ลักษณะของชุมชนในสังคมไทย


1. สังคมชนบท หมายถึง เขตนอกเมือหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน ชาวชนบทที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันฉันท์มีความผูกพันฉันท์พี่น้อง
สังคมชนบทมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ( ครอบครัวขยาย ) สมาชิกในครอบครัวมักช่วยกันทำงานเพื่อผลิตอาหาร ชาวชนบททำงานเป็นฤดูกาลมีความผูกพันกับศาสนา ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีศาสนาอย่างเคร่งครัด วัดเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวชนบท รวมทั้งใช้ประกอบกิจกรรม พิธีกรรมต่างๆ และใช้ด้านการศึกษา สภาพสังคมชนบทในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ
* ปัญหาทางสังคมซึ่งชาวชนบทต้องประสบ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจ
* ปัญหาทางวัฒนธรรม ปัจจุบันชาวชนบทได้รับวิทยาการสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวชนบทเป็นอันมาก เช่น เครื่องจักรทุ่นแรงสำหรับการประกอบอาชีพ อุปกรณ์ที่ทำให้การดำรงค์ชีวิตได้รับความสะดวกสบายขึ้น อันส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และมีความสิ้นเปลืองมากขึ้นตามไปด้วย

2. สังคมเมือง หมายถึง บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางของความเจริญต่างๆ การคมนาคมสะดวก ประชาชนประกอบอาชีพหลากหลาย ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเมืองเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยมากมักจะติดต่อกันด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ความจริงใจที่มีต่อกันน้อยมาก ความสัมพันธ์ของชาวเมืองมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ
สังคมเมืองมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ( ครอบครัวเดี่ยว ) สมาชิกในครอบครัวมักจะประกอบอาชีพแตกต่างกัน วัดเป็นเพียงแหล่งประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น ไม่ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจเหมือนกับสังคมชนบทพฤติกรรมของชาวเมืองจะยึดกฏหมายเป็นหลัก เศรษฐกิจในสังคมเมืองจะมีความยุ่งยากมาก

หมายเลขบันทึก: 139185เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบว่าคำว่าสังคมชนบท กับคำว่าชุมชนชนบท เหมือนหรือแตกต่างกันไหม อย่างไร ช่วยอธิบายให้เข้าใจได้ไหมคร๊ ขอบคุณคร๊

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท