ครูสุจิรา
นาง สุจิรา ครูนาฏศิลป์ ขวัญเมือง

หลักการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา


หลักการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
หลักการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา          คุรุสภาเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ            ด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2540 มุ่งปฏิรูปการศึกษาโดยการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)  พ.ศ. 2545  ให้มีองค์กรวิชาชีพเพื่อทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ  ตลอดจนการพัฒนาวิชาชีพทั้งครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น  องค์กรวิชาชีพดังกล่าว เป็นองค์กรตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา            จากปาฐกถาพิเศษเรื่อง การเสาะหาหนทางสู่การศึกษาคุภาพการผลิตพัฒนาครูในงานวันครูโลก 5 ต.ค. 2547 ณ. หอประชุมคุรุสภา ดร. เชลดอน  เชฟเฟอร์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก  อง๕การการศึกษา วิทยาศาสตร์  และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO) ได้แนวคิดเกี่ยวกับหลักการสำคัญในการพัฒนาครูให้เกิดความเข้มแข็งดังนี้             หลักการสำคัญในการพัฒนาครู1.             ต้องให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  และผูกกับการได้ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ2.             ต้องปรับวิธีการพัฒนาครูจากภาพรวมศูนย์พัฒนาทั่วทั้งประเทศ  มาเป็นการพัฒนาระยะสั้นในแต่ละโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน3.             ต้องให้รางวัลแก่ผู้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพระบบการพัฒนาวิชาชีพผู้ประกอบวิชีพทางการศึกษา  ได้กำหนดหลักการในการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพดังนี้1.             กรอบการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา                        หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา                        รูปแบบการพัฒนา                        แนวทางการดำเนินการพัฒนา2.             ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา                        การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา                        การสร้างวัฒนธรรมการทำงานและสร้างและสั่งสมความรู้                        การสร้างวัฒนธรรมการประเมินเพื่อพัฒนาตนเอง3.             เส้นทางความก้าวหน้าของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา                        เส้นทางการพัฒนาวิชาชีพ                        เส้นทางความก้าวหน้าของผ็ประกอบวิชาชีพมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา                มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ  สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ   พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ.2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย            1.  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิขาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้  จัดการศึกษา  ซึ่งกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชี  จึงจะสามารขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลผู้มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้2.  มาตรฐานการปฏิบัติงาน  หมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานหรือการพัฒนางาน  ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด            3.  มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึงจรรยาบรรณวิชาฃีพที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน  ซึ่งผุ้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและประสบการณ์วิชาชีพ1.  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์          1.1  มาตรฐานความรู้                มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญาตรีทางการศึกษา  หรือเทียบเท่า  หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยมีความรู้ดังต่อไปนี้            1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู            2.  การพัฒนาหลักสูตร            3.  การจัดการเรียนรู้            4  จิตวิทยาสำหรับครู            5.  การวัดและประเมินผลทางการศึกษา            6.  การบริหารจัดการในท้องถิ่น            7.  การวิจัยทางการศึกษา            8  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา            9.  ความเป็นครู          1..2  มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ  ผ่านการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดดังนี้            1.  การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน            2.  การปกิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ2.  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพผู้บริหาร          2.1  มาตรฐานความรู้          2.1.1  มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางบริหารการศึกษา  หรือเทียบเท่า  หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ดังต่อไปนี้            1.  หลักและกระบวนการบริหาร            2.  นโยบายและการวางแผนการศึกษา            3.  การบริหารด้านวิชาการ            4.  การบริหารด้านธุรการ  การเงิน  พัสดุ  และอาคารสถานที่            5.  การบริหารงานบุคคล            6.  การบริหารกิจการนักเรียน            7  การประกันคุณภาพการศึกษา            8.  การบริหารจัดการเทคโนโลยีและสารสนเทศ            9.  การบริหารประชาสัมพันธ์  และความสัมพันธ์ชุมชน            10.  คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา            2.1.2  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง2.2  มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ          1.  มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า  5  ปี  หรือ            2.  มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน  และต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือหัวหน้าสาย  หรือหัวหน้างานหรือตำแหน่งบริหารอื่นๆในสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี3.  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา 3.1 มาตรฐานความรู้          3.1.1  มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางบริหารการศึกษา  หรือเทียบเท่า  หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ดังต่อไปนี้            1.  หลักและกระบวนการบริหาร            2.  นโยบายและการวางแผนการศึกษา            3.  การบริหารด้านวิชาการ            4.  การบริหารด้านธุรการ  การเงิน  พัสดุ  และอาคารสถานที่            5.  การบริหารงานบุคคล            6.  การบริหารกิจการนักเรียน            7  การประกันคุณภาพการศึกษา            8.  การบริหารจัดการเทคโนโลยีและสารสนเทศ            9.  การบริหารประชาสัมพันธ์  และความสัมพันธ์ชุมชน            10.  คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผุ้บริหารสถานศึกษา            3.1.2  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง3.2  มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ          1.  มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า  5  ปี  หรือ            2.  มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ            3.  มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองหรือเทียบเท่ากองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  หรือ            4.  มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  หรือ            5.  มีประสบการณ์ด้านการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษา  หรือบุคคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 510 ปี  มาตรฐานการปฏิบัติงาน1. มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู                มาตรฐานที่  1  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ            มาตรฐานที่  2  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผุ้เรียน            มาตรฐานที่  3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ            มาตรฐานที่  4  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง            มาตรฐานที่  5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ            มาตรฐานที่  6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผุ้เรียน            มาตรฐานที่  7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ            มาตรฐานที่  8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน            มาตรฐานที่  9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์            มาตรฐานที่  10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์            มาตรฐานที่  11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา            มาตรฐานที่  12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์2. มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา          มาตรฐานที่  1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา            มาตรฐานที่  2  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่เกิดกับการพัฒนาของบุคลากร  ผู้เรียน  และชุมชน            มาตรฐานที่  3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ            มาตรฐานที่  4 พัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง            มาตรฐานที่  5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ            มาตรฐานที่   6  ปฏิบัติงานองค์กรโดยเน้นผลถาวร            มาตรฐานที่   7  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีระบบ            มาตรฐานที่  8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี            มาตรฐานที่  9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์            มาตรฐานที่  10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา            มาตรฐานที่  11 เป็นผู้นำและผู้สร้าง            มาตรฐานที่  12 สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
หมายเลขบันทึก: 119089เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครูต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงานดังนี้คือ

มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ

มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผุ้เรียน

มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ

มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง

มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผุ้เรียน

มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ

มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา

มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท