การให้การปรึกษา : การพัฒนาตนเองของนักศึกษา


เข้าใจตนเองก่อนเข้าใจผู้อื่นและสามารถพัฒนาปรับปรุงตนเองได้ตลอดเวลา

การให้การปรึกษามีความสำคัญต่อบุคคลที่มีปัญหาต่างๆ  และช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความสามารถในการปรับตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม และสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆได้ด้วย   ตนเอง  ดังนั้นบทบาทของอาจารย์ในการให้การปรึกษาที่เรียกว่า อาจารย์ที่ปรึกษา จึงเป็นบทบาทที่อาจารย์สามารถช่วยให้นักศึกษามีความสามารถในการปรับตัวในด้านการเรียน  พฤติกรรม  และจริยธรรมต่างๆในการปรับตัวต่อผู้อื่นในสังคมและสิ่งแวดล้อม  อันเป็นการพัฒนาตนให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  โดยอาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องมีความรู้เกี่ยวกับการให้การปรึกษา  และมีคุณลักษณะของผู้ให้การปรึกษา       มีความเข้าใจตนเอง  เพื่อนำไปใช้ในการเข้าใจในพฤติกรรมของนักศึกษา  อันเป็นการช่วยให้นักศึกษามีการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของสถาบันการศึกษาในการผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต

การให้การปรึกษา คือ  กระบวนการช่วยเหลือผู้รับการปรึกษา   ( Client )  โดยอาศัยการสื่อสารสองทางบนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีที่ช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความไว้วางใจและเปิดเผยเรื่องราวต่างๆ  จากนั้นผู้ให้การปรึกษาจะใช้เทคนิคต่างๆที่ช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความสามารถในการพัฒนาตน  เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจัดการกับปัญหาต่างๆด้วยศักยภาพของตนเองอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

เมื่อนักศึกษามีปัญหาต่างๆมาปรึกษา     อาจารย์จึงต้องเตรียมความพร้อมในบทบาทของการให้การปรึกษาด้วย จะต้องพัฒนาตนเองของอาจารย์และนำการเข้าใจตนเองไปใช้ในการเข้าใจนักศึกษา  ด้วย   การเข้าใจตนเองอันได้แก่เข้าใจความเป็นมนุษย์     เข้าใจธรรมชาติของชีวิตตามพัฒนาการมนุษย์อันที่จะช่วยให้เข้าใจในตัวนักศึกษามากขึ้น โดยใช้ เทคนิคการให้การปรึกษา  ได้แก่ทักษะการรับฟัง  ทักษะการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาได้ระบายความรู้สึกไม่สบายใจออกมา  ทักษะการให้กำลังใจ ตลอดจนการให้ข้อมูลต่างๆที่ใช้เป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาในการตัดสินใจด้วยตนเองอันเป็นการส่งเสริมศักยภาพตนเองของนักศึกษาในการพัฒนาตน  สำหรับอาจารย์ที่มีภาระงานสอนหรือมีงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบมาก และไม่มีเวลาที่จะให้การปรึกษานักศึกษาเป็นรายบุคคล (  Individual counseling  )     ก็สามารถให้คำปรึกษาเป็นแบบกลุ่ม  ( Group counseling  )ได้  ซึ่งวิธีการให้การปรึกษแบบกลุ่มนี้สามารถให้การปรึกษาโดยนำกระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยามาใช้ก็จะเกิดประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเช่นกัน
หมายเลขบันทึก: 139459เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2007 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาเก็บเกี่ยวค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท