ธรรมะ : ในแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” (1)


“พระบรมราโชวาทแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มีพื้นฐานมาจาก ทางสายกลาง โดยมีความมุ่งหมายให้ประชาชนและองค์กรมีความดำรงอยู่และการปฏิบัติตนให้ มีความเป็นอยู่อย่างถูกต้อง อันจะนำความผาสุกอย่างยั่งยืนมาสู่สังคมไทย หากจะพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ทางสายกลาง นั้นเป็นธรรมะหลัก เป็นธรรมะพื้นฐานในการปฏิบัติตนที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าจะกล่าวในหัวข้อว่า ทาน ศีล ภาวนา สำหรับประชาชน หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา สำหรับบรรพชิต และ/หรือคฤหัสถ์ก็ตาม ด้าน แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ความพอประมาณ, ความมีเหตุผล, และความมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขหลักวิชาความรู้, เงื่อนไขคุณธรรม, และ เงื่อนไขการดำเนินชีวิต นั้น ทรงเน้นหนักไปในทาง การทำงาน และ การดำรงอยู่ อย่างผาสุกและยั่งยืน เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่เป็นประชาชนโดยทั่วไป จึงเป็นเครื่อง เตือนใจ ท่านผู้ประสงค์จะเผยแพร่ หรืออัญเชิญพระบรมราโชวาท “แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ไปเผยแพร่ และ / หรือ เพื่อเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ว่าไม่ควรเน้นหนักในด้านเดียว สามองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่ ฯพณฯ องคมนตรี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย บรรยายที่จังหวัดอุทัยธานี เมื่อ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ ความว่า


- ความพอประมาณ
๑. ความพอดีพอเหมาะต่อความจำเป็น
๒. ความพอควรแก่อัตภาพ
๓. ไม่มากเกิน
๔. ไม่น้อยเกิน
-ความมีเหตุผล
๑. ตามหลักวิชา
๒. ตามกฎเกณฑ์สังคม (รวมประเพณี - วัฒนธรรม)
๓. ตามหลักกฎหมาย
๔. ตามหลักศีลธรรม
๕. ตามความจำเป็นในการดำเนินชีวิต / กิจกรรม
-ระบบภูมิคุ้มกันตัว
เหตุปัจจัย...............การเปลี่ยนแปลง...................เกิดผลกระทบ
๑. ด้านวัตถุ
๒. ด้านสังคม
๓. ด้านสิ่งแวดล้อม
๔. ด้านวัฒนธรรม

ระบบภูมิคุ้มกัน ด้านวัตถุ

ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง
๑. มีเงินออม
๒. มีการประกันความเสี่ยงในอนาคตอนาคต
๓. มีการลงทุนเพื่อพัฒนา
๔. มีการวางแผนระยะยาว

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
๑. มีหนี้ไม่ก่อรายได้
๒. ขาดการประกันความเสี่ยงในเสี่ยงในอนาคต
๓. ขาดการลงทุนเพื่อพัฒนา
๔. ขาดการวางแผนระยะยาว

๒. ระบบภูมิคุ้มกันตัว (Reserve; Safty net)
๑. ลดหนี้ / ลบหนี้ (Reduce or wipe out debt)
๒. การลงทุนที่เสี่ยงน้อย (Low rick Investment)
๓. กองทุนปัองกันวิกฤติ (Stabilization Fund)
๔. การออม (Saving)
๕. การลงทุนพัฒนาสถาบัน / ประเทศชาติ (Invest in development)


๓. ระบบภูมิคุ้มกัน ด้านสังคม

ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง
๑. รู้รัก - สามัคคี
๒. ร่วมมือร่วมใจกัน
๓. มีคุณธรรม - ใฝ่ศาสนธรรม
๔. “สังคมสีขาว”
๕. “อยู่เย็นเป็นสุข”
๖. ทุนทางสังคมสูง

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
๑. ระแวง - ทะเลาะเบาะแว้ง
๒. ต่างคนต่างอยู่
๓. ทุศีล - ห่างไกลศาสนธรรม
๔. เหยื่อแห่งอบายมุขทั้งปวง
๕. “อยู่ร้อนนอนทุกข์”
๖. ทุนทางสังคมต่ำ

๔. วิธีสร้างภูมิคุ้มกัน ทางศีลธรรม แก่ลูกหลาน
ภูมิคุ้มกันทาง ศีลธรรม -------ภูมิคุ้มกันต่อสิ่งชั่วร้าย ทางศีลธรรม อันได้แก่ โลภะ โทสะและโมหะ
๑. ฐานเครือญาติที่มั่นคง
๒. คำสอนของครอบครัว / ตระกูล
๓. พาลูกเข้าวัด / ศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔. สอนลูกให้ออมและทำบุญ
๕. ฝึก “ใจ” ให้เข้มแข็งยิ่งๆขึ้น
- ข่มใจตนเอง
- ปฏิเสธความชั่ว / ยึดมั่นความดี


๕. ระบบภูมิคุ้มกัน ด้านสิ่งแวดล้อม

ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง
๑. มีความรู้ - สำนึกและหวงแหนสิ่งแวดล้อม
๒. มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมจากฝ่ายบริหาร
๓. สร้างสุขนิสัย
๔. สะอาด - เป็นระเบียบ
๕. อยู่กับธรรมชาติ

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
๑. ขาดความรู้ - ขาดสำนึก
๒. ขาดนโยบาย - ผู้บริหารไม่สนใจ
๓. เต็มไปด้วย “ทุกขนิสัย”
๔. สกปรก - ขาดระเบียบ
๕. ทำลายธรรมชาติ

๖. ระบบภูมิคุ้มกัน ด้านวัฒนธรรม

ภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง
๑. มั่นคงในวัฒนธรรมไทยและเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่น
๒. เข้าใจและเป็นมิตรต่อวัฒนธรรมต่างถิ่นต่างชาติ

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
๑. ย่อหย่อน ไม่ใส่ใจในรู้สึกเป็นปมด้อยและเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่น
๒. เหยียดหยาม -มุ่งร้ายต่อต่างวัฒนธรรม






ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท