หน่วยที่ ๑ แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นอำเภอสว่างแดนดิน จ.สกลนคร


แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นอำเภอสว่างแดนดิน

แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นอำเภอสว่างแดนดิน จ.สกลนคร


ประวัติความเป็นมาของอำเภอสว่างแดนดินประวัติความเป็นมาในปีพุทธศักราช 2406 รัตนโกสินทร์ ศก.82 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองภูวดลสอางเมืองหนึ่ง เมืองสว่างแดนดินเมืองหนึ่ง เป็นเมืองขึ้นเมืองสกลนคร
                เมืองภูวดลสอาง นั้น โปรดเกล้าให้ตั้งราชบุตรเหม็นเมืองสกลนคร เป็นพระภูวดลบริรักษ์  เป็นเจ้าเมืองแล้วยกบ้านโพหวา ริมน้ำเซบั้งไฟ แขวงเมืองมหาชัยฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ขึ้นเป็นเมืองภูวดลสอาง  เจ้าเมือง จึงได้พาบุตรภรรยา สมัครพรรคพวกของตนเองอพยพครอบครัวข้ามโขง ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านโพหวารักษาด่านข้างทาง สมทบไพร่พลเมืองภูวดลสอาง ป้องกันพระราชอาณาเขต มิให้ญวนซึ่งเป็นศัตรูกรุงสยามล่วงล้ำเข้ามากดขี่บ่าวไพร่ราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน
           ส่วนเมืองสว่างแดนดิน นั้น โปรดเกล้าให้ท้าวเกล้าเทพกัลยาผู้เป็นหัวหน้าไทยโย้ย (ไทยเผ่าหนึ่ง) เป็นพระสิทธิ์ศักดิ์ประสิทธิ์  เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านโพนสว่างหาดยาวริมน้ำห้วยปลาหาง ในเขตเมืองสกลนคร  เป็นเมืองสว่างแดนดิน บ้านโพนสว่างขณะนี้เรียกว่าตำบลสว่าง อยู่ในเขตอำเภอพรรณนานิคม โดยพระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ (หำ พงษ์สิทธิศักดิ์) เป็นเจ้าเมืองคนที่ 2
เมื่อพุทธศักราช 2424 ได้ย้ายเมืองจากบ้านโพนสว่างหาดยาวไปตั้งอยู่บ้านโคกสี (ปัจจุบันเป็นตำบลโคกสี อยู่ในเขตการปกครองอำเภอสว่างแดนดิน) ตั้งอยู่บ้านโคกสีเป็นเวลา 14 -15 ปี จึงได้ย้ายจากบ้านโคกสี ไปตั้งอยู่ที่บ้านหัน ปัจจุบันบ้านหัน อยู่ในเขตการปกครองตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน)
                พุทธศักราช 2445 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนระเบียบการปกครองใหม่เปลี่ยนนามเมืองเป็นอำเภอ ให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ ราชวงศ์เป็นสมุห์บัญชี ราชบุตรเป็นเสมียนอำเภอ  เมืองสว่างแดนดิน เป็นอำเภอ บ้านหัน โดยมีพระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ (หำ พงศ์สิทธิศักดิ์) เป็นนายอำเภอคนแรก จนถึงปีพุทธศักราช 2452
อำเภอบ้านหันเป็นชื่อเรียกกันมาจนถึง พุทธศักราช 2482 นายสุพัฒน์ วงศ์วัฒน์ นายอำเภอขณะนั้น ได้สืบประวัติของอำเภอบ้านหันได้ความว่า เดิมชื่อว่า เมืองสว่างแดนดิน ตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทาน จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสว่างแดนดินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและในปีเดียว กันนี้ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านหัน มาตั้งอยู่ที่ ณ หมู่ที่ 11 ตำบลสว่างแดนดิน  มาจนถึงปัจจุบันนี้
http://www.sawangdandin.com/prawart.html
 คำขวัญอำเภอสว่างแดนดิน
แดนดินถิ่นลาวย้อ พบพ้อแหล่งโบราณ สืบสานประเพณี มีหนองคูคู่บ้าน ตำนานแดนเมืองเก่า ศาลเจ้าดอนปู่ตา ปราสาทขอมล้ำค่า ถิ่นคนกล้าวีรชนชนที่อยู่ที่ว่าการอำเภอสว่างแดนดินหมู่ที่ 11 ถนนนิตโย ต.สว่างดินแดน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนครหมายเลขโทรศัพท์   0-4272-1151หมายเลขโทรสาร      0-4272-1151สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป  แบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจอาชีพหลัก ได้แก่  ทำนา   ทำไร่   ทำสวน เลี้ยงสัตว์ อาชีพเสริม ได้แก่   ทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม  ทอเสื่อ จำนวนธนาคาร     มีแห่ง ได้แก่
1.  ธนาคารกรุงไทย            โทร. 0-4272-1680
2.  ธนาคารกรุงเทพ            โทร. 0-4272-1092
3.  ธนาคารออมสิน              โทร. 0-4272-1065
4.  ธนาคารกสิกรไทย          โทร. 0-4272-1588
5.  ธนาคาร ธกส.                 โทร. 0-4272-1023
                6. ธนาคารไทยพานิชย์จำนวนห้างสรรพสินค้า  1 แห่งด้านสังคมโรงเรียนมัธยม ได้แก่โรงเรียนสว่างดินแดน           โทร. 0-4272-1030
โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์      โทร. -
โรงเรียนแวงวิทยาคม            โทร. -
โรงเรียนหนองหลวงศึกษา     โทร. -
โรงเรียนบงเหนือวิทยาคม      โทร.-
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     โทร. 0-4272-1181
                วิทยาลัย 1 แห่งวิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดินด้านประชากรจำนวนประชากรทั้งสิ้น     รวม 151,045  คน.จำนวนประชากรชาย        รวม 75,596  คน

จำนวนประชากรหญิง       รวม 75,449 คน

ด้านการคมนาคม

ทางบกด้วยรถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่   ข้าว   อ้อย ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำสงคราม  ลำน้ำศาลจอด  ลำน้ำยาม  ลำห้วยปลาหาง นายอำเภอสว่างแดนดิน คนปัจจุบัน 2550นายกนกพล  ศักดิ์วิเศษ ศรีนุกูลเว็บไซต์ศูนย์ราชการอำเภอสว่างแดนดิน 

http://www.sawangdandin.com/

สภาพทั่วไปของอำเภอสว่างแดนดิน

อำเภอสว่างแดนดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสกลนคร พื้นที่โดยทั่วไปนั้นเป็นที่ราบสูง ลาดเอียงเป็นลูกคลื่นบางแห่งเป็นป่า ส่วนใหญ่เป็นที่โล่งเตียนมีสภาพป่าที่เหลือน้อย เนื้อที่ทั้งหมด ๙๗๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๐๒.๒๕๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ที่ตั้งจังหวัดสกลนคร สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑๗๐ เมตรตั้งอยู่สองฝากถนนสายสกลนคร อุดรธานี อยู่ห่างจากจังหวัดสกลนคร ๘๓ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร ๗๗ กิโลเมตร   ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๗๒๐ กิโลเมตร ทิศเหนือติดต่อ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอบ้านม่วง อำเภอวานรนิวาส และอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานทิศใต้ติดต่อกับ อำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ และอำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานีทิศตะวันออกติดต่อกับ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนครทิศตะวันตกติดต่อกับ อำเภอหนองหาน และอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี                                สภาพพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน มีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้า จุดศูนย์กลางหรือที่ตั้ง หน่วยงานราชการ อยู่ตรงกึ่งกลางการติดต่อคมนาคม กับพื้นที่ต่าง ๆ บางแห่งระยะห่างไกล เช่น ตำบลตาลเนิ้ง ตำบลตาลโกน ตำบลบงเหนือ ซึ่งห่างจากอำเภอกว่า ๓๐ กิโลเมตร  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเอียง ริมน้ำที่ไหลผ่าน มาจากอำเภอส่องดาว ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรอยู่เสมอในพื้นที่ ตำบลพันนา ตำบลทราบมูล ตำบลแวง ตำบลตาลโกน ตำบลเนิ้ง และถนนสายหลักลาดยางอยู่ในความรับผิดชอบกรมทางหลวง ผ่านจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งเขตการปกครองเป็น ๑๖ ตำบล จำนวน ๑๗๘ หมู่บ้านเทศบาลตำบล จำนวน ๒ แห่งได้แก่ ๑. เทศบาลตำบลสว่างแดนดิน   ๒.    เทศบาลตำบลดอนเขือง

องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๑๖ แห่ง

ศาสนิกชน/ศาสนสถาน                               
ที่ ตำบล จำนวนศาสนิกชน จำนวนศาสนสถาน
พุทธ คริสต์ อิสลาม พุทธ คริสต์ อิสลาม
1 สว่างแดนดิน 25,154 18   12 1  
2 คำสะอาด 10,650     8    
3 บ้านต้าย 6,314     4    
4 บงเหนือ 10,519     8    
5 โพนสูง 5,660     10    
6 โคกสี 11,081     14    
7 หนองหลวง 7,813     4    
8 บงใต้ 9,840     9    
9 ค้อใต้ 6,786     8    
10 พันนา 6,945     5    
11 แวง 6,019     12    
12 ทรายมูล 6,843     7    
13 ตาลโกน 6,033     6    
14 ตาลเนิ้ง 4,948     6    
15 ธาตุทอง 5,554     7    
16 สว่าง(เทศบาล) 9,210 117   4    
17 ถ่อน 7,372     2    
18 ดอนเขือง(เทศบาล) 4,562          
  รวม 151,303 135   126 1  
อำเภอสว่างแดนดิน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสกลนคร ประมาณ 83 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนสายสกลนคร -อุดรธานี (ถนนนิตโย) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๗๗ กิโลเมตร

                                                                                                          ติดตามต่อภาคต่อไป.....
หมายเลขบันทึก: 131308เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พึ่งเคยอ่าน ประวัติอำเภอนี่ล่ะครับ

มีแหล่งข้อมูลให้ค้นเพิ่มเติม มั๊ยครับ

ขอบคุณมากครับ

มีครบหมดเลย

-.-

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท