บูรณาการความคิด


โยนิโสมนสิการ

สรุปสาระการบรรยาย"บูรณาการความคิด พลิกองค์กรสู่ยุคธรรมาภิบาล

                                                                  วิทยากร  ดร.จอมพล  สุภาพ

          "การบูรณาการความคิด"  เป็นการปรับระบบความคิดให้เกิดความสมบูรณ์ สอดคล้อง สอดประสานภายใต้ความคิดองค์รวม ซึ่งคนจะใช้ "จิต" เป็นตัวคิด โดยที่จิตมีหน้าที่การรับ  การจำ  การคิด และการระลึกรู้ แต่ละสถานภาพของบุคคลจะมีรูปแบบการคิดไม่เหมือนกัน  การคิดรูปแบบนักบริหารเป็นการคิดอย่างฉลาด  คิดอย่างถูกวิธี  คิดอย่างถูกระบบ  ดังนั้น  นักบริหารซึ่งใช้ "จิต" เป็นตัวคิด  ควรใช้ระบบการคิดที่ยึดหลักโยนิโสมนสิการ  ซึ่งเป็นการมองสรรพสิ่งตามความเป็นจริงอย่างมีเหตุมีผล เนื่องจาก *โยนิดสมนสิการ (อ่านว่า โยนิโส-มะนะสิกาน) เป็นวิถีทางแห่งปัญญา  เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าว (ปรโตโฆสะ) อึกชั้นหนึ่ง เป็นบ่อเกิดแห่งสัมมาทิฐิ  ทำให้มีเหตุผล ไม่งมงาย  ซึ่งหมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด  คิดอย่างถูกวิธี ถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือ คิดถึงรากถึงโคน  แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี

          ความคิดพลิกองค์กรได้อย่างไร ? 

          วิทยากรได้กล่าวถึง การบูรณาการความคิดกับศักยภาพพลิกองค์กร                                     

         -  บูรณาการความคิดให้มีพลัง (รู้จักคิด มีเหตุผล) สามารถพลิกองค์กรได้ไม่ต่ำกว่า 20 %                                                                   

         -  บูรณาการความคิดให้มีทัศนคติบวก สามารถพลิกองค์กรได้ไม่ต่ำกว่า 10 %

         -  บูรณาการความคิดให้มีหลักธรรมาภิบาล สามารถพลิกองค์กรได้ไม่ต่ำกว่า 40 %

         -  บูรณาการความคิดให้มีการช่วยเหลือกันประดุจญาติ  สามารถพลิกองค์กรได้ไม่ต่ำกว่า 10 %

         -  บูรณาการความคิดให้มีคนใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา  สร้างสรรค์  สามารถพลิกองค์กรได้ไม่ต่ำกว่า 20 %

         หากสามารถพลิกองค์กรครบ 100 % หมายถึง องค์กรได้พลิกเข้าสู่ยุคธรรมาภิบาลได้อย่างเต็มพลัง เงื่อนไขสำคัญคือ ทุกคนในองค์กรต้องพร้อมใจพลิกองค์กร บนหลักการสำคัญ ดังนี้                      

                         ทั้งองค์กรเคารพในธรรม

                         ทั้งองค์กรศรัทธาในธรรม

                         ทั้งองค์กรตอกย้ำในธรรม

                         ทั้งอค์กรปฏิบัติในธรรม

                         ทั้งองค์กรฉลาดนำธรรมไปปฏิบัติ

         สาเหตุใช้หลักธรรมาภิบาลในองค์กร  เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ (เป็นกลาง) จะเกิดประโยชน์เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น  (ผู้ปฏิบัติตามเท่านั้นที่ได้ประโยชน์) และเป็นศูนย์รวมของสรรพวิชา  ซึ่งธรรมะจะพิทักษ์  คุ้มครอง  ปกป้อง  และพัฒนาองค์กรให้เจริญรุ่งเรือง  ดังตัวอย่างที่ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองมากกว่า  2,500  ปีมาแล้ว ด้วยหลักปริยัติ  (การรับรู้ทั้งความดี ความชั่ว จิตรับรู้อย่างเป็นกลาง ไม่ปรุงแต่ง รู้เท่าทัน แล้วก็คิด ๆ  จนเกิดปัญญาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรดี เพื่อเป็นประโยชน์ ไม่มีโทษแอบแฝง   หลักปฏิบัติ (หลักปฏิบัติเป็นการนำปริยัติ คือองค์ความรู้ที่ได้มาจากรู้และการคิดมาปฏิบัติ  ขั้นปฏิบัตินั้นจะต้องมีการทำและมีสติคอยเตือนอยู่เป็นระยะ ๆ ว่า ยังคงเป็นไปตามปริยัติหรือไม่) และหลักปฏิเวธ (การตรวจสอบผลแห่งการปฏิบัติ)

         ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำหลักปฏิบยัติ  หลักปฏิบัติ  และหลักปฏิเวธ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กรเข้าสู่ยุคธรรมาภิบาลได้ ดังเช่น

         หลักปริยัติ

         -  มีหลักในการบรหารเพื่อเป็นผู้นำที่ดี (เป้นต้นแบบสร้างบุญบารมีและพัฒนาตนเอง

         -  กำหนดนโยบายที่ดี  ถูกต้อง (ปราศจากกิเลส เปิดเผยให้ทุกคนรู้ได้  มีวิธีปฏิบัติได้)

         -  กำหนดเป้าหมายชัดเจน (ไม่ประมาท)

         หลักปฏิบัติ

         -  มีกระบวนการกล่อมเกลาตัวเอง (หลักฆราวาสธรรม หรือ หลักธรรมของผู้ครองเรือนมี 4  อย่าง คือ 1. สัจจะ  ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน 2.ทมะ  ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ  ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี 3. ขันติ  ความอดทน  4. จาคะ  ความเสียสละเผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ ฯลฯ)

         -  กำหนดวิธีการชัดเจน (หลักปฏิบัติอยู่อย่างพอเพียง)

         -  กำหนดคุณลักษณะงานแต่ละส่วนชัดเจน (วิเคราะห์คุณค่าของสรรพสิ่ง)

         -  มีการวางเครือข่ายพันธมิตรอย่างดีเยี่ยมและรัดกุม

         -  มีกรอบแห่งการปฏิบัติร่วมกันอย่างมีความสุข

         -  มีแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เกิดพลังอย่างสมบูรณ์ทั้งทางใจ (Mind Power) หมายถึง  การเห็นผลแห่งความดี กลัวโลภะ ละพยาบาท  พลังกาย (Bodily Power) หมายถึง งดความ  ประพฤติปฏิบัติ 3 ก. ได้แก่ งดเก่ง งดโกง งดกาม  พลังทางวาจา (Verbal Power) หมายถึง การงดวจี ทุจริต 4

          หลักปฏิเวธ

         -  มีหลักในการแก้ปัญหา (ตามแนวทางอริยสัจสี่ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

                                      ----------------------------

แหล่งอ้างอิง   * ความหมาย "โยนิโสมนสิการ" 

                         พระธรรมกิติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต  พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ.2548                             

                               ผู้สรุปและรายงาน :  น.ส.วราลักษณ์  ดุรงค์กาญจน์

                                     

หมายเลขบันทึก: 131533เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท