การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่องสัญญาอนุญาต Creative Commons ภาษาไทย


อนุสนธิจากบันทึกเก่า ลิขสิทธิ์กับ GotoKnow.org ซึ่งกล่าวถึงการให้สิทธิ์ผู้อื่น นำงานสร้างสรรค์ (บันทึก) ของเราไปใช้ได้ ตามเงื่อนไขที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (คือตัวเรา) กำหนด

การให้สิทธิ์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดการ ลปรร. ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องนำข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด ไปใช้หรือทำซ้ำเพื่อวิจารณ์ ต่อยอดความคิดกันได้ 

เดิมทีตอนที่ไม่มีสัญญาภาษาไทย เราก็ใช้ Creative Commons ภาษาอังกฤษกัน ซึ่งผู้ที่ประกาศให้สิทธิ์ผู้อื่นผ่าน Creative Commons นั้น ใจกว้าง และเข้าใจสิทธิของตนที่สละให้ผู้อื่นอยู่แล้ว แต่ทางฝั่งผู้นำไปใช้นั้น กลับไม่ค่อยอ่านว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ให้สิทธิ์อะไรมาบ้าง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเอกสาร Creative Commons เป็นเอกสารทางกฏหมายที่เป็นภาษาต่างประเทศ

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย สำนักกฎหมายธรรมนิติิ และ สถาบัน TRN ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับ Creative Commons International (Berlin) เพื่อที่จะแปลสัญญาเสรี Creative Commons (cc) เป็นภาษาไทย ให้มีผลใช้ได้จริงภายใต้กฏหมายไทย

บัดนี้ ร่างสัญญาอนุญาต (Creative Commons License 3.0) ที่เป็นภาษาไทยได้จัดทำเรียบร้อยแล้ว หัวหน้าคณะทำงานได้แจ้งมาเพื่อขอให้ประชาสัมพันธ์ครับ สัญญานี้ความจริงเป็นสัญญาที่มีสำนักงานกฏหมายที่มีชื่อเสียงได้ร่างออกมา ก็น่าจะมีผลตามกฏหมายไทยทันทีที่ใช้

แต่เนื่องจากทีมงานได้ลงนามในบันทึกช่วยจำกับทาง Creative Commons International เพื่อนำสัญญาอนุญาตภาษาไทย ออกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Creative Commons (ทำให้ภาพของประเทศไทย เป็นประเทศที่เคารพในสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น) กระบวนการของ Creative Commons ระบุว่าจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม -- สิ้นสุดวันที่ 20 ตุลาคม 2550 จึงขอเปิดเผยเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ:

สัญญาอนุญาต ประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์และต้องอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานสร้างสรรค์ของตนได้แบบเดียวกัน รุ่นที่ ๓.๐ -- CC Attribution-ShareAlike (by-sa)-3.0 [ต้นฉบับ] [ภาษาไทย]
สัญญาอนุญาต ประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ต้องไม่เพื่อการค้าและต้องอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานสร้างสรรค์ของตน ได้แบบเดียวกัน รุ่นที่ ๓.๐ -- CC Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa)-3.0 [ต้นฉบับ] [ภาษาไทย]
สัญญาอนุญาต ประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์และต้องไม่แก้ไขต้นฉบับ รุ่นที่ ๓.๐ -- CC Attribution No Derivatives (by-nd)-3.0 [ต้นฉบับ] [ภาษาไทย]
สัญญาอนุญาต ประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์ และต้องไม่เพื่อการค้า รุ่นที่ ๓.๐ -- CC Attribution Non-commercial (by-nc)-3.0 [ต้นฉบับ] [ภาษาไทย]
สัญญาอนุญาตประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์รุ่นที่ ๓.๐ -- CC Attribution (by)-3.0 [ต้นฉบับ] [ภาษาไทย]
สัญญาอนุญาตประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ต้องไม่เพื่อการค้าและต้องไม่แก้ไขต้นฉบับ รุ่นที่ ๓.๐ -- CC Attribution Non-commercial No Derivatives (by-nc-nd)-3.0 [ต้นฉบับ] [ภาษาไทย]
คำสำคัญ (Tags): #creative commons#gotoknow.org
หมายเลขบันทึก: 130510เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ไม่ทราบว่าเป็นเพราะว่าเป็นภาษากฎหมายด้วยหรือเปล่านะคะ ทำให้ถึงแม้จะมีเป็นภาษาไทยแล้ว แต่พอเข้าไปอ่านแล้ว ค่อนข้าง"เมา"ค่ะ คงต้องตั้งสติดีๆ ให้หัวว่างๆแล้วกลับมาอ่านอีกรอบ

ขอบคุณคุณ conductor มากๆนะคะที่นำมาเผยแพร่ให้เข้าไปหาความรู้ความเข้าใจที่ควรจะมี

อ่านแล้วมึนเหมือนกันครับ

เรื่องสำคัญคือการทำให้สิทธิต่างๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้อื่น ชัดเจนและมีความหมายตามกฏหมายไทย เพื่อที่จะนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ครับ

บทความเกี่ยวกับ CC เพิ่มเติม แปลโดยคนชายขอบ (fringer.org) อันนี้เกี่ยวกับสิ่งที่ควรรู้ก่อนให้งานของเรามีสัญญาอนุญาตแบบ CC ครับ

http://youfest.in.th/CC_Thailand/Things_to_Think_About

สวัสดีค่ะ

ภาษากฏหมาย ต้องอ่านหลายรอบ และต้องมีสมาธิด้วย

ขอบคุณมากๆที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

เรื่องกฏหมายนี่ ประชาชนธรรมดา อ่านแล้วมึน เพราะ จริงๆแล้ว ถ้าจะให้รู้เรื่องจริงๆ ต้องดูกฏหมายประกอบด้วยนะคะ

กกหมาย บางอย่างแม้แต่ นักกฏหมายเอง ยังสับสนเลย ดิฉันถามเขา สองครั้ง ตอบไม่เหมือนกัน เราก็ยิ่งไม่เข้าใจใหญ่ 

หากมีข้อสงสัยในเรื่อง creative common สามารถติดต่อสอบถามได้ทางไหนได้บ้างครับ
รบกวนด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท