นวัตกรรมแห่ง World Wide Web หนทางข้างหน้าจะเป็นเช่นไร


การปลูกฝั่งสามัญสำนึกจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อการยกระดับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแห่งเว็บ

World Wide Web หรือ เว็บ (Web) คือ ระบบการเชื่อมโยงเอกสารบนอินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1989 โดย Sir Tim Berners-Lee จากอังกฤษ และ Robert Cailliau จากเบลเยี่ยม ในการทำงานร่วมกันที่ CERN ณ.กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จากความสำเร็จของเว็บในวันนี้ทำให้เราได้ใช้งานโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Google, eBay, amazon จนกระทั่งมาเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกเรียกว่า เว็บ 2.0 อย่าง Fickr, digg, และ wikipedia เป็นต้น วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดนวัตกรรมบนเว็บ จากเดิมเอกสารที่นิ่งๆ กลายเป็นเอกสารที่มีพลวัตมากขึ้น ทำให้ทุกคนได้สามารถเป็นส่วนร่วม ได้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่ตัว เองใช้งานมากยิ่งขึ้น

กระแสของเว็บในยุคที่สองนี้ทำให้หนุ่มสาวหลายสิบล้านคนทั่วโลก ได้แสดงออกถึงความเป็นตัวเอง ได้ใช้ชีวิตในแบบ American Dream หรือชีวิตอย่างมีอิสระได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก จุดเริ่มต้นของธุรกิจในสังคมออนไลน์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่เช่นกัน ไม่ว่าจะในอังกฤษ รัสเซีย เกาหลี หรือแม้แต่ในประเทศไทย ศูนย์กลางของโลกดิจิตัลไม่ใช่ตลาดสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป โลกาภิวัฒน์ได้เกิดขึ้นด้วยแรงแห่งปัจเจกชน ทุกคนสามารถ plug-in เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี ทำให้โลกขนาดเล็กหลังยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมกลายเป็นโลกขนาดจิ๋วในยุคของข้อมูลข่าวสารในที่สุด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ World Wide Web นี้เกิดขึ้นโดยอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นรากฐานจาก 3 พื้นฐานหลักได้แก่

  1. การเชื่อมโยงที่ไม่มีขีดจำกัด จากส่วนหนึ่งส่วนใดของเว็บไปยังที่อื่นๆ
  2. มาตรฐานเปิดทางเทคนิคซึ่งอนุญาตให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เชื่อมต่อทำงานร่วมกันได้
  3. ชั้นเน็ตเวิร์คที่แยกกัน ทำให้นวัตกรรมต่างๆ เกิดขึ้นได้โดยอิสระ

เว็บจึงเป็นแพลตฟอร์มสากล ซึ่งมีอิสระไม่ยึดติดกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ภาษาและวัฒนธรรมใดๆ

แต่กระนั้นเว็บก็เป็นเพียงแค่เทคโนโลยี ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ จะไม่มีในระบบ หากไม่มีคนที่กลับมาจากการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย แล้วแทนที่จะไปนั่งดูทีวี แต่กลับไปเปิดคอมพิวเตอร์ เชื่อมตัวเองต่อเข้าไปในอินเทอร์เน็ต แล้ว พิมพ์ข้อความ เขียน blog บรรยายอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ของชุมชน ของสภาวะการเมืองของชาติ บันทึกมันไว้บนเซิร์ฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่งบนโลก แล้วก็มีอีกคนที่เห็นว่ามันดีส่งอีเมล์ ส่งเมจเซสบอกต่อไปยังเพื่อน แล้วเพื่อน ก็บอกต่อไปยังเพื่อนๆ เกิดการหมุนเวียนของข้อมูลข่าวสารที่ไม่สิ้นสุดขึ้น เว็บจะไม่ถูกควบคุมด้วยคนกลุ่มไหน บริษัทใดๆ หรือประเทศใดๆ มันจะเป็นสื่อกลางที่เชื่อมคนทุกคนเข้าหากัน

ดาบสองคมจากพลังมวลชนนี้ มีผู้คนหลากหลายประเภท แตกต่างฐานะ เข้ามาใช้งาน และจำนวนไม่น้อยในนั้นที่ใช้ประโยชน์มันในทางที่ผิด เว็บทุกนำมาใช้เพื่อหลอกลวง ละเมิด รุกล้ำ ความปลอดภัยของบุคคลอื่น ซ้ำร้ายเด็กผู้ซึ่ง ไม่มีวุฒิภาวะก็ตกเป็นเหยื่อของนวัตกรรม แทนที่การศึกษาและการสื่อสารจะเกิดขึ้นจากครอบครัวหรือโรงเรียน แต่พ่อแม่ผู้ปกครองและอาจารย์กลับไม่มีความรู้เพียงพอ เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามา ผู้ใหญ่บางกลุ่มจึงคิดแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการพยายามที่จะควบคุมสื่อ และปิดกั้นช่องทางการสื่อสารนี้ แต่ก็มีผู้ใหญ่อีกกลุ่มที่คัดค้านและเรียกร้องให้ได้มาซึ่งคำว่า"สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล" วิจารณญาณจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ ได้ในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ

ในยุคเว็บ 3.0 (web 3.0) ที่น่าจะมาถึงในปี 2008 เรากำลังจะได้เห็นเว็บอัฉริยะ ซึ่งเป็นเว็บที่มีความหมายเครื่องเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันและประมวลผลได้เอง ด้วย natural language search ภาษาจะไม่ใช่ อุปสรรคกับผู้ใช้งานอีกต่อไป ข้อมูลทุกอย่างจะถูกนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงปัญญาประดิษฐ์เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ ทางเทคนิคเราจะใช้ RDF, OWL, SWRL, และ SPARQL นอกจากนี้อุปกรณ์แสดงผลจะไม่ ได้ยึดติดอยู่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เราจะได้เห็นนวัตกรรมอื่นๆ ที่เป็นผลพลอยได้มาจากการพัฒนาเว็บสู่ยุคเว็บ 3.0 อีกมากมาย ณ. ที่ต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก

เว็บ 1.0 เว็บ 2.0 เว็บ 3.0 และอนาคตของเว็บ หากนวัตกรรมมีคำจำกัดความว่า "Creative Destruction" เว็บเกิดขึ้นมาและทำลายตัวเองอยู่ตลอดเวลา เว็บเป็นนวัตกรรมการบริการ (service innovation) ที่ก่อคุณอนันต์ และสร้างโทษมหันต์ให้แก่โลกมนุษย์ ความสำเร็จในการใช้ประโยชน์และสร้างโอกาสจากเว็บนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเรา ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้จึงมีความสำคัญต่อความสามารถทางนวัต กรรมนี้ หากประเทศไทยจะแล่นไปให้ทันบนคลื่นลูกที่ 3 นี้ เราต้องการทุนทางปัญญา (intellectual captital) และทุนทางสังคม (socail capital) ทรัพยากรบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถของเรายังขาดความรับผิดชอบต่อ สังคม คนเก่งมักจะละเลยเรื่องความถูกต้อง การปลูกฝั่งสามัญสำนึกจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อการยกระดับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแห่งเว็บ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

 

หมายเลขบันทึก: 130220เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้ทบทวนความรู้คะ
  • ปัจจุบันต้องใช้ อินเทอร์เน็ตทุกวัน..
  • ขอบคุณที่เล่าเรื่องราวดีให้ฟังคะ
ขอบคุณ คุณ P naree suwan เช่นกันครับ
พอดีต้องทำรายงาน เลยเอาบทความเก่าๆ มาเกลาหนะครับ ไม่ค่อยมีอะไรใหม่นัก
เดี๋ยวเดือนหน้าว่างๆ จะพยายามอ่านพวก article จาก journal ใหม่ๆ แล้วมาเล่าให้ฟังครับ... คุณนักเดินทาง

 

มุมมองของ TheInk น่าสนใจมาก ๆ ครับ ... ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท