มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

วิจัยเชิงคุณภาพ: สัมภาษณ์เสร็จแล้วไงต่อ (2)


คราวนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าการวิเคราะห์ข้อมูลแบบดั้งเดิมเค้าทำอย่างไร 

แบบ manual: 

เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ print transcript ออกมาอ่านแล้ว highlight เอาเอง code ที่ขอบของกระดาษนั้นไม่ใช้ computer ช่วย

ทำได้ค่ะ แต่ยิ่งจำนวน transcript มากยิ่งเหนื่อย

เหมาะกับเป็นวิธีช่วยการเรียนการสอนวิธีวิเคราะห์ข้อมูลค่ะ  

  • สิ่งที่สำคัญข้อแรกคือให้ set เลขบอกบรรทัดไว้ด้วย (ให้เลือกบน tool bar ใน Word ตรง file ---> page set-up ---> layout ----> line number)
  • นอกจากนี้ควรพิมพ์ลงกระดาษคนละสี transcript นึงสีนึง พอเราตัดประโยคที่สำคัญๆออกมา เราจะได้รู้ว่าเอามาจากไหน ใครพูดประโยคนี้ไงค่ะ 
  • เตรียมปากกา highlight หลายๆสี ปากกาหรือดินสอ กรรไกร เทปกาว หรือ ก้อนsticky ที่มันคล้ายๆหมากฝรั่ง ใช้ติดกระดาษกับผนังแล้วดึงออกมาง่ายๆ สุดท้ายก็เตรียมพื้นที่กว้างๆเช่นโต๊ะ หรือฝาผนังไว้คิดพวกคำหรือประโยคที่เราตัดออกมาจาก transcript

1. ขั้นแรกคือ อ่าน transcript รอบแรกให้ละเอียดโดยที่ยังไม่ต้องเขียนหรือขีดอะไรลงไป อ่านให้ได้ภาพรวม ให้รู้ว่าตรงไหนสำคัญ ตรงไหนไม่สำคัญ

2. อ่านรอบสอง คราวนี้เตรียม code การ code คือ การเอาปากกา highlight ไปปื้ดๆคำ ข้อความ หรือ ประโยคที่เราคิดว่าน่าสนใจ หรือที่ participant ให้ความสำคัญ หรือพูดออกมาบ่อย สมมติว่าปื้ดไป 1 ประโยค หรือ หลายประโยคที่มันต่อกันยาวเลย เราก็ให้ทำปีกกาไอ้ที่เรา highlight ไว้ แล้วตั้งชื่อให้สั้นๆ แล้วก็เขียนไว้ข้างขวาของกระดาษตรงที่ว่าง ไอ้ชื่อสั้นๆนี่แหละค่ะคือ code แล้วกริยาการกระทำแบบนี้เรียกว่า coding
 

hightlight  2 ประโยคนี้แล้ว เรียกชื่อ (code) มันว่า "togetherness"

code ต่างๆหลายสึ  

รูปที่นำมาให้ดูนั้นเป็น software ที่ช่วยให้ process นี้ง่ายขึ้น แทนที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์มากมายอย่างที่กล่าวไว้ก็ืทำในจอหมด

หารูปการทำ coding  โดยไม่ใช้ computer ไม่เจออ่ะค่ะ เอาพอเข้าใจ idea นะ

(แหล่งที่มาของภาพ: NVivo QSR)

หมายเหตุ: software คล้ายๆกันนี้มีอีกหลายบริษัทค่ะ เช่น Atlas.ti  หรือ Ethnograph 

3. พอเราอ่านไปเรื่อยๆ ทำการ coding ไปเรื่อย เราก็มี code เต็มไปหมด คราวนี้เราก็ต้องมาจัดระเบียบ code มาเรียงให้เข้่ากลุ่มว่า code ไหนมันเป็นเรื่องเดียวกัน 

ให้ใช้กรรไกรตัดข้อความที่ถูก code ออกมาให้ติดตัวชื่อ code มาด้วย 

ทีนี้ tricky นิดค่ะ นึกตามนะคะ  

เวลาเราสัมภาษณ์คนมา 1 คนเนี่ยะเรา print transcript ออกมาชุดเดียวไม่พอค่ะ ต้อง print ออกมาซัก 3-4 ชุด เพราะว่า

ใน 1 ย่อหน้านั้นอาจถูก hightlight แล้ว code ไปหลายชื่อ ดูรูปด้านบนรูปแรกดู เห็นไม๊ค่ะว่า ปีกกามันเหลื่อมกัน ถ้ามันคือกระดาษ เราตัดประโยคของปีกกาสีเขียวออกมาแล้ว มันไปกินข้อความของปีกกาสีน้ำตาลแดง

นี่แหละค่ะเหตุผลที่ต้อง print transcript ออกมาหลายชุด 

4. พอเอา code ที่มันเป็นเรื่องเดียวกันมาวางเป็นกองๆแล้ว ก็จะเห็นค่ะว่ากองไหนสูงกว่ากัน

5. สมมติว่าตอนนี้มี 25 code 25 กอง (จดไว้ด้วยนะ) เราก็มาดูต่อว่า code ไหนเข้าพวกเดียวกัน เป็น subset ของ set เดียวกันได้บ้าง

คือหา higer order ให้กับ code หน่ะค่ะ

จาก 25 กลุ่มอาจเหลือ 6 กลุ่ม เราก็ตั้งชื่อกลุ่มทั้ง 6 กลุ่มนี้ เรียกว่า category 1-6 หรือ ถ้ามันชัดมามีแค่ 3 หัวข้อ ก็เป็น 3 emerging themes ได้ค่ะ แล้วต่อตัวข้อมูลดิบ

ถ้าใช้ computer มันจะจัดให้ได้เป็น

parent ที่มีหลาย children ที่มีหลาย siblings

คือเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีกลุ่มย่อยๆแยกต่ออกมาก 

6. หรือจะไม่ทำเป็น theme แต่เอาแต่ละ code มาเขียน diagram ทำเป็น multiple causes diagram หรือ เอามาทำเป็น model อธิบายอะไรก็ได้

ลอง google คำว่า qualitative data analysis แล้ว search image ดู มีออกมาหลายแบบเลยค่ะ

-------------------------------------------------------

นี่เป็นวิธีหนึ่งเท่านั้นนะคะ ยังมีอีกหลายวิธี แต่ตอนเรียนวิชาวิธีวิจัย อ.จะให้ลองใช้วิธีนี้ดู กับ transcript 2-3 ชุด เพื่อให้รู้ process การคิดหาคำตอบ 

พอคิดเป็นแล้ว เคยทำด้วยวิธี  manual มาแล้ว

ทีหลังพอได้ software มาช่วยนี่สบายเลยค่ะ

ลองดูนะคะ

-------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 123252เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 05:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ อ.มัท

ขอบคุณมากนะคะ  อ.มัท  อ่านวิธีทำแล้วสนุกจังเลยค่ะ  ถ้าพี่แอมป์ได้ทำแบบนี้มั่งคงต้องเอายาดมยาลมยาหม่องมาวางหัวเตียง  อ่านไปๆก็นึกถึง Grounded Theory ขึ้นมาเลยอะค่ะ : )

สิ่งที่คุณมัทนานำมาถ่ายทอดในเรื่องการทำวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีประโยชน์มาก เป็นtacit knowledge ที่นำมาแบ่งปันกัน หาไม่ได้ง่ายๆค่ะ

ใช่แล้วค่ะพี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล) นี่แหละพื้นๆของ grounded theory

อ. คุณนาย ค่ะ ขอบคุณนะคะที่แวะมาให้กำลังใจ อยากเข้ามาบ่อยๆมาก แต่ log in ยังมีปัญหาอยู่บ่อยๆ

แต่จะไม่หายไปนานค่ะ แล้วจะเข้ามาใหม่ : ) 

P
สวัสดีค่ะคุณมัท
คุณมัท ถ่ายทอดดีมากเลยค่ะ อ่านตามก็ทำได้เลยค่ะ
เสียแต่เลยวัยเรียนแบบนี้มาแล้วค่ะ
เป็นคนชอบเรียน ชอบศึกษา เสียอย่างเดียว ไม่ชอบท่องหนังสือ
อ่านพอเข้าใจแล้ว ชอบไปทำเอง ประยุกต์เอง ให้เข้ากับเรา แต่ไม่เข้าป่า ยังต้องมีทฤษฏีมารองรับแน่นอน
จะรออ่านไปเรื่อยๆค่ะ
ชอบค่ะ

ขอบคุณ คุณsasinanda มากนะคะที่ให้กำลังใจ จะพยายามเขียนต่อไปค่ะ 

ติดใจจึงตามอ่าน phddiary ครับ เตือนให้ระลึกถึงตอนเรียน Anthropology ชีวิต+วัฒนธรรม ที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้นนั้น มหัศจรรย์มากกกก...

สวัสดีค่ะคุณหมอชาตรี (c4hnews)

เห็นด้วยค่ะ มหัศจรรย์จริงๆ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท