ความหมายและอุดมการณ์ของครู


หน้าที่ของครู ก็คือ การอบรมสั่งสอนศิษย์”
  ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในวงการศึกษาเพราะเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและโลกนอกจากนั้นยังเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการสร้างบัณฑิตอย่างมาก บัณฑิตจะมีความคิดที่ดีมีวิธีการวิเคราะห์อย่างถูกต้องและมีระบบระเบียบในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพัฒนาบุคลิกภาพเชิงวิชาการเชิงวิชาชีพซึ่งควรได้รับการปลูกฝังอบรมจากครูผู้สอน และบุคลิกภาพของครูย่อมส่งผลไปสู่บัณฑิตดังคำกล่าวที่ว่าอยากรู้ว่าตัวครูเป็นฉันใด จงดูได้จากศิษย์ที่สอนมา” (ม.ล. ปิ่น มาลากุล)

            ครูจึงจำเป็นต้องพัฒนาจิตสำนึกของความเป็นครู เพราะครูหรืออาจารย์ จำเป็นต้องมีข้อกำหนดอยู่ในใจ เพื่อให้มีหลักในการดำรงตนให้เป็นครู

            สิ่งแรกที่ควรจะพัฒนาก็คือ การสร้างคุณธรรมหรือครุธรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งความเป็นจริงนั้น ครุธรรมคือ ธรรมสำหรับครู เป็นสิ่งที่ครูหลายท่านทราบ และได้ปฏิบัติแล้ว แต่ก็มีอีกหลายท่านที่ทั้งไม่ทราบและไม่ปฏิบัติ          

ครุธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการดำเนินอาชีพครูอันเป็นอาชีพที่มีเกียรติเป็นอาชีพที่คนทั่วไปยกย่อง และถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญในการพัฒนาสังคมหรือประเทศชาติครูที่ขาดครุธรรมจะเปรียบเสมือนเรือที่ขาดหางเสือ ดังนั้นการจะพาศิษย์ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างถูกต้องย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากอย่างแน่นอน

            ท่านพุทธทาสกล่าวอยู่เสมอว่าธรรมคือหน้าที่ผู้ที่มีธรรมะคือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีแล้ว ครุธรรมจึงเป็นหน้าที่สำหรับครูซึ่งครูส่วนใหญ่ทุกคนย่อมทราบดีว่าหน้าที่ของครู ก็คือการอบรมสั่งสอนศิษย์แต่การอบรมสั่งสอนศิษย์ของครูแต่ละคนก็มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ครูบางคนก็อาจจะคิดว่าหน้าที่ของครู คือสอนวิชาการที่ตนได้รับมอบหมายให้สอน แต่อีกหลายๆคนก็คิดว่าครูควรทำหน้าที่คนให้เป็นคนที่สมบูรณ์นอกเหนือจากการสอนวิชาการ ความคิดที่แตกต่างกันไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคมมนุษย์ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องพิจารณาเลือกหน้าที่ที่ตนเห็นว่าถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดของการมีอาชีพครู เพราะความเป็นจริงนั้นครูมิได้สอนแต่หนังสืออย่างเดียวแต่ต้องสอนคนให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ด้วย

            การที่ครูจะปฏิบัติหน้าของครูอย่างเต็มศักดิ์ศรีและเต็มความภาคภูมิได้นั้น ครูจำเป็นต้องมีหลักยึดเพื่อนำตนไปสู่สิ่งที่สูงสุดหรือเป็นอุดมคติของอาชีพ นั่นก็คือการมีอุดมการณ์ครูอุดมการณ์ครูมีหลักการที่จะยึดไว้ประจำใจทุกขณะที่ประกอบภารกิจของครูมีอยู่ 5 ประการ ดังนี้

เต็มรู้

เต็มใจ

เต็มเวลา

เต็มคน

เต็มพลัง

หมายเลขบันทึก: 137191เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ชอบจังเลย
  • เก่งจริงๆๆตัวแค่นี้
  • ขอบคุณมากครับ
P
1. ขจิต ฝอยทอง
จำขึ้นใจในวิชาดีกว่าจดจำไม่หมดจดไว้ดูเป็นครูสอนทั้งจดจำทำวิชาให้ถาวรอย่านิ่งนอนก่อนจำทำหมั่นเอย

หนูเป็นครู...เต็มตัว...ตั้งแต่เป็นนิสิตเลยนะค่ะ

ถ้าได้เป็นครู...เต็มตัว...หนูจะรู้ว่า..ต็มไปด้วยรสชาดค่ะ...เอาใจ๋จ้วยเจ๊า

3. เกษวรี ยุวยรรยง

สวัสดีครับคุณเกษวรี

ก็อีกปี๋เดียวก็จะจบแล้วคงได้มีโอกาสออกสอนเต๋มตัว

ฮักษาสุขภาพต๋วยเน้อครับ

ขอบคุณ

สวัดดีค๊ะ หนูเพิ่งเคยเข้ามาเว็บนี้เป็นรั้งแรกค๊ะ ตอนนี้หนูกำลัศึกษา คณะครุศาสตร์ อยู่นะค๊ะ ที่หนูเรียนครูเพราะมีมีความคิดที่ว่าอยากจะช่วยให้เด็กๆๆ แถบชนบท ได้รับการศึกษาที่ดี มีคนบอกกับหนูว่า ครูสมัยนี้ไม่เก่งเลย หนูเลยตอบเขาไปว่า ถ้าครูไม่เก่งแล้วลูกศิษย์จะเก่งได้ยังไง ถ้าครูไม่เก่งแล้วลูกศิษย์ทั้งหลายที่ได้เป็นคนใหญ่คนโตจะประสบความสำเร็จได้ยัไง"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท