ญี่ปุ่นทุบอาคารไม่ได้มาตรฐานทิ้ง


สนทนากับผู้รู้ญี่ปุ่นเรื่องความปลอดภัยและตึกสูงแล้ว ก็ให้นึกถึงบ้านเราครับ อาคารทั่วกรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ พัทยา ฯลฯ

ญี่ปุ่นทุบอาคารไม่ได้มาตรฐานทิ้ง  

วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อังคาร 23 ตุลาคม พ.ศ.2550 วันที่เขียนต้นฉบับฉบับนี้ นิติภูมิมีนัดเยือนนายกเทศมนตรีถึง 2 นครของญี่ปุ่น คือ นายกเทศมนตรีนครชิโรอิชิ และนายกเทศมนตรีนครเซ็นได ขณะกำลังสนทนากับท่านคัทซึฮิโกะ อูเมฮาระ ก็มีโทรศัพท์ด่วนมากมาถึงท่าน พูดเสร็จท่าน อูเมฮาระก็เล่าว่า นิติภูมิมาเยือนข้าพเจ้าที่ญี่ปุ่นทีไร ข้าพเจ้ามีข่าวดีทุกที ผู้ว่าราชการจังหวัดมิยากิโทรศัพท์มาบอกว่า บริษัทโตโยต้าตัดสินใจย้ายฐานการผลิตแห่งใหม่มาอยู่ที่จังหวัดมิยากิของเรา เอ้า ไชโย ไชโย ไชโยพุธ 11 มกราคม พ.ศ.2549 ปีที่แล้ว ผมได้รับชวนให้มาประชุมและบรรยายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและเมืองที่น่าจะเป็น รับใช้ ผู้บริหารเมือง 15 ท่านที่มาจาก 15 นครของญี่ปุ่น ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนของมิยากิปัจจุบันทุกวันนี้ การบริหารเมือง นคร และมหานครของประเทศใหญ่ๆ ต้องใช้มืออาชีพที่มีเครือข่ายระโนงโยงใยไปทั้งโลก ต้องอาศัยองค์ความรู้ของเมืองอื่นมาใช้กับเมืองของตน และต้องมอบความรู้ในการบริหารเมืองที่ตนทำสำเร็จแล้วให้กับผู้บริหารเมืองอื่นๆด้วย ไม่ใช่จะเอาแต่ฝ่ายเดียว การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการบริหารเมือง จึงเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ในประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกพ.ศ.2527 นิติภูมิเข้าเป็นนิสิตปริญญาโทผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมก็สนใจเกี่ยวกับผังเมืองและการพัฒนาเมืองมาโดยตลอด ไปเยือนเมืองใด ต้องขอสมัครเป็นศิษย์ของนักผังเมืองที่มีชื่อเสียงของที่นั่นนักผังเมืองระดับโลกท่านหนึ่ง ซึ่งผมอยากแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยเป็นอย่างมากก็คือ ศาสตราจารย์ ดร.ฮิโตชิ อาเบะ จากศูนย์วิจัยและการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและผังเมืองของ ม.โทฮกกุ เมื่อปีที่แล้ว ทางการญี่ปุ่นจัดให้ผมได้พบกับท่านศาสตราจารย์ ดร.อาเบะ เมื่อนำมาเล่าให้ลูกชายนายคุณนิติฟัง แกไม่เชื่อ จนผมต้องนำภาพกับท่านอาเบะมายืนยัน พร้อมทั้งเล่าให้เจ้าลูกชายฟังว่า ความคิดรวบยอดปัจจุบัน ที่นักผังเมืองด้านที่อยู่อาศัยทั่วโลกคิดก็คือ Work Rest and Play ทำงาน พักผ่อน และเล่นการที่ญี่ปุ่นมีพื้นที่น้อย แต่มีพลเมืองมาก ปรัชญาในการพัฒนาและออกแบบชุมชนเมืองแบบใหม่ได้เปลี่ยนจากการขยายตัวแนวกว้าง ไปสู่การพัฒนาต่อยอดในแนวดิ่ง ดังนั้น เมืองใหญ่ทั้งหลายจะพัฒนาไปในแนวนี้ นอกจากที่จะมีพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการรักษาพื้นที่สีเขียวไว้ได้อีกด้วยแม้ว่าในมหานครใหญ่ๆของญี่ปุ่นจะมีแต่ตึกสูงระฟ้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ในแนวดิ่ง แต่สิ่งที่นักพัฒนาและนักบริหารของญี่ปุ่นไม่ลืมใส่ลงไปด้วยก็คือ วัฒนธรรมกลุ่มอาคารสูงใหญ่ในญี่ปุ่นสมัยใหม่ แตกต่างจากกลุ่มอาคารสูงในประเทศอื่นตรงที่อาคารของญี่ปุ่นเหล่านี้มีศิลปะ การศึกษา อาหาร และความร่วมสมัยอยู่ด้วยตลอดใครจะประกอบอาชีพสถาปนิกในญี่ปุ่น ท่านจะต้องสอบเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพที่มีอยู่ 3 ระดับ คือ ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง และชั้นออกแบบบ้านไม้ญี่ปุ่นแบบเก่า ใครอยากรับงานได้ทุกประเภทต้องสอบให้ได้ใบประกอบวิชาชีพชั้นหนึ่งเท่านั้นความที่ญี่ปุ่นกลัวตึกถล่มมาก จึงมีการตรวจสอบบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมกันอยู่ตลอดเวลา ที่น่าตกใจก็คือว่า ระยะหลัง เมื่อตรวจสอบกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น  ก็พบอาคารที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานเพิ่ม  แค่สถาปนิกชั้นหนึ่งอย่าง      นายฮิเดซึกุ อาเนฮะ คนเดียว แกเคยออกแบบก่อสร้างอาคารสูงมากถึง 400 แห่ง ภายใน 17 ปี เฉลี่ยออกแบบได้ปีละกว่า 20 อาคาร นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างแห่มาว่าจ้างนายอาเนฮะกันมาก เพราะแกสามารถออกแบบให้ตึกมีต้นทุนการก่อสร้างต่ำระยะหลัง เมื่อรัฐบาลให้บริษัทเอกชนที่ชื่อ eHomes Inc. รับใบอนุญาตตรวจสอบอาคารที่สถาปนิกอาเนฮะออกแบบในช่วงกุมภาพันธ์  พ.ศ.  2546  ถึงตุลาคม         พ.ศ. 2548 ปรากฏว่าเอกสารเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ยื่นขอใบรับรองการก่อสร้างอาคารเป็นของปลอม และอาคารต่างๆที่มีการก่อสร้างไปแล้ว มีความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐาน มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จำเป็นต้องทุบทิ้งสนทนากับผู้รู้ญี่ปุ่นเรื่องความปลอดภัยและตึกสูงแล้ว ก็ให้นึกถึงบ้านเราครับ อาคารทั่วกรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ พัทยา ฯลฯผู้รับใบอนุญาตออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ของเมืองไทยบ้านเรา   มีแบบ        นายฮิเดซึกุ อาเนฮะ ซักกี่คนก็ไม่รู้?และควรจะทำแบบญี่ปุ่น ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจ้างบริษัทเอกชน ที่มีประสิทธิภาพเข้าไปตรวจอาคารสถานที่ที่ราชการตรวจแล้ว ตรวจซ้ำอีกรอบหรือเปล่า?
  • นิติภูมิ  นวรัตน์

ที่มา : http://www.nitipoom.com

หมายเลขบันทึก: 141933เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพิ่งรู้นะเนี่ย    ขอบคุณจ้า    อ้อ...เพิ่งกลับมาจากสตูลด้วยล่ะครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท