ครูสุจิรา
นาง สุจิรา ครูนาฏศิลป์ ขวัญเมือง

นาฏยศัพท์


นาฏยศัพท์

ความหมายของคำว่า "นาฏยศัพท์"
          การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่างๆก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์"ดังนี้
          นาฏย หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร
          ศัพท์ หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง
          เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ดังนี้
          นาฏยศัพท์ หมายถึง   ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ
 ประเภทของนาฏยศัพท์
นาฏยศัพท์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมื กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
2. กิริยาศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
• ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
• ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถุกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตยให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
• นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน
 การรำตีบท
          การรำตีบทคือ การนำเอานาฏยศัพท์มาใช้นั้นเอง เพื่อเป็นการบอกความหมาย และแสดงอารมณ์ออกมา ซึ่งหลักสำคัญในการรำตีบทคือ
• ตัดท่าย่อยออกไป
• คำนึงถึงความสวยงาม และสื่อความหมายให้เด่นชัด
• อย่าให้ท่าเหลื่อมกับคำพูด
• พยายามเลี่ยงท่าซ้ำ ท่าวรรคติดๆกัน
• อย่าทำมือซ้ำเพียงท่าเดียว
• การออกท่าควรคำนึงถึงบุคลิกของตัวละคร
• คำนึงถึงการเอียงศีรษะ
          ลักษณะการรำตีบทของไทยจะมี 3 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับกิริยามือแบ เกี่ยวกับกิริยามือจีบ และเกี่ยวกับกิริยามือชี้ นอกจากนี้ในการแสดงโขน - ละคร ยังมีการรำตีบทเกี่ยวกับการเลียนแบบสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกิริยาของการเลียนแบบสัตว์ที่มีมักจะเป็นลักษณะของสัตว์เหล่านี้ เช่น ท่านก ท่าไก่ ท่าเป็ด ท่าปลา ท่ากุ้ง ท่าปู ท่าหอย ท่างู ท่ากบ ท่ากระต่าย ท่าเต่า ท่าจระเข้ ท่าช้าง ท่าม้า ท่าวัว ท่าควาย ท่ากวาง ท่าเสือ ท่าชะนี และท่าลิง เป็นต้น
ความหมายของคำว่า "นาฏยศัพท์"
          การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่างๆก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์"ดังนี้
          นาฏย หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร
          ศัพท์ หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง
          เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ดังนี้
          นาฏยศัพท์ หมายถึง   ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ
 ประเภทของนาฏยศัพท์
นาฏยศัพท์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมื กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่
2. กิริยาศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
• ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
• ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถุกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตยให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
• นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน
 การรำตีบท
          การรำตีบทคือ การนำเอานาฏยศัพท์มาใช้นั้นเอง เพื่อเป็นการบอกความหมาย และแสดงอารมณ์ออกมา ซึ่งหลักสำคัญในการรำตีบทคือ
• ตัดท่าย่อยออกไป
• คำนึงถึงความสวยงาม และสื่อความหมายให้เด่นชัด
• อย่าให้ท่าเหลื่อมกับคำพูด
• พยายามเลี่ยงท่าซ้ำ ท่าวรรคติดๆกัน
• อย่าทำมือซ้ำเพียงท่าเดียว
• การออกท่าควรคำนึงถึงบุคลิกของตัวละคร
• คำนึงถึงการเอียงศีรษะ
          ลักษณะการรำตีบทของไทยจะมี 3 ลักษณะ คือ เกี่ยวกับกิริยามือแบ เกี่ยวกับกิริยามือจีบ และเกี่ยวกับกิริยามือชี้ นอกจากนี้ในการแสดงโขน - ละคร ยังมีการรำตีบทเกี่ยวกับการเลียนแบบสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกิริยาของการเลียนแบบสัตว์ที่มีมักจะเป็นลักษณะของสัตว์เหล่านี้ เช่น ท่านก ท่าไก่ ท่าเป็ด ท่าปลา ท่ากุ้ง ท่าปู ท่าหอย ท่างู ท่ากบ ท่ากระต่าย ท่าเต่า ท่าจระเข้ ท่าช้าง ท่าม้า ท่าวัว ท่าควาย ท่ากวาง ท่าเสือ ท่าชะนี และท่าลิง เป็นต้น
นาฏยศัพท์
ที่ใช้ในการแสดงละครรำ
คำว่า นาฏยศัพท์ ในความหมายโดยแคบ ก็จะหมายถึงเพียงศัพท์ที่ใช้ในการฟ้อนรำเท่านั้น แต่ในความหมายโดยกว้างก็จะกินความไปถึงทั้งศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการฟ้อนรำทั้งปวง และรวมไปถึงคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในมหรสพต่างๆ เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ กระบี่กระบอง เป็นต้น เพราะคำว่า “นาฏยศิลป์” (Dance) ก็มีความหมายทั้งโดยแคบและกว้างเช่นกัน
ละครรำเป็นมหรสพอย่างหนึ่งของที่มีองค์ประกอบและการดำเนินเรื่องด้วยการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า “รำ” เป็นหลัก การรำนี้ถือได้ว่าเป็นภาษาท่าทาง (เป็นสาร) ที่ใช้ในการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ทั้งผู้ถ่ายทอดสาร (ผู้รำ) และผู้รับสาร (ผู้ชม) จำเป็นจะต้องเข้าใจตรงกัน จึงจะสามารถเข้าใจในความหมายของการแสดงออกนั้นได้อย่างถูกต้อง การถ่ายทอดภาษาด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ชาวสยามเรารู้จักใช้และเข้าใจกันมานานแล้ว จึงทำให้ภาษาการฟ้อนรำนี้พัฒนาด้วยกระบวนการทางอารยธรรมจนกลายเป็น “วิจิตรศิลป์” ดังนั้น อารยชนผู้ที่จะสามารถเข้าใจในภาษาท่าทางเหล่านี้ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้รำเสียก่อน จึงจะสามารถดูละครรำของไทยได้รู้เรื่องและรู้รส
ศัพท์ที่ใช้ในละครรำนั้นบางคำ ไม่อาจสืบค้นถึงที่มาของการเรียกได้ แต่หากได้เคยอ่านงานนาฏวรรณคดีของไทย ก็จะพบคำเหล่านี้ปะปนอยู่ด้วย ชี้ให้เห็นว่าคำศัพท์เหล่านี้อาจมีกำเนิดพร้อมกับวรรณคดีสืบย้อนไปได้ถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยาเลยทีเดียว เฉพาะศัพท์ที่ใช้ในละครรำ ซึ่งยังแยกย่อยออกเป็นละครหลวง (หรือละครใน) ละครนอก ละครชาตรี ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์แล้ว ก็มีจำนวนมาก บางท่าหรือบางศัพท์ใช้กับการแสดงละครรำเฉพาะประเภท บางศัพท์มีความหมายก้ำกึ่งกัน บางศัพท์ที่ใช้สอนในสำนักต่างกันก็มีความหมายต่างกัน เหล่านี้น่าจะได้เป็นประเด็นในการศึกษาถึงที่มาของศัพท์เหล่านี้ รวมทั้งการบัญญัติความหมายที่แน่นอน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ซึ่งปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดความหมายของศัพท์เฉพาะสาขาแล้วเผยแพร่เป็นพจนานุกรม ใช้เป็นหลักต้องตรงกันทั้งประเทศ หากแต่ขณะนี้ราชบัณฑิตยสถาน จัดทำได้เพียงศัพท์สังคีตที่ใช้ในสาขาดุริยางคศิลป์ไทย และชุมนุมบทร้องเพลงเถาเท่านั้น ยังมิได้มีการรวบรวมนาฏยศัพท์เผยแพร่แต่ประการใด
ในที่นี้ถึงจะกล่าวถึงคำศัพท์ที่กล่าวถึงบ่อยครั้งในการฝึกหัดและแสดง ซึ่งเป็นคำที่โบราณจารย์ใช้สอนและจดจำถ่ายทอดกันมาแบบมุขปาฐะ มีผู้รวบรวมไว้ในตำราและผลงานวิชาการต่างๆ บ้างพอสมควร จึงเห็นควรที่จะได้เรียบเรียงและนำมาเสนอไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจและศึกษาในทางนาฏยศิลป์ ดังนี้
สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ ได้แบ่งประเภทของนาฏยศัพท์ที่ใช้ในการแสดงละครรำโดยเฉพาะออกเป็น 3 หมวด (สุมนมาลย์, 2532) คือ
1. นามศัพท์ คือ ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำต่างๆ บ่งบอกอาการกิริยาหรือวิธีปฏิบัติท่านั้นๆ หมายรวมถึงตำแหน่งและระดับที่งามอย่างมาตรฐานด้วย
2. กิริยาศัพท์ คือ ศัพท์เพื่อเสริมวิธีปฏิบัติหรือกิริยาของท่าว่าเป็นไปในลักษณะงามหรือไม่ เพียงใด แบ่งออกเป็น
1. ศัพท์เสริม คือ คำที่แสดงวิธีปฏิบัติหรือกิริยาของท่าที่มุ่งหวังให้ได้มาตรฐานขึ้น ให้งามมากขึ้น
2. ศัพท์เสื่อม คือ คำที่แสดงวิธีปฏิบัติหรือกิริยาของท่าที่แสดงระดับที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อบอกกล่าวให้ผู้รำแก้ไขกิริยาท่านั้นให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด คือ คำที่มีความหมายเฉพาะนอกเหนือจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ มีความหมายที่เข้าใจตรงกัน และปฏิบัติตรงตามกันสืบเนื่องมา
ผุสดี หลิมสกุล ได้กำหนดการฝึกท่าและตำแหน่งของท่า โดยแบ่งประเภทตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในแต่ละส่วนก็จะมีนาฏยศัพท์กำหนดวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะ (ผุสดี หลิมสกุล, 2539) ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
  ส่วนที่ 1 ศีรษะ
  ส่วนที่ 2 ไหล่
  ส่วนที่ 3 ลำตัว
  ส่วนที่ 4 มือ
  ส่วนที่ 5 เท้า
และได้อธิบายนาฏยศัพท์เพื่อปรับปรุงแก้ไขท่ารำและการรำที่ไม่ถูกต้องไว้เป็นอีกหมวดหนึ่ง
ท่ารำหรือกิริยาการเคลื่อนไหวบางท่า บัญญัติวิธีการปฏิบัติเป็นแบบแผน จึงมีทั้งที่ “เป็นท่า” และ “เป็นที” (เป็นเทคนิค) ดังนั้นการรำที่สมบูรณ์จึงควรประกอบด้วย “ท่าที” ที่เหมาะสมถูกต้องตามแบบ ผู้เขียนจะเลือกอธิบายนาฏยศัพท์โดยการแบ่งส่วนร่างกายเป็น 5 หมวด เช่นเดียวกับการแบ่งของผุสดี หลิมสกุล และเสริมรายละเอียดเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ดังนี้
  ส่วนที่ 1 ศีรษะ
เอียงศีรษะ หรือ อ่อนศีรษะ
คือ กิริยาที่จะต้องใช้ร่างกายตั้งแต่ช่วงเอว ไหล่ ขึ้นมา กล่าวคือ เมื่อจะเอียงศีรษะก็จะต้องเริ่มกดเอว กดไหล่ ข้างเดียวกันกับศีรษะที่เอียง เพื่อเน้นให้เห็นเส้นสรีระของร่างกายเป็นเส้นโค้ง หากเอียงแต่ศีรษะเพียงอย่างเดียว ท่ารำจะดูแข็ง และเหมือนคนรำคอฟาด (คือ รำคอพับไปมาเหมือนเด็กอนุบาลรำ) การเอียงนั้นจะต้องได้สัดส่วนที่พองาม ตัวนางจะกดลำตัวและการเอียงมากกว่าตัวพระ ตัวพระนั้นการเอียงนี้จะใช้เพียงแง่ศีรษะ (คือ ให้ความรู้สึกว่าเอียงเพียงเล็กน้อย) เท่านั้น มิฉะนั้นเมื่อเวลาสวมชฏาแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้ใดเอียงมากจนยอดชฎานั้นโอนเอนไปมาอย่างแรง การเอียงศีรษะจึงมีความยากที่จะกำหนด ต้องหมั่นรำในกระจกหรือครูเป็นผู้ตรวจสอบให้งดงามถูกต้อง หรือสังเกตตัวเมื่อตัวเองสวมชฎาแล้วก็ได้ บางครั้งเมื่อเวลาเรียนเอียงศีรษะได้งาม แต่เมื่อสวมชฎากลับไม่คุ้นเคยไม่สามารถคานน้ำหนักชฎาได้จึงทำให้เวลารำนั้นเกิดอาการคอฟาดไปมา ดูไม่น่าชม
อนึ่ง นอกจากการเอียงตามปกติ (กดไหล่ไหน เอียงไหล่นั้น) แล้ว ยังมีการเอียงศีรษะอีกแบบหนึ่งที่ขืนธรรมชาติ แต่ในการำชั้นสูงจะต้องปฏิบัติให้ได้ดีและมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับท่ามือและเท้าด้วย การเอียงแบบขืนธรรมชาตินี้ก็คือการ “ลักคอ” เมื่อเรากดไหล่ใบหน้าและแง่ศีรษะจะเอียงไปในทิศทางตรงข้ามกับไหล่ที่กด (ฝึกฝนให้ชำนาญด้วยการถองสะเอว) การลักคอให้ได้ดีเป็นเสน่ห์ของการรำ บางคนทำมากก็ดูลุกลน บางคนทำน้อยมากจนเกือบแยกแยะไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของละครที่เล่นด้วยว่าเป็นละครนอกหรือละครใน พลังในการใช้ท่ารำเหล่านี้จะแตกต่างกัน
กล่อมหน้า
คือ กิริยาที่ปฏิบัติควบคู่ไปกับการกล่อมไหล่ โดยการเบือนหน้าไปทางซ้ายและขวาให้สัมพันธ์กับไหล่ที่กล่อมไปด้วย ลักษณะนี้จะคล้ายกับการใช้คางวาดเป็นรูปเลข 8 แนวนอนในอากาศ
  ส่วนที่ 2 ไหล่
ผึ่งไหล่ หรือ ตึงไหล่
คือ การดันไหล่ให้ผายออกได้แนวประมาณ 180 องศา และจะต้องดันหน้าอกให้แอ่นขึ้น เพื่อให้ดูสง่ามากยิ่งขึ้น (โดยเฉพาะตัวพระ ในอดีตเมื่อรัดเครื่องจะไม่ใส่นวมอกอย่างปัจจุบัน การดันหน้าอกและรูปร่างจึงมีความสำคัญ และเห็นได้ชัดเจนมาก) จึงมีคำใช้ประกอบเมื่อสอนรำว่า “อกผายไหล่ผึ่ง อกตึงไหล่ตั้ง” นอกจากนี้การผึ่งไหล่หรือตึงไหล่ ยังเป็นส่วนประกอบหลักในองค์ 5 เมื่อหัดรำละคร อันประกอบด้วย ตึงตัว ตึงเอว ตึงมือ ตึงไหล่ และเงยหน้า (ศิลปะละคอนรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย, 2498)
กดไหล่
คือ การเอียงข้างใดข้างหนึ่ง โดยจะต้องกดมาตั้งแต่ลำตัว (ฝึกหัดด้วยการถองสะเอว) เมื่อกดเอวแล้ว ไหล่ก็จะลดลงตาม การกดไหล่นี้ต้องในระดับระนาบ คือ เมื่อกดลงแล้วไม่ล้ำไปด้านหน้าหรือเบี่ยงไปด้านหลัง (เทียบความรู้สึกกับตาชั่ง ที่เมื่อข้างหนึ่งลดลง อีกข้างหนึ่งจะสูงขึ้น) ข้อพึงระวังอีกอย่างหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาให้กับผู้รำในปัจจุบัน คือ เมื่อกดไหล่ลงข้างหนึ่งแล้วจะยกไหล่อีกข้างโดยเจตนา ดูคล้ายหุ่นกระบอกพม่าที่ยกไหล่กระโดดไปมา พึงกดไหล่โดยผ่อนตามธรรมชาติจะดีกว่า
กล่อมไหล่
คือ กิริยาต่อเนื่องจากการกดไหล่ เมื่อกดไหล่ลงแล้วหมุนไหล่ไปข้างหน้าแต่น้อยแล้วกลับมากดอีกข้างหนึ่ง ทำให้ต่อเนื่อง (เป็นที) อย่างช้า ใช้ในการรำทั่วไป เพื่อเชื่อมท่าหนึ่งไปอีกท่าหนึ่งให้ต่อเนื่องกลมกลืนกัน
ตีไหล่
คือ กิริยาต่อเนื่องจากการกดไหล่ (คล้ายกล่อมไหล่ แต่ปฏิบัติชัดเจนกว่า) เมื่อกดไหล่ลงแล้วดันไหล่นั้นไปด้านหลัง (ลักษณะคล้ายการวาด ? ด้วยไหล่ทั้งสอง) ปฏิบัติต่อเนื่อง ใช้ในการรำของตัวละครที่เป็นมอญ ลาว พม่า ในละครพันทางโดยมาก (เช่น ในรำพลายชุมพล ระบำลพบุรี เป็นต้น)
  ส่วนที่ 3 ลำตัว
ทรงตัว
คือ การตั้งลำตัวให้ตรง ไม่โอนเอนไปด้านหน้า (รำหน้าคว่ำ) หรือไปด้านหลัง (รำหน้าหงาย) การทรงตัวนี้ต้องดันหลังให้ตึง ยกอกขึ้นเล็กหน้า แต่ต้องไม่ให้หน้าท้องยืนล้ำออกมามาก ต้องเกร็งหน้าท้องไว้ด้วยเสมอ
ฉอ้อนตัว
โดยมากใช้กับตัวนาง เป็นการถ่ายน้ำหนักตัวลงบนเท้าหน้า พร้อมกับโน้มลำตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย แล้วจึงถ่ายน้ำหนักตัวคืน ทำให้ท่ารำดูน่วมและมีท่วงที
ยักตัว หรือ ยักเอว
คือ การกดกล้ามเนื้อเอวสลับกันซ้าย-ขวาอย่างต่อเนื่อง ปรากฏในท่ารำเพลงเร็วที่ท่องจังหวะการนับว่า “ตุ๊บ-ทิง-ทิง”
กระทบจังหวะ
มี 2 แบบ คือ
นั่งกระทบ กระทำเมื่อนั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ โดยยกก้นขึ้นเล็กน้อย แล้วทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าแต่เบา ใช้มากเมื่อต้องรำตีบทที่นั่งรำ หรือรำบทนั่งเมืองในเพลงช้าปี่เป็นต้น การกระทบก้นให้ได้จังหวะที่คม ต้องเกร็งหน้าขาด้วย
ยืนกระทบ แบ่งเป็น กระทบเข่า และกระทบส้น กระทบเข่า กระทำเมื่อยกเท้าหรือกระดกโดยการห่มเข่าลงในจังหวะสั้นๆ ครั้งหนึ่งก่อนจะก้าวขาลงเหลี่ยม (หรือก้าวหน้า ก้าวข้าง) ส่วนกระทบส้น นั้นปรากฏในแม่ท่ายักษ์และลิง ปฏิบัติโดยยกขาข้างหนึ่งไว้ ใช้ขาข้างที่ยืนรับน้ำหนัก เผยอส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย แล้วตบเท้าลงเต็มเท้าก่อนที่จะก้าวขาที่ยกลงเหลี่ยม ตัวพระมีใช้การกระทบส้นนี้บ้าง ปรากฏในเพลงหน้าพาทย์คุกพาทย์ หรือรัวสามลา เป็นต้น
สะดุ้งตัว
ลักษณะตรงข้ามกับกระทบจังหวะ คือ การยืนตัวขึ้นเหมือนกิริยาสะดุ้ง ตามจังหวะเพลง บางครั้งก็ใช้สลับกับการกระทบจังหวะ เรียกว่า “ยืด-ยุบ” บางครั้งใช้ร่วมกับการลักคอและเล่นมือ เรียก “เยื้องตัว” ปรากฏในท่ารำเพลงเร็ว
ทิ้งน้ำหนัก หรือ ทิ้งตัว
คือ การถ่ายน้ำหนักตัวไปในทิศทางของท่าหรือตามเท้าที่ก้าว บางครั้งอาจให้น้ำหนักตัวอยู่ที่ศูนย์กลางพอดี การถ่ายน้ำหนักในการรำไทยนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่าจะต้องมีการถ่ายเทน้ำหนักตัวตลอดเวลา เพื่อรักษาสมดุลของท่า หากยืนก็จะไม่ถ่ายน้ำหนักลงบนเท้าทั้งสองอย่างเท่ากัน (มีบางท่า เช่น การยืนผสมเท้าเต็มเท่านั้น) มักจะทิ้งน้ำหนักลงที่เท้าหน้าที่ก้าวไปด้านหน้า หรือเท้าที่ไขว้อยู่ด้านหน้าเป็นส่วนมาก เมื่อถ่ายน้ำหนักไปที่เท้าหน้าแล้ว เท้าที่วางด้านหลังจะไม่มีน้ำหนัก คงวางไว้ตามตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือเปิดส้นเท้าขึ้นเท่านั้น ในบางท่าจะมีการถ่านน้ำหนักตัวไปด้านหลังสลับกันด้วย เช่น เมื่อนั่งรำจะมีการถ่ายน้ำหนักตัวหน้า-หลังนี้มาก การทิ้งน้ำหนักจึงเป็นทีอย่างหนึ่งต้องปฏิบัติให้พอดีและต่อเนื่องอย่างกลมกลืน จึงจะดูคล่องแคล่ว
กล่อมตัว
พบมากในท่ารำตัวนาง คือ เมื่อสะดุ้งตัวตามจังหวะเพลงจะต้องกล่อมไหล่และกล่อมตัว ลักษณะคล้ายการตีไหล่เป็นเลขแปดนอนไปด้วย พบในท่ารำเพลงเร็วของตัวนาง
  ส่วนที่ 4 มือ และ แขน
ในละครรำของไทยมีการเคลื่อนไหวมือและท่อนแขนเป็นหลัก ท่าต่างๆ นั้น สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากท่ารำในนาฏยศิลป์อินเดีย ที่เรียกว่า “มุทรา” ที่กำหนดชื่อเรียกไว้โดยเฉพาะ ท่ามือแบบต่างๆ เมื่อนำมาจัดวางตามตำแหน่งจึงเกิดเป็นแม่ท่าต่างๆ ที่มีชื่อเรียกเฉพาะอีกเช่นกัน ท่ามือในนาฏศิลป์ไทย จะใช้คำว่า “จีบ” และ “วง” เป็นหลัก ดังจะได้อธิบายวิธีปฏิบัติดังนี้
วง หรือ ตั้งวง
คือ ช่วงท่อนแขนและมือที่กางออก ข้อมือหักหงายให้อ่อนโค้งเข้าหาลำแขน การจะตั้งวงให้ได้สัดส่วนที่งามนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับการมีนิ้วมือที่เรียวโค้งไปด้านหลังได้มากๆ แต่อย่างเดียว ขึ้นอยู่กับองศาระหว่างท่อนแขนบนล่าง และท่อนแขนล่างกับข้อมือประกอบด้วย เพราะความหมายของ “วง” นั้น คือเป็นส่วนของเส้นโค้ง การตั้งวงจึงต้องทอดแขนแลให้เห็นเป็นเส้นโค้งที่มีสัดส่วนสวยงามตามแบบฉบับของแต่ละบท เช่น พระ นาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น ดังนั้น ระดับแขนระหว่างตัวละครต่างๆ จึงแตกต่างกัน กล่าวโดยรวมคือ ตัวยักษ์จะมีวงกว้างที่สุด รองมาคือ ลิง พระ และนาง ในเรื่องของระดับวงนี้ ควรได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อจับท่าให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งสามารถแบ่งย่อยเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
วงสูง หรือ วงบน
ตัวพระ กันวงออกข้างลำตัว เฉียงมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (แนวเดียวกันกับหน้าขาที่เปิดออก) ยกขึ้นให้ปลายมืออยู่ในระดับแง่ศีรษะ
ตัวนาง จะกันวงเฉียงมาด้านหน้ามากกว่าตัวพระเล็กน้อย และลดระดับวงให้อยู่ที่ระดับหางคิ้ว
วงกลาง
ทั้งตัวพระและตัวนาง ลดระดับวงลงให้สูงเพียงระดับหัวไหล่
วงต่ำ หรือ วงล่าง
มือที่ตั้งวงอยู่บริเวณหัวเข็มขัดหรือชายพก ตัวพระจะกันกว้างออกไปอีกเล็กน้อย
วงหน้า
ทอดลำแขนให้โค้งไปด้านหน้า ปลายมือชี้เข้าระดับปาก เช่นเดียวกันทั้งตัวพระและนาง
วงหงาย หรือ วงบัวบาน
เป็นวงพิเศษที่มีลักษณะไม่เป็นเส้นโค้ง กล่าวคือท่อนแขนบนและล่างและข้อมือหักเป็นมุม ฝ่ามือที่ตั้งวงจะหงายขึ้น ปลายนิ้วจะชี้ออกด้านข้าง (เช่น ท่าพรหมสี่หน้า) หรือตกลงด้านล่าง (เช่น ท่านางนอน)
จีบ
คือ การจรดปลายนิ้วหัวแม่มือที่ข้อแรกของปลายนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือทั้งสามกรีดออกไปด้านหลังมือให้มากที่สุด ที่สำคัญคือ จะต้องหักข้อมือเข้าหาลำแขนให้ได้มากที่สุด ท่าจีบแบ่งเป็น
จีบหงาย
คือ การจีบที่หงายฝ่ามือขึ้น ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้น
จีบคว่ำ
คือ การจีบที่คว่ำมือลง ปลายนิ้วที่จีบชี้ลงเบื้องล่าง
จีบปรกหน้า หรือ จีบตลบหน้า
คือ การจีบที่อยู่ระดับใบหน้า หันปลายนิ้วที่จีบชี้ที่บริเวณดวงตา
จีบปรกข้าง
ลักษณะคล้ายวงบัวบานระดับสูง แต่หักข้อมือที่จีบเข้าหาแง่ศีรษะ
จีบหลัง หรือ จีบส่งหลัง
คือ การทอดแขนไปด้านหลังให้ตึง มือที่จีบพลิกหงายขึ้นด้านบน การจีบส่งหลังจะต้องเหยียดออกไปด้านหลังให้สุดและปลายนิ้วที่จีบจะไม่ชี้เข้ามาที่ก้นโดยเด็ดขาด
ล่อแก้ว
เป็นลักษณะมือพิเศษ โดยใช้ปลายนิ้วกลางขัดที่ข้อแรกของนิ้วหัวแม่มือเป็นรูปวงกลม นิ้วเหลือเหยียดออกไปด้านหลัง พร้อมหักข้อมือเข้าลำแขน
นอกจากนี้ยังมีท่ามือรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เฉพาะการรำแต่ละชุดหรือกับบางท่า เช่น ท่ามือของยักษ์และลิงที่มีลักษณะเฉพาะ มือของสัตว์ต่างๆ เช่น กวาง ม้า ปลา มือของระบำโบราณคดีที่ปฏิบัติให้เหมือนกับเทวรูปที่ภาพจำหลัก ซึ่งจะไม่ขอนำมากล่าวรวมไว้ ณ ที่นี้
  ส่วนที่ 5 เท้า
ประ
คือ อาการของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ใช้จมูกเท้าตบพื้นเบาๆ แล้วยกขึ้น โดยให้อีกเท้าหนึ่งยืนย่อเข่ารับน้ำหนักตัว การประเท้าของตัวพระและตัวนางจะแตกต่างกันตรงที่ตัวพระต้องแยกหรือแบะเข่าออกให้ได้เหลี่ยม แล้วจึงประ เท้าที่ประแล้วยกขึ้นสูงระดับกลางน่องของขาที่ยืนรับน้ำหนัก ปลายเท้าชี้ออกด้านข้าง ส่วนตัวนางไม่แบะเข่า ยืนให้เท้าที่จะเตรียมประเหลื่อมจากเท้าที่รับน้ำหนักไปข้างหน้าประมาณครึ่งเท้า เมื่อประแล้วยกเท้าขึ้นสูงระดับครึ่งน่อง ปลายเท้าชี้ออกด้านหน้า ถ้าจะให้ดูงามยิ่งขึ้นจะต้องกระดกปลายนิ้วเท้าให้งอนขึ้นเล็กน้อยทั้งตัวพระและตัวนาง
ก้าวเท้า
คือ การวางเท้าที่ยกลงสู่พื้น โดยวางส้นเท้าลงก่อน แล้วจึงตามด้วยปลายเท้า ทิ้งน้ำหนักตัวลงไปยังเท้าที่ก้าวให้หมด การก้าวเท้ามี 2 วิธี คือ
ก้าวหน้า หมายถึง การก้าวเท้าไปข้างหน้า ตัวพระจะต้องแบะเข้าออกให้ได้เหลี่ยมปลายเท้าที่ก้าวจะเฉียงไปทางด้านข้างเล็กน้อย กะให้ส้นเท้าหน้าอยู่ในแนวกันกับหัวแม่เท้าหลัง ห่างกันประมาณหนึ่งคืบ เท้าหลังเปิดส้นเท้า สำหรับตัวนางไม่แบะเข่า และก้าวเท้าให้ปลายเท้าชี้ค่อนไปทางด้านหน้า ห่างจากส้นเท้าหลังที่เปิดส้นเท้าขึ้นประมาณหนึ่งคืบ
ก้าวข้าง หมายถึง การก้าวเท้าเฉียงไปทางด้านข้างของเท้าที่ยก จะเป็นเท้าข้างใดก็ได้ ในขณะที่ลำตัวอยู่ด้านหน้า ตัวพระจะก้าวเฉียงออกจากด้านข้างให้มากกว่าก้าวหน้า สำหรับตัวนางก้าวข้างจะต้องกะปลายเท้ากับส้นเท้าหลังให้อยู่ในแนวเฉียงห่างกันประมาณหนึ่งคืบ
กระทุ้ง
คือ อาการที่ใช้จมูกเท้าที่วางเปิดส้นเท้าอยู่ด้านหลัง (ปฏิบัติต่อเนื่องจากการก้าวหน้าหรือก้าวข้าง) กระทุ้งลงกับพื้นเบาๆ
กระดก
คือ อาการปฏิบัติต่อเนื่องจากการกระทุ้ง โดยยืนขาเดียวย่อเข่าโดยใช้เท้าหน้าที่ยืนย่อเข่าอยู่รับน้ำหนักตัว ถีบเข่าหรือส่งเข่าข้างที่ยกนั้นไปทางด้านหลัง แล้วหนีบน่องให้ชิดต้นขามากที่สุด (เท้าที่ยกจะต้องอยู่ใกล้ก้นให้ได้มากที่สุด) หักข้อเท้าลงให้ปลายเท้าตกลงเบื้องล่าง การกระดกอาจสืบเนื่องอาจทำต่อเนื่องจากกระทุ้งเท้าก็ได้หรือกระดกโดยไม่กระทุ้งก็ได้ ตัวพระเมื่อกระดกเท้าจะต้องกันเข่าหรือเปิดเข่าให้ขากางออกจากขาที่ยืนรับน้ำหนักตัวอยู่ การกระดกนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
กระดกหลัง คือ อาการของเท้าที่กระดกไปข้างหลัง เมื่อมองจากด้านหน้าจะไม่เห็นเท้าหลังที่กระดกเลย
กระดกเสี้ยว คือ อากรของเท้าที่กระดกอยู่ด้านข้างของลำตัว โดยให้เท้าที่ยืนรับน้ำหนักหันปลายเท้าไปด้านข้าง
ถัดเท้า
คือ การใช้จมูกเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ถัดหรือกับพื้นเบาๆ ให้เท้าลอยแล้วจึงวางลง โดยให้เท้าอีกข้างหนึ่งย่ำอยู่กับที่ หรือก้าวเดิน เช่น การเดินโดยถัดเท้าขวา ในจังหวะหน้าทับเพลงเร็ว "ตุ๊บ ทิง ทิง" จะต้องเริ่มก้าวเท้าซ้ายก่อน ในจังหวะตุ๊บ แล้วถัดเท้าขวาในจังหวะ ทิง (แรก) แล้ววางเท้าขวาลงในจังหวะ ทิง (ที่ 2) เป็นต้น การถัดเท้าสามารถถัดได้ทั้งเท้าซ้ายและเท้าขวา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาสมของแต่ละกระบวนท่ารำ
ซอยเท้า
คือ การย่ำเท้าถี่ๆ ของเท้าที่อยู่เสมอกัน ให้ตัวเคลื่อนไปในทิศทางต่างๆหรืออยู่กับที่
ขยั่นเท้า
คือ การย่ำเท้าถี่ๆ ของเท้าที่อยู่เสมอกัน หรือไว้กัน ให้เคลื่อนตัวไปในข้างหน้าหรือด้านข้าง
ฉายเท้า
คือ การใช้เท้าข้างใดข้างหนึ่งยืนเป็นหลัก ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งใช้จมูกเท้าจรดพื้นปิดส้นเท้าขึ้น แล้วฉายหรือลากจมูกเท้าไปด้านข้าง ในลักษณะครึ่งวงกลม
สะดุดเท้า
คือ การใช้เท้าข้างหนึ่งยืนเป็นหลัก ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งนั้นไสเท้าออกไปด้านหน้าหรือด้านข้างอย่างแรง พร้อมทิ้งน้ำหนักตัวไปด้วย
จรดเท้า
คือ กิริยาที่จมูกเท้าแตะลงบนพื้น โดยส้นเท้าจะลอยขึ้นจากพื้นเล็กน้อย สามารถปฏิบัติได้ทั้งในขณะที่ขาที่ยืนน้ำหนักเหยียดตรงหรือย่อลง
สูดเท้า
คือ การใช้จมูกเท้าไสไปด้านหน้าเบาๆ แล้วชักกลับ ทำสลับกันระหว่างเท้าทั้งสองข้างหรือสูดด้วยเท้าข้างเดียวถี่ๆ ก็ได้
เดาะเท้า
คือ กิริยาที่ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้ลอยพ้นจากพื้นเล็กน้อย แล้วใช้จมูกเท้าตบลงบนพื้นเบาๆ แล้วยกขึ้นทันที ปฏิบัติตามจังหวะเพลง (เช่น ในกระบวนท่ารำเพลงเร็ว) หรือจะเดาะถี่ๆ ก็ได้ (ตามแต่ละกระบวนท่ารำ)
ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำศัพท์ที่ใช้ประกอบถ่ายทอดกระบวนท่ารำด้านนาฏยศิลป์ ซึ่งยังมีคำศัพท์อีกเป็นจำนวนมากทั้งที่บ่งบอกกิริยา หรือเพื่อเสริมให้การปฏิบัติถูกต้อง งดงาม ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น บางคำศัพท์มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือบางท่ามีวิธีการเรียกต่างกันตามแต่ละครู แต่ละสำนัก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติความหมายของคำ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน จะได้รวบรวมความหมายของคำศัพท์เหล่านี้โดยประมวลใช้วิชาทางนิรุกติศาสตร์ หรือจากการรวบรวมของผู้เชี่ยวชาญ ศิลปิน ที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นจำนวนน้อยมากในปัจจุบัน ให้มีแบบอย่างที่กำหนดต้องตรงกัน เป็นแบบ เป็นระเบียบวัฒนธรรมของชาติที่จำจะต้องอนุรักษ์ให้ลูกหลาน รู้ เข้าใจ และถ่ายทอดสืบเนื่องต่อไปได้ในอนาคต
นาฏยศัพท์
การฝึกท่าและตำแหน่งของท่า
ผุสดี หลิมสกุล ได้กำหนดการฝึกท่าและตำแหน่งของท่า โดยแบ่งประเภทตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในแต่ละส่วนก็จะมีนาฏยศัพท์กำหนดวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะ (ผุสดี หลิมสกุล, 2539) ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
• ส่วนที่ 1 ศีรษะ
• ส่วนที่ 2 ไหล่
• ส่วนที่ 3 ลำตัว
• ส่วนที่ 4 มือ
• ส่วนที่ 5 เท้า
และได้อธิบายนาฏยศัพท์เพื่อปรับปรุงแก้ไขท่ารำและการรำที่ไม่ถูกต้องไว้เป็นอีกหมวดหนึ่ง
ท่ารำหรือกิริยาการเคลื่อนไหวบางท่า บัญญัติวิธีการปฏิบัติเป็นแบบแผน จึงมีทั้งที่ “เป็นท่า” และ “เป็นที” (เป็นเทคนิค) ดังนั้นการรำที่สมบูรณ์จึงควรประกอบด้วย “ท่าที” ที่เหมาะสมถูกต้องตามแบบ ผู้เขียนจะเลือกอธิบายนาฏยศัพท์โดยการแบ่งส่วนร่างกายเป็น 5 หมวด เช่นเดียวกับการแบ่งของผุสดี หลิมสกุล และเสริมรายละเอียดเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ดังนี้
• ส่วนที่ 1 ศีรษะ
เอียงศีรษะ หรือ อ่อนศีรษะ
คือ กิริยาที่จะต้องใช้ร่างกายตั้งแต่ช่วงเอว ไหล่ ขึ้นมา กล่าวคือ เมื่อจะเอียงศีรษะก็จะต้องเริ่มกดเอว </

คำสำคัญ (Tags): #นาฏยศัพท์
หมายเลขบันทึก: 118858เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ปรับปรุงเนื้อหาให้ดีกว่านี้ขอให้มีรูปประกอบด้วยนะคะ

อยากรู้ความหมายของคำว่า ลัก คร่า บอกด้วยน๊พะค้ะ

อยากทราบเกี่ยวกับการผลัดจีบ การเดินมือ และการเอียงตัวค่ะ

ถ้ามีเวลาช่วยตอบให้ด้วยนะค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้า....

อย่ารู้เลยไอ้น้องเลว555+

ผลัดจีบคืออะไรครับ

ขอบคุณค่ะครูงานหาง่ายมาก

แถมยังเนื้อหาสาระดีมากค่ะ

***ขอบคุณค่ะ***

ลักคอ

ย่อเข่า

ยืดยุ่ม

ห่มเข่า

หลบเข่า

ขยั่นเท้า

จะทำยังไงคะ

คำว่าเรียนทำท่ายังไงอะครับ

การนั่งกระทบกับการนั่งตั้งเข่าแล้วก็การก้าวไคว่ คืออะไรคะ??????

อยากให้มีภาพประกอบจัง จะได้เข้าใจมากขึ้นน่ะค่ะ แต่ก็ขอขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลนี้

ไม่มีห่มเข่าหรออยากรู้จักคับ

ชอบวิชานาฎศิลมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อยากให้ยกตัวอย่างนาฏยภาษาชั้นสูงบางคำ หรือ เอามาเยอะเลยก้อดีครับหน่อยน่ะครับ

โคตรเยี่ยมมากๆๆๆๆๆๆเม่งโคตรเจ๋งวะ

ขอขอบพระคุนมากค่ะ ถ้าไม่ได้เว็บนี้งานไม่เสร็จแน่ค่ะ แต่... ทำไมมันเหมือนกันเนื้อหาซึ้กันอะค่ะ

อยากรู้ครับว่าท่าเชื่อมต่อคืออะไร

ขอให้มีรูปภาพบอกรายละเอียด

ท่าสวยงามมากๆๆ

ระเอียดเวอร์อ่ะ


5555555555555555555555555555555555555555555555555+

อยากให้มีรูปด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท