ธรรมชาติของมนุษย์


มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี ไม่ได้มีความเห็นแก่ตัว ส่วนความไม่ดีนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมของเขา

ธรรมชาติได้สร้างสิ่งที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยมีการคัดเลือกพันธ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะสามารถอยู่รอด และถ่ายทอดลักษณะเด่นนั้นๆ ออกมาให้แก่ลูกหลานสืบต่อเผ่าพันธุ์ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ตนเองไว้ได้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดียิ่ง มนุษย์จึงยังสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ได้จนถึงปัจจุบัน

โธมาส ฮอบส์ ( Thomas Hobbes ) กล่าวว่า " ธรรมชาติของคนนั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว ขี้โม้โอ้อวดตน ต่ำช้า หยาบคาย เอาแต่ใจตัวเอง ยื้อแย่งแข่งดีกันโดยไม่มีขอบเขต อายุสั้น แต่ถ้าพบกับความทุกยากแล้ว คนจึงจะลดความเห็นแก่ตัวลงและสังคมจะช่วยให้เขาดีขึ้น " วิลเลียมสัน (Williamson) ก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า " ทุกคนที่เกิดมาเป็นเสมือนผีร้าย "( Every body is evil) แต่ จอห์น ล็อค ( John Lock ) กลับมีแนวความคิดเห็นตรงกันข้ามว่า " มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี ไม่ได้มีความเห็นแก่ตัว ส่วนความไม่ดีนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมของเขา " ( กฤษณา ศักดิ์ศรี, 2534 : 94 )นอกจากนี้แล้วนักสังคมวิทยาเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไปชอบเรียนรู้ มีความอยากรู้ อยากเห็นอยากดูชอบที่จะรู้เรื่องของผู้อื่นบางคนรู้จักคนอื่นดีกว่าตนเองเสียอีกเพราะไม่เคยสำรวจตัวเองดูบ้างเลยเพราะโดยทั่วไปคนชอบเรียนรู้เรื่องของคนอื่นมากกว่าตนเอง และมีความรู้สึกว่าตนเองรู้จักผู้อื่นได้ดี แต่ถ้าหากมีคำถามย้อนกลับว่า ตัวท่านเองนั้นรู้จักตัวเองแค่ไหน คนๆ นั้นมักจะโกรธ มิใช่เพราะว่าดูถูก แต่ภายใต้จิตสำนึกนั้น คือความไม่รู้จักตัวเองแล้วทำให้รู้สึกมี ปมด้อยเกิดขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #ศึกษาเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 141884เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
วุฒิชัย สังข์พงษ์
กระผมได้อ่านเรื่องราวที่คุณขมิ้นเหลือง เดินดิน เขียน  ส่วนใหญ่จะเป็นในแนวความคิดเห็นเกี่ยวกับคน   จึงรู้สึกว่าคุณขมิ้นเหลือง เดินดิน คงเป็นคนที่ชอบช่วยคน แล้วเราจะมีวิธีอะไรบ้างครับที่จะช่วยหรือทำให้คนที่รู้จักคนอื่นมากกว่าตัวเองหันกลับมามองตัวเองแล้วยอมรับตัวเองพร้อมทั้งปรับปรุงตัวเองโดยที่ผู้สะท้อนให้เขาเห็นตัวเองไม่ทำให้เขารู้สึกมีปมด้อย ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ

ไม่มีรูป 1. วุฒิชัย สังข์พงษ์

การที่เราจะเห็นตัวเองได้ชัดเจนก็ต่อเมื่อเราประสบกับปัญหาเท่านั้นแหละครับ

เพราะปัญหาจำทำให้คนเป็นคนขึ้น(บางคน)  เหมือนสุภาษิตที่่ว่าละครับ อตฺตา  หเว  ชิตํ  เสยฺโย.ชนะตนนั่นแหละเป็นดี 

คนจะรู้สึกตัวว่าตนเอง ตำต้อย หรือด้อยแค่ไหน ก็เมื่อเกิดปัญหาหลายเรื่องแล้วแก้ไม่ตก ถึงได้รู้ตัวว่า ตนเองไม่มีศักยภาพ  แต่บางคนไม่ทำอะไรเลย เลยไม่รู้ว่าตนเองมีศักยภาพแค่ไหน  ดีแต่พูดมากกว่าทำ  คนพวกนี้ที่ดีแต่พูดได้ จะทำอย่างไรให้เขารู้สึกตัวบ้าง คือพูดมากกว่าทำ และพูดเกินไป ขอให้พูดน้อยๆ แต่ทำมากๆ งานจะได้เสร็จเร็ว  เข้าแก๊ปกันหรือเปล่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท