มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ชุดภาพการออกตรวจสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยในรพ.ผู้สูงอายุ


รูปถ่ายที่นำมาให้ดูนี้ถ่ายจาก extended care ward ของรพ. 2 แห่ง ในแวนคูเวอร์ค่ะ ทั่ง 2 แห่งนี้ไม่มีคลินิกทำฟันค่ะ

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/DSCN0437.JPG  http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/DSCN0438.JPG

ตกแต่งทางเดิินและnursing stationเนื่องในวันฮัลโลวีนที่รพ.#1

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/DSCN6914.JPG

ทางเดินของรพ.#2 

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/DSC00259.JPG

เราจะไปออกตรวจกันตอนเช้า ตอนที่ผู้สูงอายุน่าจะเหนื่อยน้อยที่สุด เพราะนอนมาแล้ว (ถ้านอนหลับนะคะ) ผู้ช่วยทันตแพทย์จะไปถึงที่รพ.ประมาณ 8 โมง ไปจัดที่จัดทาง จัดอุปกรณ์ งานแรกคือ หาแฟ้มประวัติคนไข้ที่นัดไว้ให้ครบ วันนึงก็ประมาณ 8-18 คน แล้วแต่ว่าคนไข้ใหม่เยอะไม๊ ถ้ามีแต่คนไข้ recall หรือพวกขอตรวจเฉพาะก็จะเร็วหน่อย นัดได้เยอะคนขึ้น คนไข้ใหม่จะช้าเพราะต้องทำการตรวจแบบละเอียด (complete exam) บางรพ.จะดีมาก หาแฟ้มประวัติคนไข้มาให้พร้อมตั้งแต่พวกเรายังไม่มาถึง เพราะทางเราได้แฟกซ์รายชื่อให้แล้วล่วงหน้าวันนัด 1 วัน แต่บางรพ.ที่เค้่ายุ่งกันมากๆเพราะคนน้อย เราก็ต้องไปหาแฟ้มกันเองที่ nurse station ค่ะ 

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/DSCN6915.JPG 

พอได้แฟ้มมาหมดแล้ว  ผู้ช่วยทันตแพทย์ก็ตั้งคอมพิวเตอร์ โครงการของ UBC เก็บข้อมูลการตรวจทั้งหมดไว้ในระบบฐานข้อมูลอีเลคโทรนิคค่ะ

อ.ที่ปรึกษาของผู้เขียนใช้โปรแกรม MS ACCESS ทำระบบเก็บข้อมูลขึ้นมาชื่อ CODE หรือ Cinical Oral Disorders in Elders ใช้ดัชนีวัดสุขภาพช่องปากแบบที่เหมาะกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/medchart.JPG 

 พอหมอมาถึงสิ่งแรกที่ทำคือ อ่านแฟ้มประวัติผู้ป่วย (แฟ้มหนาใช้เล่นค่ะ) แล้วก็บันทึกลง dental chart ว่า

  • ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง
  • มียาที่ผู้ป่วยได้รับที่อาจมีผลต่อการดูแลรักษาทางทันตกรรมไม๊ เช่น coumadin หรือ bisphosphonates เป็น้ต้น
  • แพ้ยา หรือ สารอะไรบ้าง
แล้วก็ประเมินและบันทึกใน dental chart ว่า
  • ผู้ป่วยต้องการ antibiotic prophylaxis ไม๊
  • มีขีดจำกัดในการใช้ยาชาไม๊

ไว้เรื่อง chart review กับ การเขียนบันทึก การสั่งยา ต่างๆนี่จะเขียนแยกเป็นอีกบันทึกนึงละกันนะคะ

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/msj_exam.JPG

ลืมบอกไปค่ะว่าที่ รพ.#2 เค้าให้ห้องประชุมพยาบาลเราใช้ ถ้าคนไข้พอเข็นล้อมาได้ ก็จะตรวจกันที่นี่เลย

ในรูปนั้นผู้ชายคนซ้ายคืออาสาสมัครค่ะ เป็นคนพาคนไข้มาหาเรา แล้วก็เป็นล่ามด้วย เพราะรพ.นี้มีผู้ป่วยคนจีนเยอะมากค่ะ 

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/HF_exam.JPG  http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/HF_cart.JPG

แต่ที่รพ. #1 ไม่มีห้องใหญ่ๆให้เราค่ะ ธรรมดาจะใช้ห้องที่ว่างอยู่เป็นฐาน เพื่อเตรียมของและเก็บของ เคยมาหมดแล้วค่ะ เค้าให้ไปใช้ห้องทำผมมั่ง ห้องสมุดมั่ง ในรูปนี่ห้อง palliative care ที่ว่างอยู่ค่ะ

ที่นี่เราจะไม่รอคนไข้มาหาแต่เราจะ mobile ไปหาที่เตียงเองค่ะ ก็ใช้รถเข็นดังรูป แบกแฟ้มประวัติไปด้วยเพราะตรวจเสร็จแล้วเขียน progress note เลย จะได้ไม่ลืม หรือถ้าจะเปิดหาข้อมูลเสริมจะได้ทำได้

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/HF_mirror.JPG

อุปกรณ์ช่วยที่รักที่สุดคือกระจกส่องในปากที่มีแสงไฟส่องออกมาจากกระจกเลยในตัว  (DentLite) ไม่ต้องถือไฟฉาย สบายมากๆค่ะ ด้ามมันใช้ได้ตลอด เข้่าเครื่องอบความดันได้ ตัวแหล่งกำเนิดแสงมาจากในแท่งนี้ ส่วนตัวกระจกเป็นพลาสติก ใช้แล้วทิ้ง ภาพสะท้อนชัดมากค่ะ ไม่มีปัญหาในการใช้เลย

พอผู้ช่วยทันตแพทย์ไม่ต้องมาถือไฟฉายให้เรา เค้าก็เป็นคนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ได้เลยด้วย เราขน laptop ไปด้วยตลอดด้วยโต๊ะติดล้อที่เป็นที่วางอาหารให้ผู้ป่วยทานบนเตียงหน่ะค่ะ นึกออกใช่ไม๊ค่ะ ที่มันปรับขึ้นลงได้

----------------------------------------------

นี่แหละค่ะการออกตรวจสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยในรพ.ผู้สูงอายุในกรณีที่ไม่มีคลินิกทำฟันในรพ.นั้นๆ ผู้ป่วยที่นี่ก็เป็นโรคเรื่องรังมากมายค่ะ อยู่รพ.กันเป็นเดือนๆเป็นปีๆ ต้องคุมการติดเชื้อในช่องปากดีๆ ลดความเจ็บปวด ให้ทานข้าวได้  ให้นอนหลับ  

ผู้สูงอายุนี่ทานข้าวได้ นอนได้ นี่สำคัญมากๆนะคะ ไม่จำเป็นว่ามันจะง่ายๆเหมือนเราๆที่อายุน้อยกว่า ว่าแล้วก็ต้องไม่เหลิงไม่มองข้ามสิ่งที่เราเห็นว่าได้มาง่ายๆอย่างการกินการนอนเนอะค่ะ : )

ไว้คราวหน้าจะมาบันทึกเรื่องการรักษาผู้ป่วยข้างเตียง (ไม่ใช่แค่ตรวจ) อีกทีนะคะ

ปล. พวกอุปกรณ์พวกนี้ โดยเฉพาะกระจกส่องในปากเราใช้ใน การเยี่ยมบ้านได้ด้วยค่ะ ไม่ต่างกันมาก 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 142525เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2007 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อ.มัท

ภาพข้างบนบรรยากาศดีจังค่ะ 
......แต่งานที่ อ.มัททำนี่ไม่เบาเลย .........
ผู้ช่วยทันตแพทย์ของเขาต้องจบมาเฉพาะทางรึปล่าวคะ...  กำหนดอายุด้วยมั้ยคะ  มีสอบใบรับรองวิชาชีพเฉพาะทางไหมคะ

ขอบคุณ อ.มัท ที่เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมภาพนะคะ  เรื่องการทำงานของหมอฟันหาอ่านยาก  มี G2K นี่แหละ มีให้ดูครบเครื่อง....  เล่าอย่างดี  เห็นกระบวนการชัด

แถมยังถามหมอฟันใจดีได้อีกด้วยอะค่ะ.....   : )     : )

สวัสดีค่ะพี่แอมป์

ก่อนอื่นต้องขอบคุณมากๆค่ะที่แวะมาประจำ ชื่นใจมากค่ะ

ใช่ค่ะงานที่ทำเวลาออกตรวจที่ 2 รพ.นี้ที่ไม่มีคลินิกนี่ไม่เบาเลย มัทต้องระวังคอไหล่หลังมาก ไม่ก้มผิดท่ามากไป

ผู้ช่วยที่ทำงานกับมัทมี 3 คน คนในรูปนี่อาวุโสที่สุด เป็นคนสอนมัทได้ดีมาก ถ้าเราไม่ไปโอ่ว่าเป็นหมอใหญ่ ผู้ช่วย และ พยาบาลที่เป็นผู้ใหญ่นี่แหละค่ะที่เป็นครูที่ดีมากๆ เพราะเค้ามีประสบการณ์มามากกว่าหมอเด็กอย่างเราซะอีก

เรื่องผู้ช่วยที่นี่ก็มี 2 แบบ คล้ายๆบ้านเราค่ะ คือ dental assistant  level 1
เรียนในโรงเรียนฝีกที่ไม่ได้รับการ accredited จากรัฐ ก็เหมือนที่หมอฟันเมืองไทยฝีกหัดผู้ช่วยในร้านกันเองหน่ะค่ะ

แล้วก็มี dental assistant level 2 เป็นพวกที่เรียนในวิทยาลัยชุมชน เป็นหลักสูตร 10 เดือน  จบมาก็สามารถจะทะเบียนได้ใบรับรองประกอบวิชาชีพ (license) ได้เลย

แต่ที่นี่จะต่างจากที่บ้านเราคือพวก level 1 ต้องมาสอบเอาใบรับรองประกอบวิชาชีพให้ได้ก่อนเริ่มทำงาน

ยังไม่จบค่ะ เมื่อได้ license แล้ว พวกเค้าก็จะเป็นผู้ช่วยที่เรียกว่า "dental assistant" เฉยๆ ทำงานเหมือนผู้ช่วยบ้านเรา

ที่นี่มีผู้ช่วยอีกระดับ เรียกว่า certified dental assistant หรือเรียกสั้นๆว่า CDA ที่ทำงานกว้างไปกว่าผู้ช่วยเฉยๆ เช่น ให้ฟลูโอไรด์ทั้งแบบใส่ถาดฟันยาง หรือ ทั้งแบบทา บนตัวฟัน (vanish) ได้ เคลือบคลุมร่องฟันในเด็กได้ (ไม่ต้องกรอฟัน) ขัดฟันหลังจากท่คนไข้ขูดหินปูนเสร็จก็ได้ แถมยัง ช่วยหมอในบ้างขั้นตอนในการทำฟันปลอมได้อีก เป็นต้น

ก็ต้องมาเรียนเพิ่มอีก 10 เดือนค่ะ แล้วก็สอบเอาวุฒิบัตร (Board exam) ให้ได้ก่อน มีทั้งข้อเขียนทั้งปฏิบัติ

บ้านเราไม่มีแบบนี้ค่ะ เพราะขอบเขตการทำงานแคบกว่าด้วยอ่ะค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท