   เผื่อหว้าจะได้นำไปสอนเด็กๆบ้างค่ะ
  • หว้าเองรู้แต่ทฤษฎีเท่านั้น ไม่มีตังค์ค่ะ
  • คิดถึงพี่เช่นกันค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาท ทำให้หนูมีงานส่งแหละ อิอิ ดีใจจัง

  • สวัสดีค่ะคุณ Lit.Rabbit
  • บันทึกนี้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาค่ะ
  • แต่ถ้าต้องการนโยบายการเงินในการแก้ปัญหาจริงๆต้อง เข้าเว็บของแบงค์ชาติค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท