กลไกมโนธรรมของศิลปิน


มโนธรรม

กลไกมโนธรรมของศิลปิน

กลไกของมโนธรรม

ถ้าถามศิลปินว่า “ทำไมจึงอยากเป็นศิลปิน” คำตอบที่ได้น่าจะมีหลากหลายกันออกไป แต่ส่วนมากมักตอบว่า “ต้องการแสดงความสามารถและอยากให้ทุกคนยอมรับในความสามารถ “ถ้าถามต่อไปอีกว่า “ทำไมต้องการให้คนยอมรับในความสามารถ” คำตอบอาจจะมีทั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน บางคนก็อาจตอบว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งความดัง แต่ในที่สุดคำตอบจะไปสิ้นสุดที่ความสุข ศิลปินทุกคนจะมีความสุขมากถ้าผลงานเป็นที่ยอมรับของคนทุกคน ความสุขจึงเป็นเป้าหมายสูงสุดของศิลปินทุกคน ส่วนคำตอบอื่น ๆ เช่น เงิน หรือความดังนั้นเป็นเพียงเป้าหมายเฉพาะกิจที่เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความสุข

การบริหารงานที่ดี (Good Governance) ศิลปินที่ดีทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตใน 3 ระดับ คือ

1. เกณฑ์จำเป็น การควบคุมตนเองให้เป็นศิลปินที่ดี โดยไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ของวิชาชีพและกฎระเบียบของรัฐ หากละเมิดกฎจะต้องได้รับการลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนดไว้

2.เกณฑ์เสริม ศิลปินที่ดีทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม จรรยาบรรณของวิชาชีพมีดังนี้คือ

จรรยาบรรณต่อตนเอง

1.มีอิสรภาพในการทำงานและมีอุดมการณ์เพื่อสังคม

2.มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเข้มแข็ง อดทนและอดกลั้น

3.มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

4.มีบุคลิกภาพที่ดี คือ อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างสงบใจ<

5.มีความรักและปรารถนาดีต่อทุกคน

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

1.มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพและประกอบการงานอย่างเต็มกำลัง ตามความรู้และความสามารถ

2.ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพไม่ใช้ความรู้ความสามารถของตนในทางทำลายผู้อื่นและประเทศชาติ

3.มีความรับผิดชอบต่อกิจการงานที่ตนกระทำ

4.มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนร่วมอาชีพ และคนในวงการอื่น ๆ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม และการสมานฉันท์

จรรยาบรรณต่อสังคม

1.มีศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2.เคารพต่อกฎวิชาชีพ และกฎหมายบ้านเมือง

3.ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำที่ดีในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาติ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้เกิดความดีงาม คุณธรรม และจริยธรรม ผู้เป็นศิลปินทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กฎหมายของรัฐ ผู้ใดล่วงละเมิดจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย


3.เกณฑ์ส่งเสริม

1.สนับสนุนในการจัดตั้งสถานที่แสดงผลงานทางศิลปะ เพื่อให้ศิลปินทุกคนได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความรู้ความสามารถ

2.สนับสนุนให้มีสถานที่สำหรับขายงานศิลปะของศิลปินเพื่อว่าศิลปินจะได้มีเวลาในการสร้างงานของตนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่กังวลเรื่องการจัดการทางการค้า และไม่ต้องเสียเปรียบทางการค้าจากพ่อค้าศิลปวัตถุ

3.จัดตั้งสมาคม หรือองค์กรทางวิชาชีพเพื่อเป็นหน่วยกลางในการส่งเสริมศักยภาพทางวิชาชีพ และเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ผลงานของศิลปิน

4.จัดตั้งกองทุนหรือมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือศิลปินที่ประสบภัยต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อีกต่อไป

5.ประกาศเกียรติคุณหรือให้รางวัลแก่ศิลปินผู้ประพฤติดี ทำหน้าที่ด้วยความเสียสละโดยเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก โดยมีการคัดเลือกตั้งแต่ระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับชาติ


เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์วนิดา ขำเขียว

ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม คณะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม

คำสำคัญ (Tags): #คุณธรรม#ศิลปิน
หมายเลขบันทึก: 132757เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2007 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท