ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


การปรับตัวได้และการยอมรับตามวัยช่วยไม่ให้เกิดซึมเศร้าได้

ในสังคมปัจจุบัน ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ แม้กระทั่งการเป็นเปลี่ยนแปลงของบุคคลไปตามกาลเวลา ก่อให้เกิดปัญหาต่อบุคคลนั้นได้ โดยเฉพาะบุคคลในวัยสูงอายุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมซึมเศร้าได้  สาเหตุจากความเสื่อมทางกาย เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีปัญหาทางจิตใจ  จากการสูญเสียคนที่รัก สูญเสียตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม  รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า และจะมีพฤติกรรมต่างๆเช่นหงุดหงิด จู้จี้  ขี้บ่น  เอาแต่ใจตนเอง ฯลฯ  แสดงว่าไม่สามารถปรับตัวได้  และถ้าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมเก็บตัวไม่พูดคุยกับใคร  สีหน้าไม่แจ่มใส รับประทานอาหารได้น้อยลง   นอนไม่หลับ  หันมาหาสิ่งเสพติด เช่นกินเหล้า ฯลฯรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า แสดงว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมซึมเศร้า

ถ้าผู้สูงอายุมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจก่อนที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ  และเมื่ออยู่ในวัยสูงอายุรับประทานอาหารตามหลักวิชา เน้นผักและผลไม้ โปรตีนจากเนื้อปลา  เดินออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ  และทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ  ปลูกต้นไม้  ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ แต่ไม่โอกาสทำเมื่ออยู่ในช่วงวัยที่ต้องทำงาน ซึ่งอาจนำมาซึ่งรายได้หรือมีวิธีการคลายเครียดต่างๆ ผู้สูงอายุจะสามารถปรับตัวได้ และอยู่ในครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุขมีสุขภาพจิตที่ดีและไม่มีปัญหาเรื่องซึมเศร้าและมีคุณค่าในตนเองพร้อมที่จะเผชิญต่อความตายเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมายเลขบันทึก: 138332เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท