คุณภาพชีวิตคืออะไร?


ช่วงเวลานี้คนไทยมีความสุขแล้วหรือยัง?

จากบทความของน้องหนิง จ๊ะจ๋าก้อเขียนไว้เช่นเดียวกัน........ ลองมาดูกันว่ามุมมองของจ๊ะจ๋าเป็นอย่างไร ?

คุณเคยคิดไหมว่าชีวิตของคุณมีคุณภาพ และสิ่งใดเป็นตัวกำหนดหรือชี้ว่าคุณภาพชีวิตคืออะไร?  เป็นคำถามที่เราสามารถตอบได้อย่างมากมายและหลากหลายมิติ  สิ่งหนึ่งที่เราไม่ละเลยที่จะนึกถึงคือ ปัจจัย 4 ของการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย     ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น และหลายคนมักจะกำหนดว่าเป็นตัวชี้วัดว่า คุณภาพชีวิตพื้นที่ควรจะเป็นจะต้องมีปัจจัย 4 เข้ามาเกี่ยวข้อง

และเมื่อคนมีปัจจัย 4  ที่พร้อมสรรพ สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ การศึกษา ก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของคุณภาพของคน ซึ่งทั่วโลกจะถือว่า ประเทศใดที่มีอัตราการศึกษาของคนภายในประเทศและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับสูง นับว่าคนในประเทศนั้นมีคุณภาพสูง เช่น แคนาดา  อังกฤษ    สหรัฐอเมริกา เป็นต้น   ซึ่งการศึกษาอาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนมีระดับวุฒิภาวะทางกายและใจที่ได้รับการยกระดับสูงขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไป   เมื่อในปัจจุบันมุมมองของการมีคุณภาพของชีวิตมองในระดับที่ลึกลงไปถึงจิตใจของคน

เฉกเช่นบางประเทศอันได้แก่ ประเทศภูฏาน โดยใช้ ความสุขมวลรวมประชาชาติ  (Gross National Happiness-GNH)”     เป็นตัวกำหนดการดำเนินนโยบายภายใต้กรอบความคิด GNH ด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างขนบธรรมเนียมประเพณีและความทันสมัย  วัตถุนิยมกับจิตวิญญาณ  ระหว่างความมั่นคงทางทรัพย์สินกับคุณภาพชีวิต  ที่สำคัญคือ การให้ความสำคัญของ ความสุขมวลรวมประชาชาติ มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Nation Product)  โดมีแนวความคิดที่ว่า   ความเจริญทางเศรษฐกิจมิได้มีความหมายเช่นเดียวกับความเจริญก้าวหน้าเสมอไป เมื่อพ้นจากสภาพความยากจน คนมีระดับรายได้มากขึ้น ความสุขสำราญเพิ่มขึ้นไปด้วย เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการทางวัตถุและความมั่นคงซึ่งไม่เคยได้รับมาก่อน และเมื่อถึงระดับหนึ่ง ความสุขก็ไม่จำเป็นที่จะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้อีกต่อไป    สังคมถูกชี้นำด้วยการตลาด ได้เพาะบ่มวัฒนธรรมละโมบอย่างมากมาย ผ่านสื่อมวลชน  เพื่อมุ่งกำไรสูสุด ด้วยการบริโภค ผลที่ตามมาคือ คนใช้ชีวิตที่อิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน  ต่อสู้ เอารัดเอาเปรียบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  เพิ่มขึ้นของผู้ที่มีอาการซึมเศร้า จิตวิญญาณที่ย่อหย่อนลง และความเสื่อมสภาพของสังคม

คำตอบก็คือ การส่งเสริมปรัชญาการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม ซึ่งสร้างสมดุลที่งดงาม ระหว่างประโยชน์ของโลกาภิวัฒน์ และบทบาทของรัฐในการดูแลการจัดการบริการสังคมพื้นฐาน   หัวใจสำคัญของตัวชี้วัดตามแนวคิด GNH คือ 1. จิตใจ  2.  การศึกษา 3. สุขภาพ  

สิ่งที่ประเทศนี้ให้ความสำคัญนั้น เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  นั่นคือ ความสุข ต้องเป็นอันดับแรก และมีการเน้นย้ำว่า ความสุขไม่ใช่เพียงผลจากสภาพร่างกายที่มีผลต่อจิตใจ  แต่เป็นตัวการสำคัญที่สุดในการกำหนดสุขภาวะโดยรวม   รวมทั้ง การวางแผนเป็นองค์รวม และการบริหารนโยบายร่วมกับระหว่างภาคส่วนต่างๆ (multi-sectoral)  ทุกภาคส่วนมีการพึ่งพิงกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับสังคม เป็นการทำงานเพื่อส่วนร่วมและในชาติอย่างแท้จริง มุ่งผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ มากกว่าคนส่วนน้อย เพื่อคนทั้งชาติ  และมีการพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการสำคัญห้าประการคือ 1. ความเติบโตทางเศรษฐกิจ 2. การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม 3. การพัฒนาอย่างสมดุลในระดับพื้นที่ 4. การกระจายอำนาจและการเสริมพลังชุมชน  การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการจัดบริการสุขภาพ

และ คงไม่ต้องเอ่ยสิ่งใดนอกจากความรู้สึกที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ก้าวหน้ามากแค่ไหน แต่สิ่งที่เราลืมไปในขณะนี้คือความสุขที่มาจากจิตใจ ย่อมเกิดคำถามในใจว่า  แล้วในขณะนี้ ช่วงเวลานี้คนไทยมีความสุขแล้วหรือยัง?   แหละนี่คือการฉายภาพสุดท้ายของการมีคุณภาพชีวิตของคนในสังคม  คือการที่ทุกคนมีความสุขจากภายในฉายออกสู่ภายนอกนั่นเอง   

หมายเลขบันทึก: 129000เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ที่จริงแล้ว บ้านเรา คนก็ชอบความสุขเหมือนกัน
  • แต่บรรดา นักการเมือง ผู้บริหารประเทศ ชักนำให้ ปชช.หลงทางอยู่เรื่อย จนเดี๋ยวนี้กู่ไม่กลับแล้วครับ
มาพัฒนาคุณภาพชีวิตเราบ้างดิท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท